การพิจารณาคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า จะพิจารณาตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า
10 มีนาคม “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยมีการวาระสำคัญในการพิจารณามาตรการลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มจากเห็นชอบ 5 มาตรการตามที่นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังเสนอ
1.มาตรการสินเชื้อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2 เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื้อไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย โดยเน้นที่ผู้ประกอบการระดับกลางและระดับเล็ก รวมวงเงินสินเชื้อทั้งหมด 150,000 ล้านบาท
2.การพักเงินต้นลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้ แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเป็นมาตรการเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินภายใต้กรอบวงเงิน 150,000 ล้านบาทตามมาตรการที่ 1 ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.การอำนวยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินอื่น
4.มาตรการเสริมจากกองทุนประกันสังคม เช่น ให้สินเชื้อดอกเบี้ยต่ำ รวมวงเงิน 30,000 ล้านบาท เริ่มต้นที่ร้อยละ 3 เป็น ระยะเวลา 3 ปี , มาตรการคือสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ อาทิ การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 1.5 เริ่มเดือนเมษายนถึงวันที่ 1 กันยายน 2563 , ส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงาน โดยให้สถานประกอบการนำรายจ่ายค่าจ้างลูกจ้างในธุรกิจเอสเอ็มอี หักรายจ่ายได้ 3 เท่า , เร่งคืนภาษีมูลราคาเพิ่มให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ
5.สำหรับผู้ที่ซื้อหน่วยการลงทุนในกองทุนออม ให้สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการชั่วคราวเพิ่มอีก 200,000 บาท ช่วงปีภาษี 2563 นี้
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เสนอ
1.การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยให้พิจารณาเร่งรัดออกแนวทางปฏิบัติและรายละเอียดในการดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก จำนวน 21.5 ล้านราย สามารถใช้สิทธิ์ในการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่วางไว้ตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ซึ่งมีวงเงินรวมที่จะมีสิทธิขอคืนประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยจะสามารถเริ่มทยอยคืนได้ตั้งแต่เดือนมีนาคุม 2563 สำหรับการพิจารณาคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า จะพิจารณาตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่ 300 บาท 2,000 บาท 4,000 บาท และ 6,000 บาท
2.การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ 72 จังหวัด รวมวงเงิน 4,064 ล้านบาท โดยให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ ประกาศเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินภายใต้โครงการชุมชนปีนี้ จำนวนกว่า 6,600 โครงการ วงเงินรวม 289 ล้านบาท เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในพื้นที่และพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นในด้านสาธารณสุข อาชีพ การศึกษา และสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ ประกาศพิจารณาทบทวนโครงการชุมชนภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จ้างแรงงาน จัดซื้อหรือก่อสร้างที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ของผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นภายในประเทศ การศึกษาดูงานภายในประเทศแทนการศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ
ทั้งยังให้พิจารณานำงบประมาณเหลือจ่ายในปี 2562 และ 2563 วงเงินรวม 1,570 ล้านบาท มาใช้ประโยชน์เพิ่มเติม ในการเสนอโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการจ้างงานในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ
3.การกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้า โดยตรึงอัตราค่าเอฟที เดือนพฤษภาคม 2563 ในอัตรา -11.60 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลง 11.60 สตางค์ต่อหน่วย จากค่าไฟฟ้าฐาน คิดเป็นวงเงินประมาณ 4,534 ล้านบาท
4.การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลดค่าไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 3 ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เป็นระยะเวลา 3 เดือน เมษายน –มิถุนายนนี้ ,ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการเฉพาะอย่าง (ธุรกิจโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย) ตลอดจนไม่คิดค่าปรับ (ดอกเบี้ย) ตลอดระยะเวลาการผ่อนผัน โดยไม่มีการงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว และผ่อนผันได้ไม่เกิน 6 เดือนของแต่ละรอบบิล
https://www.nationweekend.com/content/government_inside/7859
จัดหนัก! เปิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสู้โควิด-19
