4 March 2020
“1998 IR2”
ล่าสุดนี้องค์กรอวกาศของสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ได้มีการออกมาประกาศว่า จะมีเหตุการณ์อุกกาบาตขนาดเท่าภูเขา พุ่งเฉียดผ่านโลก ด้วยความเร็วถึง 31,320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2020 ที่จะถึงนี้
อุกกาบาตลูกดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า “52768” หรือ “1998 IR2” โดยเป็นอุกกาบาตที่ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อราวๆ 22 ปีก่อน และมีสุดเด่นสำคัญอยู่ที่ขนาดความกว้างได้ตั้งแต่ 1.6-4 กิโลเมตร
อุกกาบาตลูกนี้ ถูกคำนวณไว้ว่าจะพุ่งเฉียดผ่านโลกไปในระยะห่างราวๆ 6,290,000 กิโลเมตร ซึ่งระยะห่างที่ออกมาบวกกับขนาดของมัน ก็มากพอที่จะทำให้อุกกาบาตลูกดังกล่าวได้รับการจัดหมวดหมู่ให้เป็นอุกกาบาตที่อาจเป็นอันตรายต่อโลกได้
อย่างไรก็ตาม แม้อุกกาบาตลูกนี้จะถูกจัดว่าอาจเป็นอันตรายได้ก็ตาม ทางนาซาก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอุกกาบาตลูกดังกล่าวแทบจะไม่มีโอกาสพุ่งชนโลกแต่อย่างไร
กลับกันการมาของมันจะสร้างประโยชน์ให้แก่นักดาราศาสตร์เสียด้วยซ้ำ นั่นเพราะอุกกาบาตลูกนี้ถูกคำนวณวิถีการโคจรด้วยการคำนวณและฮาร์ดแวร์วิเคราะห์ข้อมูลรุ่นใหม่ ที่ได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมาก
ดังนั้นการค้นพบว่าอุกกาบาตลูกนี้ มีวิถีการโคจรเฉียดผ่านโลก มันก็จะหมายความว่าความพยายามในการหาวัตถุใกล้โลกของนักวิทยาศาสตร์เป็นอะไรที่ไม่สูญเปล่า และระบบนี้เองก็มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก ในการหาวัตถุใกล้โลกชิ้นต่อๆ ไปในอนาคตด้วย
ที่มา foxnews, nasa, cnn และ abc14news
Cr.
https://www.catdumb.tv/1998-ir2-378/ By เหมียวศรัทธา
หลุมของ “อุกกาบาตยักษ์” ที่ชนโลกเมื่อ 790,000 ปีก่อน
เมื่อประมาณ 790,000 ปีก่อน อุกกาบาตพุ่งยักษ์ชนโลก แรงระเบิดดังกล่าวทำให้พื้นที่ประมาณ 10% ของโลกเต็มไปด้วยเศษหินสีดำมันวาวที่รู้จักกันในชื่อ “อุลกมณี” (tektites) ตั้งแต่อินโดจีนไปถึงแอนตาร์กติกาตะวันออก และจากมหาสมุทรอินเดียไปถึงแปซิฟิกตะวันตก เป็นเวลานานกว่าศตวรรษที่นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาร่องรอยของสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ตำแหน่งของหลุมอุกกาบาตกลับไม่เคยถูกค้นพบเลย
วันที่ 7 มกราคม 2020 สำนักข่าว Live Science รายงานว่า จากการวิเคราะห์ธรณีเคมี และการอ่านค่าโน้มถ่วงในพื้นที่ชี้ว่า หลุมอุกกาบาตอยู่ในที่ราบสูงโบลาเวน (Bolaven) ทางตอนใต้ของประเทศลาว มีความลึก 100 เมตร กว้าง 13 กิโลเมตร และยาว 17 กิโลเมตร ยิ่งไปกว่านั้นมันยังถูกซ่อนอยู่ใต้ลาวาภูเขาไฟที่เย็นแล้ว ซึ่งครอบคลุมพื้นกว่า 5,000 ตารางกิโลเมตร
ตอนที่อุกกาบาตพุ่งชนโลก หินบนพื้นดินของพื้นที่ได้รับผลกระทบกลายเป็นของเหลวจากความร้อนก่อนที่จะเย็นจนกลายเป็นอุลกมณี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถสำรวจความอุดมสมบูรณ์และที่ตั้งของอุลกมณีเพื่อช่วยค้นหาพื้นที่ได้รับผลกระทบได้ แม้ว่าหลุมอุกกาบาตจะถูกกัดเซาะหรือถูกปกปิดไว้ก็ตาม
งานวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า แรงกระแทกของอุกกาบาตน่าจะสร้างขอบขึ้นมาสูงกว่า 100 เมตร และอุลกมณีจากพื้นที่ได้รับผลกระทบที่ทั้งใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกของอินโดจีนตอนกลาง แต่เนื่องจากอุลกมณีกระจายตัวอย่างรวดเร็ว การประเมินเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมอุกกาบาตก่อนหน้านี้จึงอยู่ระหว่าง 15-186 กิโลเมตร และตำแหน่งที่แม่นยำยังคงไม่ถูกพบแม้นักวิทยาศาสตร์จะตามหามานานหลายสิบปีแล้ว
