เศรษฐศาสตร์ vs covid-19

การระบาดของโรค มีรูปแบบของการเกิดขึ้น 3 แบบ
1 Endemic
        มีการระบาดของโรคในสถานที่เฉพาะ หรือ ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรมร่วมกัน
2 Epidemic
        เมื่อพบว่ามีผู้ติดเชื้อจำนวนมากในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่าปกติ และ อาจแพร่กระจายผ่านชุมชนหนึ่งหรือหลายชุมชน
3 Pandemic 
        เมื่อเกิด Epidemic กระจายไปทั่วโลก 
               ถ้าเทียบกับ covid-19 จากจุดเริ่มเกิดในเมืองจีน คุมได้หรือไม่ ประเทศอื่นส่งความช่วยเหลือแล้วได้แต่มอง ประเทศอื่นได้แต่ป้องกันไม่ให้เกิด Epidemic ขึ้นในประเทศตัวเอง เพราะจะทำให้กลายเป็น Pandemic ในที่สุด และหนึ่งในมาตราการสำคัญที่บางประเทศใช้ แต่ประเทศส่วนใหญ่ไม่ใช้ก็คือการปิดประเทศ หรือ ไม่อนุญาตให้คน เข้า/ออก ประเทศ  ซึ่งจะทำให้ประเทศอื่นๆไม่เข้าสู่ ระยะที่ 1 ของการแพร่ระบาด หรืออยู่ที่ระยะ 0 ไปเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ที่อาจเป็นพาหะของของโรคไม่มีโอกาสเข้าประเทศได้ และ ประชาชนในประเทศไม่สามารถเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดได้
               แน่นอนการเดินทางไปมาระหว่างประเทศไม่ใช่ปัจจัย 4 แต่จขกท. ขอตัดมิติอื่น เช่น ทางด้านวัฒนธรรมออก คงเหลือผลกระทบทางด้าน เศรษฐศาสตร์ เท่านั้น นั่นคือคำถามว่า
               ทางด้าน เศรษฐศาสตร์ อะไรแย่กว่าระหว่าง การปิดประเทศตั้งแต่แรก ห้ามคนเข้าออกพื้นที่ที่มีการระบาด แต่สินค้าเข้าออกได้ไปจนกว่าที่จะมีวัคซีน  กับ การเปิดประเทศรับการมาของโรคระบาดซึ่งจะทำให้ประเทศเข้าสู่ระยะ ที่ 1 2 3 ของการระบาด
                แน่นอน ไม่พิจารณาว่าจากนี้ ทั่วโลกอาจมีคนตาย ราว 20-50 ล้าน คน เอาเรื่องเศรษฐศาสตร์ อย่างเดียว เพราะ องค์การอนามัยโลก ไม่ห้ามการเดินทางระหว่างประเทศของนักท่องเที่ยว และ ประเทศอื่นรวมถึงประเทศไทย มีการแจ้งเตือนแต่ไม่ห้าม เหตุผลเพราะกลัวผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก  แสดงว่า  องค์การอนามัยโลกอาจมองว่า ต่อให้ทุกประเทศเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการระบาด ก็มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศต่างๆพากันปิดประเทศไม่รับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ระบาดงั้นหรือ 
                จขกท. จึงถามมาเพราะประเทศส่วนใหญ่ในโลกเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวมากกว่าการป้องกันการระบาด โดยล้วนแต่ยกเรื่องเศรษฐกิจเป็นข้ออ้าง แต่มันจริงตามนั้นหรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่