10 มีนาคม “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยมีการวาระสำคัญในการพิจารณามาตรการลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ จากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มจากเห็นชอบ 5 มาตรการตามที่นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังเสนอ
1.มาตรการสินเชื้อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 2 เป็นระยะเวลา 2 ปี วงเงินสินเชื้อไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย โดยเน้นที่ผู้ประกอบการระดับกลางและระดับเล็ก รวมวงเงินสินเชื้อทั้งหมด 150,000 ล้านบาท
2.การพักเงินต้นลดดอกเบี้ย ขยายเวลาชำระหนี้ แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเป็นมาตรการเสริมสำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินภายใต้กรอบวงเงิน 150,000 ล้านบาทตามมาตรการที่ 1 ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.การอำนวยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินอื่น
4.มาตรการเสริมจากกองทุนประกันสังคม เช่น ให้สินเชื้อดอกเบี้ยต่ำ รวมวงเงิน 30,000 ล้านบาท เริ่มต้นที่ร้อยละ 3 เป็น ระยะเวลา 3 ปี , มาตรการคือสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ อาทิ การลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 1.5 เริ่มเดือนเมษายนถึงวันที่ 1 กันยายน 2563 , ส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงาน โดยให้สถานประกอบการนำรายจ่ายค่าจ้างลูกจ้างในธุรกิจเอสเอ็มอี หักรายจ่ายได้ 3 เท่า , เร่งคืนภาษีมูลราคาเพิ่มให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ
5.สำหรับผู้ที่ซื้อหน่วยการลงทุนในกองทุนออม ให้สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการชั่วคราวเพิ่มอีก 200,000 บาท ช่วงปีภาษี 2563 นี้
นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบตามที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เสนอ
1.การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดยให้พิจารณาเร่งรัดออกแนวทางปฏิบัติและรายละเอียดในการดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก จำนวน 21.5 ล้านราย สามารถใช้สิทธิ์ในการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่วางไว้ตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ซึ่งมีวงเงินรวมที่จะมีสิทธิขอคืนประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยจะสามารถเริ่มทยอยคืนได้ตั้งแต่เดือนมีนาคุม 2563 สำหรับการพิจารณาคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า จะพิจารณาตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า เริ่มตั้งแต่ 300 บาท 2,000 บาท 4,000 บาท และ 6,000 บาท
2.การเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ 72 จังหวัด รวมวงเงิน 4,064 ล้านบาท โดยให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ ประกาศเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินภายใต้โครงการชุมชนปีนี้ จำนวนกว่า 6,600 โครงการ วงเงินรวม 289 ล้านบาท เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายในพื้นที่และพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นในด้านสาธารณสุข อาชีพ การศึกษา และสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งให้กองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ ประกาศพิจารณาทบทวนโครงการชุมชนภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้ว เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จ้างแรงงาน จัดซื้อหรือก่อสร้างที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ของผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นภายในประเทศ การศึกษาดูงานภายในประเทศแทนการศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ
ทั้งยังให้พิจารณานำงบประมาณเหลือจ่ายในปี 2562 และ 2563 วงเงินรวม 1,570 ล้านบาท มาใช้ประโยชน์เพิ่มเติม ในการเสนอโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการจ้างงานในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ
3.การกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้า โดยตรึงอัตราค่าเอฟที เดือนพฤษภาคม 2563 ในอัตรา -11.60 สตางค์ต่อหน่วย หรือลดลง 11.60 สตางค์ต่อหน่วย จากค่าไฟฟ้าฐาน คิดเป็นวงเงินประมาณ 4,534 ล้านบาท
4.การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลดค่าไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 3 ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท เป็นระยะเวลา 3 เดือน เมษายน –มิถุนายนนี้ ,ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการเฉพาะอย่าง (ธุรกิจโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย) ตลอดจนไม่คิดค่าปรับ (ดอกเบี้ย) ตลอดระยะเวลาการผ่อนผัน โดยไม่มีการงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว และผ่อนผันได้ไม่เกิน 6 เดือนของแต่ละรอบบิล
https://www.nationweekend.com/content/government_inside/7859