Golden Jackal : สุนัขเทพเจ้าผู้พิทักษ์มัมมี่แห่งอียิปต์
ชาวอียิปต์โบราณคือผู้ที่ทิ้งร่องรอยทางประวัติศาสตร์ไว้เป็นสิ่งก่อสร้างอันอลังการอย่าง “พีระมิด” และเป็นเจ้าของแนวคิดเรื่องการเก็บรักษาร่างคนตายไว้ด้วยการชะโลมน้ำยาสมุนไพรและพันผ้า ที่เรียกว่า “มัมมี่”
เพื่อให้ศพมีกลิ่นหอมฟุ้งกระจายจนไปต้องโสตจมูกของเทพเจ้า “Anubis” เทพผู้มีร่างเป็นมนุษย์ แต่มีหัวเป็นสุนัข Golden Jackal ผู้ซึ่งชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า จะช่วยนำวิญญาณของคนตายไปสู่ภพภูมิสวรรค์ และจะคอยปกปักษ์รักษาร่างของคนผู้นั้นไว้ ดังเราจะเห็นได้ว่ามีภาพจารึกของเทพ Anubis นี้อยู่บนแผ่นศิลาหน้าสุสานมัมมี่ของชาวไอยคุปต์
สุนัข Golden Jackal จึงเป็นที่มาของตำนานเทพอันเก่าแก่ของมนุษย์ เพราะพวกมันมีบรรพบุรุษที่เก่าแก่พอกัน ซึ่งจะเรียกพวกมันว่าหมาป่าก็คงไม่เชิง แต่มันคือสุนัขในตระกูล Jackals ที่ได้แยกสายวิวัฒนาการออกมาจากหมาป่าเมื่อเนิ่นนานมากแล้ว
ถึงกระนั้น ก็ยังจัดว่าพวกมันมีรูปร่างลักษณะที่ใกล้เคียงกับหมาป่ามาก มีขนลำตัวสีน้ำตาลทองสมชื่อ ยกเว้นขนที่บริเวณหลังจะมีสีปนกันระหว่างดำ น้ำตาล และขาว น้ำหนักตัวราว 8-11 กิโลกรัม เราสามารถพบพวกมันได้ตามธรรมชาติตั้งแต่แถบเหนือของทวีปแอฟริกา เรื่อยมาจนถึงตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และพม่า
อาหารของพวก Golden Jackal จะแตกต่างกันไปตามลักษณะทรัพยากรในภูมิประเทศที่พวกมันอาศัยอยู่ เรียกว่าพวกมันกินได้ตั้งแต่สัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก กิ้งก่า งู นก กระต่าย ไปจนถึงพวกกาเซล โดยทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีส่วนสำคัญในการรักษาอาณาเขตการล่าเหยื่อและเลี้ยงลูกพอๆ กัน พวกมันสามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งในทะเลทราย ทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม หรือในป่าฝนเขตร้อนชื้น
เสียงหอนของสุนัข Golden Jackal นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่น พวกมันจะใช้เสียงหอนที่มีความซับซ้อนเพื่อสื่อสารกัน ดังที่ชาวอินเดียมักจะได้ยินบ่อยในยามค่ำคืนของเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน อันเป็นฤดูผสมพันธุ์ของพวกมันนั่นเอง
ปัจจุบันเริ่มมีพื้นที่เขตอนุรักษ์หรืออุทยานแห่งชาติที่ให้ความคุ้มครอง Golden Jackal กันมากขึ้น เนื่องจากการลดลงของจำนวนประชากรของพวกมันในธรรมชาติ
เรื่อง howl the team ภาพ : ชาพีช
อีกา : สัตว์ผู้พิทักษ์ราชวงศ์อังกฤษ
ราวปี ค.ศ.1675 รัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระองค์ได้แต่งตั้ง จอห์น แฟลมสตีด เป็นโหราจารย์ประจำราชสำนัก และได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหอขาว แต่แฟลมสตีดทำงานไม่สะดวก ไม่มีสมาธิ จึงได้ทูลขอ ให้มีรับสั่งกำจัดหรือขับไล่อีกาออกไปจากพระราชวัง ซึ่งดูตอนแรกๆดูเหมือนพระเจ้าชาร์ลส์จะคล้อยตาม
หากแต่มีเสียงปริศนากระซิบเตืยนให้พระองค์นึกถึงอาถรรพ์ ที่เคยเกิดขึ้นกับราชวงศ์แฮปสเบิร์กของออสเตรีย (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 12) เสียงนั้นเตือนว่า
"....เดิมที่ราชวงศ์แฮปสเบิร์กเป็นมิตรกับกาอย่างมาก ถึงกับปล่อยให้ฝูงกาเข้ามาสร้างรังได้ทุกแห่งในพระราชวัง แต่ต่อมาภายหลังกษัตริย์องค์ใหม่ ไม่ต้องการเห็นกาในเขตพระราชวังอีกแล้ว จึงมีรับสั่งขับไล่กาออกจดหมดสิ้น โดยให้ทำทุกวีถีทางเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการกระทำอันโหดร้ายนี้ ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับฝูงกาพวกมันจึงหันมาทำร้ายทุกคน แต่ในที่สุดพวกกาก็พ่ายแพ้และถูกฆ่าตายจำนวนมาก..."
