ปรากฏการณ์ ‘พลังนักศึกษา’ พรึบทั่วประเทศ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2005103
ที่มา สกู๊ปหน้า 1 มติชนรายวัน
เผยแพร่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563
กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นทุกที เมื่อเหล่านักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมใจเคลื่อนไหวไม่เพียงในโลกออนไลน์ หากแต่ออกมานัดหมายชุมนุมแสดงพลัง หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ ในคดีกู้เงิน 191 ล้านบาท สิ้นเสียงคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ในช่วงบ่ายของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เย็นวันเดียวกัน เริ่มมีป้ายผ้าผุดขึ้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
มีข้อความ “
ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม” กระทั่งรุ่งขึ้น แฟลชม็อบโดย “
สหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย” ถูกจัดขึ้น ณ ลานปรีดีที่ผู้คนเบียดเสียดเนืองแน่น รับฟังการอ่านบทกวี สะท้อนความรู้สึก “
หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน” แสดงออกถึงความท้อแท้แต่ยังมุ่งมั่นต่อสู้
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพฯ ถือไมค์กล่าวท่ามกลางฝูงชนว่า นี่คือความในใจของนักศึกษา เยาวชนทุกคนที่โดนกดขี่โดยใครก็ไม่รู้ในประเทศแห่งนี้ “
เราเชื่อว่าเหตุการณ์ที่ผ่านไปจะไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้าย เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นอีกถ้าเราไม่ลุกขึ้นมา มันถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะลุกขึ้นมาร่วมกันต่อสู้ ขอให้ทุกคนร่วมส่งเสียงอีกครั้ง เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ตามมาด้วยเสียงตะโกนกึกก้อง ชูสามนิ้วโดยมีฉากหลังเป็นตึกโดม แล้วร่วมกันจุดเทียน
นับเป็นการ “
เปิดฉาก” ก่อนมีคลื่นใหญ่ทยอยมาอีกหลายระลอก ทั้งนัดแต่งดำ ขึ้นป้ายผ้า และออกแถลงการณ์มากมายในนามนิสิตนักศึกษาเพื่อแสดงความเสียใจต่อพรรคอนาคตใหม่ เรียกร้องประชาธิปไตย และตั้งคำถามต่อความยุติธรรมในสังคม อาทิ นักศึกษา ม.นเรศวร นัดสวมชุดดำ พร้อมแถลงในนาม “
กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเยาวชนภาคเหนือตอนล่าง”, สโมสรนักศึกษา ม.เชียงใหม่ ออกแถลงการณ์เคียงข้างประชาชนผู้ยึดมั่นในวิถีทางประชาธิปไตย
ลงไปทางภาคใต้ นักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ ทั้งวิทยาเขตหาดใหญ่ และปัตตานี นัดจิบชา จุดเทียน เขียนป้ายผ้า เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก็ออกมาเคลื่อนไหวเช่นกัน
ในขณะที่ภาคตะวันออก อย่าง ม.บูรพา เป็นอีกหนึ่งแห่งที่นิสิตเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มแรกๆ โดยสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ออกแถลงการณ์ขอให้ประชาชน อย่าหมดศรัทธาในประชาธิปไตย นอกจากนี้ “
กลุ่มโกงกาง” ร่วมจุดเทียนท่ามกลางความมืดมิด ประกาศว่าอยากเติบโตขึ้นในประเทศที่ดีกว่านี้
