[CR] รีวิวเหยื่อกำจัดปลวกที่ผลิตในประเทศไทยรายแรก

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมารีวิวเหยื่อกำจัดปลวกที่ผลิตขึ้นในไทยรายแรกของประเทศพร้อมเทคนิควิธีการทำแบบละเอียด เพื่อเป็นประโชนย์สำหรับคนที่กำลังหาทางเลือกในการกำจัดปลวกครับ  เหยื่อนี้ชื่อ Termatrix ( เทอร์เมทริก )  และวันนี้ผมใช้ร่วมกับตัว Active Cellulose หรือสารดึงดูดปลวกที่จะทำให้ปลวกกินเหยื่อได้ดีขึ้นครับ

เป็นที่ทราบกันว่าก่อนหน้านี้การกำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อนั้นราคาจะค้อนข้างสูงและการหาซื้อเหยื่อมากำจัดเองก็ลำบากมากเพราะเป็นความลับทางการค้าซึ่งเขาจะจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการกำจัดปลวกเท่านั้น แต่ปัจจุบันเหยื่อกำจัดปลวกสามารถหาซื้อได้อย่างแพร่หลายทั้งใน Facebook,Lazada,shopee หรือเว็บเพจต่างๆ ก็หาไม่ยากแล้วหรือพิมพ์หาใน Google ก็จะพบข้อมูลมากมาย

ไม่ใช่ว่าทุกหน้างานจะสามารถใช้เหยื่อกำจัดปลวกได้นะครับ ท่านต้องศึกษาข้อมมูลให้แม่นๆ เรื่องชนิดปลวกก่อนหรือถามผู้ขายเหยื่อก่อนว่าปลวกที่บ้านของท่านใช้เหยื่อได้หรือไม่โดยปลวกชนิดที่แนะนำให้ใช้เหยื่อชื่อเขาคือ Coptotermes ( คอปโตเทอร์เมส ) ซึ่งลักษณะเด่นคือมีตัวสีขาวหัวสีแดงในปลวกทหารและเมื่อปลวกชนิดนี้โดนรุกรานปลวกทหารจะปล่อยน้ำสีขาวคล้ายกาวลาแท็กซ์ออกมาจากหัวดังภาพตัวอย่างครับ

สำหรับหน้างานก็สำคัญต่อความสำเร็จเช่นกันถ้าหน้างานพบปลวกแล้วใจร้อนรีบฉีดยากระป๋องเสปร์ยไปหรือโรยอะไรต่างๆนาๆหน้างานแบบนี้จะโอกาสสำเร็จน้อยและติดตั้งให้ปลวกกินเหยื่อได้ยาก และอีกหน้างานที่อยู่สูง หาตัวไม่เจอ อันนี้ก็สำเร็จน้อยเราอาจต้องมองเรื่องการจ้างทำเพื่อความชัวร์ แต่ถ้าหน้างานที่พบตัวปลวกแล้วยังไม่ฉีดหรือโรยยาใดๆ เห็นตัวชัดเจน อยู่ในพิสัยที่สามารถทำได้ ท่านสามารถกำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อด้วยตัวเองในราคาที่ประหยัดได้แน่นอนรับรองว่าผลลัพธ์ไม่ต่างจากจ้างทำเลยทีเดียว

ไปดูผลการใช้งานเหยื่อกำจัดปลวกน้องใหม่และวิธีตั้งตั้งกันเลยครับ


1. นี่คือเหยื่อ กำจัดปลวก ชื่อ Termatrix ( เทอร์เมทริก ) ซึ่งเป็นเหยื่อน้องใหม่ในวงการ โดย 1 ชุด จะมี 2 ถุง ๆละ 100 กรัมประกอบด้วยเหยื่อ Termatrix ( เทอร์เมทริก )  จำนวน 100 กรัม และสารดึงดูดปลวก Active Cellulose จำนวน 100 กรัม  รวม 2 ถุง จำนวน 200 กรัม ราคาประมาณชุดละ  960  - 1,400 บาท  ( ซื้อหลายชุดราคาจะลดลงตามจำนวน )


2. วันนี้ผมใช้กล่องไฟในห้างโฮมโปร เป็นกล่องที่ใช้สำหรับร้องปล๊กไฟ ราคา 15 บาท กล่องนี้เหมาะสำหรับพื้นปาร์เก้หรือขอบบัวที่พื้นเรียบเท่านั้น ถ้าหน้างานรูปแบบอื่นอาจต้องหากล่องที่เหมาะสมกว่า เพราะกล่องนี้ไม่มีฝาปิด ต้องมาดัดแปลง แต่ข้อดีคือราคาถูกมาก


3. อุปกรณ์เสริมนอกจากกล่องก็จะมีเทปผ้าหรือเทปหนังไก่ ใบเลื่อย ถุงมือผสมเหยื่อ ไขควง 4 แฉก กระปุกผสมเหยื่อ น้ำดื่มตราสิงห์ และมีดคัตเตอร์


