นิยายของกิมย้ง คุณชอบวรยุทธ์ วิทยายุทธ์ หรือลมปราณไหนบ้างครับ
ส่วนตัวผมชอบ
ลมปราณภูติอุดร (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"ลมปราณภูติอุดร กับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน"
หลายท่านมักจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกับวิชานี้
โดยเฉพาะความเข้าใจที่ผิดว่า ลมปราณภูติอุดรคือวิชาที่ไร้จุดอ่อน ต่างกับอวิชชาสลายพลังหรือมหาเวทย์ดูดดาวที่ฝึกแล้วจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมหาศาล
อันที่จริงแล้ว ลมปราณภูติอุดรก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน กล่าวคือ วิชานี้ก่อนจะฝึกฝน ต้องทำลายกำลังภายในของตนเองทิ้งก่อน และการจะดูดพลัง ก็มีข้อจำกัดที่จะดูดได้โดยไม่มีปัญหา ก็ต่อเมื่อดูดคนที่พลังอ่อนด้อยกว่าเท่านั้น ถ้าหากฝืนดูดพลังคนที่แข็งแกร่งกว่า ก็อาจส่งผลร้ายถึงชีวิตได้ ดั่งเช่นเหตุการณ์ที่ตวนอื้อดูดพลังสี่คนโฉด จนตวนเจี่ยเม้งต้องรีบพาไปรักษาที่วัดมังกรฟ้า แต่ตอนท้ายเรื่องนั้น ตวนอื้อดูดพลังคิวม่อตี่จนหมด ส่งผลแค่ทำให้สลบไป นั่นเป็นเพราะในขณะนั้นตวนอื้อมีพลังภายในมากกว่าคิวม่อตี่นั่นเอง
.
แต่โดยหลักการแล้ว แม้ว่าลมปราณภูติอุดรจะมีผลเสีย ก็สามารถแก้ไขได้ โดยการค่อยๆเริ่มดูดพลังจากคนที่มีพลังภายในไม่ต่างจากตนเองมาก แล้วค่อยๆโคจรพลังตามเคล็ดวิชาเพื่อหลอมรวมพลังนั้นให้มาเป็นของตน จากนั้นจึงค่อยๆไล่ดูดคนที่มีพลังสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ก็จะไม่เกิดผลข้างเคียง (ตวนอื้อที่เกิดปฏิกิริยาจากพลังจนเกือบเสียชีวิตนั้น นอกจากจะดูดพลังจากสามในสี่คนโฉดมากว่าครึ่งแล้ว ยังเกิดจากการที่ตวนอื้อไม่มีพื้นฐานวิทยายุทธ์ และไม่รู้จักการโคจรพลัง ทำให้พลังภายในนั้นไหลเวียนอย่างไม่เป็นระบบ)
.
หลักการของลมปราณภูติอุดรนี้ เปรียบเสมือนเขื่อน ในตัวผู้ฝึกนั้นคือเขื่อนที่กักเก็บน้ำหรือพลังเอาไว้ เมื่อเขื่อนได้รับน้ำ ก็ต้องทยอยปล่อยออก คือการโคจรพลังเพื่อดูดซับพลังที่ดูดมาให้เป็นของตน และเขื่อนก็จะทยอยรับน้ำเข้ามาใหม่ แต่หากว่าเกิดน้ำทะลักเข้าเขื่อนมากจนเกินไป และระบายน้ำออกไม่ทัน เขื่อนก็จะแตกนั่นเอง
ดังข้อความที่ท่านกิมย้งเขียนไว้ในหนังสือแปดเทพอสูรมังกรฟ้า (ฉบับแปลโดยท่าน น.นพรัตน์) อันเป็นคำอธิบายบทแรกในคัมภีร์ลมปราณภูติอุดร ความว่า
"ชนชาวโลกฝึกลมปราณ ล้วนเริ่มจากจุดฮุ้นมึ้งถึงเสียวเซียง สำนักสราญรมย์เรากลับตรงกันข้าม เริ่มจากจุดเสียวเซียงถึงฮุ้นมึ้ง นิ้วหัวแม่มือพอสัมผัสถูกผู้คน กำลังภายในของอีกฝ่ายหนึ่งจะถูกดึงดูดเข้าสู่ร่างเรา ขังรวมอยู่ที่จุดฮุ้นมึ้งทั้งหลาย แต่หากศัตรูมีพลังฝึกปรือเหนือล้ำกว่าเราเฉกเช่นน้ำมหาสมุทรไหลย้อนเข้าสู่ท้องธารเป็นอันตรายใหญ่หลวง ควรระมัดระวังไว้ให้มาก..."
