ประวัติพระธาตุสันติเจดีย์
...พระธาตุสันติเจดีย์ ก่อสร้างขึ้นตามความปรารภของ พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสจิตฺโต)
โดยนางสาวนิ่มคิ้ม - นางสาววงศ์ทอง สุภาวงศ์ และคุณวีณา ทองสวัสดิ์ เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ได้จำลองรูปแบบมาจากกู่คำ วัดเจดีย์เหลี่ยม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงปราสาทซ้อนกันขึ้นไป ๕ ชั้น มีพระพุทธรูปชั้นละ ๑๒ องค์ รวม ๖๐ องค์ มีฐานกว้าง ๑๒ x ๑๒ เมตร สูง ๓๑ เมตร
โดยถวายนามว่า "พระธาตุสันติเจดีย์" พ้องกับนามวัดสันติธรรม
ทำการก่อสร้างโดยช่างพื้นถิ่นในท้องที่ ผิวนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาทั้งองค์
ชั้นล่างสุดเปิดโล่งมีพื้นที่ใช้สอย สามารถเข้าไปสักการะพระพุทธปฏิมาประธานและปฏิบัติธรรมได้
เมื่อแรกสร้างนั้น ยอดปลีขององค์เจดีย์ประดับด้วยกระจกสี ประดับฉัตร ๔ ชั้น มุมของเจดีย์แต่ละชั้นมีเจดีย์บริวาร ชั้นละ ๔ องค์ รวมทั้ง ๕ ชั้น มีเจดีย์บริวารทั้งหมด ๒๐ องค์ เฉพาะเจดีย์บริวาร ๔ องค์ของเจดีย์ชั้นที่ ๑ ประดับฉัตร ตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ติดหลอดไฟกลมเพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน ลายปูนปั้นตามซุ้มพระพุทธรูปทาด้วยสีขาวบริสุทธิ์
พิธีวางศิลาฤกษ์พระธาตุสันติเจดีย์ วันอังคารที่ ๙ มีนาคม ๒๕๑๔ เวลา ๐๘.๑๕ น. สมโณฤกษ์โดยมีพระราชวินยาภรณ์ (จันทร์ กุสโล) วัดเจดีย์หลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พันตำรวจเอกนิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานฝ่านฆราวาส
การทำบุญฉลองพระธาตุสันติเจดีย์ พ.ศ.๒๕๑๙
- วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๑๙ โดยพระราชวินยาภรณ์ (จันทร์กุสโล) (พระพุทธพจนวราภรณ์) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงในขณะนั้นเป็นประธานทำบุญยกยอดฉัตรพระธาตุสันติเจดีย์
- วันที่ ๑๔-๑๖ มีนาคม ๒๕๑๙ จัดงานทำบุญฉลองพระธาตุสันติเจดีย์
- วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๑๙ มีการเจริญพระพุทธมนต์และประกอบพิธีเบิกเนตรพระที่สร้างใหม่ตรงกลางเจดีย์หันหน้าออก ๔ ทิศ
- วันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๙.๐๐ น. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสนมหาเถร) เสด็จเป็นองค์ประธาน การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและปูชนียวัตถุไว้ที่ยอดและในองค์พระธาตุสันติเจดีย์ เจริญพระพุทธมนต์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาอบรมกัมมัฏฐาน ๑ กัณฑ์
- เช้าวันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๙ ทำบุญตักบาตร ถวายพระธาตุสันติเจดีย์และพระพุทธรูปทั้งหมด สิ้นค่าใช้จ่าย ๘๙๓,๓๐๔.๗๕ บาท
...พิธีกรรมในการวางศิลาฤกษ์และการยกฉัตรพระธาตุสันติเจดีย์ การบรรจุพระธาตุ ปูชนียวัตถุ วัตถุมงคล สิ่งของต่างๆ ในเจดีย์ตามประเพณีนิยมแต่โบราณกาลนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
แม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ ได้ไปกราบนมัสการขอคำแนะนำจาก หลวงปู่ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดดอนมูล อำเภอสันกำแพง หลวงปู่ได้เมตตาแนะนำทุกอย่าง พิธีต่างๆ จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