4. หน้างานวันนี้ปลวกกำลังเริ่มกินบัวที่เป็นกระดาษอัดซึ่งยังไม่ลามลงไปในพื้นปาร์เก้โดยปลวกพึ่งขึ้นมีรังขนาดไม่ใหญ่มาก เพราะดูจากปริมาณเหยื่อที่ใช้ไม่ถึง 3 ชุด ซึ่งถ้าปลวกรังใหญ่มากจะกินเหยื่อถึง 5 ชุดหรือ 10 ถุงเลยทีเดียว


5. เมื่อสำรวจเราจะได้ยินเสียงปลวกอยู่ในบัวอย่างชัดเจน จึงได้เอามีดกรีดเป็นช่องเพื่อเปิดทางและเราพบตัวปลวกวิ่งอกมาแต่ถ่ายรูปไม่ทัน ซึ่งจุดที่จะติดได้นั้นจะต้องมีตัวปลวกเป็นๆอยู่เท่านั้น


6. นำกล่องมาตัดตังภาพเพราะถ้าเราไม่ตัดกล่องพื้นกล่องจะไปปิดรูที่เรากรีดและพบตัวปลวกเมื่อสักครู่ทำให้ปลวกไม่กินเหยื่อ


7. เมื่อตัดเสร็จแล้วนำกล่องไปวัดดูว่าเราได้ตัดถูกต้องตามตำแหน่งที่กำหนดไว้แล้ว


8. จากนั้นนำกล่องมาปิดด้วยเทปผ้าทั้งหมดให้เหลือไว้เฉพาะช่องที่เราต้องการจะให้ปลวกเข้ามาขนเหยื่อในกล่องกลับไปที่รัง


9. นำกล่องไปวัดดูอีกครั้งว่าเราได้ติดเทปผ้าได้ถูกต้องตรงจุดที่กำหนดไว้


10. ใช้ไขควง 4 แฉกไขน๊อตที่แถมมากับกล่องแล้วยึดกล่องให้เข้ากับบัวให้แน่น


11. ปิดข้างกล่องทั้ง 2 ด้านด้วยเทปผ้าให้มิดชิดที่สุด ป้องกันแสงสว่างเข้าไปในกล่อง ทำใจเย็นๆ อย่างละเอียด


12. นำเหยื่อ Termatrix ( เทอร์เมทริก ) และสารดึงดูด Active Cellulose เทลงในภาชนะทรงกลมอย่างละ 50 กรัม โดยกล่องไฟที่เราได้ติดตั้งไว้นั้นจะบรรจุเหยื่อเต็มกล่อง 100 กรัมพอดี โดยให้เราใช้วิธีชั่ง ( เครื่องชั่งซื้อใน Lazada ราคา 97-150 บาท )


13. จากนั้นตตั้งเครื่องชั่งให้เป็น 0 แล้วเทน้ำสิงห์ลงไปจำนวน 350 CC หรืออัตราส่วนเหยื่อกำจัดปลวกที่รวมกับสารดึงดูด Active Cellulose แล้ว จำนวน 1 กรัม ใช้น้ำจำนวน 3.5 CC สมมุติวันนี้เราผสมอย่างละ 40 กรัม เราจะได้เหยื่อ 80 กรัม เราจะใช้น้ำ 280 CC แต่วันนี้เราผสมเหยื่อทั้ง 2 ชนิดรวมกัน 100 กรัม ดังนั้นเราจึงใช้น้ำ 350 CC นั้นเอง


14. ใช้มือที่สวมถุงมือพลาสติกใส ( ไม่ควรใช้ถุงมือแพทย์เพราะมีแป้ง ) ขยำเหยื่อให้เข้ากับน้ำมากที่สุด เหยื่อจะออกนุ่มๆ เมื่อใส่เหยื่อลงในกล่องจะมีน้ำหยดออกมาเล็กกน้อยถือเป็นใช้ได้


15. นำเหยื่อก้อนแรกที่ผสมเสร็จแล้วไปแปะตรงจุดที่เราได้เปิดช่องไว้เพื่อให้ปลวกเจอเหยื่อก้อนแรกก่อน


16.จากนั้นค่อยๆใส่เหยื่อให้เต็มกล่อง


17.เนื่องจากกล่องนี้ไม่มีฝาปิดเราจะดัดแปลงฝาด้วยการใช้เทปผ้าปิดกล่องซึ่งจะปิดได้ง่ายเพราะกล่องเป็นรูปสี่เหลี่ยมพอดี โดยใช้เทปปิดเรียงลงมาทีละแผ่น


18.เมื่อปิดฝาครบและมิชิดแล้วเราจะรอผลเปิดครั้งแรก 10 วันและจากนั้นจะเปิดทุกๆ 15 วัน ไปเรื่อยๆจนกว่าปลวกจะไม่กินเหยื่อและตายหมด


