คณบดีศิริราชห่วง หากคนไทยไม่หยุดอยู่บ้าน ไม่รักษาระยะห่าง อัตราป่วยโควิด-19 รายใหม่ยังอยู่ที่วันละ 33% คาดวันที่ 15 เม.ย. จะผู้ป่วย 3.5 แสนราย นอน รพ. 5.2 หมื่นราย อยู่ ไอ.ซี.ยู. 1.6 หมื่นราย ตาย 7 พันราย แต่หากทำได้ ลดอัตราผู้ป่วยใหม่เหลือ 20% จะเหลือผู้ป่วย 2.4 หมื่นคน นอน รพ. 2.6 พันคน ทรัพยากรระบบสาธารณสุขเพียงพอต่อการดูแล ขอคนไทยช่วยกัน 3 สัปดาห์ มั่นใจชะลอการระบาดของโรคได้
วันนี้ (23 มี.ค.) ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กรณีผับ และ สนามมวย สำหรับโรคโควิด-19 นั้น สถานการณ์ของโลกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่คุมอยู่ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง กลุ่มนี้อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจาก 100 ราย เป็น 200 ราย อยู่ที่ประมาณ 5 วัน และ 2. กลุ่มที่คุมไม่อยู่ คือ แถบยุโรป โดยจำนวนผู้ป่วยจาก 100 คน มาเป็น 200 คน อยู่ที่ประมาณ 3 วัน โดยประเทศไทยตอนผู้ป่วยถึง 100 คน และเพิ่มมาเป็น 200 คน อยู่ที่ประมาณ 3.5 วัน ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะวิ่งไปในแนวทางกลุ่มประเทศที่คุมไม่อยู่ ซึ่งโดยเฉลี่ยแต่ละวันจะมีรายใหม่บวกเพิ่มประมาณ 33%
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า จากการดูอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยรายใหม่ในไทยของแต่ละวัน จะพบว่า เพิ่มวันละ 30 คน เป็น 50 คน 89 คน 188 คน ตอนนี้ตัวเลขวิ่งไปเร็ว และอัตราการเพิ่มอยู่ในตัวเลข 30 กว่าเปอร์เซ็นต์จริง ซึ่งหากเราไม่ทำอะไร ปล่อยให้จำนวนผู้ป่วยรายใหม่แต่ละวันเพิ่ม 33% จากการคำนวณทางสถิติ พบว่า จากวันที่ไทยพบผู้ป่วยเกิน 100 คนครั้งแรก คือ วันที่ 15 มี.ค. หากไม่ทำอะไรใน 30 วัน คือ วันที่ 15 เม.ย. 2563 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 351,984 ราย และเมื่อคำนวณจากอัตราความรุนแรงของโรคต่างๆ จะพบว่า จะมีผู้ป่วยต้องนอน รพ. 52,792 ราย อยู่ ไอ.ซี.ยู. 17,597 ราย และเสียชีวิต 7,039 ราย แต่หากเราเริ่มดำเนินการเพื่อดึงจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลงมาที่ 20% คำนวณว่า วันที่ 15 เม.ย. เราจะลดจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 มาอยู่ที่ 24,269 ราย นอน รพ. 3,640 ราย อยู่ ไอ.ซี.ยู. 1,213 เสียชีวิต 485 ราย
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า หากพิจารณาจากทรัพยากรที่เรามี จะพบว่า เรามีห้องแยกผู้ป่วยเดียวใน กทม. 237 ห้อง ต่างจังหวัด 2,444 ห้อง ห้องแยกผู้ป่วยรวมสำหรับอาการไม่เยอะ หรือ cohort ward ใน กทม.มี 143 เตียง ต่างจังหวัด 3,061 เตียง ห้องความดันลบใน กทม. 136 เตียง ต่างจังหวัด 1,042 เตียง ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่า มีแพทย์ 37,160 คน พยาบาล 151.571 คน ซึ่งหากเราไม่ทำอะไรปล่อยให้ผู้ป่วยทะลักเข้ามาจำนวนเท่านี้ ระบบสาธารณสุขจะรองรับไม่ได้ เกินศักยภาพประเทศไทยทั้งประเทศ แต่หากคุมอัตราเพิ่มผู้ป่วยรายใหม่ลงมาที่ 20% จะเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยจะพอกับทรัพยากรที่เรามี