อนึ่งโดยคำแนะนำของช่างก่อสร้างภายในองค์เจดีย์ ได้สร้างชั้น ๒ ของเจดีย์เป็นที่เก็บน้ำ ต่อมา พ.ศ.๒๕๔๐ บูรณะพระธาตุสันติเจดีย์ เพิ่มความสูงของยอดฉัตรเป็น ๓๕ เมตร ทำที่เก็บน้ำใหม่ที่ชั้น ๓ ของเจดีย์ เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำให้จ่ายน้ำได้แรงขึ้น ซึ่งในกาลต่อมา เหตุปัจจัยด้านความชื้นภายในนี้เอง ได้เป็นสาเหตุให้วัสดุบุผิวอาคารเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วและมีการรั่วซึม จึงจำเป็นต้องมีการบูรณะปฏิสังขรณ์
ปัจจุบันทางวัดได้ขุดเจาะน้ำบาดาลและทำแท็งค์กักเก็บน้ำเพื่อจ่ายไปทั่ววัด แยกออกจากองค์เจดีย์ อยู่บริเวณหลังวัดด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
ทั้งนี้เพื่อรักษาโครงสร้างขององค์พระธาตุสันติเจดีย์ให้อยู่ได้นานที่สุด
ความสำคัญของพระธาตุสันติเจดีย์
...พระธาตุสันติเจดีย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด เป็นหัวใจสำคัญของอาราม เพราะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธาตุสันติเจดีย์นี้ได้รับการฐาปนาไว้โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสนมหาเถร)
...จากคำบอกเล่าของแม่วงศ์ทอง สุภาวงศ์ (แม่ต้อ) ผู้เป็นน้องสาวของแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ ได้เล่าว่า
พระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งที่นำมาบรรจุในพระธาตุสันติเจดีย์นี้ ได้จากการอธิษฐานจิตอัญเชิญโดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุครั้งนั้น ทำพิธี ณ วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
โดยคณะอุบาสิกาวัดสันติธรรม มีแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ และแม่วงศ์ทอง สุภาวงศ์ เป็นต้น ได้ไปขอเมตตาจากพระอาจารย์เปลี่ยน
ได้ทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอาจารย์นั่งสมาธิประมาณ ๒ ชั่วโมง แล้วปรากฏพระบรมสารีริกธาตุเสด็จลงบนพาน ซึ่งตั้งอยู่ต่อหน้าพระอาจารย์ และญาติโยมที่นั่งเฝ้า จำนวน ๗ องค์ ขณะที่พระบรมสารีริกธาตุเสด็จลงนั้น ได้เกิดเสียงตกกระทบพาน จากนั้นพระอาจารย์เปลี่ยนก็กล่าวว่า "พอแล้ว ได้เท่านี้หล่ะ"
พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๗ องค์นั้น ก็นำมาประดิษฐานไว้ในกรุฐานพระพุทธรูปตรงกลางพระธาตุสันติเจดีย์
...ชาวบ้านละแวกข้างวัด มักจะมองเป็นแสงพระธาตุลอยเสด็จรอบองค์พระธาตุสันติเจดีย์ในยามค่ำคืนของวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ อยู่บ่อยๆ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
...พระธาตุสันติเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมสวดมนต์ ภาวนา นั่งสมาธิ เดินจงกรม และเวียนเทียนรอบ เพื่อเป็นพุทธบูชา
ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ
จากวัด Mahiyangana Raja Maha Vihara (มหิยังคาเนยะ ราชมหาวิหาร) ประดิษฐานในพระธาตุสันติเจดีย์ วัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Mahiyangana เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำมหาเวรี ในเขตบาคูลล่า จังหวัดอูวา ของประเทศศรีลังกา
มีการกล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายัง มหิยังคาเนยะ หลังจากตรัสรู้ได้ ๔ เดือน ในวันพระจันทร์เต็มดวง
เพื่อโปรดยุติการทะเลาะกันระหว่างชนเผ่า yakkas (ยักขะ) และ Nagas (นาคะ)