19. เมื่อเปิดครั้งแรกครบ 10 วันผลคือปลวกเข้ามากินเหยื่ออย่างชัดเจน แต่ยังมีเศษเหยื่อสีขาวที่เกิดจากการที่ปลวกเข้าชอนไชในกล่อง โดยวันนี้เราจะค่อยๆเอาเหยื่อสีขาวนี้ออกเพราะเหยื่อเริ่มแห้งแล้วและเราจะใส่เหยื่อสดใหม่เข้าไปแทนเพื่อการกินที่ดีขึ้น


20. ใส่เหยื่อให้เต็มกล่องแล้วปิดด้วยเทปรอผลเปิดอีกครั้ง 15  ซึ่งเทปผ้านี้สามารถแกะเปิด-ปิดได้อย่างสะดวก นี่ คือข้อดีของเทปผ้า


21. เมื่อเปิดครั้งที่ 2 นี้เราพบว่าปลวกเริ่มกินเหยื่ออย่างดุดันขึ้นหมดเกลี้ยงแทบไม่เหลือซากเหยื่อเลย


22. เราก็จัดการเติมเหยื่อที่สดใหม่ลงไปในกล่องให้เต็มเช่นเดิมแล้วปิดรอผลอีก 15 วัน


23. เมื่อเปิดมาครั้งนี้เราจะพบการเปลี่นแปลงอย่างชุดเจน สิ่งแรกคือเราพบปลวกยั๊วเยี๊ยเต็มไปหมดและที่น่าแปลกคือทำไมเหยื่อถึงไม่หมดเพราะตัวปลวกเยอะขนาดนี้เหยื่อนี้ต้องหมดแล้ว แท้จริงแล้วนี่คือจุดวิกฤตสุดที่เกิดขึ้นในรังปลวกตอนนี้ เพราะปลวกที่เราเห็นนี้คือปลวกทหารนั้นเอง ปลวกทหารจะมีกรามและหัวสีแดง ลองดูดีๆแล้วท่านจะเป็นความแตกต่างระหว่างปลวกงานกับปลวกทหาร ปลวกที่หาอาหารไปป้อนสมาชิกในรังคือปลวกงานเท่านั้น จากวันที่ติดตั้งจนถึงวันนี้ ปลวกงานตายไปเกือบหมดจากการลอบคราบตลอดชีวิต แต่ปลวกทหารยังไม่ตายเพราะตัวเต็มวัยของปลวกทหารนี้จะไม่ลอกคราบ ดังนั้นปลวกทหารจึงเฝ้ารออาหารในแหล่งอาหารที่เคยกินนี้ ถึงแม้จะมีอาหารมากพียงใด แต่ปลวกทหารนี้ก็ไม่สามารถกินอาหารเองได้ปลวกทหารนี้จะรอวันตายในอีก 15 วันข้างหน้า  เราจะไม่เติมหรือเปลี่ยนอาหารใดๆทั้งสิ้นครับ ปิดและรอผลอีก 15 วัน


24. เมื่อเราเปิดมาสิ่งแรกเลยที่สังเกตคือเหยื่อไม่ได้ถูกกินไปเลยซึ่งเป็นไปตามกหลักการคือปลวกทหารไม่สามารถกินอาหารเองได้ และปลวกทหารทั้งหมดก็ได้ตายลงไปตามระยะเวลา โดยเราสังเกตเห็นซากปลวกทหารอยู่บ้างจะเทปผ้าที่ปิดกล่อง ( แต่บางหน้างาน็ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ ขึ้นอยู่กับหน้างาน )


25. เมื่อเรามั้นใจว่าการกำจัดปลวกด้วยเหยื่อล่อนั้นได้สิ้นสุดลงแล้วเราก็ถอดกล่องทิ้งไปเพื่อวางแผนซ่อมแซมบ้าน โดยเมื่อถอดกล่องให้เราดูอีกครั้งว่าหลังกล่องมีตัวปลวกหลวงเหลืออยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีแล้วก็ถือว่าสำเร็จครับ

สรุป
โดยรวมถือว่าผลการกำจัดถือว่าดีเยี่ยมครับ และสามารถประยุคใช้ได้หลากหลาย  การหาซื้อมาใช้ก็ไม่ยากจนเกินไปทุกอย่างโดยรวมผมให้ 4.5 เพราะติดอยู่ 2 เรื่องคือ
1.เหยื่อนี้จำเป็นต้องดูชนิดปลวกก่อนใช้ไม่สามารถซื้อไปใช้เลย ซึ่งคนทีมีบ้านอยู่เขตเมืองส่วนใหญ่จะใช้เหยื่อนี้ได้ แต่คนที่เป็นบ้านสวนในไร่ในป่าจำเป็นต้องทบทวนชนิดปลวกก่อนซื้อ
2.เรื่องราคายังใช้คำว่าราคาถูกไม่ได้เต็มปากถึงแม้มันจะถูกกว่าการจ้างบริษัทปลวกมากก็ตาม แต่ราคาก็สูสีกับเหยื่อกำจัดปลวกยี่ห้ออื่นที่ขายกันอยู่ทั่วไปครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่กำลังหาทางเลือกอยู่นะครับ
ชื่อสินค้า:   Termatrix ( เทอร์เมทริก )
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่