แต่ในงานวิจัยชิ้นใหม่ นักวิจัยตรวจสอบหลุมอุกกาบาตที่มีแนวโน้มเป็นไปได้อยู่หลายแห่งทางภาคใต้ของจีน, ตอนเหนือของกัมพูชา และตอนกลางของลาว แต่ไม่นานพื้นที่เหล่านั้นก็ถูกตัดออกไป เนื่องจากพวกมันมีอายุมากกว่าและมีหินกร่อนที่มีอายุย้อนไปถึงมหายุคมีโซโซอิก เมื่อประมาณ 253-66 ล้านปีก่อน
สำหรับบนที่ราบสูงโบลาเวนของลาว แม้นักวิทยาศาสตร์จะพบทุ่งลาวาภูเขาไฟที่มีร่องรอยของผลกระทบจากอุกกาบาตที่มีอายุมากกว่า แต่กระแสลาวาส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ก็ถือว่ายังอยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสมเช่นกัน คือมีอายุระหว่าง 51,000-780,000 ปี จนนำไปสู่การค้นพบหลุมอุกกาบาตอายุ 780,000 ปีที่ถูกฝังอยู่ใจกองหินภูเขาไฟหนาทึบ
เมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1990 นักดาราศาสตร์ ไบรอัน จี. มาร์สเดน (Brian Marsden) คำนวณไว้ว่าดาวหาง Swift-Tuttle จะพุ่งชนโลกในอนาคต แต่จากการสังเกตเพิ่มเติมเพื่อจำกัดความเป็นไปได้ของการปะทะกัน มาร์สเดนพบว่าดาวหางจะเพียงแค่พุ่งมาเฉียดโลก (ห่างประมาณ 1 ล้านไมล์) ในปี 3044
ที่มา pnas, foxnews และ livescience
Cr.
https://www.flagfrog.com/impact-crater-in-laos/ โดย FlyingPin
AI พบอุกกาบาตลูกใหม่ที่อาจพุ่งเฉียดโลก
ด้วยความช่วยเหลือของระบบโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ชื่อ “Hazardous Object Identifier” ของมหาวิทยาลัยไลเดนในเนเธอร์แลนด์ นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการค้นพบอุกกาบาตลูกใหม่จำนวนมากลูก ซึ่งมีวงโคจรอาจจะชนกับโลกได้ในอนาคต แต่ทางนาซากลับไม่เคยพบมันมาก่อนเลย
อุกกาบาตลูกใหม่เหล่านี้ ทั้งหมดถูกค้นพบผ่านการจำลองการเคลื่อนไหวของระบบสุริยะในระยะเวลาอีก 10,000 ปี ข้างหน้าด้วยระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เพื่อหาดาวเคราะห์น้อยและอุกกาบาตที่อาจจะชนหรือเฉียดผ่านโลก ก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะย้อนภาพการจำลองกลับเพื่อหาที่มาของดาวนั้นๆ อีกที
โดยในการทดลองครั้งนี้ พวกเขาพบว่าในช่วงปี 2131-2923 โลกของเราจะมีอุกกาบาตที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 เมตรแต่กลับไม่เคยถูกพบมาก่อน พุ่งเฉียดโลกอย่างต่ำๆ 11 ดวง ซึ่งในกรณีที่มันชนโลกจริงๆ อุกกาบาตแต่ละลูกก็อาจจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ 100 ลูกได้เลย
นับว่าเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะ AI ที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ สามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวของอุกกาบาตที่ทางนาซารู้จักกว่า 2,000 ดวงได้อย่างถูกต้องด้วยอัตราความแม่นยำที่ 90.99% ดังนั้น มันจึงมีโอกาสเป็นไปได้สูงมาก ที่อุกกาบาตทั้ง 11 ลูกนี้ จะมีการเคลื่อนที่เข้ามาเฉียดโลกในระยะอันตรายจริงๆ
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จึงยังคงยืนยันว่าพวกเขายังจะต้องมีการทดลอง AI ของตนเองอีกมาก ก่อนที่เครื่องมือดังกล่าวจะสามารถใช้งานได้อย่างเป็นทางการต่อไป
ที่มา futurism, ibtimes
Cr.
