แนะนำเทคนิคการกำจัดปลวกด้วยเหยื่อ

หลายเดือนก่อนผมมีโอกาสทดสอบกำจัดปลวกด้วยเหยื่ออล่อ วันนี้ผมจะนำเอาเทคนิควิธีการมาแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจกำจัดปลวกด้วยตัวเองโดยใช้เหยื่อล่อครับ ซึ่งเป็นเทคนิคการติดตั้งอย่างละเอียดและเทคนิคการสังเกตในการเติมเหยื่อทุกๆ 15 วัน จนปลวกตายหมด  โดยชื่อของเหยื่อและวิธีการผสมผมขออนุญาตไม่ใส่ลงไปเพราะปัจจุบันเหยื่อกำจัดปลวกหาซื้อได้ง่ายมากในเว็บไซต์  เฟสบุ๊ค ลาซาด้า หรือช๊อปปี้ และมีหลายยี่ห้อใช้ได้หมดซึ่งแต่ละยี่ห้อก็มีเทคนิคการผสมที่ต่างกันออกไปท่านสามารถทำตามคู่มือที่แถมมากับสินค้าได้เลยครับ      แต่สำหรับวิธีการติดตั้งให้ได้ผลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งผมให้คะแนน  90 % ท่านต้องศึกษาอย่างละเอียดเพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องครับ เราไปดูวิธีการกันเลย 

1.       หน้างานที่ผมทดสอบวันนี้เป็นชุมชนริมคลองแห่งหนึ่งย่านบางกะปิเป็นบ้านพักที่แบ่งห้องให้เช่า เราพบว่าปลวกได้ระบาดบ้านไม้หลังนี้จำนวนมาก ซึ่งตรงจุดที่เราติดตั้งวันนี้เป็นจุดที่ยังมีตัวปลวกและเป็นจุดที่ติดตั้งได้ง่ายโดยไม่ต้องเข้าไปรบกวนผู้เช่าในห้อง 


2.       เมื่อเขี่ยรอยทางเดินดินที่ปลวกสร้างขึ้นเราพบตัวปลวกวิ่งออกมาอย่างชัดเจนในวงกลม  จุดนี้หละครับที่เราจะติดตั้งสถานีเพื่อใส่เหยื่อกำจัดปลวก ขอย้ำว่าจะต้องมีตัวปลวกที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นถึงจะสามารถติดตั้งสถานีเหยื่อปลวกให้ได้ผล


3.       จากนั้นให้เราเอาเซลลูโลสสำหรับล่อปลวกครั้งแรกผสมน้ำตามขั้นตอนแล้วไปอุดตรงรูที่เราเปิดเพื่อสำรวจตัวปลวกเมื่อสักครู่  ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยไม่ให้ปลวกตกใจหนีไป เพราะถ้าเราเปิดไว้ปลวกอาจจะโดนศัตรูอย่างมดเข้าไปกวนจนทำให้ปลวกตกใจหนีไปจากจุดนี้


4.       วันนี้กล่องที่ผมใช้เป็นกล่องไฟรุ่นกันน้ำขนาด 6x6 นิ้ว  ซึ่งสามารถใส่เหยื่อเต็มกล่องได้ 200 กรัม  ( เหยื่อที่ขายทั่วไป 1 ชุดจะมี 200 กรัม ) ซึ่งหาซื้อได้ในร้านขายวัสดทั้งหลายเช่น โฮมโปร ไทยวัสดุ เมกก้าโฮม เป็นต้น ราคาอยู่ที่ความหนาซึ่งไม่เกิน 200 บาท 


5.       นำกล่องไฟมาเจาะเป็นรูกลมๆ เพื่อเปิดช่องที่จะให้ปลวกเข้าไปกินเหยื่อในสถานี ผ่านช่องนี้ 


6.       จากนั้นให้นำกาวอคริลิคหรือภาษาช่างเรียกว่าแดป ( ไม่ใช่ซิลิโคลน ) ไปบีบลงบนไม้รอบๆจุดที่เราได้แปะเหยื่อไว้ เพื่อให้กาวนี้ทำหน้าที่ปิดทึบแสงควบคุมความชื้นไม่ให้น้ำเข้าและป้องกันแมลงที่จะเข้าไปกวนปลวกซึ่งสำคัญมาก 