เสียงปริศนานี้ทำให้พระเจ้าชาร์ลนึกถึงคำทำนายเก่าแก่ของอังกฤษซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นว่า
"...ถ้าหากขับไล่อีกาออกจากป้อมปราการแห่งนี้ไปหมดสิ้น พระราชวังหลวงและป้อมปราการทั้งหมดจะพังพินาศ ราชสำนักอังกฤษจะถึงคราวล่มสลาย และหายนะจะมาเยือนประเทศอังกฤษ.."
เมื่อสิ้นเสียงคำเตือนพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยทันทีพร้อมกับให้เลี้ยงอีกาจำนวน 6 ตัวไว้ประจำป้อมปราการแห่งนี้ตลอดเวลา และได้รับการยกฐานะให้สูงกว่ากาทั่วๆ ไป และมีผู้ดูแลเฉพาะทาง ที่มีชื่อเรียกตำแหน่งนี้ว่า The Ravenmaster
หากกาตัวใดเจ็บป่วยหรือมีความประพฤติไม่ดี ผู้ดูแลต้องแจ้งไปยังราชสำนักโดยเร็วที่สุด พร้อมกับนำกาสำรองมาเลี้ยง (ทั้ง 6 ตัวจะมีตัวสำรองทุกตัว) หากตัวใดตายลง จะมีพิธีฝังศพในบริเวณพระราชวัง มีการมอบแผ่นหินจารึกชื่อ วัน เดือน ปีเกิด (Ravenstones) เพื่อเป็นเกียรติครั้งสุดท้ายแก่ผู้ทำหน้าที่ปกป้องราชวงศ์และแผ่นดิน
(เรื่องราวคำสาปของอีกานั้นมีเรื่องเล่าอยู่เกือบทั่วโลก ในกรณีใหญ่และโด่งดังที่สุดคงจะไม่เกินไปกว่าราชวงศ์แฮปสเบิร์กส์ของออสเตรียที่รับเคราะห์กรรมเพราะกามาแล้ว คำสาปอีกาที่โด่งดังอีกเรื่องคืออีกาที่หอคอยลอนดอน (Tower of London) ป้อมปราสาทนี้ เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะถูกใช้เป็นที่คุมขังและ ประหารบุคคลสําคัญๆ ของอังกฤษมากมาย หลายท่าน ณ ลานปราสาทแห่งนี้จะมีการเลี้ยงดูอีกา จํานวน 6 ตัว เนื่องจากมีคําสาปมานานกว่า 900 ปี ว่า ถ้าหากอีกาลดจํานวนลงเมื่อใด เมื่อนั้นความหายนะจะมาเยือน นครลอนดอน และสิ้นสุดพระราชวงศ์แห่งอังกฤษ)
ที่มา Facebook : เมื่อฉันเล่าเรื่อง @itellghoststory
Gli แมวผู้พิทักษ์แห่งอายาโซเฟีย
วิหารเซนต์โซเฟีย หรือ อายาโซเฟีย (Aya Sofia) สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาโบราณสถานสำคัญของอิสตันบูล ยังคงอยู่ภายใต้การบูรณะไปเสียซีกหนึ่งในกระบวนการอนุรักษ์ที่กินเวลาแสนนาน เพื่อรักษาสถาปัตยกรรมมรดกโลกอันทรงคุณค่านี้ไว้
ตัวอาคารที่ได้ชื่อว่ามีความเลิศล้ำทางวิศวกรรมจนได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง ที่ยังความงามทางศิลปะที่ยืนยงผ่านความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ของนครอิสตันบูล จากอดีตสู่ปัจจุบัน
เมื่อแรกเริ่มในปี 537 ที่นี่เป็นโบสถ์แห่งจักรพรรดิจัสติเนียนที่หนึ่งแห่งไบเซนไทน์ ต่อมาเมื่อออตโตมันเข้ายึดอิสตันบูลมากจากจักรวรรดิไบเซนไทน์ได้ในปี 1453 อาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้นก็ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นมัสยิด และก็กลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของอิสตันบูลและของโลกมามากกว่าพันปี ในปัจจุบันตัวอาคารวิหารเซนต์โซเฟียไม่ได้มีการประกอบพิธีทางศาสนาอีก แต่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์มามากว่าแปดทศวรรษแล้ว