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะนี้รัฐบาลระงับการเดินทางของคนนอกพื้นที่เข้ามาในประเทศ คือ การป้องกันคนติดเชื้อข้างนอกไม่ให้เข้าสู่พื้นที่เรา โดยคนเข้าประเทศไทยต้องมีหนังสือรับรองว่าปราศจากเชื้อนี้ เข้ามาก็ถูกจำกัด 14 วัน เชื่อว่าทำให้คนส่วนหนึ่งไม่เข้ามา มาตรการตรวจจับคนติดเชื้อให้ได้ โดยนำไปแยกกัก ทั้งผู้ป่วย คนมีประวัติสัมผัสคนติดเชื้อ และมีการปิดสถานที่เสี่ยงจำนวนคนเยอะๆ เช่น สถานศึกษา สถานบันเทิง ส่วนการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ขยายวง คือ สิ่งที่เราขอให้ทำอยู่ตอนนี้ คือ อยู่กับบ้าน ลดโอกาสแพร่เชื้อ เพราะออกไปอาจไม่ป่วยแต่ออกไปแล้วอาจรับเชื้อมาได้ และการรักษาระยะห่างทางสังคม ไม่ใกล้ชิดกว่า 1-2 เมตร หากทำได้ก็จะช่วยลดการแพร่เชื้อลง เพราะโรคติดต่อจะไม่ติดต่อ ถ้าคนไม่ติดต่อกัน ซึ่งหากทำเช่นนี้ได้นาน 3 สัปดาห์ เชื่อว่าช่วงสัปดาห์ที่ 4 เป็นต้นไป จะเห็นการเพิ่มของโรคค่อยๆ ลดลง ชะลอการระบาดของโรค
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ให้ข้อมูลมานะที่นี้ด้วยนะครับ
ศิริราชเตือนไม่อยู่บ้าน เพื่อช่วยลดเชื้อโควิด-19 คาด 15 เม.ย.อาจมีผู้ป่วยมากถึง 3.5 แสนคน
วันนี้ (23 มี.ค.) ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยเริ่มเพิ่มจำนวนสูงขึ้นจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กรณีผับ และ สนามมวย สำหรับโรคโควิด-19 นั้น สถานการณ์ของโลกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่คุมอยู่ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง กลุ่มนี้อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจาก 100 ราย เป็น 200 ราย อยู่ที่ประมาณ 5 วัน และ 2. กลุ่มที่คุมไม่อยู่ คือ แถบยุโรป โดยจำนวนผู้ป่วยจาก 100 คน มาเป็น 200 คน อยู่ที่ประมาณ 3 วัน โดยประเทศไทยตอนผู้ป่วยถึง 100 คน และเพิ่มมาเป็น 200 คน อยู่ที่ประมาณ 3.5 วัน ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะวิ่งไปในแนวทางกลุ่มประเทศที่คุมไม่อยู่ ซึ่งโดยเฉลี่ยแต่ละวันจะมีรายใหม่บวกเพิ่มประมาณ 33%
