ธรรม ๙ ประการที่ควรละคืออะไร คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ได้แก่....

กระทู้สนทนา
ที่มา www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=11
-เนื้อหาที่สนใจ
  (ฆ) ธรรม ๙ ประการที่ควรละ คืออะไร
             คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ๑- ๙ ได้แก่
             ๑. เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงเป็นไป
             ๒. เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ(การได้) จึงเป็นไป
             ๓. เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงเป็นไป
             ๔. เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (ความกำหนดด้วยอำนาจความ
พอใจ) จึงเป็นไป
             ๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงเป็นไป
             ๖. เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงเป็นไป
             ๗. เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงเป็นไป
             ๘. เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงเป็นไป
             ๙. เพราะอาศัยอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ที่เกิดขึ้น
จากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง
การวิวาท การกล่าวขึ้นเสียงว่า ‘ ’ และการพูดเท็จ จึง
เป็นไป๒-
             นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรละ
------------------------------------------------------------------------------------------
-ที่มาของเนื้อหาที่สนใจ ตามลิงค์บนสุด

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๑. ทสุตตรสูตร
ว่าด้วยธรรม ๑ ถึง ๑๐ ประการ
             [๓๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขตกรุงจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร
เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว
             ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
                          “เราจักกล่าวทสุตตรสูตร
             อันเป็นธรรมเครื่องปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
             เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์”...............
-------------------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=10&page=57&pages=1&edition=mcu&x=8&y=14
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. มหานิทานสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่
ปฏิจจสมุปบาท๑-
[๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ
แคว้นกุรุ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง๒- สุดจะ
คาดคะเนได้ แต่ถึงกระนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับว่าเป็นธรรมง่ายๆ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ อย่าพูดอย่างนั้น อานนท์
ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง สุดจะคาดคะเนได้ ก็เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจปฏิจจ-
สมุปบาทนี้ หมู่สัตว์จึงยุ่งเหมือนขอดด้ายของช่างหูก เป็นปมนุงนังเหมือนกระจุกด้าย
เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ข้ามพ้นอบาย๓- ทุคติ วินิบาตและสงสาร
[๙๖] อานนท์ เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมีหรือ’
ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’ ควรตอบว่า
‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’
ถ้าถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะตัณหาเป็น
ปัจจัย อุปาทานจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย เวทนาจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย นามรูปจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้า
ถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี’
เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้า
ถามว่า ‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี‘ควรตอบว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี’
[๙๗] ด้วยเหตุดังนี้แล
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย  วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย  นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย  ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย  เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย  ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย  อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย  ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย  ชาติจึงมี
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๕๘}
.........
[๑๐๓] อานนท์ ด้วยเหตุดังนี้แล
เพราะอาศัยเวทนา  ตัณหาจึงมี
เพราะอาศัยตัณหา  ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงมี
เพราะอาศัยปริเยสนา  ลาภะ (การได้) จึงมี
เพราะอาศัยลาภะ  วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงมี
เพราะอาศัยวินิจฉยะ  ฉันทราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ) จึงมี
เพราะอาศัยฉันทราคะ  อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงมี
เพราะอาศัยอัชโฌสานะ  ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงมี
เพราะอาศัยปริคคหะ  มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงมี
เพราะอาศัยมัจฉริยะ  อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงมี
เพราะอารักขะเป็นเหตุ  บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิด
ขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา
การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การพูดขึ้นเสียงว่า ‘ ’ การพูด
ส่อเสียด และการพูดเท็จ
[๑๐๔] อานนท์ ข้อที่เรากล่าวไว้เช่นนี้ว่า ‘เพราะอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศล-
ธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ
การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘ ’ การพูดส่อเสียด และการ
พูดเท็จ’ เธอพึงทราบเหตุผลที่อารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมเกิด
ขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูด
ขึ้นเสียงว่า ‘ ’ การพูดส่อเสียด และการพูดเท็จ ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าอารักขะ
ไม่ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วทุกแห่ง เมื่ออารักขะไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะอารักขะดับไป บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก จะเกิดขึ้นจากการถือท่อนไม้ การถือ
ศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘ ’ การพูด
ส่อเสียด และการพูดเท็จได้หรือ”
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๖๑}.................

เมื่อถูกถามว่า ‘เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ’ ควรตอบว่า ‘มี’ ถ้าถามว่า
‘เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ ควรตอบว่า ‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’
---------------------------------------------------------------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่