Hot Refueling
(Hot Pit) คือการเติมน้ำมันอากาศยานในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน
ในกรณีนี้ไม่ใช่การเติมน้ำมันในอากาศโดยเครื่องบินบรรทุกน้ำมันหรือแทงค์เกอร์
แต่เป็นการเติมน้ำมันโดยหัวจ่ายภาคพื้น
วัตถุประสงค์ในการเติมน้ำมันแบบไม่ดับเครื่องยนต์ของเครื่องบินรบๆ (Hot Pit) คือต้องการให้เครื่องพร้อมรบเร็วที่สุด
การทำ Hot Pit อาจรวมไปถึงการโหลดอาวุธเพิ่มเติมด้วย
แบบรบติดพัน รีบมารีบไป
.....แต่หากเป็นเฮลิคอปเตอร์ทางการทหารก็ต้องการไปทำภารกิจต่อให้เร็วที่สุด ไม่ว่าขนส่งผู้บาดเจ็บ กู้ภัย
สาเหตุที่ไม่ดับเครื่องยนต์ เพราะการดับเครื่องยนต์เพื่อเติมน้ำมันน้ำมันแล้วกลับมาสตาร์ทใหม่
จะต้องใช้เวลามาก กว่าจะดับ กว่าจะสตาร์ทเครื่องยนต์ กว่าจะ alignment ระบบต่างๆ
การเติมน้ำมันอากาศยานโดยวิธีนี้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องผ่านการฝึกอบรมโดยเฉพาะ
ในระหว่างการเติมเชื้อเพลิงจะต้องมีรถดับเพลิงสแตนด์บาย จุดจอดรับบริการเชื้อเพลิงก็ต้องจัดแยกไว้ให้เหมาะสม
ระบบเติมก็ควรจะต้องมีระบบ Deadman ไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ(ระบบที่ใช้มือบีบก้านควบคุมไว้
และสามารถปล่อยเพื่อตัดระบบได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน)
การเติมน้ำมันแบบนี้มีมาตั้งแต่ปี 1970 เคยเกิดอุบัติเหตุหนักๆกับ F-4 คือ หัวจ่ายไม่แนบสนิทกับตัวเครื่อง
ทำให้มีละอองน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ เกิดไฟไหม้เสียหายทั้งลำ
ไม่ใช่ว่าการทำ Hot Refueling จะสามารถทำได้กับเครื่องบินรบทุกแบบ บางแบบเช่น F-5 หรือ F-111 ไม่สามารถทำได้
อาจเนื่องมาจากระบบฟีดน้ำมัน ช่องทางเติมน้ำมัน หรือเซพตี้อื่นๆ ไม่รองรับ
ลองดูตารางด้านล่างนะครับ ตารางนี้ออกมานานแล้ว ปัจจุบันอากาศยานหลายๆแบบ หลายๆค่าย สามารถทำ Hot Refueling ได้สบาย
ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไหนจะนำมาใช้หรือไม่ สำหรับไทยไม่เคยเห็นมีการฝึกแบบนี้นะครับ
การเติมน้ำมันเฮลิคอปเตอร์แบบ Hot Refuel อาจมีความแตกต่างกันในภารกิจ เช่นเติมในฐานบิน
เติมในภูมิประเทศ ตามภารกิจ เติมบนเรือ เติมจากเรือ
การเติมบนเรือขณะจอดถือว่ายากมากแล้ว เพราะลมจากใบพัด หรืออันตรายจากใบพัดเอง
แต่อีกวิธีนึงที่อันตรายกว่าคือ กว้านหัวจ่ายจากเรือขึ้นไปเติมที่เครื่อง โดยที่เครื่องลอยอยู่ในอากาศ
*****
******
....การบินภารกิจต่างๆในทะเลของเฮลิคอปเตอร์ เช่นการพวกโคสการ์ด การบินค้นหากู้ภัย หรืออื่นๆ
อาจต้องใช้เวลานาน ความต้องการเติมน้ำมันกลางทาง การกลับไปฝั่งหรือหาเรือลำใหญ่ๆที่รองรับเฮลิคอปเตอร์ชนิดนั้นๆ
อาจทำได้ยาก
การลอยตัวเติมน้ำมันจึงมีความจำเป็น และต้องมีการฝึกฝนอยู่เสมอ
สิ่งที่สำคัญของการเติมน้ำมันจากเรือ คือการตรวจเช็คชนิดและความสะอาดของน้ำมัน เรียกว่าเป็น Tecnical Order (T.O.)