.
นอกจากนี้ ลมปราณภูติอุดรยังมีความพิเศษอย่างหนึ่ง กล่าวคือ วิชาฝีมือทั่วไป ยิ่งฝึกล้ำลึกยิ่งก้าวหน้าช้า (ยิ่งฝึกยิ่งยาก) แต่ลมปราณภูติอุดร ยิ่งดูดพลังมากยิ่งก้าวหน้าเร็ว กล่าวคือ เมื่อฝึกสำเร็จใหม่ๆ การดูดพลังจะใช้เวลานานมาก แต่เมื้อดูดมากขึ้นๆจนมีกำลังภายในสูงล้ำ การดูดพลังคนผู้หนึ่งให้หมดสิ้น จะทำได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และแรงดึงดูดนั้นก็จะยิ่งมากตามด้วย
ดังจะสังเกตได้ว่า ในช่วงแรกของเรื่อง แทบจะไม่มีใครถูกตวนอื้อดูดพลังไปจนหมดตัว โดยเฉพาะยอดฝีมือ เช่น ตวนเอี่ยงเค่ง หลวงจีนคิ้วเหลือง ตวนเจี่ยเม้ง ฯลฯ นั่นเป็นเพราะว่าเหล่ายอดฝีมือเมื่อถูกดูดพลังไปเล็กน้อยก็จะรู้ตัวและแก้ไขทันเวลา แต่ในช่วงท้ายเรื่องนั้น ตวนอื้อสามารถดูดพลังคิวม่อตี่ไปจนหมดภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่คิวม่อตี่ไม่สามารถต่อต้านขัดขืนได้เลย นั่นเป็นเพราะว่า ตวนอื้อดูดพลังคนอื่นมามาก จนมีกำลังภายในสูงล้ำกว่าคิวม่อตี่ และในขณะนั้น เป็นช่วงเวลาที่คิวม่อตี่ถูกธาตุไฟเข้าแทรกพอดีนั่นเอง
ที่มา : https://www.facebook.com/ClubMangKornYok/posts/743823735673799/
ดาวเคลื่อนดาราคล้อย (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ดาวเคลื่อนดาราคล้อย (เต้าจ้วงแชอี้) เป็น วิชาไม้ตายประจำตระกูลม่อย้ง (มู่หยง) บัญญัติขึ้นโดยม่อย้งเล้งเซี้ย ในยุคสมัยโหงวต่อ ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 907-960
ม่อย้งเล้งเซี้ยเป็นอัจฉริยบุรุษของตระกูลม่อย้ง คิดค้นและใช้วิชานี้พิชิตโดยไร้ผู้ต่อต้าน ท่านไม่ลืมเลือนคำสอนของบรรพบุรุษ รวบรวมกำลังนักสู้คิดกู้ชาติ แต่แผ่นดินแตกแยกเป็นเวลานาน ในที่สุดรวมเป็นหนึ่งเดียวเตี่ยคังเหลียงสถาปนาราชวงศ์ซ้องขึ้น ทรงพระนามว่าไท้โจ้วฮ่องเต้ แผ่นดินกลับคืนสู่สันติสุข ม่อย้งเล้งเซี้ยแม้มีพลังฝีมือสูงเยี่ยมแต่ก็ไม่มีผลงานอันใด ต้องตรอมใจตายไป
วิชานี้เป็นลักษณะของการยืมพลังฟาดพลัง โดยปกติแล้วตระกูลม่อย้งหากมิใช่สู่ศัตรูตัวต่อตัว หากไม่มีความมั่นใจสามารถปลิดชีวิตศัตรู จะไม่ใช้วิชาดาวเคลื่อนดาราคล้อย ดังนั้นตระกูลม่อย้งมีชื่อสะท้านบู๊ลิ้ม แต่ไม่ว่าผู้ใดก็ไม่ล่วงรู้วิชาฝีมือแท้จริงของเขา อีกทั้งมู่หยงฟู่ ได้ร่ำเรียนวิชาของสำนักต่างๆจาก ทิพยสถานหยกเฉิดฉัน ผู้คนจึงเข้าใจว่า ตระกูลมู่หยงรอบรู้วิชาทั่วแผ่นดิน เวลาต่อสูศัตรูก็จะใช้วิชายืมหอกสนองคืนผู้ใช้
