7 วิธีป้องกันเสียงรบกวนให้บ้าน ไม่ง้อแผ่นซับเสียง


ปิดเสียงรบกวนให้บ้าน เพิ่มความสงบสุขให้ครอบครัว

หนึ่งปัญหาคลาสสิคสำหรับคนสร้างบ้านติดถนน ใกล้โรงงาน ใกล้อู่ซ่อมรถ ใกล้สนามบินหรืออยู่ในซอย ที่มีผู้คนพลุกพล่าน คือปัญหามลพิษด้านเสียงรบกวนที่ชวนให้หงุดหงิดใจ โดยเฉพาะช่วงเวลาแห่ง การพักผ่อน หากมีเสียงรบกวนบ่อยๆ อาจทำให้นอนหลับยากขึ้นและเป็นที่มาของอาการพักผ่อนไม่ เพียงพอ ส่งผลให้ช่วงกลางวันจะรู้สึกหงุดหงิดใจได้โดยง่าย และเสียสุขภาพจิตในเวลาต่อมา เมื่อไม่สามารถแก้ไขสภาพแวดล้อมภายนอกได้ วิธีที่ดีที่สุดคือหันมาปรับเปลี่ยนภายในบ้านของเรา เองครับ เนื้อหาชุดนี้ “HomeGuru” นำวิธีป้องกันเสียงรบกวน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาฝากกัน ลองเช็คกันดูว่าข้อไหนบ้างที่พอจะทำได้ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกันครับ

โดยปกติการป้องกันเสียงที่ดีที่สุด จะนิยมใช้แผ่นซับเสียง แต่วิธีดังกล่าวจะเหมาะกับห้องบันทึกเสียง ห้องดูหนัง หรือร้านอาหารที่ให้บริการคาราโอเกะ แผ่นซับเสียงจะช่วยป้องกันเสียงเข้าและเสียงออกได้ เป็นอย่างดี แต่สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป การติดตั้งแผ่นซับเสียงอาจเกินความจำเป็นและสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย ในบทความนี้ มี 7 แนวทางที่สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ในระดับนึงครับ

1. ปิดช่องโหว่รอบผนังบ้าน ช่องว่างด้านบนและใต้ประตู

หากปิดประตูหน้าต่างสนิทแล้ว แต่ยังได้ยินเสียงจากภายนอกชัดเจน แนะนำให้ผู้อ่านตรวจเช็คช่องว่าง ต่างๆ ภายในห้องดังกล่าว เช่น ช่องระหว่างประตูกับพื้นบ้าน, ช่องว่างระหว่างวงกบหน้าต่าง รวมทั้ง ตรวจสอบรอยร้าวบริเวณผนัง เพราะเสียงอาจจะเล็ดลอดผ่านเข้ามาได้ทุกช่องทาง
- กรณีช่องว่างระหว่างประตู ปัจจุบันมีอุปกรณ์กั้นประตูที่ผลิตจากแผ่นยาง สามารถติดเพื่อกั้นช่องว่างได้ทันที
- กรณีช่องว่างระหว่างวงกบ อาจใช้ซิลิโคนอุดตามขอบวงกบ เพื่อให้วงกับกับผนังแนบชนิดติดกัน
- ส่วนรอยร้าวบนผนัง ใช้วิธีการโป๊วสี จะช่วยให้รอยร้าวต่างๆ กลับมาเรียบสนิทเช่นเดิมครับ




2. เปลี่ยนหน้าต่างแบบเดิมเป็นรุ่นปิดสนิท

รูปแบบของหน้าต่างและวัสดุที่นำมาใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการรับเสียงเช่นกัน ควรเลือกหน้าต่างที่มี รอยต่อน้อยและปิดสนิท เช่น หน้าต่างกรอบอลูมิเนียม บานกระจก จะช่วยป้องกันเสียงได้ดีกว่าหน้าต่าง กรอบไม้และบานไม้ ส่วนรูปแบบหน้าต่างที่กันเสียงได้ดี เป็นหน้าต่างบานสไลด์เลื่อน กระทุ้ง พร้อมกับ ติดขอบกันเสียง แต่หากเป็นหน้าต่างบานเกล็ด คุณสมบัติป้องกันเสียงจะลดน้อยลง