7.       จากนั้นนำกล่องไฟไปติดกับกาวให้รูที่เจาะตรงกับจุดที่เราได้แปะเหยื่อไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งตามลูกศร  ( อันนี้สำคัญมากเพราะถ้ารูไม่ตรงปลวกจะเข้ามาไม่ได้ ) จากนั้นยึดน๊อยสัก 2 ตัวเพื่อช่วยรับน้ำหนักกล่องตอนใส่เหยื่อกล่องจะมีน้ำหนักมากกล่องจะได้ไม่ร่วง


 
8.       เมื่อเรายึดน๊อตเข้าไปแล้วกล่องก็จะถูกบีบกาวก็จะทำงานได้ดีขึ้นสามารถปิดรอยต่อได้มิดชิดดังภาพ 

9.       จากนั้นให้เราผสมเหยื่อตามคู่มือการใช้งานที่ได้มา ซึ่งวันนี้ผมใส่เหยื่อครั้งแรก 200 กรัม เต็มกล่องพอดี เพราะปลวกค่อนข้างเยอะนั้นเอง 


10.   ปิดฝากล่องสถานีให้มิดชิดที่สุด ทำใจเย็นๆ แล้วรอเปิดทุกๆ 15 วัน 


11.   จะเห็นได้ว่าถ้าเราไม่ยึดน๊อตไว้นั้นกล่องสถานีเมื่อใส่เหยื่อจะมีน้ำไปเพิ่มน้ำหนักเพิ่มกล่องซึ่งกล่องอาจจะหล่นได้  กาวที่ทาไว้เมื่อแห้งจะปิดรอบกล่องอย่างสนิทแม้ฝกตกน้ำก็เข้าไปได้ถึงแม้กล่องนี้อยู่นอกตัวบ้าน 


12.   ครบ 15 วันแรกเมื่อเปิดกล่องสถานีพบว่าปลวกได้กินเหยื่อ 200 กรัมไปจนหมดเกลี้ยง ดังภาพ ซึ่งแสดงว่าปลวกยังมีกำลังการกินที่เยอะ


13.   เราจะค่อยๆหยิบส่วนที่เป็นดำๆออกให้หมด ( ไม่ถึงกับเกลี้ยงมาก ) ให้พอประมาณ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเติมเหยื่อชุดใหม่เข้าไป 


14.   จากนั้นให้เราผสมเหยื่ออีก 1 ชุด 200 กรัม เข้าไปแทนที่เหยื่อที่ถูกปลวกกินหมดไปครั้งก่อน แล้วปิดฝาสถานัให้แน่นแล้วรอผลอีก 15 วัน 


15.   เมื่อครบ 15 วัน ( เป็น 30 วัน ) เปิดกล่องสถานีเราพบว่า ปลวกได้กินเหยื่อไปจนหมดเกลี้ยงเช่นเดิม แต่สิ่งที่บ่งชี้ว่ารังปลวกนี้ใกล้อ่อนแอลงคือ เราพบตัวปลวกจำนวนมากในสถานีนั่นเอง  โดยปกติแล้วหากรังที่ยังแข็งแรงเมื่อปลวกกินเหยื่อหมดในสถานีปลวกที่แข็งแรงเหล่านี้จะเข้าไปในระบบรังของเขาและจะไม่ออกมาออกันอยู่ในกล่องสถานี ( เหมือนภาพการเปิดครั้งแรกภาพที่ 12 ) แต่เมื่อปลวกนี้ได้รับพิษและเริ่มมีผลกระทบต่อรังปลวกแล้ว ปลวกงานจำนวนมากจะเริ่มออกมาออกันที่แหล่งอาหารเพื่อป้อนอาหารให้กับปลวกวรรณะอื่นๆที่เริ่มจะออกมายังแหล่งอาหารที่มั่งคงนี้หรือสถานีกล่องเหยื่อของเรา  ดังนั้นเมื่อเราพบอาการเหล่านี้ โดยปกติแล้วบุคคลทั่วไปจะเติมเหยื่อเข้าไปอย่างเต็มที่เพราะอาหารหมดบวกกับมีตัวปลวกจำนวนมากจึงเข้าใจว่าปลวกกำลังออกมากินอาหาร  ซึ่งแท้จริงแล้วกำลังการกินของปลวกรังนี้กำลังลดลงต่างหาก วันนี้ผมจึงเติมเหยื่อแค่ 100 กรัมเท่านั้น เพื่อให้สรอดคล้องกับพฤติกรรมปลวกปัจจุบัน 


