แนวคิดนี้มาจากมาตรการการพัฒนาทักษะของบุคลากรในสายวิชาชีพต่างๆ ที่สมาคมวิชาชีพนั้นๆ มักจะมีโครงการอบรม เพื่อประสิทธิภาพและทักษะ
ให้แก่สมาชิกอยู่เสมอๆ และบริษัทต่างๆก็ยินดีที่จะส่งบุคลากรให้เข้ามาอบรม เพราะผลประโยชน์จะกลับไปสู่ทั้ง ตัวพนักงาน บริษัทและสมาคมนั้นๆเอง
ต้นเหตุแห่งปัญหามาจาก
1. สมาคมไม่สามารถเรียกเก็บตัวในระยะเวลานานได้ เพราะนอกจากเป็นการรบกวนระบบลีคแล้ว ยังเป็นการหยุดการพัฒนาฟุตบอลในระดับฐานรากด้วย เช่น การปิดลีคจะทำให้นักฟุตบอลที่ไม่ติดทีมชาติ ขาดการพัฒนาจากการแข่งขันและลงสนาม
2. สโมสร ต้องยอมรับว่า สโมสรฟุตบอลไทยในทุกวันนี้ ยังไม่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การฝึกซ้อม ทีมงานคุณภาพได้อย่างทั่วถึง ทั้งการขาดเงินทุน องค์ความรู้ด้านฟุตบอล สภาพคล่องทางธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่ควรผลักภาระในส่วนนี้ไปให้สโมสรต่างๆ
3. นักฟุตบอล ในภาพรวมยังไม่สามารถยกระดับการเล่นได้จากการเก็บตัวในระยะสั้นๆ อันเนื่องมาจากการฝึกซ่อม และวินัยที่ยังไม่เป็นมืออาชีพ รวมทั้งยังขาโอกาสและการพัฒนาที่ถูกต้อง
จะเห็นว่าทั้งสามปัญหานี้ จะมีวิธีการแก้ที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง ระหว่างการเก็บตัวนาน จะกระทบระบบลีคและการพัฒนานักฟุตบอลคนอื่นๆ แต่จะเก็บตัวระยะสั้นก่อนแข่งไม่กี่วัน ก็ไม่เพียงพอต่อการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน
จึงเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะประสานแนวคิดทั้งสองระหว่าง
การพัฒนาตามมาตรฐานสากล คือการปฏิบัติตามปฎิทันฟีฟ่า ให้ความสำคัญกับตารางการแข่งขัน ซึ่งเป็นการพัฒนาบอลไทยที่ยั่งยืนในทุกระดับของปิระมิด
และการเก็บตัวนานเพื่อทดแทนปัญหาเรื่องประสิทธิภาพทั้งด้านเบสิก ความฟิต และความเข้าใจเกมส์ ของนักฟุตบอลในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถใช้การเก็บตัวก่อนแข่งแค่ 2-3 วันได้
เลยขอลองเสนอแนวทางการเก็บตัวทีมชาติเป็นระยะๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง การเก็บตัวทีมชาติ 1 วัน/สัปดาห์ ในช่วงแข่งลีค หรือ 1-2 วัน/สัปดาห์ในช่วงพักฤดูกาล เช่นวันพุธ ซึ่งเป็นวันกลางสัปดาห์ โดยให้นักบอลเข้าแคมป์มาฝึกทักษะตามสถานีต่างๆ ตามที่โค้ชเห็นสมควรและปัญหาของแต่ละคน หรือเป็นการลองรวมทีม ทดสอบ tactics ต่างๆ เพื่อสร้างสมรรถนะและความเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น
โดยการเรียกเก็บตัวนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเรียกทุกคน แล้วแต่ความเหมาะสม เช่นนักบอลที่มีคุณภาพอยู่แล้ว หรือคนที่ไปเตะบอลที่ตปท. ส่วนนี้อาจจะไม่จำเป็นเพราะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงอยู่แล้ว (ในที่นี้คาดกว่ามีไม่เกิน 5-6 คน) แต่เป็นการเรียกเข้าแคมป์ในส่วนของนักบอลที่ติดทีมชาติอื่นๆ ที่ยังต้องพัฒนาในบางทักษะอยู่
ซึ่งในหนึ่งปี จะสามารถใช้เวลาพัฒนานักบอลได้ถึง 40-50 วัน/ปี นอกเหนือไปจากการเก็บตัวตามปกติ
สิ่งที่สมาคมจะต้องดำเนินการได้แก่ การพัฒนาศูนย์ฝึกที่ใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามา ทั้งการวิเคราะห์และการพัฒนาตามศักยภาพและข้อจำกัดของแต่ละคน ทีมโค้ชที่เหมาะสมกับการพัฒนา ในส่วนนี้โปรไฟล์ไม่สำคัญ แต่ต้องเป็นโค้ชที่ทำงานกับประเทศโลกที่สามด้านฟุตบอลได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของการรองรับและชดเชยแก่สโมสร สมาคมจะต้องมีเงินชดเชยและอุดหนุน รวมทั้งหลักประกันเมื่อเกิดกรณีนักบอลบาดเจ็บจากโครงการดังกล่าว เพื่อลดภาระและความรับผิดชอบแก่สโมสร