การเสด็จมาครั้งนี้ถือเป็นการเสด็จมาเยือนศรีลังกาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า
จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ประกาศธรรมะต่อพระเจ้าสุมนาสมาน กษัตริย์ผู้นำในสมัยนั้น
จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงประทานพระเกศาจำนวน ๑ กำมือ ให้ประชาชนเป็นที่ระลึกและสักการะแทนพระองค์
หลังจากนั้นพระเจ้าสุมนาสมานได้สร้างเจดีย์ทองคำบรรจุพระเกศาธาตุไว้
และได้มีการสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์เก่ากว่า ๗ ครั้ง ซึ่งครั้งสุดท้ายสร้างโดยกษัตริย์ Dutugesmunu
...กาลต่อมา เมื่อเจดีย์พังทลาย ได้มีการขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุจำนวนกว่าร้อยองค์
เมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา พระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งได้บรรจุในพระมหาสถูปในตำแหน่งเดิม
อีกจำนวน ๑๐๐ องค์ ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์
อีกส่วนหนึ่งได้เก็บรักษาไว้ในเจดีย์ทองคำของวัดมหิยังคาเนยะ ราชมหาวิหาร
ซึ่งปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นหนึ่งใน ๑๖ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในศรีลังกา
และได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีในศรีลังกา
...พระบรมสารีริกธาตุนี้ เป็นที่หวงแหนที่สักการะของชาวศรีลังกามาก มีความสำคัญเพราะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
และเป็นที่มั่นใจได้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง
จึงได้มีการนำอัญเชิญออกมาประทับบนหลังช้างในเทศกาลพาราเฮรา
หรือเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว ณ เมืองแคนดี้ เป็นประจำทุกปี มากกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้ว
เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญยิ่ง
พระ Urula watte dharma rakkita thero (พระอุรุลาวัตตีธัมมะ รักขิตเถระ) เจ้าอาวาสวัดมหิยังคาเนยะ ราชมหาวิหาร
ได้กล่าวว่า "พระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้เคยมอบให้ประเทศไทยมาแล้ว ๒ ครั้ง
ครั้งแรก...เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จเยือนประเทศศรีลังกา จำนวน ๑ องค์
ครั้งที่ ๒...รัฐบาลไทยได้ทำเรื่องขอพระบรมสารีริกธาตุ ก็ได้มอบให้ไป ๑ องค์
ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุเหลือเพียง ๕ องค์ เนื่องจากพระเวลดารูวีอุบาลี ท่านเป็นสหธรรมิกที่เติบโตมาด้วยกัน
ได้เอ่ยวาจาขอพระบรมสารีริกธาตุให้กับวัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มอบให้วัดสันติธรรม จำนวน ๑ องค์
ทำให้เหลือพระบรมสารีริกธาตุประจำวัดเพียง ๔ องค์ เท่านั้น เมื่อรับไปแล้ว ขอให้รักษาให้ดี
เหมือนกับที่ชาวศรีลังการักษ์และหวงแหน บูชาท่านทุกๆ วัน วันละ ๓ เวลา"
...พระบรมสารีริกธาตุนี้ ประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ชาวจังหวัดเชียงใหม่และวัดสันติธรรม
ณ ภายในพระธาตุสันติเจดีย์ ซึ่งมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าประดิษฐานในมุขด้านตะวันตกขององค์พระธาตุสันติเจดีย์
ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยพระอุบาลี รองพระสังฆราช นิกายสยามวงศ์ ประเทศศรีลังกา
