เอิ่ม DDT นี่ยังใช้กำจัดแมลงกันอีกหรือครับ ?
สักสิบปีที่แล้วเห็นรณรงค์เลิกใช้ DDT
นึกว่าผลกระทบมากเลิกใช้กันไปแล้ว
จากข่าว เที่ยงวันทันเหตุการณ์ตะกี้
เพิ่ม: ตามไปดูฝรั่ง มีเสียงวิพากย์เหมือนกัน
http://time.com/4205214/zika-virus-ddt-mosquitoes/
ในปี ค.ศ. 1962 นักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ ราเชล คาร์สัน ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring บรรยายถึงผลกระทบของดีดีทีต่อสิ่งแวดล้อม, การก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดโดยเฉพาะนกเช่น อินทรีหัวขาว มีจำนวนลดลงจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ [3] ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยสืบเนื่อง และรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้ดีดีทีอย่างขนานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จนมีการประกาศใช้กฎหมายห้ามใช้ดีดีทีในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 และเกิดอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001
ค้นไปเรื่อยๆ:
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2006/10/X4820577/X4820577.html
ในสหประชาชาติมีความขัดแย้งยาวนานระหว่างฝ่ายที่ต่อต้าน DDT กับฝ่ายที่ต้องการใช้ DDT
ฝ่ายที่ต่อต้านต้องการห้ามใช้ DDT โดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้ควบคุมการระบาดของโรคมาลาเรีย
ด้วยเหตุผลว่า “อาจจะ” เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
อีกฝ่ายต้องการให้ใช้ DDT ในขอบเขตจำกัดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ
เพราะประวัติความปลอดภัยอันยาวนานของ DDT ต่อมนุษย์นั้นน่าประทับใจมาก
เหมาะที่จะใช้ภายในบ้านเรือน หรือแม้แต่ใช้ฆ่าแมลงปรสิตบนร่างกายมนุษย์โดยตรง
หลักฐานอันตรายของ DDT ที่ดูเหมือนหนักแน่น จนทำให้ WHO ตัดสินใจห้ามใช้ DDT ไปแล้วนั้น
พอเวลาผ่านไป มีเวลามาตรวจสอบทบทวน กลับพบว่าส่วนใหญ่เหลาะแหละ ไม่ค่อยมีน้ำหนัก
การวิจัยที่บ่งบอกถึงผลร้าย พอทำการทดลองซ้ำโดยกลุ่มอื่น ก็มักจะไม่ได้ผลที่สอดคล้องกัน
ณ ปัจจุบัน DDT จึงลดระดับลงมาเป็นแค่ "อาจจะ" มีอันตรายเท่านั้น
16 กันยายน 2549 องค์การอนามัยโลกตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับ DDT
ประกาศถอน DDT ออกจากรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้
โดยอนุญาตให้ใช้ DDT เป็นยาฆ่าแมลงภายในอาคารบ้านเรือนได้อีกครั้ง
เที่ยงวันทันเหตุการณ์ บอกผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ใช้ DDT กำจัดยุง?
สักสิบปีที่แล้วเห็นรณรงค์เลิกใช้ DDT
นึกว่าผลกระทบมากเลิกใช้กันไปแล้ว
จากข่าว เที่ยงวันทันเหตุการณ์ตะกี้
เพิ่ม: ตามไปดูฝรั่ง มีเสียงวิพากย์เหมือนกัน
http://time.com/4205214/zika-virus-ddt-mosquitoes/
ในปี ค.ศ. 1962 นักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ ราเชล คาร์สัน ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring บรรยายถึงผลกระทบของดีดีทีต่อสิ่งแวดล้อม, การก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดโดยเฉพาะนกเช่น อินทรีหัวขาว มีจำนวนลดลงจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ [3] ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยสืบเนื่อง และรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้ดีดีทีอย่างขนานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จนมีการประกาศใช้กฎหมายห้ามใช้ดีดีทีในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 และเกิดอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001
ค้นไปเรื่อยๆ:
http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2006/10/X4820577/X4820577.html
ในสหประชาชาติมีความขัดแย้งยาวนานระหว่างฝ่ายที่ต่อต้าน DDT กับฝ่ายที่ต้องการใช้ DDT
ฝ่ายที่ต่อต้านต้องการห้ามใช้ DDT โดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้ควบคุมการระบาดของโรคมาลาเรีย
ด้วยเหตุผลว่า “อาจจะ” เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
อีกฝ่ายต้องการให้ใช้ DDT ในขอบเขตจำกัดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ
เพราะประวัติความปลอดภัยอันยาวนานของ DDT ต่อมนุษย์นั้นน่าประทับใจมาก
เหมาะที่จะใช้ภายในบ้านเรือน หรือแม้แต่ใช้ฆ่าแมลงปรสิตบนร่างกายมนุษย์โดยตรง
หลักฐานอันตรายของ DDT ที่ดูเหมือนหนักแน่น จนทำให้ WHO ตัดสินใจห้ามใช้ DDT ไปแล้วนั้น
พอเวลาผ่านไป มีเวลามาตรวจสอบทบทวน กลับพบว่าส่วนใหญ่เหลาะแหละ ไม่ค่อยมีน้ำหนัก
การวิจัยที่บ่งบอกถึงผลร้าย พอทำการทดลองซ้ำโดยกลุ่มอื่น ก็มักจะไม่ได้ผลที่สอดคล้องกัน
ณ ปัจจุบัน DDT จึงลดระดับลงมาเป็นแค่ "อาจจะ" มีอันตรายเท่านั้น
16 กันยายน 2549 องค์การอนามัยโลกตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับ DDT
ประกาศถอน DDT ออกจากรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้
โดยอนุญาตให้ใช้ DDT เป็นยาฆ่าแมลงภายในอาคารบ้านเรือนได้อีกครั้ง