จากกระทู้ที่แล้ว ผมรู้สึกตกใจที่แฟนวอลเล่ย์มีความคิดกลับหัวกลับหางเช่นนี้ จนไม่ได้ไปแก้ต้นตอของปัญหา เส้นทางจริงๆ ที่ถูกที่ควร และเป็นเส้นทางที่ไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน คือต้องพัฒนาสโมสรในลีกให้เข้มแข็ง มีอคาเดมี่ตัวเองพร้อมหลักสูตรที่พัฒนาผู้เล่น วิทยาศาสตร์การกีฬาในสโมสรพร้อมที่จะพัฒนาผู้เล่นในระดับอายุต่างๆ จนถึงชุดใหญ่ สโมสรแต่ละสโมสรต้องเป็นคนปรุงวัตถุดิบให้พร้อมสรรพ มีเบสิคแน่น ผ่านการฝึกในรูปแบบเดียวกับทีมชาติ มันควรต้องเป็นเส้นทางนี้ถึงจะถูก ถึงจะควร แล้วแคมป์ทีมชาติหยิบวัตถุดิบเหล่านั้นมาฝึกซ้อมภายใต้ระบบทีมชาติทันที ไม่ต้องมานั่งเทรนบอลแรก ฝึกตบ ฝึกเสิร์ฟ จับฝึกซ้อมทีมได้เลย
แต่กลายเป็นเหมือนทีมชาติสปอยแฟนวอลเล่ย์ พยายามให้คนโน้น คนนี้ เข้าแคมป์ทีมชาติ แล้วแคมป์ทีมชาติจัดการให้พัฒนาผู้เล่นตั้งแต่เบสิคยันรูปแบบการเล่น มันเลยเกิดปัญหาทุกวันนี้ที่ความแตกต่างของผู้เล่นที่ผ่านทีมชาติมีฝีมือฉีกผู้เล่นที่แข่งในลีกมาก ใครที่ผ่านแคมป์ทีมชาติมาพอมาแข่งในลีกจะเห็นได้ชัดเลยว่าเหมือนอยู่คนละโลก คนละระดับ แล้วก็เป็นสาเหตุหลักให้พวกหน้าใหม่ทีมชาติ ต้องเสียเวลาปรับตัว พัฒนาขีดความสามารถตัวเองให้มากพอเพื่อต่อกรกับทีมระดับโลกได้ ส่งผลให้ถึงเสียเวลาในการที่จะหย่อนผู้เล่นหน้าใหม่ลงแข่งขันจริงตามที่แฟนวอลเล่ย์ต้องการ เพราะต้องมานั่งเสียเวลาเจียระไนนี้ละครับ ไม่ใช่มาถึงปั๊บจะลงเล่นกันได้ทันที ความเขี้ยว ความยากกับการต่อกรทีมระดับโลกมันต่างกับทีมในลีกมากมายนัก สโมสรในลีกของเราว่าตามตรงยังห่างกันเยอะ เมื่อเทียบกับสโมสรในจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ที่ทีมชาติพยายามไปยืนเทียบเคียงเสียอีก
ดังนั้นมันควรถึงเวลาแล้วที่ทั้งสโมสรและสมาคม ต้องร่วมมือกันยกมาตรฐานสโมสรในลีกให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ความเข้มข้นการฝึกซ้อมให้สูงมากขึ้น มีความแตกต่างกับการซ้อมในทีมชาติน้อยลง เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาผู้เล่นใหม่ และมันความเป็นเส้นทางนี้ถึงพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิธีการที่ผมเสนอคือ ลอกเลียนการพัฒนาลีกจากสมาคมฟุตบอลมาเลยครับ สำหรับตอนนี้หลักสูตรการพัฒนาสโมสรของสมาคมชุดสมยศดีที่สุดในไทยแล้ว
1. สร้างเลยคลับไลเซนซิ่งของสโมสรวอลเล่ย์บอลที่มีการบริหาร สนาม จำนวนที่นั่ง อคาเดมี่เป็นไปตามที่กลุ่มโค้ชอ๊อดกำหนด ใครไม่ผ่านก็ส่งทีมลงแข่งลีกไม่ได้
2. กลุ่มโค้ชอ๊อดอาจทำคนเดียวหรือร่วมมือกับโค้ชประเทศอื่นที่มีความสามารถ ออกแบบหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้เล่น แล้วแจกจ่ายไปตามแต่ละสโมสรเพื่อให้สร้างอคาเดมี่ตามหลักสูตร พร้อมกำหนดหน่วนตรวจสอบมาตรฐานหลังจากให้เวลาสโมสรปรับปรุงอคาเดมี่ว่าเป็นไปตามหลักสูตรหรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องยุบสโมสรแล้วยึดสิทธิมาให้สโมสรอื่นที่พร้อมทำเรื่องเล่านี้มาแทน ซึ่งเป็นแนวทางล้อกับ ไทยแลนด์ เวย์ ของสมาคมฟุตบอล แต่ของเราจะดีกว่าอีกเพราะ เรามีระบบการสร้างผู้เล่นที่สเถียรและเห็นผลแล้ว ไม่เหมือนกับของฟุตบอลที่ยังอยู่ระหว่างทดลอง