เชียงใหม่-นำชมพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกา ณ พระธาตุสันติเจดีย์ วัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง
ประวัติพระธาตุสันติเจดีย์
...พระธาตุสันติเจดีย์ ก่อสร้างขึ้นตามความปรารภของ พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสจิตฺโต)
โดยนางสาวนิ่มคิ้ม - นางสาววงศ์ทอง สุภาวงศ์ และคุณวีณา ทองสวัสดิ์ เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ได้จำลองรูปแบบมาจากกู่คำ วัดเจดีย์เหลี่ยม ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงปราสาทซ้อนกันขึ้นไป ๕ ชั้น มีพระพุทธรูปชั้นละ ๑๒ องค์ รวม ๖๐ องค์ มีฐานกว้าง ๑๒ x ๑๒ เมตร สูง ๓๑ เมตร
โดยถวายนามว่า "พระธาตุสันติเจดีย์" พ้องกับนามวัดสันติธรรม
ทำการก่อสร้างโดยช่างพื้นถิ่นในท้องที่ ผิวนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาทั้งองค์
ชั้นล่างสุดเปิดโล่งมีพื้นที่ใช้สอย สามารถเข้าไปสักการะพระพุทธปฏิมาประธานและปฏิบัติธรรมได้
เมื่อแรกสร้างนั้น ยอดปลีขององค์เจดีย์ประดับด้วยกระจกสี ประดับฉัตร ๔ ชั้น มุมของเจดีย์แต่ละชั้นมีเจดีย์บริวาร ชั้นละ ๔ องค์ รวมทั้ง ๕ ชั้น มีเจดีย์บริวารทั้งหมด ๒๐ องค์ เฉพาะเจดีย์บริวาร ๔ องค์ของเจดีย์ชั้นที่ ๑ ประดับฉัตร ตั้งแต่ชั้นที่ ๒ ขึ้นไป ติดหลอดไฟกลมเพื่อให้แสงสว่างในเวลากลางคืน ลายปูนปั้นตามซุ้มพระพุทธรูปทาด้วยสีขาวบริสุทธิ์
พิธีวางศิลาฤกษ์พระธาตุสันติเจดีย์ วันอังคารที่ ๙ มีนาคม ๒๕๑๔ เวลา ๐๘.๑๕ น. สมโณฤกษ์โดยมีพระราชวินยาภรณ์ (จันทร์ กุสโล) วัดเจดีย์หลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พันตำรวจเอกนิรันดร ชัยนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานฝ่านฆราวาส
การทำบุญฉลองพระธาตุสันติเจดีย์ พ.ศ.๒๕๑๙
- วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๑๙ โดยพระราชวินยาภรณ์ (จันทร์กุสโล) (พระพุทธพจนวราภรณ์) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงในขณะนั้นเป็นประธานทำบุญยกยอดฉัตรพระธาตุสันติเจดีย์
- วันที่ ๑๔-๑๖ มีนาคม ๒๕๑๙ จัดงานทำบุญฉลองพระธาตุสันติเจดีย์
- วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๑๙ มีการเจริญพระพุทธมนต์และประกอบพิธีเบิกเนตรพระที่สร้างใหม่ตรงกลางเจดีย์หันหน้าออก ๔ ทิศ
- วันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๙ เวลา ๑๙.๐๐ น. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสนมหาเถร) เสด็จเป็นองค์ประธาน การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและปูชนียวัตถุไว้ที่ยอดและในองค์พระธาตุสันติเจดีย์ เจริญพระพุทธมนต์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาอบรมกัมมัฏฐาน ๑ กัณฑ์
- เช้าวันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๙ ทำบุญตักบาตร ถวายพระธาตุสันติเจดีย์และพระพุทธรูปทั้งหมด สิ้นค่าใช้จ่าย ๘๙๓,๓๐๔.๗๕ บาท
...พิธีกรรมในการวางศิลาฤกษ์และการยกฉัตรพระธาตุสันติเจดีย์ การบรรจุพระธาตุ ปูชนียวัตถุ วัตถุมงคล สิ่งของต่างๆ ในเจดีย์ตามประเพณีนิยมแต่โบราณกาลนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
แม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ ได้ไปกราบนมัสการขอคำแนะนำจาก หลวงปู่ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดดอนมูล อำเภอสันกำแพง หลวงปู่ได้เมตตาแนะนำทุกอย่าง พิธีต่างๆ จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