ที่นี่มีเจ้ากลี ‘Gli’ แมวลายสลิดชื่อดัง ผู้อาศัยอยู่ในมหาวิหารอันเก่าแก่แห่งนี้ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์ของอายาโซเฟีย ชื่อของกลี (Gli) แปลว่า สีเทาในภาษาตุรกี แต่ผู้คนชอบที่แปลว่า ‘ Union of love’ มากกว่าเพราะตรงกับลักษณะนิสัยของมันอันเป็นศูนย์รวมของความรัก
กลีมีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำได้ง่าย เป็นแมวลายสลิดที่มีดวงตาเอกสีเขียวเปล่งประกายสดใส มีความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวทีมาเยือน กลีเกิดที่นี่มาตั้งแต่ปี 2004 และอาศัยอยู่ที่นี่กับน้องสาวอีกตัวหนึ่งที่ชื่อ Kazim นั่นหมายความว่าพวกแมวได้รับอนุญาตให้อยู่ในวิหารแห่งนี้มามากกว่า 15 ปีแล้ว ราวกับผู้พิทักษ์แห่งอายาโซเฟีย
อย่างน้อยก็คอยไล่บรรดานกพิราบที่อาจทำความสกปรกทำลายโบราณสถาน พวกมันยังได้ให้การต้อนรับคนดังมากมายที่มาเยือนอายาโซเฟีย เช่นผู้นำอย่าง บารัค โอบามา ก็ยังได้มาทักทายกับกลีตอนที่มาชมวิหารแห่งนี้ ทั้งบรรดาเจ้าหน้าที่และชาวอิสตันบูลเองก็ให้ความเอ็นดูพวกมันอย่างดี เช่นเดียวกับแมวอื่น ๆ ที่มีมากมายในเมืองจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งแมว และแมวก็ได้กลายเป็นจิตวิญญาณของอิสตันบูลไปเสียแล้ว
ครั้งหนึ่งกลีเคยมีลูกชายผู้อาจสืบทอดหน้าที่จากเธอ แต่น่าเศร้าว่าเจ้า Karakiz ต้องมาจากไปเพราะถูกรถชนจนเป็นอัมพาตและหมอต้องทำการุณฆาตให้กับมันในที่สุด ทำให้กลียังอยู่ที่นี่กับน้องสาว และพกเธออาจเป็นแมวผู้พิทักษ์รุ่นสุดท้ายแห่งอายาโซเฟียก็เป็นได้ ทุกวันนี้กลีมีอินสตาแกรมภายใต้ชื่อ ‘Hagiasophiacat’
ในความเชื่อที่เกี่ยวกับแมว โดยชนชาติอียิปต์ซึ่งถือว่าเป็นชนชาติแรกที่เลี้ยงแมวมาแต่ยุคโบราณ ชาวอียิปต์เชื่อว่า แมวเป็นเทพเจ้าของพวกเขา
เหตุผลหลักๆ ที่ชนชาติอียิปต์เคารพนับถือแมวเป็นเทพเจ้านั้น มาจากการที่แมวมีบุญคุณกับชาวอียิปต์
เมื่อชาวอียิปต์นำแมวมาเลี้ยงไว้ในบ้านและถูกฝึกเลี้ยงจนเชื่อง แมวช่วยจับหนูภายในบ้าน และเมื่อเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม ผู้คนได้เก็บรักษา ผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ธัญพืชต่าง ๆไว้ในยุ้งฉาง ผลิตผลเหล่านี้ป็นสิ่งดึงดูดสำหรับหนู ซึ่งได้แพร่กระจายเป็นจำนวนมาก
ชาวอียิปต์จึงเกิดความคิดที่จะฝึกแมว ซึ่งมีสัญชาตญาณในความเป็นสัตว์ป่ามาปราบหนู ซึ่งแมวก็สามารถทำหน้าที่ในการกำจัดหนูได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากจะทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์ได้รับความเสียหายน้อยลงแล้ว แมวยังช่วยควบคุมหนูซึ่งเป็นศัตรูพืชและเป็นพาหะนำกาฬโรค(เป็นโรคระบาดที่น่ากลัวในสมัยโบราณ)
เมื่อชาวอียิปต์โบราณเลี้ยงแมว ก็ช่วยให้พวกเขามีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์และมีพลเมืองมากพอ เพราะไม่เจ็บป่วยด้วยกาฬโรคเหมือนประเทศอื่นๆ อียิปต์จึงมีความเจริญ สามารถแผ่ขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลเป็นเวลาหลายพันปี กลายเป็นแหล่งอารยธรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