ข้อดีของแนวทางนี้ คือ สมาคมสามารถใช้เวลาในการเรียกฝึกซ้อมได้มากขึ้น โดยไม่กระทบต่อระบบลีค และไม่เป็นการฝากความหวัง ภาระและความรับผิดชอบให้แก่สโมสร(ในศักยภาพของสโมสรในปัจจุบันคาดว่าจะไม่สามารถยกระดับการฝึกซ้อมรวมทั้งการจัดหาทีมงานที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน) สโมสรได้โอกาสในการพัฒนานักบอลโดยสมาคมที่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ และทีมงานมากกว่า นอกจากนี้ยังได้เงินชดเชยบางส่วน ในส่วนของนักบอลจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะและความเข้าใจเกมส์มากยิ่งขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ก็จะกลับไปสู่ทั้งสโมสรและทีมชาติ ที่ได้บุคลากรที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสมาคมยังได้โอกาสในการติดตามและประเมิน การทดสอบระบบและแผนการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้ติดตามพัฒนาการของนักบอลทีมชาติในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย
ข้อเสียได้แก่ อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ยังเป็นการดึงนักบอลนอกปฎิทินฟีฟ่าอยู่ดี และต้องใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และจัดหาทืมงานที่มีคุณภาพซึ่งอาจจะต้องเป็นทีมใหญ่ หรือกระจายตามภูมิภาคเพื่อลดภาระและเวลาในการเดินทางมาศูนย์ฝึก
แนวทางดังกล่าวยังสามารถขยายการพัฒนาไปถึงการพัฒนาโค้ชคนไทยในสโมสรต่างๆ อีกด้วย ให้เข้ามาอบรมและฝึกอย่างถูกวิธี
โดยปัญหาที่ต้องคิดต่อก็คือ การเก็บตัว 1 วันต่อสัปดาห์จะเพียงพอมั้ย จะเกิดความต่อเนื่องมั้ย ถ้าสโมสรที่มีแนวทางการเล่นที่แตกต่างออกไป จะเกิดความสับสนหรือไม่ หรือเป็นหลักการฝึกซ้อมที่ถูกต้องมั้ย ในส่วนนี้ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
ทีมชาติ ถ้าไม่ต้องเก็บตัวนานแต่เข้าแคมป์เป็นระยะ จะทดแทนได้ไหมครับ
ให้แก่สมาชิกอยู่เสมอๆ และบริษัทต่างๆก็ยินดีที่จะส่งบุคลากรให้เข้ามาอบรม เพราะผลประโยชน์จะกลับไปสู่ทั้ง ตัวพนักงาน บริษัทและสมาคมนั้นๆเอง
ต้นเหตุแห่งปัญหามาจาก
1. สมาคมไม่สามารถเรียกเก็บตัวในระยะเวลานานได้ เพราะนอกจากเป็นการรบกวนระบบลีคแล้ว ยังเป็นการหยุดการพัฒนาฟุตบอลในระดับฐานรากด้วย เช่น การปิดลีคจะทำให้นักฟุตบอลที่ไม่ติดทีมชาติ ขาดการพัฒนาจากการแข่งขันและลงสนาม
2. สโมสร ต้องยอมรับว่า สโมสรฟุตบอลไทยในทุกวันนี้ ยังไม่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การฝึกซ้อม ทีมงานคุณภาพได้อย่างทั่วถึง ทั้งการขาดเงินทุน องค์ความรู้ด้านฟุตบอล สภาพคล่องทางธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่ควรผลักภาระในส่วนนี้ไปให้สโมสรต่างๆ
3. นักฟุตบอล ในภาพรวมยังไม่สามารถยกระดับการเล่นได้จากการเก็บตัวในระยะสั้นๆ อันเนื่องมาจากการฝึกซ่อม และวินัยที่ยังไม่เป็นมืออาชีพ รวมทั้งยังขาโอกาสและการพัฒนาที่ถูกต้อง
จะเห็นว่าทั้งสามปัญหานี้ จะมีวิธีการแก้ที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง ระหว่างการเก็บตัวนาน จะกระทบระบบลีคและการพัฒนานักฟุตบอลคนอื่นๆ แต่จะเก็บตัวระยะสั้นก่อนแข่งไม่กี่วัน ก็ไม่เพียงพอต่อการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน
จึงเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะประสานแนวคิดทั้งสองระหว่าง
การพัฒนาตามมาตรฐานสากล คือการปฏิบัติตามปฎิทันฟีฟ่า ให้ความสำคัญกับตารางการแข่งขัน ซึ่งเป็นการพัฒนาบอลไทยที่ยั่งยืนในทุกระดับของปิระมิด