อนึ่งโดยคำแนะนำของช่างก่อสร้างภายในองค์เจดีย์ ได้สร้างชั้น ๒ ของเจดีย์เป็นที่เก็บน้ำ ต่อมา พ.ศ.๒๕๔๐ บูรณะพระธาตุสันติเจดีย์ เพิ่มความสูงของยอดฉัตรเป็น ๓๕ เมตร ทำที่เก็บน้ำใหม่ที่ชั้น ๓ ของเจดีย์ เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำให้จ่ายน้ำได้แรงขึ้น ซึ่งในกาลต่อมา เหตุปัจจัยด้านความชื้นภายในนี้เอง ได้เป็นสาเหตุให้วัสดุบุผิวอาคารเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วและมีการรั่วซึม จึงจำเป็นต้องมีการบูรณะปฏิสังขรณ์
ปัจจุบันทางวัดได้ขุดเจาะน้ำบาดาลและทำแท็งค์กักเก็บน้ำเพื่อจ่ายไปทั่ววัด แยกออกจากองค์เจดีย์ อยู่บริเวณหลังวัดด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
ทั้งนี้เพื่อรักษาโครงสร้างขององค์พระธาตุสันติเจดีย์ให้อยู่ได้นานที่สุด
ความสำคัญของพระธาตุสันติเจดีย์
...พระธาตุสันติเจดีย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด เป็นหัวใจสำคัญของอาราม เพราะเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธาตุสันติเจดีย์นี้ได้รับการฐาปนาไว้โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสนมหาเถร)
...จากคำบอกเล่าของแม่วงศ์ทอง สุภาวงศ์ (แม่ต้อ) ผู้เป็นน้องสาวของแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ ได้เล่าว่า
พระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งที่นำมาบรรจุในพระธาตุสันติเจดีย์นี้ ได้จากการอธิษฐานจิตอัญเชิญโดย พระอาจารย์เปลี่ยน ปญฺญาปทีโป
ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุครั้งนั้น ทำพิธี ณ วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
โดยคณะอุบาสิกาวัดสันติธรรม มีแม่นิ่มนวล สุภาวงศ์ และแม่วงศ์ทอง สุภาวงศ์ เป็นต้น ได้ไปขอเมตตาจากพระอาจารย์เปลี่ยน
ได้ทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอาจารย์นั่งสมาธิประมาณ ๒ ชั่วโมง แล้วปรากฏพระบรมสารีริกธาตุเสด็จลงบนพาน ซึ่งตั้งอยู่ต่อหน้าพระอาจารย์ และญาติโยมที่นั่งเฝ้า จำนวน ๗ องค์ ขณะที่พระบรมสารีริกธาตุเสด็จลงนั้น ได้เกิดเสียงตกกระทบพาน จากนั้นพระอาจารย์เปลี่ยนก็กล่าวว่า "พอแล้ว ได้เท่านี้หล่ะ"
พระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๗ องค์นั้น ก็นำมาประดิษฐานไว้ในกรุฐานพระพุทธรูปตรงกลางพระธาตุสันติเจดีย์
...ชาวบ้านละแวกข้างวัด มักจะมองเป็นแสงพระธาตุลอยเสด็จรอบองค์พระธาตุสันติเจดีย์ในยามค่ำคืนของวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ อยู่บ่อยๆ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
...พระธาตุสันติเจดีย์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมสวดมนต์ ภาวนา นั่งสมาธิ เดินจงกรม และเวียนเทียนรอบ เพื่อเป็นพุทธบูชา
ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ
จากวัด Mahiyangana Raja Maha Vihara (มหิยังคาเนยะ ราชมหาวิหาร) ประดิษฐานในพระธาตุสันติเจดีย์ วัดสันติธรรม ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Mahiyangana เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำมหาเวรี ในเขตบาคูลล่า จังหวัดอูวา ของประเทศศรีลังกา
มีการกล่าวกันว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายัง มหิยังคาเนยะ หลังจากตรัสรู้ได้ ๔ เดือน ในวันพระจันทร์เต็มดวง
