สวัสดีครับ พอดีวันนี้ (06 มี.ค. 63) ผมเพิ่งเคยเจอเหตุการณ์อะไรแบบนี้ครั้งแรกเลย ตั้งแต่อยู่กรุงเทพฯ มา ก็เลยอยากจะนำมาเล่า(ระบาย 555+) ให้อ่านกัน งั้นขอเข้าเรื่องเลยนะครับ
วันนี้ผมมีตารางงานเข้าทำงานที่สำนักงานสาขาของบริษัท ซึ่งเปิด 11:00 น. ผมเดินทางมาทำงานโดยใช้บริการ MRT เป็นประจำครับ ถ้าวันไหนตื่นมาทำงานไว ผมก็จะเดินชิวๆไม่รีบ เกาะราวบันใดเลื่อนปล่อยให้มันไหลไปเรื่อยๆ แต่ถ้าวันไหนรีบก็จะเดินไว พอถึงบันไดเลื่อนผมก็จะเดินตามช่องซ้ายมือที่คนส่วนมากเขามีน้ำใจเว้นไว้ให้สำหรับคนที่รีบเดินผ่านไป ถ้าไม่งั้นผมก็จะเบียงไปช่องที่กว้างพอที่จะเดินแซงได้ โดยพยายามไม่ให้ทุกส่วนไปกระทบกับคนที่ผมเดินแซง หรือถ้าไม่มีช่องให้เดินจริงๆผมก็จำเป็นต้องรอครับ
*หมายเหตุ* บันไดเลื่อนที่ MRT เขาเขียนไว้ว่าห้ามเดิน คนที่รีบให้ไปใช้บันไดปกติ (ซึ่งมันช้ากว่าเดินบันไดเลื่อน ผมจะใช้เฉพาะตอนที่มีคนใช้บันไดเลื่อนเยอะๆ เท่านั้นแหละครับ)
แล้วช่วงสายวันนี้ เวลาประมาณ 10:39 น. ผมรีบมากครับ เพราะต้องเดินทางอีก 3 สถานี เพื่อเข้างานให้ทัน 11:00 น. พอถึง MRT ผมก็ทำตามปกติเหมือนที่เคยทำคือเดินลงบันไดเลื่อนตามช่องที่คนที่ไม่รีบเขาเว้นไว้ให้ ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี
จนกระทั่ง ครึ่งทางของบันไดเลื่อน ก็เจอเข้าจนได้กับมนุษย์ลุงที่หวงแหนช่องทางเดินที่ว่างไว้เสียเหลือเกิน ผมเห็นช่องขวามือลุงสามารถเดินผ่านไปได้ ผมก็จะแซงไป แต่ก็โดนเอาตัวมาบัง ตอนนั้นในใจคิดว่าคงไม่ได้ตั้งใจมั้ง ก็เลยเบี่ยงไปช่องซ้ายมือที่ว่างแทน แล้วก็โดนเอาตัวมาบังอีก ทีนี้แหละมั่นใจแล้วว่าตั้งใจขวาง
จากนั้นระหว่างที่มนุษย์ลุงโวยวายว่า "อ่านไม่ออกเหรอว่าห้ามเดิน" ผมก็เลยเดินเบียดกระแทกด้วยอารมณ์ที่ทั้งโมโหและทั้งรีบ มันก็ยังไม่หยุดโวยวาย ด้วยความรีบผมก็เลยไม่ตอบกลับไรมากมาย ได้แต่ตอบกลับว่า "รีบไปทำงานโว้ย ถ้าไม่รีบโดนแน่" แล้วผมก็เดินสแกนบัตรเข้าแล้วลงไปรอ MRT ข้างล่าง ระหว่างที่รู้ว่าต้องรอ ก็หันไปมองซ้ายมองขวาว่ามนุษย์ลุงจะลงมาทางไหน เพื่อที่จะเคลียร์ให้จบ แต่สุดท้ายก็ไม่เจอ
ที่มาตั้งกระทู้นี้ ไม่ใช่จะมาเรียกร้องหรือหาแนวร่วมอะไรนะครับ ประเด็นมันมีแค่คำว่า "น้ำใจ" แค่นี้เองครับ
มีน้ำใจให้กันเถอะ ดูที่สถานการณ์ ไม่ใช่ว่าจะทำตามกฏเป๊ะๆ บางทีคนที่รีบ เขาก็อาจจะรีบกว่าผมก็ได้ เพราะมีคนรอพบด้วยเหตุใดๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ใครจะไปรู้
ปล. โปรดอย่านำไปรวมกับประเด็นที่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นนะครับ เช่น ขี่รถบนทางเท้า, จอดรถในที่ที่ไม่ควรจอด, ผีน้อยไม่กักกันตัวเอง 14 วัน เป็นต้น
