ขอแบ่งการกระทำออกเป็น ๓ กลุ่ม
๑.กรอกข้อมูลผิดไป
เช่น กรอกเลขบัตรประชาชนผิด เลขที่บ้านผิด เลขบัญชีผิดไปบางตัว ซึ่งถือเป็นรายละเอียดเล็กน้อย ที่เห็นได้ชัดว่าไม่มีเจตนาทุจริต แต่พิมพ์ผิดพลาด เช่นนี้ไม่มีความผิดต่อกฎหมายอาญา แต่ระบบคัดกรองอาจจะไม่อนุมัติ เนื่องจากข้อมูลผิดพลาด
๒. ลงทะเบียนโดยเข้าใจผิดไปว่ามีสิทธิยื่น ต่อมาทราบเองภายหลังว่าไม่มีสิทธิ
เช่น เป็นนักศึกษาอยู่ระหว่างรองานทำ ก็ระบุชัดว่าเป็นนักศึกษา หรือเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ คือมีนายจ้าง แต่เข้าใจผิดว่าตนมีสิทธิยื่น (กรณีชัดแจ้งว่าไม่ได้ยื่นขอใช้สิทธิ ๒ ทาง คือไม่ได้ยื่นขอรับจากประกันสังคมอีกทางหนึ่งด้วย)
เช่นนี้ ระบบจะตัดสิทธิเพราะขาดคุณสมบัติ และไม่ถือว่ามีเจตนาทุจริตแจ้งเท็จ เพราะแจ้งทุกอย่างโดยสุจริตตามความเป็นจริง
๓. กรอกข้อมูลเท็จ
เช่น กรอกว่าตกงานเพื่อหวังเงินชดเชย ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้ทำงานอยู่แต่แรกแล้ว หรือไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เลย โดยยังทำงานหรือค้าขายได้เงินเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม แต่กรอกเท็จว่าได้รับผลกระทบ
เช่นนี้ เป็นที่ชัดเจนว่ามีเจตนาโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง กรอกข้อมูลเท็จดังกล่าว เพื่อหวังให้กระทรวงการคลังเชื่อและจ่ายเงินให้ โดยกรณีดังกล่าวถือเป็นความผิดอาญา
ส่วนจะผิดคดีอาญาฐานใด และเป็นคดีแพ่งหรือไม่ ต้องรับผิดอย่างไร ติดตามรายละเอียดได้ที่คลิปนี้ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://youtu.be/x-k6ZhUMIYo
ลงทะเบียน "เราไม่ทิ้งกัน" กรอกข้อมูลแบบไหน ถึงมีความผิดต่อกฎหมาย
๑.กรอกข้อมูลผิดไป
เช่น กรอกเลขบัตรประชาชนผิด เลขที่บ้านผิด เลขบัญชีผิดไปบางตัว ซึ่งถือเป็นรายละเอียดเล็กน้อย ที่เห็นได้ชัดว่าไม่มีเจตนาทุจริต แต่พิมพ์ผิดพลาด เช่นนี้ไม่มีความผิดต่อกฎหมายอาญา แต่ระบบคัดกรองอาจจะไม่อนุมัติ เนื่องจากข้อมูลผิดพลาด
๒. ลงทะเบียนโดยเข้าใจผิดไปว่ามีสิทธิยื่น ต่อมาทราบเองภายหลังว่าไม่มีสิทธิ
เช่น เป็นนักศึกษาอยู่ระหว่างรองานทำ ก็ระบุชัดว่าเป็นนักศึกษา หรือเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ คือมีนายจ้าง แต่เข้าใจผิดว่าตนมีสิทธิยื่น (กรณีชัดแจ้งว่าไม่ได้ยื่นขอใช้สิทธิ ๒ ทาง คือไม่ได้ยื่นขอรับจากประกันสังคมอีกทางหนึ่งด้วย)
เช่นนี้ ระบบจะตัดสิทธิเพราะขาดคุณสมบัติ และไม่ถือว่ามีเจตนาทุจริตแจ้งเท็จ เพราะแจ้งทุกอย่างโดยสุจริตตามความเป็นจริง
๓. กรอกข้อมูลเท็จ
เช่น กรอกว่าตกงานเพื่อหวังเงินชดเชย ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้ทำงานอยู่แต่แรกแล้ว หรือไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เลย โดยยังทำงานหรือค้าขายได้เงินเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม แต่กรอกเท็จว่าได้รับผลกระทบ
เช่นนี้ เป็นที่ชัดเจนว่ามีเจตนาโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง กรอกข้อมูลเท็จดังกล่าว เพื่อหวังให้กระทรวงการคลังเชื่อและจ่ายเงินให้ โดยกรณีดังกล่าวถือเป็นความผิดอาญา
ส่วนจะผิดคดีอาญาฐานใด และเป็นคดีแพ่งหรือไม่ ต้องรับผิดอย่างไร ติดตามรายละเอียดได้ที่คลิปนี้ค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้