16.   ผสมเหยื่อ 100 กรัม ตามขั้นตอนอย่างถูกต้องแล้วใส่เข้าไปในสถานีและปิดฝาสถานีให้มิดชิด จากนั้นรอดูผลอีก 15 วัน 


17.   ต่อมาอีก 15 วัน ( ครบ 45 วัน ) เราเปิดสถานีอีกครั้งเราพบว่ามีปลวกจำนวนมากในสถานีแต่เรากลับพบว่าเหยื่อที่เราเติม 100 กรัมเมื่อครั้งก่อนแทบไม่ถูกกินไปเลย ซึ่งเป็นไปตามการวิเคราะห์อย่างชัดเจน   ตัวปลวกจำนวนมากที่ออกมานี้คือปลวกทหารและปลวกวรรณะสืบพัณธุ์สำรอง ซึ่งตัวปลวกวรรณะสืบพัณธุ์สำรองนี้จะมีลำตัวยาวเห็นได้อย่างชัดเจนโดยนางพญาปลวกจะยินยอมให้ปลวกวรรณะสืบพัณธุ์สำรองเหล่านี้ลอกคราบเป็นครั้งสุดท้ายกลายเป็นแมลงเม่าเพื่อบินไปจับคู่สร้างอาณาจักรใหม่  ซึ่งอายุของรังปลวกที่สามารถจะผลิตแมลงเม่านี้ได้อยู่ที่ประมาณ 3-5 ปี นั่นหมายความว่ารังปลวกนี้อยู่กับบ้านนี้มานานแล้ว 
วันนี้เราจะไม่เติมเหยื่อหรือเปลี่ยนเหยื่อใดๆทั้งสิ้นครับ เราจะปิดฝาสถานีแล้วรอผลอีก 15 วัน 


18.   อีก 15 ต่อมาซึ่งวันนี้ครบ 60 วัน เราเปิดสถานีพบว่าเราพบยังมีปลวกวรรณะสืบพัณธุ์สำรองและปลวกทหารอยู่เต็มกล่องเช่นเดิมแต่เริ่มน้อยลง สิ่งที่น่าสังเกตคือเหยื่อปลวกที่เราเติมครั้งก่อนหน้า 100 กรัมนั้นยังไม่ถูกกินหมดไปแต่อย่างใด  ซึ่งนั้นหมายถึงปลวกงานหรือปลวกที่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างได้ล้มตายไปหมดแล้วครับ   สิ่งที่เราทำคือเฝ้ารอให้ปลวกเหล่านี้ล้มตายตามขั้นตอนกลไกลของเขาเท่านั้น  ดังนั้นวันนี้เราก็จะไม่เติมเหยื่อหรือเปลี่ยนเหยื่อนะครับ ซึ่งบางท่านไม่ทราบข้อมูลตรงนี้จึงรีบเปลี่ยนเหยื่อเพราะติดว่าเหยื่อคงเสียหรือเน่าปลวกถึงไม่ยอดกินเหยื่อในกล่องสถานี ซึ่งต่อให้เปลี่ยนใหม่แค่ไหนปลวกก็ไม่กินเหยื่อแล้วครับ เพราะปลวกทหารและปลวกวรรณสืบพันธ์สำรองนี้จะกินอาหารเองไม่ได้ต้องรอปลวกงานมาป้อนเท่านั้น ดังนั้นถ้าไม่มีปลวกงาน ปลวกเหล่านี้ก็รอวันตายเท่านั้นครับ 