https://www.catdumb.tv/ai-found-11-new-asteroids-378/ By เหมียวศรัทธา
“อุกกาบาตกันเซโด (Gancedo)”
นักดาราศาสตร์นำทีมโดย มาริโอ เวสโคนี นายกสมาคมดาราศาสตร์ของรัฐชาโค ทำการขุดอุกกาบาตก้อนมหึมาขนาด 34 ตัน ขึ้นมาจากใต้พื้นดินในพื้นที่ใกล้ๆ เมืองกันเซโด ของประเทศอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2559
นักดาราศาสตร์เรียกอุกกาบาตนี้ว่า “อุกกาบาตกันเซโด (Gancedo)” จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของทีมนักดาราศาสตร์ดังกล่าวระบุว่าอุกกาบาตกันเซโดนั้นเป็นอุกกาบาตเหล็กตระกูลเดียวกับอุกกาบาตที่มีชื่อว่า แคมโป เดอ เชียโล (Campo del Cielo) ที่มีการค้นพบก่อนหน้านี้
แคมโป เดอ เชียโล คือกลุ่มอุกกากาบาตที่มีการค้นพบในเขตพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างเมือง Chaco และ Santiago del Estero ของประเทศอาร์เจนตินา พื้นที่ที่มีการค้นพบอุกกาบาตครอบคลุมถึง 60 ตารางกิโลเมตร จากรายงานการค้นพบอุกกาบาตตระกูลนี้นับตั้งแต่ปี ค.ศ 1576 จนถึงปัจจุบันมีน้ำหนักรวมกันมากกว่า 100 ตัน
พื้นที่ดังกล่าวนับว่าเป็นแหล่งที่พบอุกกาบาตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ชิ้นส่วนอุกกาบาตที่มีน้ำหนักมากที่สุดของอุกกาบาตตระกูลนี้ มีน้ำหนักถึง 37 ตัน ได้รับการบันทึกกว่าเป็นก้อนอุกกาบาตที่มีน้ำหนักมากเป็นลำดับที่ 2 ของโลก โดยมีการค้นพบหลุมอุกกาบาตกว่า 26 หลุมในพื้นที่บริเวณนี้ และมีเศษอุกกาบาตขนาดเล็กกระจายอยู่ในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ในบางหลุมพบเศษอุกกาบาตขนาดเล็กกว่าพันชิ้น
ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศแล้วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆกระจายอยู่ในพื้นที่ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า วัตถุต้นกำเนิดนั้นมีขนาดใหญ่มากและมีองค์ประกอบเป็นเหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จากการตรวจสอบตัวอย่างชิ้นส่วนอุกกาบาตแคมโป เดอ เชียโล นั้นพบว่ามีองค์ประกอบของเหล็กถึง 93% (Fe), นิกเกิล 6.7% (Ni), และ โคบอลต์ 0.3% (Co)
จากการตรวจสอบตัวอย่างของซากไม้ในบริเวณที่พบอุกกาบาต โดยการหาค่าครึ่งชีวิตด้วยเทคนิคคาร์บอน-14 (C-14) ทำให้ทราบว่าอุกกาบาตกันเซโดตกลงมาในพื้นที่นี้เมื่อประมาณ 4,000-6,000 ปีก่อน
หากจัดอันดับของอุกกาบาตในตระกูลแคมโป เดอ เชียโล ตามขนาดและน้ำหนักแล้ว กันเซโดนี้เป็นอุกกาบาตที่มีน้ำหนักมากเป็นอันดับ 2 แต่หากเปรียบเทียบกับอุกกาบาตที่มีการค้นพบทั้งหมดบนโลกมันจะถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 4