เขยิบไปในภาคอีสาน นักศึกษา ม.ขอนแก่น โดยกลุ่ม “
กาลพฤกษ์” แถลงยืนยันขอพรวนดินให้ต้นไม้ชื่อประชาธิปไตยเติบใหญ่ ก่อนที่จะมีการรวมตัวในช่วงเที่ยงคืน จุดเทียนอาลัย “
คะแนนเสียง” ของตนในวันเลือกตั้ง จนได้ ส.ส.ขอนแก่น เขต 1 จากพรรคอนาคตใหม่ที่สุดท้ายมีกระแสข่าวเตรียมซบพรรคร่วมรัฐบาล
ด้าน “
สภานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ก็ออกแถลงการณ์เน้นย้ำความเป็นประชาธิปไตย
กลับมาที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร นิสิต “
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ชวนให้ชาวเน็ตร่วมติดแฮชแท็ก #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป สื่อความหมายว่านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปสถาบันรั้วสามย่านอันเป็นหนึ่งในเสาหลักด้านการศึกษาของไทยจะยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยของประเทศ
นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรม “
จุฬาฯรวมพล” ภายใต้แนวคิด “เพราะเกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ในช่วงเย็นของวันที่ 24 กุมภาพันธ์
หนึ่งในไฮไลต์คือพวงหรีด “
RIP ประชาธิปไตย” โดยนิสิตอักษรศาสตร์ ที่มักถูกมองว่าถูกหล่อหลอมมาด้วยแนวคิด “
อนุรักษนิยม” รวมถึงการขนป้ายผ้าของนิสิตนิเทศศาสตร์ที่เคยถูก “
ปลด” จากอาคารในเวลาเพียง 10 นาที มาโชว์อีกครั้ง
ข้อความ “
No Privacy No Security No Democracy จบ สวัสดี” วางบนพื้นอย่างโดดเด่น รายล้อมด้วยข้อความเขียนด้วยลายมือนิสิตคณะต่างๆ อาทิ ประชาธิปไตยที่ปลิดปลิว, ประชาธิปตาย, ยุบให้ตายก็ไม่เลือกคุณ, #ไม่มีประชาธิปไตยเราจะตายกันหมด และอีกมากมายที่พรั่งพรูจากใจเยาวชนซึ่งต่า “
ต่อคิว” จับไมค์ขึ้น ”ไฮด์ปาร์ก” กลางลานข้างหอประชุม ประกาศลบล้างคำครหา “
จุฬาฯไม่สนการเมือง”
“
ขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยที่อนุญาตให้จัดงาน เมื่อ 80 ปีก่อน จุฬาฯเคยชุมนุมเรียกร้องให้อินโดจีนคืนดินแดนที่สูญเสียไป มีผู้เข้าร่วมกว่า 3,000 คน นั่นเป็นครั้งแรกของการตั้งขบวนนักศึกษา ต่อมาใน พ.ศ.2500 นิสิตจุฬาฯก็เป็นกลุ่มแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตย” คือส่วนหนึ่งของคำกล่าวจากปาก
กนิษฐ์ วิเศษสิงห์ นิสิตประวัติศาสตร์ ชั้นปี 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยยังหยิบยกเพลง “
แสงดาวแห่งศรัทธา” ของ
จิตร ภูมิศักดิ์ อดีตนิสิตจุฬาฯ ผู้ถูก “
โยนบก” มาขับร้องด้วย
ด้าน
สิรภพ อัตโตหิ นิสิตชั้นปี 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกศิลปะการละคร มีคำกล่าวที่ชัดเจนในเหตุผลของการรวมตัวในครั้งนี้ว่า
“
เรามารวมกันในที่นี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1.ความรัก ไม่ใช่รักพรรคอนาคตใหม่ แต่รักประชาธิปไตย
2.ความเกลียด ไม่ใช่เกลียดรัฐบาล แต่เกลียดความอยุติธรรม
การยุบพรรค อนค.ทำให้เห็นว่าประชาชนไร้ความหมาย คุณค่า สิทธิ เสียงปนะชาชนไม่มีค่า การเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นเพียงการชุบตัวให้เป็นคนใหม่เพื่อบอกว่ามาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เป็นเพียงข้ออ้างในการสืบทอดอำนาจ”
