ยอดพระเจดีย์หริภุญชัย ยอดพระเจดีย์พระธาตุจอมกิตติ ฯลฯ ยอดพระธาตุหลายครั้งตกลงมาแตก เกิดเหตุอย่างนี้บ่อยๆ เราจะทำยังไงดี?
แสดงว่าช่างเขาทำไม่ดีพอ จะต้องหาช่างเก่งๆ มาทำ แต่ถ้าแผ่นดินไหว แล้วเกิดแตกหักโค่นล้มลงมา ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรมดา และความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังไม่หาย เพราะว่าคนเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติทำ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ไม่มีธรรมชาติแล้วก็หล่นลงมา แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราต้องไปสืบเสาะหาช่างที่เก่งๆ มาทำได้ บางครั้งแผ่นดินไหว ๗-๘ ริกเตอร์ ยังทนได้ ศาสตร์ทางการช่างเขาคำนวณได้
แต่ถ้าเป็นตัวองค์พระธาตุล้มลงมา หรือเอียง หรือทรุดลงมาจะเป็นอย่างไร?
ความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงเดิม แต่สิ่งสำคัญก็คือข้างในองค์พระเจดีย์จะต้องมีพระบรมสารีริกธาตุ แต่ถ้าไม่มีพระบรมสารีริกธาตุก็จะต้องอ่อนลงไปทันที สมมติว่า องค์พระเจดีย์ตกลงมาแตก หรือทรุดเสียหาย เราก็จะต้องรีบบวงสรวงใหม่
ยกตัวอย่าง เหตุการณ์แผ่นดินไหว ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ได้เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นที่องค์พระธาตุพนม ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน ทำให้เริ่มเอียงจากแกนเดิม ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝน ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น วันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพังทลายลงมา สาเหตุการพังทลายขององค์พระธาตุ ไม่ได้ทรุดที่ฐาน แต่เริ่มจากยอดที่มีน้ำหนักมาก ในแนวดิ่งมากดคอบัวฐานชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้บิออกเป็นแนวฉีกลึกไปในเจดีย์ เพราะอิฐเปียกยุ่ยจากฝนที่ตกติดต่อกันอย่างหนัก ขณะเดียวกันอิฐผนังที่ยุ่ยอยู่แล้วก็ค่อยๆ ทลายลงเป็นแถบๆ ยอดเจดีย์กด พุ่งลงมาตามแนวดิ่งหักลงเป็นท่อนๆ องค์พระธาตุได้ล้มฟาดลงมาทางทิศตะวันออก แตกหักออกเป็นท่อน มีลักษณะเป็น 3 ตอน
ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระอุรังคธาตุ) ขึ้นบรรจุในองค์พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จากนั้นเป็นต้นมา พระธาตุพนม ที่พังทลายลงตามกาลเวลา ก็กลับมาตั้งตระหง่านสูงเสียดฟ้า ณ ริมฝั่งโขง ให้ประชาชนได้สักการะดั่งศูนย์รวมใจยึดมั่นศรัทธาของพุทธศาสนิกชนสองฝั่งโขงไทยลาว (
https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1474569)
ยอดพระเจดีย์หริภุญชัย ยอดพระเจดีย์พระธาตุจอมกิตติ ฯลฯ เกิดเหตุอย่างนี้บ่อยๆ เราจะทำยังไงดี?
แสดงว่าช่างเขาทำไม่ดีพอ จะต้องหาช่างเก่งๆ มาทำ แต่ถ้าแผ่นดินไหว แล้วเกิดแตกหักโค่นล้มลงมา ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรมดา และความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังไม่หาย เพราะว่าคนเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติทำ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ไม่มีธรรมชาติแล้วก็หล่นลงมา แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราต้องไปสืบเสาะหาช่างที่เก่งๆ มาทำได้ บางครั้งแผ่นดินไหว ๗-๘ ริกเตอร์ ยังทนได้ ศาสตร์ทางการช่างเขาคำนวณได้
แต่ถ้าเป็นตัวองค์พระธาตุล้มลงมา หรือเอียง หรือทรุดลงมาจะเป็นอย่างไร?
ความศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงเดิม แต่สิ่งสำคัญก็คือข้างในองค์พระเจดีย์จะต้องมีพระบรมสารีริกธาตุ แต่ถ้าไม่มีพระบรมสารีริกธาตุก็จะต้องอ่อนลงไปทันที สมมติว่า องค์พระเจดีย์ตกลงมาแตก หรือทรุดเสียหาย เราก็จะต้องรีบบวงสรวงใหม่
ยกตัวอย่าง เหตุการณ์แผ่นดินไหว ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ได้เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ขึ้นที่องค์พระธาตุพนม ลามจากส่วนบนที่เริ่มปริร้าวลงมายังฐาน ทำให้เริ่มเอียงจากแกนเดิม ต่อมาเข้าช่วงฤดูฝน ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีฝนตกหนักเกือบทุกวัน และมีลมแรงพัดตลอดเวลารอยร้าวที่มีแต่เดิมเริ่มแยกออกกว้างขึ้น วันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพังทลายลงมา สาเหตุการพังทลายขององค์พระธาตุ ไม่ได้ทรุดที่ฐาน แต่เริ่มจากยอดที่มีน้ำหนักมาก ในแนวดิ่งมากดคอบัวฐานชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ให้บิออกเป็นแนวฉีกลึกไปในเจดีย์ เพราะอิฐเปียกยุ่ยจากฝนที่ตกติดต่อกันอย่างหนัก ขณะเดียวกันอิฐผนังที่ยุ่ยอยู่แล้วก็ค่อยๆ ทลายลงเป็นแถบๆ ยอดเจดีย์กด พุ่งลงมาตามแนวดิ่งหักลงเป็นท่อนๆ องค์พระธาตุได้ล้มฟาดลงมาทางทิศตะวันออก แตกหักออกเป็นท่อน มีลักษณะเป็น 3 ตอน
ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระอุรังคธาตุ) ขึ้นบรรจุในองค์พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จากนั้นเป็นต้นมา พระธาตุพนม ที่พังทลายลงตามกาลเวลา ก็กลับมาตั้งตระหง่านสูงเสียดฟ้า ณ ริมฝั่งโขง ให้ประชาชนได้สักการะดั่งศูนย์รวมใจยึดมั่นศรัทธาของพุทธศาสนิกชนสองฝั่งโขงไทยลาว (https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1474569)