ก่อตั้งในปี พ.ศ.2523 และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี พ.ศ.2532 โดยใช้ตัวย่อ "BH"
ปีเดียวที่ก่อตั้งโรงพยาบาลนั้น "สวนสยามทะเลกรุงเทพ" ก็ได้เปิดให้บริการเป็นปีแรกเช่นเดียวกัน และยังเป็นปีเดียวกับ "ผู้พันแซนเดอส์" ผู้ก่อตั้งร้าน KFC ได้เสียชีวิตลง
BH ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน โดยให้บริการทางการแพทย์ครบวงจร ทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ยังรวมถึงลงทุนในธุรกิจการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
โดยมีผู้ถือใหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ถือหุ้นอยู่ที่ 24.92%
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีเตียงให้บริการผู้ป่วย 580 เตียง ผู้ป่วยนอกคิดเป็น 52% ส่วนผู้ป่วยในคิดเป็น 48%
และลูกค้าในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าระดับกลางจนถึงสูงขึ้นไป (คือ มีรายได้ 3,976 – 12,275 เหรียญสหรัฐฯ)
ส่วนลูกค้าต่างประเทศจะ ประกอบด้วยกลุ่มต่างชาติที่อาศัยในเมืองไทย และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ผู้ป่วยไทยจะอยู่ที่ 34% ส่วนผู้ป่วยนอกจะอยู่ที่ 66%
รายได้จากผู้ป่วยไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.5%
ในขณะที่รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 65.5%
ประเทศที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับบริษัทสามอันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, โอมาน, และสหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์
นอกจากธุรกิจหลักจะทำโรงพยาบาลแล้ว มาดูว่าบริษัทย่อยจะทำธุรกิจอะไรกันบ้าง
บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด (ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยแบบครบวงจร)
บริษัท เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช จำกัด (ให้บริการวิจัยทางการแพทย์)
บริษัท รื่นมงคล จำกัด (ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สุขุมวิทซอย 1)
ไลฟ์ แอนด์ ลองจิวิตี้ ลิมิเต็ด (บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ)
บริษัท ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร บำรุงราษฎร์ จำกัด (ศูนย์พัฒนาบุคลากรและจัดฝึกอบรมให้พนักงานและบริษัทในเครือ)
บริษัท บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก จำกัด (บริษัทโฮสดิ้งเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ)
เฮลท์ ฮอไรซัน เอ็นเตอร์ไพรส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ)
บริษัท บำรุงราษฎร์เซอร์วิสเซส จำกัด (ให้บริการส่งต่อผู้ป่วยทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจการแพทย์)
ใน 100 บาทของ BH จะมาจาก
ธุรกิจการแพทย์ 98.5 บาท
ธุรกิจให้เช่า 0.3 บาท
และธุรกิจอื่นๆอีก 1.2 บาท
ดูรายได้ย่อยว่ามาจากส่วนไหนแล้ว มาดูรายได้รวมของบริษัทกัน
ปี 59 รายได้รวม 18,128.01 ล้านบาท กำไร 3,626.17 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 5,173.64 ล้านบาท
ปี 60 รายได้รวม 18,530.13 ล้านบาท กำไร 3,943.89 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 5,243.38 ล้านบาท
ปี 61 รายได้รวม 18,541.03 ล้านบาท กำไร 4,151.89 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 4,733.93 ล้านบาท
ปี 62 รายได้รวม 18,718.27 ล้านบาท กำไร 3,747.73 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 4,897.35 ล้านบาท
CSR(คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร) ที่น่าสนใจของบริษัท
หน่วยแพทย์ “อาสาบำรุงราษฎร์” เป็นการเดินทางไปต่างจังหวัด ในหลายๆพื้นที่เพื่อตรวจรักษา และบริการทันตกรรมแก่ผู้ยากไร้ในชนบท โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ประเด็นที่น่าสนใจในตอนนี้คือ บริษัทจะทำคำเสนอซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 125 บาท คิดเป็นมูลค่า 85,612,731,500 บาท โดยราคาเสนอซื้ออาจถูกปรับขึ้นได้ในอัตราไม่เกิน 20%
ของราคาเสนอซื้อ หรือจะมีการปรับราคาเสนอซื้อมูลค่ารวมของการทําคําเสนอซื้อจะอยู่ระหว่าง 85,612,731,500 – 102,735,277,800 บาท ในการปรับราคาเสนอซื้อดังกล่าว
ถ้าลองคิดเล่นๆ BDMS จะใช้ระยะเวลา ไม่เกิน 6 ปีในการคืนทุนในคำเสนอซื้อแสนล้าน โดยวัดจากรายได้รวมของบริษัท BH เอง
เกร็ดความรู้
มี tender offer ที่ใหญ่กว่าดีลนี้ คือ ตอนที่ บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) เข้าซื้อกิจการของ บริษัท สยามแม็คโคร (Makro)ในปี พ.ศ.2556 ที่ราคา 188,880 ล้านบาท
#normalinvestor