มนุษย์ลุงกับบันไดเลื่อน MRT ของเขา
วันนี้ผมมีตารางงานเข้าทำงานที่สำนักงานสาขาของบริษัท ซึ่งเปิด 11:00 น. ผมเดินทางมาทำงานโดยใช้บริการ MRT เป็นประจำครับ ถ้าวันไหนตื่นมาทำงานไว ผมก็จะเดินชิวๆไม่รีบ เกาะราวบันใดเลื่อนปล่อยให้มันไหลไปเรื่อยๆ แต่ถ้าวันไหนรีบก็จะเดินไว พอถึงบันไดเลื่อนผมก็จะเดินตามช่องซ้ายมือที่คนส่วนมากเขามีน้ำใจเว้นไว้ให้สำหรับคนที่รีบเดินผ่านไป ถ้าไม่งั้นผมก็จะเบียงไปช่องที่กว้างพอที่จะเดินแซงได้ โดยพยายามไม่ให้ทุกส่วนไปกระทบกับคนที่ผมเดินแซง หรือถ้าไม่มีช่องให้เดินจริงๆผมก็จำเป็นต้องรอครับ
*หมายเหตุ* บันไดเลื่อนที่ MRT เขาเขียนไว้ว่าห้ามเดิน คนที่รีบให้ไปใช้บันไดปกติ (ซึ่งมันช้ากว่าเดินบันไดเลื่อน ผมจะใช้เฉพาะตอนที่มีคนใช้บันไดเลื่อนเยอะๆ เท่านั้นแหละครับ)
แล้วช่วงสายวันนี้ เวลาประมาณ 10:39 น. ผมรีบมากครับ เพราะต้องเดินทางอีก 3 สถานี เพื่อเข้างานให้ทัน 11:00 น. พอถึง MRT ผมก็ทำตามปกติเหมือนที่เคยทำคือเดินลงบันไดเลื่อนตามช่องที่คนที่ไม่รีบเขาเว้นไว้ให้ ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี
จนกระทั่ง ครึ่งทางของบันไดเลื่อน ก็เจอเข้าจนได้กับมนุษย์ลุงที่หวงแหนช่องทางเดินที่ว่างไว้เสียเหลือเกิน ผมเห็นช่องขวามือลุงสามารถเดินผ่านไปได้ ผมก็จะแซงไป แต่ก็โดนเอาตัวมาบัง ตอนนั้นในใจคิดว่าคงไม่ได้ตั้งใจมั้ง ก็เลยเบี่ยงไปช่องซ้ายมือที่ว่างแทน แล้วก็โดนเอาตัวมาบังอีก ทีนี้แหละมั่นใจแล้วว่าตั้งใจขวาง
จากนั้นระหว่างที่มนุษย์ลุงโวยวายว่า "อ่านไม่ออกเหรอว่าห้ามเดิน" ผมก็เลยเดินเบียดกระแทกด้วยอารมณ์ที่ทั้งโมโหและทั้งรีบ มันก็ยังไม่หยุดโวยวาย ด้วยความรีบผมก็เลยไม่ตอบกลับไรมากมาย ได้แต่ตอบกลับว่า "รีบไปทำงานโว้ย ถ้าไม่รีบโดนแน่" แล้วผมก็เดินสแกนบัตรเข้าแล้วลงไปรอ MRT ข้างล่าง ระหว่างที่รู้ว่าต้องรอ ก็หันไปมองซ้ายมองขวาว่ามนุษย์ลุงจะลงมาทางไหน เพื่อที่จะเคลียร์ให้จบ แต่สุดท้ายก็ไม่เจอ
ที่มาตั้งกระทู้นี้ ไม่ใช่จะมาเรียกร้องหรือหาแนวร่วมอะไรนะครับ ประเด็นมันมีแค่คำว่า "น้ำใจ" แค่นี้เองครับ
มีน้ำใจให้กันเถอะ ดูที่สถานการณ์ ไม่ใช่ว่าจะทำตามกฏเป๊ะๆ บางทีคนที่รีบ เขาก็อาจจะรีบกว่าผมก็ได้ เพราะมีคนรอพบด้วยเหตุใดๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ใครจะไปรู้
ปล. โปรดอย่านำไปรวมกับประเด็นที่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นนะครับ เช่น ขี่รถบนทางเท้า, จอดรถในที่ที่ไม่ควรจอด, ผีน้อยไม่กักกันตัวเอง 14 วัน เป็นต้น