จากมูลเหตุดังกล่าว ทำให้แมวได้รับการเคารพนับถือว่า เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้า(เทพีบาสเต็ต) เพราะชาวอียิปต์มีความเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ถือว่าเป็นเทพเจ้า หรือเรียกว่า Bastet (เทพีบาสเต็ต/เทพธิดาแมว) อันมีความหมายว่า นางแห่งบาสต์(Bast) ทั้งนี้ Bast เป็นชื่อนครอันเป็นที่ประดิษฐานของเทวาลัยของแมวทั้งหลาย
เทพีบาสเต็ตเป็นเทพเจ้าผู้ประทานความรักและความสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าของแมวทั้งหลาย ซึ่งมักจะปรากฏรูปร่างดังนี้ คือ เป็นเทพที่มีศรีษะเป็นแมว ส่วนรูปร่างหน้าตานั้นจะแตกตางกันออกไป บ้างปรากฏร่างเป็นสตรี แต่มี ศรีษะเป็นแมว หรือบางครั้งก็เป็นแมวทั้งตัว เทพีบาสเต็ตเป็นหนึ่งในลูกสาวของเทพเจ้ารา(Ra) นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงสว่าง ความร้อนและพลังแสงอาทิตย์
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
จากสัตว์ผู้พิทักษ์ในตำนานสู่ตัวจริง
เพื่อให้ศพมีกลิ่นหอมฟุ้งกระจายจนไปต้องโสตจมูกของเทพเจ้า “Anubis” เทพผู้มีร่างเป็นมนุษย์ แต่มีหัวเป็นสุนัข Golden Jackal ผู้ซึ่งชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า จะช่วยนำวิญญาณของคนตายไปสู่ภพภูมิสวรรค์ และจะคอยปกปักษ์รักษาร่างของคนผู้นั้นไว้ ดังเราจะเห็นได้ว่ามีภาพจารึกของเทพ Anubis นี้อยู่บนแผ่นศิลาหน้าสุสานมัมมี่ของชาวไอยคุปต์
สุนัข Golden Jackal จึงเป็นที่มาของตำนานเทพอันเก่าแก่ของมนุษย์ เพราะพวกมันมีบรรพบุรุษที่เก่าแก่พอกัน ซึ่งจะเรียกพวกมันว่าหมาป่าก็คงไม่เชิง แต่มันคือสุนัขในตระกูล Jackals ที่ได้แยกสายวิวัฒนาการออกมาจากหมาป่าเมื่อเนิ่นนานมากแล้ว
ถึงกระนั้น ก็ยังจัดว่าพวกมันมีรูปร่างลักษณะที่ใกล้เคียงกับหมาป่ามาก มีขนลำตัวสีน้ำตาลทองสมชื่อ ยกเว้นขนที่บริเวณหลังจะมีสีปนกันระหว่างดำ น้ำตาล และขาว น้ำหนักตัวราว 8-11 กิโลกรัม เราสามารถพบพวกมันได้ตามธรรมชาติตั้งแต่แถบเหนือของทวีปแอฟริกา เรื่อยมาจนถึงตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และพม่า
เสียงหอนของสุนัข Golden Jackal นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่น พวกมันจะใช้เสียงหอนที่มีความซับซ้อนเพื่อสื่อสารกัน ดังที่ชาวอินเดียมักจะได้ยินบ่อยในยามค่ำคืนของเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน อันเป็นฤดูผสมพันธุ์ของพวกมันนั่นเอง
"....เดิมที่ราชวงศ์แฮปสเบิร์กเป็นมิตรกับกาอย่างมาก ถึงกับปล่อยให้ฝูงกาเข้ามาสร้างรังได้ทุกแห่งในพระราชวัง แต่ต่อมาภายหลังกษัตริย์องค์ใหม่ ไม่ต้องการเห็นกาในเขตพระราชวังอีกแล้ว จึงมีรับสั่งขับไล่กาออกจดหมดสิ้น โดยให้ทำทุกวีถีทางเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการกระทำอันโหดร้ายนี้ ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับฝูงกาพวกมันจึงหันมาทำร้ายทุกคน แต่ในที่สุดพวกกาก็พ่ายแพ้และถูกฆ่าตายจำนวนมาก..."