ที่ช่างประจำอากาศยานต้องตรวจ ก่อนรับการเติมทุกครั้ง
ลองมาดูคลิปการเติมน้ำมันของเฮลิคอปตอร์ขณะลอยตัว
จะเห็นว่า ช่างเครื่องจะส่งถุงที่มีน้ำหนักถ่วงลงมาก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่บนเรือส่งตัวอย่างน้ำมันขึ้นไปให้
ดูจะหวะเเรกที่ถุงลงมาถึง เจ้าหน้าที่ทีมเสื้อม่วงจะนำขวดบรรจุตัวอย่างน้ำมันใส่ถุง ดึงขึ้นไปอีกครั้งนึง
ก่อนที่จะส่งกว้านลงมาดึงหัวจ่ายขึ้นไป
การเติมแบบลงจอดบนเรือ
ชม F-35 ; Refueling and Rearm
USMC Harriers Refuel & Rearm
ขอบคุณครับ
มีสิ่งใดผิดพลาดหรือจะแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม เรียนเชิญนะครับผม
Hot Refueling การเติมน้ำมันเครื่องบินแบบไม่ดับเครื่อง
(Hot Pit) คือการเติมน้ำมันอากาศยานในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน
ในกรณีนี้ไม่ใช่การเติมน้ำมันในอากาศโดยเครื่องบินบรรทุกน้ำมันหรือแทงค์เกอร์
แต่เป็นการเติมน้ำมันโดยหัวจ่ายภาคพื้น
วัตถุประสงค์ในการเติมน้ำมันแบบไม่ดับเครื่องยนต์ของเครื่องบินรบๆ (Hot Pit) คือต้องการให้เครื่องพร้อมรบเร็วที่สุด
การทำ Hot Pit อาจรวมไปถึงการโหลดอาวุธเพิ่มเติมด้วย
แบบรบติดพัน รีบมารีบไป
.....แต่หากเป็นเฮลิคอปเตอร์ทางการทหารก็ต้องการไปทำภารกิจต่อให้เร็วที่สุด ไม่ว่าขนส่งผู้บาดเจ็บ กู้ภัย
สาเหตุที่ไม่ดับเครื่องยนต์ เพราะการดับเครื่องยนต์เพื่อเติมน้ำมันน้ำมันแล้วกลับมาสตาร์ทใหม่
จะต้องใช้เวลามาก กว่าจะดับ กว่าจะสตาร์ทเครื่องยนต์ กว่าจะ alignment ระบบต่างๆ
การเติมน้ำมันอากาศยานโดยวิธีนี้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องผ่านการฝึกอบรมโดยเฉพาะ
ในระหว่างการเติมเชื้อเพลิงจะต้องมีรถดับเพลิงสแตนด์บาย จุดจอดรับบริการเชื้อเพลิงก็ต้องจัดแยกไว้ให้เหมาะสม
ระบบเติมก็ควรจะต้องมีระบบ Deadman ไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ(ระบบที่ใช้มือบีบก้านควบคุมไว้
และสามารถปล่อยเพื่อตัดระบบได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน)
การเติมน้ำมันแบบนี้มีมาตั้งแต่ปี 1970 เคยเกิดอุบัติเหตุหนักๆกับ F-4 คือ หัวจ่ายไม่แนบสนิทกับตัวเครื่อง
ทำให้มีละอองน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ เกิดไฟไหม้เสียหายทั้งลำ
ไม่ใช่ว่าการทำ Hot Refueling จะสามารถทำได้กับเครื่องบินรบทุกแบบ บางแบบเช่น F-5 หรือ F-111 ไม่สามารถทำได้
อาจเนื่องมาจากระบบฟีดน้ำมัน ช่องทางเติมน้ำมัน หรือเซพตี้อื่นๆ ไม่รองรับ
ลองดูตารางด้านล่างนะครับ ตารางนี้ออกมานานแล้ว ปัจจุบันอากาศยานหลายๆแบบ หลายๆค่าย สามารถทำ Hot Refueling ได้สบาย
ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไหนจะนำมาใช้หรือไม่ สำหรับไทยไม่เคยเห็นมีการฝึกแบบนี้นะครับ
การเติมน้ำมันเฮลิคอปเตอร์แบบ Hot Refuel อาจมีความแตกต่างกันในภารกิจ เช่นเติมในฐานบิน
เติมในภูมิประเทศ ตามภารกิจ เติมบนเรือ เติมจากเรือ
การเติมบนเรือขณะจอดถือว่ายากมากแล้ว เพราะลมจากใบพัด หรืออันตรายจากใบพัดเอง
แต่อีกวิธีนึงที่อันตรายกว่าคือ กว้านหัวจ่ายจากเรือขึ้นไปเติมที่เครื่อง โดยที่เครื่องลอยอยู่ในอากาศ
*****
******
....การบินภารกิจต่างๆในทะเลของเฮลิคอปเตอร์ เช่นการพวกโคสการ์ด การบินค้นหากู้ภัย หรืออื่นๆ
อาจต้องใช้เวลานาน ความต้องการเติมน้ำมันกลางทาง การกลับไปฝั่งหรือหาเรือลำใหญ่ๆที่รองรับเฮลิคอปเตอร์ชนิดนั้นๆ
อาจทำได้ยาก
การลอยตัวเติมน้ำมันจึงมีความจำเป็น และต้องมีการฝึกฝนอยู่เสมอ
สิ่งที่สำคัญของการเติมน้ำมันจากเรือ คือการตรวจเช็คชนิดและความสะอาดของน้ำมัน เรียกว่าเป็น Tecnical Order (T.O.)
ที่ช่างประจำอากาศยานต้องตรวจ ก่อนรับการเติมทุกครั้ง
ลองมาดูคลิปการเติมน้ำมันของเฮลิคอปตอร์ขณะลอยตัว
จะเห็นว่า ช่างเครื่องจะส่งถุงที่มีน้ำหนักถ่วงลงมาก่อน เพื่อให้เจ้าหน้าที่บนเรือส่งตัวอย่างน้ำมันขึ้นไปให้
ดูจะหวะเเรกที่ถุงลงมาถึง เจ้าหน้าที่ทีมเสื้อม่วงจะนำขวดบรรจุตัวอย่างน้ำมันใส่ถุง ดึงขึ้นไปอีกครั้งนึง
ก่อนที่จะส่งกว้านลงมาดึงหัวจ่ายขึ้นไป
การเติมแบบลงจอดบนเรือ
ชม F-35 ; Refueling and Rearm
USMC Harriers Refuel & Rearm
ขอบคุณครับ
มีสิ่งใดผิดพลาดหรือจะแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม เรียนเชิญนะครับผม