การรวมตัวของนิสิตนักศึกษานี้ ไม่เพียงสร้างความสนใจให้สังคม ทว่ายังอยู่ในสายตาและการรับรู้ของรัฐบาล พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงกับส่งสัญญาณแจ้งเตือนว่า “
ระวังหมดอนาคต” สุดท้ายโดนนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โต้กลับบนเวทีว่า พวกตนมารวมตัวในวันนี้ ไม่กลัวว่าจะหมดอนาคต ถ้ากลัวคงไม่มา สิ่งที่กลัวคือประเทศชาติจะกลายเป็นเช่นนี้ อยากบอกผู้ใหญ่ว่าอำนาจเป็นของประชาชน ขอเรียกร้องความเป็นธรรม อนาคตไม่รู้จะเป็นอย่างไร แต่เยาวชนอย่างเราอย่าสิ้นหวัง
ในการรวมตัวของนิสิตจุฬาฯ ครั้งนี้ จึงได้เห็นนิสิต “
หน้าใหม่” ที่เพิ่งจับไมค์ “
ฉอดการเมือง” ตามภาษาวัยรุ่น ในขณะที่บางราย จับไมค์กล่าวเสียงสั่นจนเพื่อนนิสิตต้องตะโกนให้กำลังใจ
ตัดภาพไปยังรั้วเกษตรศาสตร์ ในงาน “
KU ไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ” ยั่วล้อ “
สลิ่ม” โดยนัยยะทางการเมือง โดยเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหาร คล้ายจงใจ “
ดักคอ” แต่เนิ่นๆ ขอให้สนับสนุนการจัดงานดังกล่าว ซึ่งสุดท้ายกลายเป็นงานใหญ่ที่มีผู้คนเข้าร่วมเนืองแน่น นิสิตยังประกาศยื่น 3 ข้อเรียกร้อง ได้แก่
1. เปิดทางแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเป็นประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์
2. คืนความยุติธรรมให้ประชาชน
3. ยกเลิกคำสั่ง คสช.
อีกประเด็นน่าสนใจ คือการ “จัดตั้ง” กลุ่มต่างๆ ขึ้นเพื่อการนี้ อาทิ “ภาคีนักศึกษาศาลายา” ของนักศึกษา ม.มหิดล และ “กลุ่มคันนา” ของ ม.แม่โจ้ โดยมีนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มประกาศว่าเตรียมจะไปเข้าร่วมเพื่อผนึกกำลังต้านเผด็จการ ทวงคืนประชาธิปไตยและความยุติธรรม ทั้งยังเน้ยย้ำเตรียมจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เกิดป้ายข้อความมีแฮชแท็ก #seeyounextmob
เป็นปรากฏการณ์น่าจับตาในโฉมหน้าการเมืองไทยนับจากนี้เป็นต้นไป
อ.ธรรมศาสตร์ จี้สังคม กดดันรัฐบาล หยุดใช้ไอโอ สร้างความแตกแยกประชาชน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3645156
อ.ธรรมศาสตร์ จี้รัฐบาล หยุดใช้ไอโอ สร้างความแตกแยกประชาชน
กรณี นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายว่าพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีพฤติกรรมยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน ปัจจุบันหากเข้าโลกออนไลน์จะพบบัญชีรายชื่อปลอม เพจปลอม โดยเอารูปตัวการ์ตูน รูปต่างๆที่ไม่ใช่ตัวเองมาตั้งเป็นรูปโปรไฟล์ และออกปฏิบัติการคุกคามประชาชน
เราเรียกภารกิจแบบนี้ว่า “
ไอโอ” หรือ ปฏิบัติการข่าวสาร เป้าหมายคือคุกคามประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาล โดยการขุดประวัติบุคคลนั้นมาโพสต์ประจานเหมือนพฤติกรรมการล่าแม่มด ใช้ถ้อยคำเกลียดชังด่าทอประชาชน
ต่อเรื่องดังกล่าว ผศ.ดร.
ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นระบุว่า
ประเด็น #IO เป็นประเด็นซีเรียสเพราะเป็นการใช้ภาษีของประชาชน สร้างความแตกแยกในสังคม ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดขังระหว่างคนในประเทศโดยรัฐเป็นผู้ทำเสียเอง ประเด็นไม่ควรจบในสภา แต่หลังจากนี้สังคมต้องช่วยกันกดดันให้รัฐยุติปฏิบัติการดังกล่าว
https://twitter.com/bkksnow/status/1232346053636050945
JJNY : ปรากฏการณ์พลังนศ./จี้กดดันรัฐหยุดใช้ไอโอ/ศูนย์ต้านฯชี้ข่าวไวรัสเป็นเพจปลอม ทั้งที่เป็นเพจจริง/ไทยติดเชื้อเพิ่ม3
https://www.matichon.co.th/politics/news_2005103
ที่มา สกู๊ปหน้า 1 มติชนรายวัน
เผยแพร่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563
กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นทุกที เมื่อเหล่านักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมใจเคลื่อนไหวไม่เพียงในโลกออนไลน์ หากแต่ออกมานัดหมายชุมนุมแสดงพลัง หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ ในคดีกู้เงิน 191 ล้านบาท สิ้นเสียงคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ในช่วงบ่ายของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เย็นวันเดียวกัน เริ่มมีป้ายผ้าผุดขึ้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
มีข้อความ “ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม” กระทั่งรุ่งขึ้น แฟลชม็อบโดย “สหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย” ถูกจัดขึ้น ณ ลานปรีดีที่ผู้คนเบียดเสียดเนืองแน่น รับฟังการอ่านบทกวี สะท้อนความรู้สึก “หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน” แสดงออกถึงความท้อแท้แต่ยังมุ่งมั่นต่อสู้
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพฯ ถือไมค์กล่าวท่ามกลางฝูงชนว่า นี่คือความในใจของนักศึกษา เยาวชนทุกคนที่โดนกดขี่โดยใครก็ไม่รู้ในประเทศแห่งนี้ “เราเชื่อว่าเหตุการณ์ที่ผ่านไปจะไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้าย เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นอีกถ้าเราไม่ลุกขึ้นมา มันถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะลุกขึ้นมาร่วมกันต่อสู้ ขอให้ทุกคนร่วมส่งเสียงอีกครั้ง เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ตามมาด้วยเสียงตะโกนกึกก้อง ชูสามนิ้วโดยมีฉากหลังเป็นตึกโดม แล้วร่วมกันจุดเทียน
นับเป็นการ “เปิดฉาก” ก่อนมีคลื่นใหญ่ทยอยมาอีกหลายระลอก ทั้งนัดแต่งดำ ขึ้นป้ายผ้า และออกแถลงการณ์มากมายในนามนิสิตนักศึกษาเพื่อแสดงความเสียใจต่อพรรคอนาคตใหม่ เรียกร้องประชาธิปไตย และตั้งคำถามต่อความยุติธรรมในสังคม อาทิ นักศึกษา ม.นเรศวร นัดสวมชุดดำ พร้อมแถลงในนาม “กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเยาวชนภาคเหนือตอนล่าง”, สโมสรนักศึกษา ม.เชียงใหม่ ออกแถลงการณ์เคียงข้างประชาชนผู้ยึดมั่นในวิถีทางประชาธิปไตย
ลงไปทางภาคใต้ นักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ ทั้งวิทยาเขตหาดใหญ่ และปัตตานี นัดจิบชา จุดเทียน เขียนป้ายผ้า เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก็ออกมาเคลื่อนไหวเช่นกัน