และการเก็บตัวนานเพื่อทดแทนปัญหาเรื่องประสิทธิภาพทั้งด้านเบสิก ความฟิต และความเข้าใจเกมส์ ของนักฟุตบอลในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถใช้การเก็บตัวก่อนแข่งแค่ 2-3 วันได้
เลยขอลองเสนอแนวทางการเก็บตัวทีมชาติเป็นระยะๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่าง การเก็บตัวทีมชาติ 1 วัน/สัปดาห์ ในช่วงแข่งลีค หรือ 1-2 วัน/สัปดาห์ในช่วงพักฤดูกาล เช่นวันพุธ ซึ่งเป็นวันกลางสัปดาห์ โดยให้นักบอลเข้าแคมป์มาฝึกทักษะตามสถานีต่างๆ ตามที่โค้ชเห็นสมควรและปัญหาของแต่ละคน หรือเป็นการลองรวมทีม ทดสอบ tactics ต่างๆ เพื่อสร้างสมรรถนะและความเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น
โดยการเรียกเก็บตัวนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเรียกทุกคน แล้วแต่ความเหมาะสม เช่นนักบอลที่มีคุณภาพอยู่แล้ว หรือคนที่ไปเตะบอลที่ตปท. ส่วนนี้อาจจะไม่จำเป็นเพราะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงอยู่แล้ว (ในที่นี้คาดกว่ามีไม่เกิน 5-6 คน) แต่เป็นการเรียกเข้าแคมป์ในส่วนของนักบอลที่ติดทีมชาติอื่นๆ ที่ยังต้องพัฒนาในบางทักษะอยู่
ซึ่งในหนึ่งปี จะสามารถใช้เวลาพัฒนานักบอลได้ถึง 40-50 วัน/ปี นอกเหนือไปจากการเก็บตัวตามปกติ
สิ่งที่สมาคมจะต้องดำเนินการได้แก่ การพัฒนาศูนย์ฝึกที่ใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามา ทั้งการวิเคราะห์และการพัฒนาตามศักยภาพและข้อจำกัดของแต่ละคน ทีมโค้ชที่เหมาะสมกับการพัฒนา ในส่วนนี้โปรไฟล์ไม่สำคัญ แต่ต้องเป็นโค้ชที่ทำงานกับประเทศโลกที่สามด้านฟุตบอลได้เป็นอย่างดี
ในส่วนของการรองรับและชดเชยแก่สโมสร สมาคมจะต้องมีเงินชดเชยและอุดหนุน รวมทั้งหลักประกันเมื่อเกิดกรณีนักบอลบาดเจ็บจากโครงการดังกล่าว เพื่อลดภาระและความรับผิดชอบแก่สโมสร
ข้อดีของแนวทางนี้ คือ สมาคมสามารถใช้เวลาในการเรียกฝึกซ้อมได้มากขึ้น โดยไม่กระทบต่อระบบลีค และไม่เป็นการฝากความหวัง ภาระและความรับผิดชอบให้แก่สโมสร(ในศักยภาพของสโมสรในปัจจุบันคาดว่าจะไม่สามารถยกระดับการฝึกซ้อมรวมทั้งการจัดหาทีมงานที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน) สโมสรได้โอกาสในการพัฒนานักบอลโดยสมาคมที่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ และทีมงานมากกว่า นอกจากนี้ยังได้เงินชดเชยบางส่วน ในส่วนของนักบอลจะได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะและความเข้าใจเกมส์มากยิ่งขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ก็จะกลับไปสู่ทั้งสโมสรและทีมชาติ ที่ได้บุคลากรที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และสมาคมยังได้โอกาสในการติดตามและประเมิน การทดสอบระบบและแผนการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้ติดตามพัฒนาการของนักบอลทีมชาติในแต่ละสัปดาห์อีกด้วย
ข้อเสียได้แก่ อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ยังเป็นการดึงนักบอลนอกปฎิทินฟีฟ่าอยู่ดี และต้องใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และจัดหาทืมงานที่มีคุณภาพซึ่งอาจจะต้องเป็นทีมใหญ่ หรือกระจายตามภูมิภาคเพื่อลดภาระและเวลาในการเดินทางมาศูนย์ฝึก
แนวทางดังกล่าวยังสามารถขยายการพัฒนาไปถึงการพัฒนาโค้ชคนไทยในสโมสรต่างๆ อีกด้วย ให้เข้ามาอบรมและฝึกอย่างถูกวิธี
โดยปัญหาที่ต้องคิดต่อก็คือ การเก็บตัว 1 วันต่อสัปดาห์จะเพียงพอมั้ย จะเกิดความต่อเนื่องมั้ย ถ้าสโมสรที่มีแนวทางการเล่นที่แตกต่างออกไป จะเกิดความสับสนหรือไม่ หรือเป็นหลักการฝึกซ้อมที่ถูกต้องมั้ย ในส่วนนี้ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นจากทุกท่านครับ ขอบคุณครับ