ถ้าพัฒนาตามนี้จะลดช่องว่างความแตกต่างเรื่องการพัฒนาศักยภาพนักวอลเล่ย์บอลให้ลดลง ใกล้เคียงกับการซ้อม การพัฒนาศักยภาพผู้เล่นในทีมชาติมากขึ้น ทีมชาติจะได้เหนื่อยน้อยลง ปรับเปลี่ยนตามแฟนวอลเล่ย์หลายคนต้องการได้ง่าย ไม่ใช่แบบทุกวันนี้เอะอะอะไรก็ให้ทีมชาติพัฒนาผู้เล่นคนนั้นคนนี้ มันควรต้องช่วยกันครับ
แฟนวอลเล่ย์หลายคนเคยชินกับการให้ทีมชาติปั้นนักกีฬา แทนที่สโมสรจะพัฒนาความสามารถตัวเองเพื่อปั้นนักกีฬาแทนทีมชาติ
แต่กลายเป็นเหมือนทีมชาติสปอยแฟนวอลเล่ย์ พยายามให้คนโน้น คนนี้ เข้าแคมป์ทีมชาติ แล้วแคมป์ทีมชาติจัดการให้พัฒนาผู้เล่นตั้งแต่เบสิคยันรูปแบบการเล่น มันเลยเกิดปัญหาทุกวันนี้ที่ความแตกต่างของผู้เล่นที่ผ่านทีมชาติมีฝีมือฉีกผู้เล่นที่แข่งในลีกมาก ใครที่ผ่านแคมป์ทีมชาติมาพอมาแข่งในลีกจะเห็นได้ชัดเลยว่าเหมือนอยู่คนละโลก คนละระดับ แล้วก็เป็นสาเหตุหลักให้พวกหน้าใหม่ทีมชาติ ต้องเสียเวลาปรับตัว พัฒนาขีดความสามารถตัวเองให้มากพอเพื่อต่อกรกับทีมระดับโลกได้ ส่งผลให้ถึงเสียเวลาในการที่จะหย่อนผู้เล่นหน้าใหม่ลงแข่งขันจริงตามที่แฟนวอลเล่ย์ต้องการ เพราะต้องมานั่งเสียเวลาเจียระไนนี้ละครับ ไม่ใช่มาถึงปั๊บจะลงเล่นกันได้ทันที ความเขี้ยว ความยากกับการต่อกรทีมระดับโลกมันต่างกับทีมในลีกมากมายนัก สโมสรในลีกของเราว่าตามตรงยังห่างกันเยอะ เมื่อเทียบกับสโมสรในจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ ที่ทีมชาติพยายามไปยืนเทียบเคียงเสียอีก
ดังนั้นมันควรถึงเวลาแล้วที่ทั้งสโมสรและสมาคม ต้องร่วมมือกันยกมาตรฐานสโมสรในลีกให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ความเข้มข้นการฝึกซ้อมให้สูงมากขึ้น มีความแตกต่างกับการซ้อมในทีมชาติน้อยลง เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาผู้เล่นใหม่ และมันความเป็นเส้นทางนี้ถึงพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิธีการที่ผมเสนอคือ ลอกเลียนการพัฒนาลีกจากสมาคมฟุตบอลมาเลยครับ สำหรับตอนนี้หลักสูตรการพัฒนาสโมสรของสมาคมชุดสมยศดีที่สุดในไทยแล้ว
1. สร้างเลยคลับไลเซนซิ่งของสโมสรวอลเล่ย์บอลที่มีการบริหาร สนาม จำนวนที่นั่ง อคาเดมี่เป็นไปตามที่กลุ่มโค้ชอ๊อดกำหนด ใครไม่ผ่านก็ส่งทีมลงแข่งลีกไม่ได้
2. กลุ่มโค้ชอ๊อดอาจทำคนเดียวหรือร่วมมือกับโค้ชประเทศอื่นที่มีความสามารถ ออกแบบหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้เล่น แล้วแจกจ่ายไปตามแต่ละสโมสรเพื่อให้สร้างอคาเดมี่ตามหลักสูตร พร้อมกำหนดหน่วนตรวจสอบมาตรฐานหลังจากให้เวลาสโมสรปรับปรุงอคาเดมี่ว่าเป็นไปตามหลักสูตรหรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องยุบสโมสรแล้วยึดสิทธิมาให้สโมสรอื่นที่พร้อมทำเรื่องเล่านี้มาแทน ซึ่งเป็นแนวทางล้อกับ ไทยแลนด์ เวย์ ของสมาคมฟุตบอล แต่ของเราจะดีกว่าอีกเพราะ เรามีระบบการสร้างผู้เล่นที่สเถียรและเห็นผลแล้ว ไม่เหมือนกับของฟุตบอลที่ยังอยู่ระหว่างทดลอง
ถ้าพัฒนาตามนี้จะลดช่องว่างความแตกต่างเรื่องการพัฒนาศักยภาพนักวอลเล่ย์บอลให้ลดลง ใกล้เคียงกับการซ้อม การพัฒนาศักยภาพผู้เล่นในทีมชาติมากขึ้น ทีมชาติจะได้เหนื่อยน้อยลง ปรับเปลี่ยนตามแฟนวอลเล่ย์หลายคนต้องการได้ง่าย ไม่ใช่แบบทุกวันนี้เอะอะอะไรก็ให้ทีมชาติพัฒนาผู้เล่นคนนั้นคนนี้ มันควรต้องช่วยกันครับ