ในขณะที่ภาคตะวันออก อย่าง ม.บูรพา เป็นอีกหนึ่งแห่งที่นิสิตเคลื่อนไหวเป็นกลุ่มแรกๆ โดยสโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ออกแถลงการณ์ขอให้ประชาชน อย่าหมดศรัทธาในประชาธิปไตย นอกจากนี้ “กลุ่มโกงกาง” ร่วมจุดเทียนท่ามกลางความมืดมิด ประกาศว่าอยากเติบโตขึ้นในประเทศที่ดีกว่านี้
เขยิบไปในภาคอีสาน นักศึกษา ม.ขอนแก่น โดยกลุ่ม “กาลพฤกษ์” แถลงยืนยันขอพรวนดินให้ต้นไม้ชื่อประชาธิปไตยเติบใหญ่ ก่อนที่จะมีการรวมตัวในช่วงเที่ยงคืน จุดเทียนอาลัย “คะแนนเสียง” ของตนในวันเลือกตั้ง จนได้ ส.ส.ขอนแก่น เขต 1 จากพรรคอนาคตใหม่ที่สุดท้ายมีกระแสข่าวเตรียมซบพรรคร่วมรัฐบาล
ด้าน “สภานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ก็ออกแถลงการณ์เน้นย้ำความเป็นประชาธิปไตย
กลับมาที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร นิสิต “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ชวนให้ชาวเน็ตร่วมติดแฮชแท็ก #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป สื่อความหมายว่านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปสถาบันรั้วสามย่านอันเป็นหนึ่งในเสาหลักด้านการศึกษาของไทยจะยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยของประเทศ
นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรม “จุฬาฯรวมพล” ภายใต้แนวคิด “เพราะเกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ในช่วงเย็นของวันที่ 24 กุมภาพันธ์
หนึ่งในไฮไลต์คือพวงหรีด “RIP ประชาธิปไตย” โดยนิสิตอักษรศาสตร์ ที่มักถูกมองว่าถูกหล่อหลอมมาด้วยแนวคิด “อนุรักษนิยม” รวมถึงการขนป้ายผ้าของนิสิตนิเทศศาสตร์ที่เคยถูก “ปลด” จากอาคารในเวลาเพียง 10 นาที มาโชว์อีกครั้ง
ข้อความ “No Privacy No Security No Democracy จบ สวัสดี” วางบนพื้นอย่างโดดเด่น รายล้อมด้วยข้อความเขียนด้วยลายมือนิสิตคณะต่างๆ อาทิ ประชาธิปไตยที่ปลิดปลิว, ประชาธิปตาย, ยุบให้ตายก็ไม่เลือกคุณ, #ไม่มีประชาธิปไตยเราจะตายกันหมด และอีกมากมายที่พรั่งพรูจากใจเยาวชนซึ่งต่า “ต่อคิว” จับไมค์ขึ้น ”ไฮด์ปาร์ก” กลางลานข้างหอประชุม ประกาศลบล้างคำครหา “จุฬาฯไม่สนการเมือง”
“ขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยที่อนุญาตให้จัดงาน เมื่อ 80 ปีก่อน จุฬาฯเคยชุมนุมเรียกร้องให้อินโดจีนคืนดินแดนที่สูญเสียไป มีผู้เข้าร่วมกว่า 3,000 คน นั่นเป็นครั้งแรกของการตั้งขบวนนักศึกษา ต่อมาใน พ.ศ.2500 นิสิตจุฬาฯก็เป็นกลุ่มแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตย” คือส่วนหนึ่งของคำกล่าวจากปาก กนิษฐ์ วิเศษสิงห์ นิสิตประวัติศาสตร์ ชั้นปี 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยยังหยิบยกเพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” ของ จิตร ภูมิศักดิ์ อดีตนิสิตจุฬาฯ ผู้ถูก “โยนบก” มาขับร้องด้วย
ด้าน สิรภพ อัตโตหิ นิสิตชั้นปี 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกศิลปะการละคร มีคำกล่าวที่ชัดเจนในเหตุผลของการรวมตัวในครั้งนี้ว่า
“เรามารวมกันในที่นี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1.ความรัก ไม่ใช่รักพรรคอนาคตใหม่ แต่รักประชาธิปไตย
2.ความเกลียด ไม่ใช่เกลียดรัฐบาล แต่เกลียดความอยุติธรรม
การยุบพรรค อนค.ทำให้เห็นว่าประชาชนไร้ความหมาย คุณค่า สิทธิ เสียงปนะชาชนไม่มีค่า การเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นเพียงการชุบตัวให้เป็นคนใหม่เพื่อบอกว่ามาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เป็นเพียงข้ออ้างในการสืบทอดอำนาจ”