โดยอุกกาบาตก้อนที่มีน้ำหนักมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกคืออุกกาบาตโฮบา (Hoba meteorite) ที่ถูกค้นพบเมื่อ ปี ค.ศ 1920 ในประเทศนามีเบีย ส่วนอันดับที่ 3 นั้นตกเป็นของอุกกาบาตที่ชื่อว่าอาห์นิกิโต ที่มีน้ำหนักมากกว่า 34 ตันอย่างไรก็ตามทีมนักดาราศาสตร์จากสมาคมดาราศาสตร์ของรัฐชาโคจะทำการวิเคราะห์อุกกาบาตกันเซโดอย่างละเอียดต่อไป
ภาพและข้อมูล : skyandtelescope.com และ en.wikipedia.org
เรียบเรียง : ธีรยุทธ์ ลอยลิบ - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
อุกกาบาตที่ออสเตรเลียในปี 2016 จริงๆ แล้วเป็น “พระจันทร์จิ๋ว”
ย้อนกลับไปในปี 2016 ได้เกิดเหตุลูกไฟซึ่งเกิดจากการเสียดสีของชั้นบรรยากาศ พุ่งผ่านท้องฟ้าในทะเลทรายที่ออสเตรเลีย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น อาจจะถูกหลงลืมไม่ในฐานะของอุกกาบาตขนาดเล็กธรรมดาๆ แม้แต่ในหมู่นักดาราศาสตร์เองก็คงจะไม่มีใครสนใจลูกไฟลูกนี้เลย ถ้าว่ามันไม่ถูกจับภาพไว้ได้โดยกล้องจับภาพท้องฟ้าจำนวนมากบนโลก
เมื่อเวลาผ่านไปเกือบสามปี นักดาราศาสตร์ได้มีโอกาสศึกษาของมูลของลูกไฟลูกนี้อย่างจริงจัง พวกเขาได้พบกับเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง
จากข้อมูลความเร็วและวิถีการตกที่นักดาราศาสตร์มีนั้น ล้วนชี้ว่าอุกกาบาตลูกนี้ เคยโคจรอยู่รอบโลกในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะตกลงมาบนโลก ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่าวัตถุโคจรที่ถูกจับ (Captured orbiter) หรือ “พระจันทร์จิ๋ว”
อ้างอิงจากนักวิจัย ตามปกติแล้วอุกกาบาตจะมีการพุ่งเข้าหาโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้มันไม่ได้รับผลกระทบจากแรงดึงดูดมากพอที่จะโคจรรอบโลก เหมือนอย่างที่ดวงจันทร์ของเรา
อย่างไรก็ตามในบางกรณี ก้อนหินอวกาศเหล่านี้ อาจจะมีความเร็วลดลงมากๆ จนถูกแรงดึงดูดของโลกทำให้มันหมุนวนไปรอบโลกได้เช่นกัน
ซึ่งอุกกาบาตในกรณีแบบนี้ นับว่าเป็นอะไรที่หาได้ยากมาก ถึงขนาดที่ในการจำลองอุกกาบาต 10 ล้านลูกด้วยคอมพิวเตอร์ในปี 2012 เราจะมีอุกกาบาตแค่ 18,000 ลูกเท่านั้น ที่กลายเป็นดวงจันทร์จิ๋วเช่นนี้
ด้วยความเล็กและตรวจสอบได้ยาก ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบอกได้เลยว่าโลกเรามีดวงจันทร์จิ๋วแบบนี้อยู่กี่อัน หากอ้างอิงจากรายงานในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2019 โลกของเราจะมีดวงจันทร์จิ๋วที่เคยมีการถูกค้นพบมาอยู่ที่เพียง 21,495 ลูกเท่านั้น
ที่มา sciencealert และ iopscience
Cr.