3. ฝ้าเพดานต้องมี

เสียงไม่ได้เข้ามาทางผนังบ้านหรือช่องหน้าต่างเท่านั้น แต่เสียงยังสามารถผ่านเข้ามาทางช่องหน้าต่างได้ดี การติดฝ้าเพดานจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันเสียงได้อีกทาง ยิ่งหากบนฝ้ามีการติดตั้งฉนวนกันร้อนด้วย ฉนวนดังกล่าวแม้คุณสมบัติหลักจะไม่ได้ป้องกันเสียง แต่ก็ช่วยซับเสียงแถมมาให้ด้วยครับ ได้ทั้งกันร้อน และกันเสียงไปในตัว



4.เลือกติดวอลเปเปอร์ตกแต่งผนังแบบหนา

หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการติดวอลเปเปอร์ (Wallpaper) เป็นแค่การตกแต่งผนัง แต่ความเป็นจริง วอลเปเปอร์บางรุ่นยังทำหน้าที่ช่วยดูดซับลดเสียงรบกวนได้ด้วย เช่น วอลเปเปอร์ 3D ที่มีลายนูนสูงต่ำ วอลเปเปอร์แบบหนาชนิด PE Foam ด้วยเนื้อโฟมที่หนานุ่มจึงลดทอนเสียงรบกวนจากบริเวณใกล้เคียง ได้ดี เพิ่มความสงบเเละเป็นส่วนตัวได้อีกระดับ



5. ติดผ้าม่านเป็นตัวช่วยซับเสียง

นอกจากติดวอลเปเปอร์แล้ว ทราบหรือไม่ว่า ผ้าม่าน ที่เราใช้กั้นกรองแสงยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ใช้ดูด ซับเสียงได้เช่นกัน โดยต้องใช้ผ้าเนื้อดีหนาๆ มีความสามารถลดความรุนแรงของคลื่นเสียงได้มากขึ้น ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการทอผ้าที่ช่วยให้ผ้ามีน้ำหนักเบาและดูดซับเสียงได้มากกว่าเดิมหลายเท่าอีกด้วย



6. ลดการสะท้อนของเสียงด้วยชั้นติดผนังหรืองาน Built-in

ผู้อ่านเคยสังเกตไหมว่า หลังจากที่เราสร้างบ้านเสร็จใหม่ๆ ขณะที่ห้องยังโล่ง ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง มากนัก เสียงในบ้านจะก้องสะท้อนได้ดี นั่นเป็นเพราะไม่มีสิ่งของมาช่วยดูดซับเสียง ทำให้เสียงสะท้อน ผนังกลับไปกลับมานั่นเอง ห้องที่โล่งเกินไปจึงรับเสียงเข้ามาสะท้อนภายในได้ดีกว่าห้องที่มีเฟอร์นิเจอร์ วิธีการลดทอนการหักเหของคลื่นเสียงทำได้ง่ายๆ เช่น การติดตั้งชั้นลอยสำหรับวางของ หรือติดตั้ง Built-in ชั้นวางทีวีหรือชั้นหนังสือ ตู้เสื้อผ้าขนาดใหญ่ปิดทับผนังไว้ก็จะช่วยลดทอนเสียงได้กว่าเดิม



7. ปลูกต้นไม้รอบบ้าน

วิถีธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดูดซับเสียงรบกวนจากภายนอก เช่น การปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะ ไม้ใบที่มีพุ่มหนาให้เป็นแนวรั้ว หรือปลูกรอบบริเวณบ้าน ช่วยดูดซับมลพิษและฝุ่นละอองต่างๆ และยังคอยป้องกันมลพิษทางเสียงควบคู่กันไปด้วย ไม่เพียงเท่านี้ หากผู้อ่านปลูกต้นไม้ไว้หลายๆ ชนิด ในอนาคต เหล่านกตัวน้อยๆ จะมาอยู่อาศัย ช่วยส่งเสียงบรรเลงให้รู้สึกเพลิดเพลินจิตใจกันอีกด้วยครับ
 


ทั้ง 7 วิธีนี้ เป็นแนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับบ้านที่ได้สร้างหรืออยู่อาศัยแล้ว แต่หากเป็นบ้านที่ยัง ไม่เริ่มสร้าง การป้องกันเสียงยังสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการออกแบบผังบ้าน โดยเลือกตำแหน่งห้อง สำหรับพักอาศัยให้อยู่ภายใน, เลือกวัสดุก่อผนังอิฐมวลเบาหรือก่ออิฐมอญ 2 ชั้น จะช่วยป้องกันเสียงทาง ผนังได้ดีกว่าการก่อชั้นเดียว สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหานี้อยู่ ลองนำไอเดียไปประยุกต์ใช้ได้ตามสะดวกเลยนะครับ

HomeGuru by HomePro
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่