การรวมตัวของนิสิตนักศึกษานี้ ไม่เพียงสร้างความสนใจให้สังคม ทว่ายังอยู่ในสายตาและการรับรู้ของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงกับส่งสัญญาณแจ้งเตือนว่า “ระวังหมดอนาคต” สุดท้ายโดนนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โต้กลับบนเวทีว่า พวกตนมารวมตัวในวันนี้ ไม่กลัวว่าจะหมดอนาคต ถ้ากลัวคงไม่มา สิ่งที่กลัวคือประเทศชาติจะกลายเป็นเช่นนี้ อยากบอกผู้ใหญ่ว่าอำนาจเป็นของประชาชน ขอเรียกร้องความเป็นธรรม อนาคตไม่รู้จะเป็นอย่างไร แต่เยาวชนอย่างเราอย่าสิ้นหวัง
ในการรวมตัวของนิสิตจุฬาฯ ครั้งนี้ จึงได้เห็นนิสิต “หน้าใหม่” ที่เพิ่งจับไมค์ “ฉอดการเมือง” ตามภาษาวัยรุ่น ในขณะที่บางราย จับไมค์กล่าวเสียงสั่นจนเพื่อนนิสิตต้องตะโกนให้กำลังใจ
ตัดภาพไปยังรั้วเกษตรศาสตร์ ในงาน “KU ไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ” ยั่วล้อ “สลิ่ม” โดยนัยยะทางการเมือง โดยเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงผู้บริหาร คล้ายจงใจ “ดักคอ” แต่เนิ่นๆ ขอให้สนับสนุนการจัดงานดังกล่าว ซึ่งสุดท้ายกลายเป็นงานใหญ่ที่มีผู้คนเข้าร่วมเนืองแน่น นิสิตยังประกาศยื่น 3 ข้อเรียกร้อง ได้แก่
1. เปิดทางแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเป็นประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์
2. คืนความยุติธรรมให้ประชาชน
3. ยกเลิกคำสั่ง คสช.
อีกประเด็นน่าสนใจ คือการ “จัดตั้ง” กลุ่มต่างๆ ขึ้นเพื่อการนี้ อาทิ “ภาคีนักศึกษาศาลายา” ของนักศึกษา ม.มหิดล และ “กลุ่มคันนา” ของ ม.แม่โจ้ โดยมีนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มประกาศว่าเตรียมจะไปเข้าร่วมเพื่อผนึกกำลังต้านเผด็จการ ทวงคืนประชาธิปไตยและความยุติธรรม ทั้งยังเน้ยย้ำเตรียมจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เกิดป้ายข้อความมีแฮชแท็ก #seeyounextmob
เป็นปรากฏการณ์น่าจับตาในโฉมหน้าการเมืองไทยนับจากนี้เป็นต้นไป
อ.ธรรมศาสตร์ จี้สังคม กดดันรัฐบาล หยุดใช้ไอโอ สร้างความแตกแยกประชาชน
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_3645156
อ.ธรรมศาสตร์ จี้รัฐบาล หยุดใช้ไอโอ สร้างความแตกแยกประชาชน
กรณี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีพฤติกรรมยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชน ปัจจุบันหากเข้าโลกออนไลน์จะพบบัญชีรายชื่อปลอม เพจปลอม โดยเอารูปตัวการ์ตูน รูปต่างๆที่ไม่ใช่ตัวเองมาตั้งเป็นรูปโปรไฟล์ และออกปฏิบัติการคุกคามประชาชน
เราเรียกภารกิจแบบนี้ว่า “ไอโอ” หรือ ปฏิบัติการข่าวสาร เป้าหมายคือคุกคามประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาล โดยการขุดประวัติบุคคลนั้นมาโพสต์ประจานเหมือนพฤติกรรมการล่าแม่มด ใช้ถ้อยคำเกลียดชังด่าทอประชาชน
ต่อเรื่องดังกล่าว ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นระบุว่า
ประเด็น #IO เป็นประเด็นซีเรียสเพราะเป็นการใช้ภาษีของประชาชน สร้างความแตกแยกในสังคม ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดขังระหว่างคนในประเทศโดยรัฐเป็นผู้ทำเสียเอง ประเด็นไม่ควรจบในสภา แต่หลังจากนี้สังคมต้องช่วยกันกดดันให้รัฐยุติปฏิบัติการดังกล่าว
https://twitter.com/bkksnow/status/1232346053636050945