จำนวนผู้เสียชีวิต จากโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าตัวเลขไทยไม่ได้ผิด?

อธิบายสั้นๆคือ  ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเยอะคนตายก็เยอะตาม

ถ้าไทยมีติดเชื้อเยอะแต่ไม่รู้ตัว อย่างที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ทุกวัน  แล้วยอดคนตายหละหายไปไหน 

ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
คนที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ของสาธารณสุข เช่น ไม่มีประวัติไป ตปท. หรือใกล้ชิดคนต่างชาติ จะไม่ถูกตรวจหาเชื้อ การวินิจฉัยก็จะกลายเป็นคนป่วยน้อยก็วินิจฉัยว่าเป็นหวัด ถ้าป่วยหนักจนปอดอักเสบก็วินิจฉัยว่าเป็นปอดบวม ซึ่งในแต่ละปีคนไทยป่วยเป็นโรคปอดบวมปีละเป็นแสนคนอยู่แล้ว เสียชีวิตจากปอดบวมปกติปีละหลายร้อยคน ดังนั้นถ้าไม่ถูกตรวจหาเชื้อก็จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นปอดบวมหมดในกรณีที่อาการหนัก ซึ่งแต่ละปีก็มีคนป่วยเป็นแสนคนอยู่แล้ว เพิ่มไปอีกหลักร้อยหรือพันคนก็ดูไม่ผิดปกติอะไร ถ้าจะดูผิดปกติก็อาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็นหมื่นคนแล้ว (ถ้าปอดอักเสบหลักร้อย แสดงว่าผู้ติดเชื้ออาจจะหลักพันคน เพราะส่วนใหญ่จะอาการไม่หนัก) นั่นหมายถึงต้องระบาดหนักแล้วถึงจะรู้ตัว
จีนบอกว่าถ้าจะหยุดระบาด ค่าตรวจต้องราคาถูก หรือต้องไม่เสียเงินเลย แต่ตอนนี้บ้านเราถ้าไม่เข้าหลักเกณฑ์ของสาธารณสุข ค่าตรวจก็แพงเหลือเกิน
ความคิดเห็นที่ 10
ตอนนี้ panic กันทั่วโรคโคโรน่ากับโรคหวัดธรรมดาระยะแรกอาการก็เหมือนกันเข้าใจนะถ้าเราป่วยมีอาการไข้หวัดใจแรกก็คิดเราจะป่วยเป็นโคโรนาเปล่านะ
ถ้าเราต้องตรวจคัดกรองโรคโคโรนาทุกเคสที่มีอาการหวัด เป็นไปไม่ได้ต่อให้อเมริกาหรือสวิตเซอร์แลนด์ก็ทำไม่ได้
มันถึงต้องมีการ set priorities ไงเคสไหนเสี่ยงมากน้อย
1 เคสเสี่ยงสูงเข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง มีคนใกล้ชิดเป็นโคโรนาหรือกลับจากประเทศจีนมา
2 เคสเสี่ยงรอง ไม่เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังแต่มีคนใกล้ชิดอยู่ร่วมบ้าน อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง
3 ความเสี่ยงไม่ชัดเจน เช่นไม่ได้ไปไหนอยู่แต่ในประเทศ เดินห้างนั่งบีทีเอสสวนกับทัวร์จีนเป็นต้น
อย่างเกาหลีใต้ตอนนี้ตรวจหมดส่วนประเทศไทยตรวจเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง เกาหลีใต้เจอไปเจ็ดพันกว่าส่วนไทยเจอเจ็ดสิบ เหมือนว่าประเทศไทยตรวจน้อยเลยเจอน้อยใช่ไหม
โดยข้อเท็จจริง การตรวจโอกาสเจอโรคกลุ่ม 1 > 2 > 3 อยู่แล้ว
- เกาหลีใต้ตรวจหมดทุกกลุ่ม เจอเคส 2.1 %
- แต่ไทยตรวจเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ยังเจอคนเป็นโรคแค่ 1.1%
แปลว่าอะไร
แปลว่าความชุกของคนเป็นโรคในประเทศไทยต่ำกว่าที่เกาหลีใต้มาก
มากจนไม่คุ้มที่จะตรวจในทุกคนที่เป็นหวัดแต่ความเสี่ยงไม่ชัดเจน
ถามว่ามีโอกาสที่จะหลุดรอตรวจไม่พบ คนเป็นโรคในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงไหม ก็คงมี
แต่ทุกสิ่งในโลก ไม่มีอะไรเพอร์เฟค ชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียแล้ว คิดว่าทำแบบที่ทำอยู่ในปัจจุบันดีที่สุดละ
ความคิดเห็นที่ 12
เคสจข.ร้านอาหาร กับเคสแมทธิว นี่น่าจะพอเป็นตัวอย่างได้

ถ้าสองคนนี้เป็นคนธรรมดาทั่วไป หาเช้ากินค่ำ เงินเดือนไม่มาก ป่วยมาคงเดินไปตรวจรพ.รัฐ ซึ่งรพ.รัฐคงไม่ส่งตรวจ COVID ให้ เพราะไม่มีประวัติความเสี่ยงชัดเจน แต่นี่โชคดีไปตรวจเอกชน เค้าเลยตรวจให้

ผลปรากฏ จข.ร้านอาหาร แพร่ให้ลูกน้อง 2 คนเรียบร้อย ส่วนแมทธิว รอผลคนรอบข้าง
ความคิดเห็นที่ 13
ป่วยแต่ลงว่าเป็นปอดอักเสบไงจ๊ะ​ แค่นี้ยอดเราก็ไม่เพิ่มละ​ดีออก​ เพราะบางทีป่วยเข้าไปรพ.แต่รพ.ไม่ได้วิเคราะห์ให้ก็ไม่รู้ละ​ค่าตรวจ3พันบาทอัพ​ ไม่ได้ตรวจก็ลงเป็นไข้หวัดทำดากัน​ยอดก็เลยไม่เพิ่มไง

จะเข้าข้างรัฐเพื่ออะไร? รัฐห่วยซะทุกด้านขนาดนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่