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH
ปีเดียวที่ก่อตั้งโรงพยาบาลนั้น "สวนสยามทะเลกรุงเทพ" ก็ได้เปิดให้บริการเป็นปีแรกเช่นเดียวกัน และยังเป็นปีเดียวกับ "ผู้พันแซนเดอส์" ผู้ก่อตั้งร้าน KFC ได้เสียชีวิตลง
BH ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน โดยให้บริการทางการแพทย์ครบวงจร ทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ยังรวมถึงลงทุนในธุรกิจการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
โดยมีผู้ถือใหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS ถือหุ้นอยู่ที่ 24.92%
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีเตียงให้บริการผู้ป่วย 580 เตียง ผู้ป่วยนอกคิดเป็น 52% ส่วนผู้ป่วยในคิดเป็น 48%
และลูกค้าในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าระดับกลางจนถึงสูงขึ้นไป (คือ มีรายได้ 3,976 – 12,275 เหรียญสหรัฐฯ)
ส่วนลูกค้าต่างประเทศจะ ประกอบด้วยกลุ่มต่างชาติที่อาศัยในเมืองไทย และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ผู้ป่วยไทยจะอยู่ที่ 34% ส่วนผู้ป่วยนอกจะอยู่ที่ 66%
รายได้จากผู้ป่วยไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.5%
ในขณะที่รายได้จากกลุ่มผู้ป่วยต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 65.5%
ประเทศที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับบริษัทสามอันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, โอมาน, และสหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์
นอกจากธุรกิจหลักจะทำโรงพยาบาลแล้ว มาดูว่าบริษัทย่อยจะทำธุรกิจอะไรกันบ้าง
บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด (ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยแบบครบวงจร)
บริษัท เอเชีย โกลเบิล รีเสิร์ช จำกัด (ให้บริการวิจัยทางการแพทย์)
บริษัท รื่นมงคล จำกัด (ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สุขุมวิทซอย 1)
ไลฟ์ แอนด์ ลองจิวิตี้ ลิมิเต็ด (บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ)
บริษัท ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร บำรุงราษฎร์ จำกัด (ศูนย์พัฒนาบุคลากรและจัดฝึกอบรมให้พนักงานและบริษัทในเครือ)
บริษัท บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก จำกัด (บริษัทโฮสดิ้งเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ)
เฮลท์ ฮอไรซัน เอ็นเตอร์ไพรส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ)
บริษัท บำรุงราษฎร์เซอร์วิสเซส จำกัด (ให้บริการส่งต่อผู้ป่วยทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงบริการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจการแพทย์)
ใน 100 บาทของ BH จะมาจาก
ธุรกิจการแพทย์ 98.5 บาท
ธุรกิจให้เช่า 0.3 บาท
และธุรกิจอื่นๆอีก 1.2 บาท
ดูรายได้ย่อยว่ามาจากส่วนไหนแล้ว มาดูรายได้รวมของบริษัทกัน
ปี 59 รายได้รวม 18,128.01 ล้านบาท กำไร 3,626.17 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 5,173.64 ล้านบาท
ปี 60 รายได้รวม 18,530.13 ล้านบาท กำไร 3,943.89 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 5,243.38 ล้านบาท
ปี 61 รายได้รวม 18,541.03 ล้านบาท กำไร 4,151.89 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 4,733.93 ล้านบาท
ปี 62 รายได้รวม 18,718.27 ล้านบาท กำไร 3,747.73 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 4,897.35 ล้านบาท
CSR(คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร) ที่น่าสนใจของบริษัท
หน่วยแพทย์ “อาสาบำรุงราษฎร์” เป็นการเดินทางไปต่างจังหวัด ในหลายๆพื้นที่เพื่อตรวจรักษา และบริการทันตกรรมแก่ผู้ยากไร้ในชนบท โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
ประเด็นที่น่าสนใจในตอนนี้คือ บริษัทจะทำคำเสนอซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 125 บาท คิดเป็นมูลค่า 85,612,731,500 บาท โดยราคาเสนอซื้ออาจถูกปรับขึ้นได้ในอัตราไม่เกิน 20%
ของราคาเสนอซื้อ หรือจะมีการปรับราคาเสนอซื้อมูลค่ารวมของการทําคําเสนอซื้อจะอยู่ระหว่าง 85,612,731,500 – 102,735,277,800 บาท ในการปรับราคาเสนอซื้อดังกล่าว
ถ้าลองคิดเล่นๆ BDMS จะใช้ระยะเวลา ไม่เกิน 6 ปีในการคืนทุนในคำเสนอซื้อแสนล้าน โดยวัดจากรายได้รวมของบริษัท BH เอง
เกร็ดความรู้
มี tender offer ที่ใหญ่กว่าดีลนี้ คือ ตอนที่ บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) เข้าซื้อกิจการของ บริษัท สยามแม็คโคร (Makro)ในปี พ.ศ.2556 ที่ราคา 188,880 ล้านบาท
#normalinvestor