https://www.catdumb.tv/minimoon-fireball-australian-378/ By เหมียวศรัทธา
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
นาซาเผย ในเดือนเมษานี้ จะมีอุกกาบาตขนาดเท่าภูเขาเฉียดผ่านโลก
อุกกาบาตลูกดังกล่าวนี้ มีชื่อว่า “52768” หรือ “1998 IR2” โดยเป็นอุกกาบาตที่ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อราวๆ 22 ปีก่อน และมีสุดเด่นสำคัญอยู่ที่ขนาดความกว้างได้ตั้งแต่ 1.6-4 กิโลเมตร
อุกกาบาตลูกนี้ ถูกคำนวณไว้ว่าจะพุ่งเฉียดผ่านโลกไปในระยะห่างราวๆ 6,290,000 กิโลเมตร ซึ่งระยะห่างที่ออกมาบวกกับขนาดของมัน ก็มากพอที่จะทำให้อุกกาบาตลูกดังกล่าวได้รับการจัดหมวดหมู่ให้เป็นอุกกาบาตที่อาจเป็นอันตรายต่อโลกได้
อย่างไรก็ตาม แม้อุกกาบาตลูกนี้จะถูกจัดว่าอาจเป็นอันตรายได้ก็ตาม ทางนาซาก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอุกกาบาตลูกดังกล่าวแทบจะไม่มีโอกาสพุ่งชนโลกแต่อย่างไร
กลับกันการมาของมันจะสร้างประโยชน์ให้แก่นักดาราศาสตร์เสียด้วยซ้ำ นั่นเพราะอุกกาบาตลูกนี้ถูกคำนวณวิถีการโคจรด้วยการคำนวณและฮาร์ดแวร์วิเคราะห์ข้อมูลรุ่นใหม่ ที่ได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมาก
ดังนั้นการค้นพบว่าอุกกาบาตลูกนี้ มีวิถีการโคจรเฉียดผ่านโลก มันก็จะหมายความว่าความพยายามในการหาวัตถุใกล้โลกของนักวิทยาศาสตร์เป็นอะไรที่ไม่สูญเปล่า และระบบนี้เองก็มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก ในการหาวัตถุใกล้โลกชิ้นต่อๆ ไปในอนาคตด้วย
ที่มา foxnews, nasa, cnn และ abc14news
Cr.https://www.catdumb.tv/1998-ir2-378/ By เหมียวศรัทธา
วันที่ 7 มกราคม 2020 สำนักข่าว Live Science รายงานว่า จากการวิเคราะห์ธรณีเคมี และการอ่านค่าโน้มถ่วงในพื้นที่ชี้ว่า หลุมอุกกาบาตอยู่ในที่ราบสูงโบลาเวน (Bolaven) ทางตอนใต้ของประเทศลาว มีความลึก 100 เมตร กว้าง 13 กิโลเมตร และยาว 17 กิโลเมตร ยิ่งไปกว่านั้นมันยังถูกซ่อนอยู่ใต้ลาวาภูเขาไฟที่เย็นแล้ว ซึ่งครอบคลุมพื้นกว่า 5,000 ตารางกิโลเมตร
ตอนที่อุกกาบาตพุ่งชนโลก หินบนพื้นดินของพื้นที่ได้รับผลกระทบกลายเป็นของเหลวจากความร้อนก่อนที่จะเย็นจนกลายเป็นอุลกมณี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถสำรวจความอุดมสมบูรณ์และที่ตั้งของอุลกมณีเพื่อช่วยค้นหาพื้นที่ได้รับผลกระทบได้ แม้ว่าหลุมอุกกาบาตจะถูกกัดเซาะหรือถูกปกปิดไว้ก็ตาม
งานวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า แรงกระแทกของอุกกาบาตน่าจะสร้างขอบขึ้นมาสูงกว่า 100 เมตร และอุลกมณีจากพื้นที่ได้รับผลกระทบที่ทั้งใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกของอินโดจีนตอนกลาง แต่เนื่องจากอุลกมณีกระจายตัวอย่างรวดเร็ว การประเมินเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมอุกกาบาตก่อนหน้านี้จึงอยู่ระหว่าง 15-186 กิโลเมตร และตำแหน่งที่แม่นยำยังคงไม่ถูกพบแม้นักวิทยาศาสตร์จะตามหามานานหลายสิบปีแล้ว