แนวทางของวิชาดาวเคลื่อนดาราคล้อย
แนวทางวิชาดาวเคลื่อนดาราคล้อยเป็นการบังคับหมัดเท้าอาวุธของศัตรูเปลี่ยนทิศทาง ย้อนจู่โจมใส่ตัวเองเคล็ดความสำคัญอยู่ที่คำ 'สะท้อนกลับ' หากมีคนต่อยหมัดใส่กำแพงศิลา ตอนลงมือยิ่งหนักหน่วง พลังสะท้อนที่ได้รับยิ่งรุนแรง
ตัวมู่หยงฟู่เองเคยใช้วิชานี้ออก แสดงถึงความแยบคายของวิชาในหลายๆเหตุการ เช่น ตอนที่รับร่างของ แม่เฒ่าเทียนซานกับซีจุ๊ที่ตกผาลงมา มู่หยงฟู่ใช้วิชาดาวเคลื่อนดาราคล้อยหักเหทิศทางเบี่ยงสภาวะเป็นแนวขวาง แม่เฒ่าเทียนซายถึงกับเอ่ยปากชม
เหลาเล่าไม่ได้ลงจากยอดเขาลี้ลับหลายสิบปี คิดไม่ถึงวิชาบู๊ในยุทธจักรมีความรุดหน้าถึงเพียงนี้ กงจื้อเยาว์วัยที่สลายสภาวะร่างหล่นของพวกเราใช้ฝ่ามือฟาดพลังยืมพลัง ด้วยเคล็ดสี่ตำลึงปาดพันชั่งอย่างแยบคายเล่ม 4 หน้า 296
อย่างไรก็ตามตัวมู่หยงฟู่แม้ฝึกปรือวิชานี้นานปี จะอย่างไรจำกัดที่อายุ ยังไม่บรรลุถึงขั้นสูงสุด เมื่อเผชิญกับยอดฝีมือก็ใช้ไม่ได้ดั่งใจ
การบังคับหักเหอาวุธหมัดเท้าที่มีสภาพยังไม่ยากนัก แต่คิดจะบังคับหักเหพลังลมปราณที่ไร้สภาพไร้ร่องรอย ก็ลำบากมากแล้ว มีบางช่วงตอนที่บรรยายไว้ว่าเมื่อพบเจอยอดฝีมือ วิชาดาวเคลื่อนดาราคล้อยของมู่หยงฟู่ก็ไม่อาจทำอะไรได้ เช่นตอนที่ประทะกับเฉียวฟง
ม่อย้งฮกถนัดจัดเจนในการใช้วิชาดาวเคลื่อนดาราคล้อย สามารถชักนำกระบวนท่าของฝ่ายตรงข้าม ย้อนจู่โจมใส่ฝ่ายตรงข้าม แต่พลังของฝ่ามือของเซียวฮงครั้งนี้แกร่งกร้าวเกินไป พร้อมกันนั้นพลังฝ่ามือหนุนวนไม่ทราบจู่โจมใส่ตำแหน่งใด สุดที่จะชักนำได้เล่ม 5 หน้า 60
ในตอนที่ประทะกับจิวหมอจื้อ ก็ไม่สามารถใช้ดาวเคลื่อดาาคล้อยได้เช่นกัน
ม่อย้งฮกแม้ถนัดจัดเจนวิชาดาวเคลื่อดาราคล้อย ซึ่งเป็นการยืมพลังฟาดพลัง แต่กระบวนท่าของฝ่ายตรงข้ามลึกล้ำเกินไป ทุกกระบวนท่าใช้เพียงครึ่งท่า ครึ่งท่าหลังก็พลิกแพลงเปลี่ยนแปลง ม่อย้งฮกคิดหยิบยืมพลังก็ไม่สามารถหยิบยืมเล่ม 5 หน้า 299
ที่มา : http://www.yodyut.com/62/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2
มือหักเหมยเทียนซัว (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ วิชาของสำนักสราญรมย์มีมากหลาย ล้วนแล้วแต่เป็นยอดวิชา และหนึ่งในนั้นคือ มือหักเหมยเทียนซัว (เทียนซัวจิบ๊วยซิ่ว) วิชาที่นางเฒ่าทาริกาถ่ายทอดให้กับซีจุ๊ในช่วงที่หลบหนีการตามล่าของ หลี่ชิวสุ่ย
