สวัสดีค่ะ ขอแนะนำตัวก่อนว่า จขกท อยู่ถาวรที่ฝรั่งเศส ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงที่ปิดประเทศสู้โควิด รัฐก็ทยอยออกนโยบายช่วยเหลือหลายอย่าง อย่างเช่น ย้ายคนที่หยุดงานเพราะไม่ได้อยู่ในประเภทธุรกิจที่ต้องไปทำงาน (ที่เปิดอยู่ คือ ธ. ร้านยา หมอ ห้างที่ขายอาหาร ไปรษณีย์ เป็นต้น)ให้ไปอยู่ตกงานชั่วคราว ซึ่งก็จะได้รับเงินตกงานประมาณ 60-70% หรืออีกนโนบายคือแจกเงิน 1000ยูโรสำหรับผู้มีรายได้น้อย สวัสดิการฝรั่งเศสค่อนข้างดี เด็กเรียนฟรี นร แต่ล่ะห้องไม่เกิน 25 คน,และจะมีเงินช่วยค่าเลี้ยงลูก เดือนล่ะประมาณ100ยูโร(ขึ้นอยู่กับรายได้ พ่อแม่) ในผู้มีรายได้น้อย จะมีความช่วยเหลือเพิ่มอีกเช่น ค่าที่พักอาศัย หรือสิทธิ์เช่าอพาร์ทเมนของรัฐในราคาถูก คนที่จะได้รับความช่วยเหลือมากคือ คนยากจน แม่/พ่อเลี้ยงเดี่ยว คนมีลูกเยอะ
แต่เพื่อเเลกมากับสวัสดิการที่ดี คนทำงานก็ต้องเสียภาษีรายได้ คนในทุกสาขาอาชีพจะต้องลงทะเบียนเสียภาษีแจ้งรายได้จากนั้นเสียมากน้อยขึ้นอยู่กับรายได้หรือจำนวนเด็กในครอบครัว ขนาดคนแก่กินเงินเกษียรยังต้องแจ้ง อาชีพอิสระ ขายของตามตลาดนัด ก็ต้องลงทะเบียนและแจ้งรายได้ ที่เล่ามานี่คือจะบอกว่าที่นี่ทุกอย่างเข้าระบบ ดังนั้นรัฐสามารถเยียวยาได้ถูกจุดว่าใคร รายได้เท่าไหร่ ในกรณีที่เกิดวิกฤตอย่างตอนนี้โรคระบาด
คำถามคือ คุณคิดว่าประเทศไทยสามารถเข้าเป็นรัฐสวัสดิการได้ไหม
ตัว จขกท มาคิดๆว่าบ้านเราใครมีทุนก็มาขายของ รายได้ก็ไม่มีคนรู้ คนที่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไป จ้างรายวัน สัญญาจ้างงานก็ไม่มีจ่ายแล้วจบ เกษตรกรหักต้นหักทุนเหลือเท่าไหร่ (มีญาติกันทำเกษตรขนาดกลางแต่ขยันปีๆรายได้หลายแสน) คนเหล่านี้มีรายได้ แต่ทำไมคนที่เสียภาษีถึงเป็นคนที่ทำงานในระบบตลอดทั้งๆที่จริงๆคนที่เสียภาษีอาจจะรายรับน้อยกว่าคนค้าขายอิสระอีก มันจะเป็นไปได้ไหมที่เราเอาพวกเขาเข้าระบบ
ยกตัวอย่างเช่น ไปซื้อข้าวมันไก่ ร้านคิดราคาพอจ่ายเงินก็มีใบเสร็จเหมือน 7 ,คนที่ทำงานในร้านข้าวมันไก่ก็ต้องเซ็นต์สัญญาลูกจ้างนายจ้าง ระยะเวลาการจ้างงาน ไม่ใช่พอมีปัญหาก็ไล่ออกทันที,ลูกจ้างก็ได้เข้าระบบประกันสังคม รักษาพยาบาล ,ลูกจ้างเสียภาษีรายได้ ส่วนหนึ่งส่งเป็นเงินเกษียร,ร้านข้าวมันไก่ก็ต้องจดทะเบียนธุรกิจ,เจ้าของร้านก็ต้องไปอบรมเกี่ยวกับสุขลักษณะของคนที่จะขายอาหาร มีระบบสุ่มตรวจความสะอาดจากทางรัฐ
ง่ายๆคือให้ทุกงานที่มีรายได้เข้าระบบ คุณคิดว่ายังไง
ขอคุยกันดีๆนะคะ เอาเหตุผลคุยกัน
ขอบคุณค่ะ
ประเทศไทยกับการเป็นรัฐสวัสดิการ