แต่ในงานวิจัยชิ้นใหม่ นักวิจัยตรวจสอบหลุมอุกกาบาตที่มีแนวโน้มเป็นไปได้อยู่หลายแห่งทางภาคใต้ของจีน, ตอนเหนือของกัมพูชา และตอนกลางของลาว แต่ไม่นานพื้นที่เหล่านั้นก็ถูกตัดออกไป เนื่องจากพวกมันมีอายุมากกว่าและมีหินกร่อนที่มีอายุย้อนไปถึงมหายุคมีโซโซอิก เมื่อประมาณ 253-66 ล้านปีก่อน
สำหรับบนที่ราบสูงโบลาเวนของลาว แม้นักวิทยาศาสตร์จะพบทุ่งลาวาภูเขาไฟที่มีร่องรอยของผลกระทบจากอุกกาบาตที่มีอายุมากกว่า แต่กระแสลาวาส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ก็ถือว่ายังอยู่ในช่วงอายุที่เหมาะสมเช่นกัน คือมีอายุระหว่าง 51,000-780,000 ปี จนนำไปสู่การค้นพบหลุมอุกกาบาตอายุ 780,000 ปีที่ถูกฝังอยู่ใจกองหินภูเขาไฟหนาทึบ
เมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1990 นักดาราศาสตร์ ไบรอัน จี. มาร์สเดน (Brian Marsden) คำนวณไว้ว่าดาวหาง Swift-Tuttle จะพุ่งชนโลกในอนาคต แต่จากการสังเกตเพิ่มเติมเพื่อจำกัดความเป็นไปได้ของการปะทะกัน มาร์สเดนพบว่าดาวหางจะเพียงแค่พุ่งมาเฉียดโลก (ห่างประมาณ 1 ล้านไมล์) ในปี 3044
ที่มา pnas, foxnews และ livescience
Cr.https://www.flagfrog.com/impact-crater-in-laos/ โดย FlyingPin
โดยในการทดลองครั้งนี้ พวกเขาพบว่าในช่วงปี 2131-2923 โลกของเราจะมีอุกกาบาตที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 เมตรแต่กลับไม่เคยถูกพบมาก่อน พุ่งเฉียดโลกอย่างต่ำๆ 11 ดวง ซึ่งในกรณีที่มันชนโลกจริงๆ อุกกาบาตแต่ละลูกก็อาจจะสร้างความเสียหายได้มากกว่าระเบิดนิวเคลียร์ 100 ลูกได้เลย
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จึงยังคงยืนยันว่าพวกเขายังจะต้องมีการทดลอง AI ของตนเองอีกมาก ก่อนที่เครื่องมือดังกล่าวจะสามารถใช้งานได้อย่างเป็นทางการต่อไป
ที่มา futurism, ibtimes
Cr. https://www.catdumb.tv/ai-found-11-new-asteroids-378/ By เหมียวศรัทธา
นักดาราศาสตร์เรียกอุกกาบาตนี้ว่า “อุกกาบาตกันเซโด (Gancedo)” จากการวิเคราะห์เบื้องต้นของทีมนักดาราศาสตร์ดังกล่าวระบุว่าอุกกาบาตกันเซโดนั้นเป็นอุกกาบาตเหล็กตระกูลเดียวกับอุกกาบาตที่มีชื่อว่า แคมโป เดอ เชียโล (Campo del Cielo) ที่มีการค้นพบก่อนหน้านี้
พื้นที่ดังกล่าวนับว่าเป็นแหล่งที่พบอุกกาบาตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ชิ้นส่วนอุกกาบาตที่มีน้ำหนักมากที่สุดของอุกกาบาตตระกูลนี้ มีน้ำหนักถึง 37 ตัน ได้รับการบันทึกกว่าเป็นก้อนอุกกาบาตที่มีน้ำหนักมากเป็นลำดับที่ 2 ของโลก โดยมีการค้นพบหลุมอุกกาบาตกว่า 26 หลุมในพื้นที่บริเวณนี้ และมีเศษอุกกาบาตขนาดเล็กกระจายอยู่ในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ในบางหลุมพบเศษอุกกาบาตขนาดเล็กกว่าพันชิ้น
ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศแล้วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆกระจายอยู่ในพื้นที่ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า วัตถุต้นกำเนิดนั้นมีขนาดใหญ่มากและมีองค์ประกอบเป็นเหล็กที่มีความหนาแน่นสูง จากการตรวจสอบตัวอย่างชิ้นส่วนอุกกาบาตแคมโป เดอ เชียโล นั้นพบว่ามีองค์ประกอบของเหล็กถึง 93% (Fe), นิกเกิล 6.7% (Ni), และ โคบอลต์ 0.3% (Co)