19.   อีก 15 วันต่อมา ( ครบ 75 วัน ) เราเปิดกล่องสถานีพบว่า ปลวกในกล่องสถานีวันนี้ตายหมแล้วครับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อเราพบปลวกทหารหรือปลวกวรรณสืบพันธุ์สำรองในกล่อง ส่วนใหญ่คือระยะปลายทางแล้ว  ดังนั้นงวันนี้เราจะพบว่าไม่มีตัวปลวกในกล่องสถานีแต่อย่างใดครับ  นั้นหมายถึงปลวกได้ตายไปจนหมดนั้นเอง 


20.   เราถอดกล่องสถานีเพื่อเช็คให้แน่ใจว่าไม่มีตัวปลวกที่มีชีวิตแล้ว  ซึ่งเมื่อถอดกล่องออกมาเราพบซากปลวกอยู่ท้ายกล่องอย่างชัเจน  และเมื่อไปสำรวจจุดอื่นๆของบ้านก็ไม่มีตัวปลวกทีมีชีวิตแล้ว ดังนั้นการกำจัดปลวกรังนี้ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ปลวกตายหมดเกลี้ยงใน 75 วันครับ 

 

สรุป
การกำจัดปลวกรังนี้ซึ่งถือว่าค่อนข้างมีขนาดใหญ่เนื่องจากพบปลวกวรรณะสืบพันธุ์สำรองในกล่องสถานีซึ่งบ่งบอกถึงอายุของรังปลวกโดยเราใช้เหยื่อไปทั้งหมด 500 กรัม ในการติดตั้งสถานี 1 จุด และถ้าหากเราติดตั้งสถานีมากกว่า 1 จุด เช่น ติดตั้ง 2 จุด เราอาจจะต้องใช้เหยื่อในปริมาณที่มากขึ้นหากเราใส่กล่องละ 200 กรัม กล่าวคือ ถึงแม้ว่าเราจะให้เหยื่อในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเท่าตัวปลวกก็จะกินเหยื่อนี้มากขึ้นกว่าเดิมตามปริมาณที่ให้ แต่ระยะเวลาในการล่มสลายของรังปลวกก็ยังเป็นระยะเวลาเท่ากัน เพราะระยะเวลาที่ปลวกทั้งรังจะลอกคราบจนถึงขั้นวิกฤติจนทำให้รังล่มสลายใช้เวลาพอๆกัน   เช่น บ้านหลังที่ 1 เราติดตั้งสถานี 1 จุด ใส่เหยื่อ 200 กรัม  และบ้านหลังที่ 2 เราติดตั้งสถานี 2 จุดใส่เหยื่อจุดละ 200 กรัม จะรวมเป็น  400 กรัม เมื่อครบ 15 วัน เหยื่อในบ้านหลังที่ 1 และหลังที่ 2 ก็จะถูกกินหมด  ซึ่งแน่นอนบ้านหลังที่ 2 ปลวกได้รับเหยื่อเยอะกว่าบ้านหลังที่ 1 แต่ก็ไม่ทำให้ปลวกบ้านหลังที่ 2 ตายเร็วขึ้นกว่าบ้านหลังที่ 1 มากนัก หรืออาจใช้ระยะเวลาในการตายเท่ากัน  เหตุผลคือกระบวนการลอกคราบจนทำให้ปลวกตายหมดนั้นมันมีระยะเวลาของมัน เราไปเร่งมันไม่ได้นั้นเอง  แต่ข้อดีอย่างเดียวของการให้เหยื่อในปริมาณที่มากคือเหยื่อที่ให้นี้จะไปช่วยให้ปลวกลดการทำลายลงจากแหล่งอาหารเดิมลงเล็กน้อยโดยปลวกที่กินบ้านอยู่ถึงแม้จะติดเหยื่อไปแล้วปลวกก็ยังกินบ้านอยู่นะครับ ไม่ได้หยุดกินบ้านแล้วมากินเหยื่ออย่างเดียวทันที มันต้องใช้เวลาสักระยะครับปลวกถึงจะละจากการกินบ้าน หันมากินเหยื่อเพียงอย่างเดียว 
 
กระทู้นี้ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลค่อนข้างนานกว่าจะเอามาเล่าได้จึงอยากให้มีประโชนย์สูงสุดกับผู้ที่มีปัญหาปลวก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่