มือหักเหมยเทียนซัว มีอยู่ด้วยกัน 6 ชุด ประกอบด้วย เพลงฝ่ามือ 3 ชุด และ วิชาคว้าจับ 3 ชุด แม้จะมีเพียง 6 ชุด แต่ครอบคลุมเคล็ดความสำคัญของสำนักสราญรมย์ ในเพลงฝ่ามือท่าคว้าจับแฝงเพลงดาบ เพลงกระบี่ เพลงแส้ เพลงทวน เพลงขวาน และท่ากรงเล็บ พลิกแพลงสลับซับซ้อน
วิธีการฝึกวิชา มือหักเหมยเทียนซัว
เคล็ดความชุดแรกของมือหักเหมยเทียนซัว มีทั้งสิ้น 12 ประโยค ประโยคละ 7 คำ อักษรทั้ง 84 คำนี้ ไม่สัมผัสต่อเนื่องกัน หลังเสียงเรียบเจ็ดคำก็เป็นเสียงไม่เรียบเจ็ดคำ ไม่กลมกลืนแม้แต่น้อย
การท่องเคล็ดวิชานี้ขัดต่อหลักการหายใจ ท่องด้วยอารมณ์ปกติก็ยากที่จะเอื้อนเอ่ยจากปากอยู่แล้ว แต่การฝึกฝนวิชานี้ จะต้องทำการวิ่งตะบึงไปพร้อมกับท่องเคล็ดวิชาดังๆ เมื่อเริมแรกฝึก ท่องไปเพียง 3-4 คำก็จะติดขัด ไม่สามารถเปล่งคำออกมาได้ จะต้องทำการเกรงลมปราณเพื่อเปร่งบางคำออกมา ดังนั้นแท้จริงแล้ว การท่องเคล็ดวิชาขณะวิ่งตะบึง เป็นการปรับโครจรพลัง ให้ตรงตามแนวทางของวิชานั่นเอง
เมื่อสามารถท่องได้หมดไม่ติดขัด ก็จะต้องทำการท่องย้อนกลับอีกด้วย เคล็ดวิชานี้ ไม่สัมผัสอยู่แล้ว พอท่องย้อนกลับ ลิ้นยิ่งพันกัน ผู้ฝึกจะต้องมีความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวเพื่อให้สำเร็จผ่านไปได้
หลังจากท่องเคล็ดความของมือหักเหมยเทียนซัวครบทั้ง 6 ชุดจนช่ำชองชำนาญ จึงค่อยมาฝึกกกระบวนท่าวิธีใช้
ความพิเศษของวิชา มือหักเหมยเทียนซัว
ความพิเศษของวิชานี้ คือเป็นวิชาที่ ไม่มีวันร่ำเรียนได้หมดสิ้น เมื่อพลังการฝึกปรือยิ่งลึกล้ำ ประสบการณ์ยิ่งมาก ไม่ว่ากระบวนท่าฝีมือใดในโลก ล้วนสามารถหล่อหลอมเข้ากับวิชามือหักเหมยเทียนซัวทั้งหกชุดนี้
ที่มา : http://www.yodyut.com/57/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%A7
หมัดเจ็ดทำร้าย (ดาบมังกรหยก) (ส่วนตัวผมชอบอันนี้มากที่สุด)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้“...หัวใจเป็นธาตุไฟ ปอดเป็นธาตุทอง ไตเป็นธาตุน้ำ ม้ามเป็นธาตุดิน ตับเป็นธาตุไม้ บวกกับพลังความร้อนและเย็น พอฝึกปรือจะทำร้ายทั้งเจ็ดสิ่ง ทั้งเจ็ดประการล้วนถูกทำร้าย วิชาหมัดเจ็ดทำร้ายนี้ เมื่อเพิ่มพูนอีกขั้นหนึ่ง อวัยวะจะถูกทำร้ายอีกขั้นหนึ่ง แท้จริงทำร้ายตัวเองก่อน ค่อยทำร้ายศัตรู...”
