รู้หรือไม่ว่าการวัดไข้เพื่อคัดกรองโควิด 19 (COVID-19) ที่วัดกันอยู่ถูกวิธีหรือไม่? ต้องบวก 0.5 องศา ไหม?

จากสถานการณ์ของโควิค 19 ที่กำลังถามโถมเข้ามาในขณะนี้ ทำให้องค์กรหรือสถาบันหลายๆ แห่งมีการคัดกรองเบื้องต้นของโควิด 19 
โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ชนิดแสกนที่บริเวณหน้าผาก ซึ่งข้อดีของมันก็คือแสกนได้รวดเร็ว และเหมาะกับคนจำนวนมากๆ อาทิ เช่น ท่าอากาศยาน ด่านตรวจคนเข้าเมือง ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือองค์กรต่างๆ โดยก่อนเข้ามาจะต้องมีการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งก็บอกได้แค่เบื้องต้นจริงๆ นั่นแหละว่ามีไข้หรือไม่ แต่คนที่ยังไม่แสดงอาการก็จะยังไม่มีไข้ แต่สามารถแพร่เชื้อได้แล้วเนื่องจากว่าระยะฟักตัวที่ยาวนานถึง 14 วัน
 
อย่างไรก็ตามการคัดกรองเบื้องต้นนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำได้ก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหากผู้คัดกรองขาดความรู้ ในการใช้เครื่องมือแล้ว สามารถทำให้การแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว ทำไมถึงพูดอย่างนั้น 
 
ความจริงคือที่วัดไข้แบบยิงหน้าผากนั้น ถ้าวัดค่าออกมาแล้วจำเป็นต้องเอาค่าที่ได้นั้น บวกไปอีก 0.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากไม่ใช่เป็นการวัดจาก core temperature หรืออุณหภูมิส่วนกลาง นั่นก็คือที่ทวารหนักและเยื่อบุแก้วหู ซึ่งมีบทความที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาที่ยืนยันเรื่องนี้มานานแล้ว 
 
ถ้าจำลองสถานการณ์ มีผู้ติดเชื้อมาและถูกแสกนหน้าผากวัดได้ 37.3 ซึ่งไม่มีไข้ เจ้าหน้าที่ให้ผ่านเข้ามาได้ แต่ในความเป็นจริงต้องบวกค่าอุณหภูมิไปอีก 0.5 องศา ซึ่งจะได้ 37.8 องศา คืออุณภูมิจริงที่ควรวัดได้ ซึ่งผู้ติดเชื้อรายนี้มีไข้แล้ว โดยที่เราไม่รู้เลยและปล่อยให้ผ่านเข้ามาปะปนกับคนอื่น ซึ่งถ้าไม่ทำ social distancing แล้วละก็ จะทำให้ผู้ติดเชื้อรายนี้สามารถแพร่เชื้อโควิค 19 นี้ไปยังผู้อื่นได้เลย 
 
ดังนั้นจึงตั้งข้อสังเกตและถามคำถามไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่มีความรู้ว่า  เค้าวัดกันอย่างไร และที่ถูกต้องจริงๆ ต้องเป็นอย่างไร เพราะเท่าที่เห็นคือ บางคนวัดได้ 29 องศา 30 องศา มั่ง ซึ่งอุณภูมิที่ต่ำกว่าปกติของร่างกายมนุษย์ บางคนวัดได้ 37 องศา แต่เมื่อไม่ได้บวก 0.5 จึงอ่านค่าว่าไม่มีไข้ อันที่จริงแล้วเค้ามีไข้ต่ำๆ แล้ว (37.5)  เรื่องเล็กน้อยแค่นี้ก็เป็นที่สิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามกันนะ
 
คำถามคือต้องบวก 0.5 องศา ไหม ถ้าใช้เครื่องยิงที่หน้าผาก?
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่