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า จากการดูอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยรายใหม่ในไทยของแต่ละวัน จะพบว่า เพิ่มวันละ 30 คน เป็น 50 คน 89 คน 188 คน ตอนนี้ตัวเลขวิ่งไปเร็ว และอัตราการเพิ่มอยู่ในตัวเลข 30 กว่าเปอร์เซ็นต์จริง ซึ่งหากเราไม่ทำอะไร ปล่อยให้จำนวนผู้ป่วยรายใหม่แต่ละวันเพิ่ม 33% จากการคำนวณทางสถิติ พบว่า จากวันที่ไทยพบผู้ป่วยเกิน 100 คนครั้งแรก คือ วันที่ 15 มี.ค. หากไม่ทำอะไรใน 30 วัน คือ วันที่ 15 เม.ย. 2563 ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 351,984 ราย และเมื่อคำนวณจากอัตราความรุนแรงของโรคต่างๆ จะพบว่า จะมีผู้ป่วยต้องนอน รพ. 52,792 ราย อยู่ ไอ.ซี.ยู. 17,597 ราย และเสียชีวิต 7,039 ราย แต่หากเราเริ่มดำเนินการเพื่อดึงจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลงมาที่ 20% คำนวณว่า วันที่ 15 เม.ย. เราจะลดจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 มาอยู่ที่ 24,269 ราย นอน รพ. 3,640 ราย อยู่ ไอ.ซี.ยู. 1,213 เสียชีวิต 485 ราย
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า หากพิจารณาจากทรัพยากรที่เรามี จะพบว่า เรามีห้องแยกผู้ป่วยเดียวใน กทม. 237 ห้อง ต่างจังหวัด 2,444 ห้อง ห้องแยกผู้ป่วยรวมสำหรับอาการไม่เยอะ หรือ cohort ward ใน กทม.มี 143 เตียง ต่างจังหวัด 3,061 เตียง ห้องความดันลบใน กทม. 136 เตียง ต่างจังหวัด 1,042 เตียง ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่า มีแพทย์ 37,160 คน พยาบาล 151.571 คน ซึ่งหากเราไม่ทำอะไรปล่อยให้ผู้ป่วยทะลักเข้ามาจำนวนเท่านี้ ระบบสาธารณสุขจะรองรับไม่ได้ เกินศักยภาพประเทศไทยทั้งประเทศ แต่หากคุมอัตราเพิ่มผู้ป่วยรายใหม่ลงมาที่ 20% จะเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยจะพอกับทรัพยากรที่เรามี
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ทำอย่างไรไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะนี้รัฐบาลระงับการเดินทางของคนนอกพื้นที่เข้ามาในประเทศ คือ การป้องกันคนติดเชื้อข้างนอกไม่ให้เข้าสู่พื้นที่เรา โดยคนเข้าประเทศไทยต้องมีหนังสือรับรองว่าปราศจากเชื้อนี้ เข้ามาก็ถูกจำกัด 14 วัน เชื่อว่าทำให้คนส่วนหนึ่งไม่เข้ามา มาตรการตรวจจับคนติดเชื้อให้ได้ โดยนำไปแยกกัก ทั้งผู้ป่วย คนมีประวัติสัมผัสคนติดเชื้อ และมีการปิดสถานที่เสี่ยงจำนวนคนเยอะๆ เช่น สถานศึกษา สถานบันเทิง ส่วนการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ขยายวง คือ สิ่งที่เราขอให้ทำอยู่ตอนนี้ คือ อยู่กับบ้าน ลดโอกาสแพร่เชื้อ เพราะออกไปอาจไม่ป่วยแต่ออกไปแล้วอาจรับเชื้อมาได้ และการรักษาระยะห่างทางสังคม ไม่ใกล้ชิดกว่า 1-2 เมตร หากทำได้ก็จะช่วยลดการแพร่เชื้อลง เพราะโรคติดต่อจะไม่ติดต่อ ถ้าคนไม่ติดต่อกัน ซึ่งหากทำเช่นนี้ได้นาน 3 สัปดาห์ เชื่อว่าช่วงสัปดาห์ที่ 4 เป็นต้นไป จะเห็นการเพิ่มของโรคค่อยๆ ลดลง ชะลอการระบาดของโรค
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่ให้ข้อมูลมานะที่นี้ด้วยนะครับ