หมัดเจ็ดทำร้าย เคล็ดใจความสำคัญอยู่ที่ “ทำร้ายตัวเองก่อนค่อยทำร้ายศัตรู” โอ้ววนี่มันวิชาอะไรกันนี่ช่างร้ายกาจนัก หมัดเจ็ดทำร้ายเป็นสุดยอดเพลงหมัดของสำนักคงท้ง ปรากฏในเรื่อง ดาบมังกรหยก ซึ่งผู้ที่ฝึกสำเร็จคือราชสีห์ขนทองเจี่ยซุ่น และภายหลังได้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้กับเตีบบ่อกี้
ทำไมถึงเรียกหมัดเจ็ดทำร้าย ก็เพราะว่าผู้ที่ฝึกวิชานี้เวลาต่อยหมัดออกจะแฝงพลังที่แตกต่างกัน 7 สาย (แกร่งกร้าว อ่อนหยุน แฝงความอ่อนในความแข็ง แฝงความแข็งในความอ่อน ใช้ขวาง ส่งตรง หดเข้า) ศัตรูต้านทานพลังสายแรก ไม่อาจรับพลังสายที่สอง ต่อให้รับพลังสายที่สองได้ พลังสายที่สาม สี่ ห้า หก เจ็ด ที่ปลดปล่อยพลังออกมาพร้อมกันจะรับได้อย่างไร เพราะเหตุนี้จึงเรียกวิชานี้ว่าหมัดเจ็ดทำร้าย
อานุภาพของหมัดเจ็ดทำร้ายนั้นเจี่ยซุ่นเคยแสดงให้ชมดูโดยการต่อยหมัดไปที่ต้นไม้ใหญ่ ด้วยพลังของเจี่ยซุ่นความจริงต้นไม้ต้องหัก หรือไม่หมัดก็ต้องจมเข้าไปในเนื้อไม้ แต่ปรากฎว่าพอต่อยหมัดออกต้นไม้ไม่หักและไม่มีรอยปริแตกแม้แต่น้อย แต่การที่ต้นไม้ไม่ได้รับความเสียหายก็เพราะว่าพลังของหมัดเจ็ดทำร้ายมุ่งทำลายจากภายในโดยไม่สร้างความเสียหายต่อภายนอก หลังจากนั้น 3 วันให้หลังไม้ใบเหลืองซีดร่วงหลุด ครึ่งเดือนให้หลังต้นไม้ทั้งต้นเหี่ยวแห้ง หมัดที่ปล่อยออกมานั้นได้ทำลายชีวิตของต้นไม้นั้นไปแล้ว โอ้ววมันสุดยอดมากหากหมัดนี้ต่อยถูกคนมีชีวิตเครื่องในคงเละเทะแน่เลย ช่างน่ากลัวยิ่งนัก ฮ่าๆ
วิชาหมัดเจ็ดทำร้ายนี้ถึงแม้จะมีอานุภาพทำลายที่สูงแต่หากผู้ฝึกวิชานี้มีกำลังภายในที่อ่อนด้อยจะเป็นการทำร้ายอวัยวะภายในของผู้ฝึกเอง หากมีกำลังภายในที่ลึกล้ำหนักแน่นแล้วค่อยฝึกหมัดเจ็ดทำร้ายจะเกิดความเสียหายเล็กน้อยเท่านั้นไม่กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายใน ดังนั้นผู้ที่สำเร็จวิชานี้นับว่ามีน้อยยิ่ง แม้แต่สำนักคงท้งศิษย์ในสำนักรุ่นหลังก็ไม่มีใครสำเร็จวิชานี้
ที่มา : https://www.facebook.com/TongyutthajakWulinClub/posts/1779986982267790/
นิยายของกิมย้ง คุณชอบวรยุทธ์ วิทยายุทธ์ หรือลมปราณไหนบ้างครับ
ลมปราณภูติอุดร (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดาวเคลื่อนดาราคล้อย (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มือหักเหมยเทียนซัว (แปดเทพอสูรมังกรฟ้า)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หมัดเจ็ดทำร้าย (ดาบมังกรหยก) (ส่วนตัวผมชอบอันนี้มากที่สุด)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้