"...ถ้าหากขับไล่อีกาออกจากป้อมปราการแห่งนี้ไปหมดสิ้น พระราชวังหลวงและป้อมปราการทั้งหมดจะพังพินาศ ราชสำนักอังกฤษจะถึงคราวล่มสลาย และหายนะจะมาเยือนประเทศอังกฤษ.."
เมื่อสิ้นเสียงคำเตือนพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยทันทีพร้อมกับให้เลี้ยงอีกาจำนวน 6 ตัวไว้ประจำป้อมปราการแห่งนี้ตลอดเวลา และได้รับการยกฐานะให้สูงกว่ากาทั่วๆ ไป และมีผู้ดูแลเฉพาะทาง ที่มีชื่อเรียกตำแหน่งนี้ว่า The Ravenmaster
หากกาตัวใดเจ็บป่วยหรือมีความประพฤติไม่ดี ผู้ดูแลต้องแจ้งไปยังราชสำนักโดยเร็วที่สุด พร้อมกับนำกาสำรองมาเลี้ยง (ทั้ง 6 ตัวจะมีตัวสำรองทุกตัว) หากตัวใดตายลง จะมีพิธีฝังศพในบริเวณพระราชวัง มีการมอบแผ่นหินจารึกชื่อ วัน เดือน ปีเกิด (Ravenstones) เพื่อเป็นเกียรติครั้งสุดท้ายแก่ผู้ทำหน้าที่ปกป้องราชวงศ์และแผ่นดิน
http://writer.dek-d.com/
เหตุผลหลักๆ ที่ชนชาติอียิปต์เคารพนับถือแมวเป็นเทพเจ้านั้น มาจากการที่แมวมีบุญคุณกับชาวอียิปต์
เมื่อชาวอียิปต์นำแมวมาเลี้ยงไว้ในบ้านและถูกฝึกเลี้ยงจนเชื่อง แมวช่วยจับหนูภายในบ้าน และเมื่อเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม ผู้คนได้เก็บรักษา ผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ธัญพืชต่าง ๆไว้ในยุ้งฉาง ผลิตผลเหล่านี้ป็นสิ่งดึงดูดสำหรับหนู ซึ่งได้แพร่กระจายเป็นจำนวนมาก
ชาวอียิปต์จึงเกิดความคิดที่จะฝึกแมว ซึ่งมีสัญชาตญาณในความเป็นสัตว์ป่ามาปราบหนู ซึ่งแมวก็สามารถทำหน้าที่ในการกำจัดหนูได้เป็นอย่างดีจนเป็นที่ยอมรับ นอกจากจะทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์ได้รับความเสียหายน้อยลงแล้ว แมวยังช่วยควบคุมหนูซึ่งเป็นศัตรูพืชและเป็นพาหะนำกาฬโรค(เป็นโรคระบาดที่น่ากลัวในสมัยโบราณ)
เมื่อชาวอียิปต์โบราณเลี้ยงแมว ก็ช่วยให้พวกเขามีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์และมีพลเมืองมากพอ เพราะไม่เจ็บป่วยด้วยกาฬโรคเหมือนประเทศอื่นๆ อียิปต์จึงมีความเจริญ สามารถแผ่ขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลเป็นเวลาหลายพันปี กลายเป็นแหล่งอารยธรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
จากมูลเหตุดังกล่าว ทำให้แมวได้รับการเคารพนับถือว่า เป็นสัตว์แห่งเทพเจ้า(เทพีบาสเต็ต) เพราะชาวอียิปต์มีความเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ถือว่าเป็นเทพเจ้า หรือเรียกว่า Bastet (เทพีบาสเต็ต/เทพธิดาแมว) อันมีความหมายว่า นางแห่งบาสต์(Bast) ทั้งนี้ Bast เป็นชื่อนครอันเป็นที่ประดิษฐานของเทวาลัยของแมวทั้งหลาย
เทพีบาสเต็ตเป็นเทพเจ้าผู้ประทานความรักและความสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าของแมวทั้งหลาย ซึ่งมักจะปรากฏรูปร่างดังนี้ คือ เป็นเทพที่มีศรีษะเป็นแมว ส่วนรูปร่างหน้าตานั้นจะแตกตางกันออกไป บ้างปรากฏร่างเป็นสตรี แต่มี ศรีษะเป็นแมว หรือบางครั้งก็เป็นแมวทั้งตัว เทพีบาสเต็ตเป็นหนึ่งในลูกสาวของเทพเจ้ารา(Ra) นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงสว่าง ความร้อนและพลังแสงอาทิตย์