เพื่อโปรดยุติการทะเลาะกันระหว่างชนเผ่า yakkas (ยักขะ) และ Nagas (นาคะ)
การเสด็จมาครั้งนี้ถือเป็นการเสด็จมาเยือนศรีลังกาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า
จากนั้นพระพุทธเจ้าก็ประกาศธรรมะต่อพระเจ้าสุมนาสมาน กษัตริย์ผู้นำในสมัยนั้น
จากนั้นพระพุทธเจ้าทรงประทานพระเกศาจำนวน ๑ กำมือ ให้ประชาชนเป็นที่ระลึกและสักการะแทนพระองค์
หลังจากนั้นพระเจ้าสุมนาสมานได้สร้างเจดีย์ทองคำบรรจุพระเกศาธาตุไว้
และได้มีการสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์เก่ากว่า ๗ ครั้ง ซึ่งครั้งสุดท้ายสร้างโดยกษัตริย์ Dutugesmunu
...กาลต่อมา เมื่อเจดีย์พังทลาย ได้มีการขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุจำนวนกว่าร้อยองค์
เมื่อพันกว่าปีที่ผ่านมา พระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งได้บรรจุในพระมหาสถูปในตำแหน่งเดิม
อีกจำนวน ๑๐๐ องค์ ได้นำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์
อีกส่วนหนึ่งได้เก็บรักษาไว้ในเจดีย์ทองคำของวัดมหิยังคาเนยะ ราชมหาวิหาร
ซึ่งปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นหนึ่งใน ๑๖ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาในศรีลังกา
และได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีในศรีลังกา
...พระบรมสารีริกธาตุนี้ เป็นที่หวงแหนที่สักการะของชาวศรีลังกามาก มีความสำคัญเพราะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
และเป็นที่มั่นใจได้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง
จึงได้มีการนำอัญเชิญออกมาประทับบนหลังช้างในเทศกาลพาราเฮรา
หรือเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว ณ เมืองแคนดี้ เป็นประจำทุกปี มากกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้ว
เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญยิ่ง
พระ Urula watte dharma rakkita thero (พระอุรุลาวัตตีธัมมะ รักขิตเถระ) เจ้าอาวาสวัดมหิยังคาเนยะ ราชมหาวิหาร
ได้กล่าวว่า "พระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้เคยมอบให้ประเทศไทยมาแล้ว ๒ ครั้ง
ครั้งแรก...เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จเยือนประเทศศรีลังกา จำนวน ๑ องค์
ครั้งที่ ๒...รัฐบาลไทยได้ทำเรื่องขอพระบรมสารีริกธาตุ ก็ได้มอบให้ไป ๑ องค์
ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุเหลือเพียง ๕ องค์ เนื่องจากพระเวลดารูวีอุบาลี ท่านเป็นสหธรรมิกที่เติบโตมาด้วยกัน
ได้เอ่ยวาจาขอพระบรมสารีริกธาตุให้กับวัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มอบให้วัดสันติธรรม จำนวน ๑ องค์
ทำให้เหลือพระบรมสารีริกธาตุประจำวัดเพียง ๔ องค์ เท่านั้น เมื่อรับไปแล้ว ขอให้รักษาให้ดี
เหมือนกับที่ชาวศรีลังการักษ์และหวงแหน บูชาท่านทุกๆ วัน วันละ ๓ เวลา"
...พระบรมสารีริกธาตุนี้ ประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ชาวจังหวัดเชียงใหม่และวัดสันติธรรม
ณ ภายในพระธาตุสันติเจดีย์ ซึ่งมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าประดิษฐานในมุขด้านตะวันตกขององค์พระธาตุสันติเจดีย์
ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยพระอุบาลี รองพระสังฆราช นิกายสยามวงศ์ ประเทศศรีลังกา