จากการตรวจสอบตัวอย่างของซากไม้ในบริเวณที่พบอุกกาบาต โดยการหาค่าครึ่งชีวิตด้วยเทคนิคคาร์บอน-14 (C-14) ทำให้ทราบว่าอุกกาบาตกันเซโดตกลงมาในพื้นที่นี้เมื่อประมาณ 4,000-6,000 ปีก่อน
หากจัดอันดับของอุกกาบาตในตระกูลแคมโป เดอ เชียโล ตามขนาดและน้ำหนักแล้ว กันเซโดนี้เป็นอุกกาบาตที่มีน้ำหนักมากเป็นอันดับ 2 แต่หากเปรียบเทียบกับอุกกาบาตที่มีการค้นพบทั้งหมดบนโลกมันจะถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 4
โดยอุกกาบาตก้อนที่มีน้ำหนักมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกคืออุกกาบาตโฮบา (Hoba meteorite) ที่ถูกค้นพบเมื่อ ปี ค.ศ 1920 ในประเทศนามีเบีย ส่วนอันดับที่ 3 นั้นตกเป็นของอุกกาบาตที่ชื่อว่าอาห์นิกิโต ที่มีน้ำหนักมากกว่า 34 ตันอย่างไรก็ตามทีมนักดาราศาสตร์จากสมาคมดาราศาสตร์ของรัฐชาโคจะทำการวิเคราะห์อุกกาบาตกันเซโดอย่างละเอียดต่อไป
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น อาจจะถูกหลงลืมไม่ในฐานะของอุกกาบาตขนาดเล็กธรรมดาๆ แม้แต่ในหมู่นักดาราศาสตร์เองก็คงจะไม่มีใครสนใจลูกไฟลูกนี้เลย ถ้าว่ามันไม่ถูกจับภาพไว้ได้โดยกล้องจับภาพท้องฟ้าจำนวนมากบนโลก
เมื่อเวลาผ่านไปเกือบสามปี นักดาราศาสตร์ได้มีโอกาสศึกษาของมูลของลูกไฟลูกนี้อย่างจริงจัง พวกเขาได้พบกับเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง
จากข้อมูลความเร็วและวิถีการตกที่นักดาราศาสตร์มีนั้น ล้วนชี้ว่าอุกกาบาตลูกนี้ เคยโคจรอยู่รอบโลกในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะตกลงมาบนโลก ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่าวัตถุโคจรที่ถูกจับ (Captured orbiter) หรือ “พระจันทร์จิ๋ว”
อ้างอิงจากนักวิจัย ตามปกติแล้วอุกกาบาตจะมีการพุ่งเข้าหาโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้มันไม่ได้รับผลกระทบจากแรงดึงดูดมากพอที่จะโคจรรอบโลก เหมือนอย่างที่ดวงจันทร์ของเรา
อย่างไรก็ตามในบางกรณี ก้อนหินอวกาศเหล่านี้ อาจจะมีความเร็วลดลงมากๆ จนถูกแรงดึงดูดของโลกทำให้มันหมุนวนไปรอบโลกได้เช่นกัน
ซึ่งอุกกาบาตในกรณีแบบนี้ นับว่าเป็นอะไรที่หาได้ยากมาก ถึงขนาดที่ในการจำลองอุกกาบาต 10 ล้านลูกด้วยคอมพิวเตอร์ในปี 2012 เราจะมีอุกกาบาตแค่ 18,000 ลูกเท่านั้น ที่กลายเป็นดวงจันทร์จิ๋วเช่นนี้
ด้วยความเล็กและตรวจสอบได้ยาก ทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบอกได้เลยว่าโลกเรามีดวงจันทร์จิ๋วแบบนี้อยู่กี่อัน หากอ้างอิงจากรายงานในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2019 โลกของเราจะมีดวงจันทร์จิ๋วที่เคยมีการถูกค้นพบมาอยู่ที่เพียง 21,495 ลูกเท่านั้น
ที่มา sciencealert และ iopscience
Cr.https://www.catdumb.tv/minimoon-fireball-australian-378/ By เหมียวศรัทธา
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)