นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์
นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ หรือ นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์แอฟริกัน (อังกฤษ: Sacred ibis, African sacred ibis; ชื่อวิทยาศาสตร์: Threskiornis aethiopicus) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์นกช้อนหอยและนกปากช้อน (Threskiornithidae)
นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ มีความยาวลำตัวถึง 82 เซนติเมตร มีขายาวและมีปากโค้ง อาศัยอยู่ตามหนองบึง และทุ่งหญ้าใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยหากิน โดยอาหารหลัก ได้แก่ แมลง, กบ, หอย, ไส้เดือนดิน และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ทำรังวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง เป็นกลุ่มบนต้นไม้ใหญ่ร่วมกับนกจำพวกอื่น ๆ เช่น นกกระยาง
นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ กระจายพันธุ์ทั่วทวีปแอฟริกา ตั้งแต่แอฟริกาใต้สะฮาราลงมา และบางส่วนในตอนใต้ของอิรัก เป็นนกที่ชาวอียิปต์โบราณนับถือเป็นนกศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่มาของชื่อ โดยปรากฏอยู่เป็นประติมากรรม และซากที่ฝังในโถข้างเสาโอเบลิสค์ ปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วไปตามอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์ต่าง ๆ ทั่วทั้งทวีปแอฟริกา
เดิมที นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ไม่มีในประเทศไทย แต่ต่อมาสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ได้นำเข้ามาเลี้ยงไว้แบบเปิดในบริเวณสวนสัตว์ ทำให้นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์บินออกมาหากินตามทุ่งนาใกล้เคียง จึงทำให้กลายเป็นนกประจำถิ่นชานเมืองกรุงเทพมหานครไปแล้ว
ในสุสานอียิปต์โบราณมักเต็มไปด้วยซากมัมมี่นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ (Sacred ibis) ในช่วงเวลา 664 ก่อนคริสตกาลจนถึงคริสต์ศักราชที่ 250 ว่ากันว่า
ชาวอัยคุปต์จะดักจับนกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ (Sacred ibis) จากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติมาเป็นเครื่องสังเวยในพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าธอธ (Thoth) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในยุคนั้น
ในโบราณสถานทั่วอียิปต์ บรรดานกมัมมี่เหล่านี้จะเรียงซ้อนกันจากพื้นจดเพดานเรียกว่ามีการสละชีวิตนกป่าจำนวนหลายล้านตัว ทว่าที่ยังเป็นปริศนาก็คือวิธีที่ชาวอียิปต์โบราณจับนกได้จำนวนมาก บางตำราโบราณระบุว่าอาจมีการทำฟาร์มเลี้ยงนกในระยะยาว
ล่าสุด แซลลี่ วาเซฟ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ในออสเตรเลีย และเพื่อนร่วมงาน เผยว่าได้รวบรวมดีเอ็นเอของมัมมี่นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ 40 ตัวจากสุสานอียิปต์ 6 แห่งมีอายุราว 2,500 ปี และอีก 26 ตัวอย่างของนกยุคใหม่ทั่วทวีปแอฟริกา มาลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างประชากรนกป่ากับนกที่ถูกนำไปสังเวย
ภาพ : Wasef et al, 2019
นักวิจัยเผยว่านกถูกเลี้ยงในฟาร์มจะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ เพราะการผสมพันธุ์ของประชากรนกถูกจำกัด แต่ในทางตรงกันข้าม การศึกษานี้พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของมัมมี่นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์นั้นคล้ายคลึงกับพวกนกป่าในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่านกไม่ได้มาจากการทำฟาร์ม แต่เป็นการทำให้เชื่องในระยะสั้น ซึ่งนกน่าจะถูกเลี้ยงธรรมชาติหรือเลี้ยงไว้เฉพาะช่วงเวลาของปีที่มีพิธีบูชาเทพเจ้า.
(Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1710996)
จากผลการศึกษาที่พบว่า ชาวอียิปต์โบราณจับ “นกช้อนหอย” (Ibis) มาจากธรรมชาติเพื่อทำการบูชายัญและทำมัมมี่โดยเฉพาะ ถูกเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ PLOS ONE เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2019 โดย แซลลี่ วาเซฟ จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิน ประเทศออสเตรเลีย
เป็นที่ทราบกันดีว่า ภายในสุสานของชาวอียิปต์จะมีมัมมี่ของ “นกช้อนหอย” ซึ่งถือเป็นนกศักดิ์สิทธิ์รวมอยู่ด้วย (มีหลากหลายมาก แมว จระเข้ สุนัข) โดยในช่วง 664 ปีก่อนคริสต์กาล ถึง ค.ศ.250 การจับนกช้อนหอยมาบูชายัญเป็นพิธีกรรมสำหรับ “เทพธอท” (เทพผู้มีศรีษะเป็นนกช้อนหอย) เมื่อพิธีบูชายัญเสร็จสิ้นก็จะนำมาทำเป็นมัมมี่ภายหลัง
ซึ่งจากการค้บพบในโบราณสถานทั่วอียิปต์ มัมมี่นกเหล่านี้จะเรียงซ้อนกันจากพื้นสูงจรดเพดานยาวนับกิโลเมตรตามความยาวของสุสาน ซึ่งคาดว่า มัมมี่นกช้อนหอยทั้งหมด มีจำนวนมากกว่า “ล้านตัว” ส่วนวิธีที่ชาวอียิปต์จับนกได้เป็นจำนวนมากนั้น ยังคงเป็นปริศนา …
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล
(Cr.
https://www.flagfrog.com/mummy-egypt-long-time-record-animal/ โดย MagicNut)
นกส่งผีขวัญของอียิปต์
ในความเชื่อของอียิปต์โบราณวิญญาณมนุษย์แบ่งออกเป็นห้าส่วนได้แก่
๑. Ren, (ชื่อ)
๒ Ba, (อัตลักษณ์และบุคลิกภาพ - วิญญาณที่ออกจากร่างในรูปของนก)
๓ Ka, (แก่นแท้ของตัวตน - วิญญาณที่เวียนว่ายตายเกิด)
๔ Sheut, (เงา)
๕ Ib หรือ Jb (หัวใจ)
และนอกจากนี้ยังมีวิญญาณอื่นอีก เช่น Ash (ผี หรือวิญญาณที่มีอำนาจในรูปของนก) , Khat (จิตที่อยู่กับร่างกาย) ,
โดยที่วิญญาณแก่นแท้ของผู้ตาย Ka ออกจากศพ จะปรากฏตัวในรูปของ Ba กลายเป็นนก หรือตัวอรหัน (นกที่มีหัวเป็นคน) บินไปสู่โลกหลังความตาย เหมือนดังความฝัน
ระหว่างวิญญาณผู้ตายท่องเที่ยวไปทั่วในรูปของ Ba ญาติพี่น้องก็จะนำศพมาทำพิธีทางศาสนา และทำมัมมี่ จากนั้นจะนำร่างศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตายไปเก็บไว้ในสุสานหรือปีรามิด ซึ่งสร้างไว้เพื่อชี้ให้ดวงวิญญาณของผู้ตาย เดินทางไปสู่โลกหลังความตาย โดยชาวอียิปต์เชื่อว่าวันหนึ่งวิญญาณของผู้ตายในรูปนกหรือ Ba จะกลับมาเยี่ยมร่างกายเดิมของตน (โดยบินอยู่เหนือปิรามิด)
การสร้างปิรามิดของอียิปต์จึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากระบบจักรราศี และดาราศาสตร์ในสมัยนั้นที่ กลุ่มดาวโอไรออน ในอารยธรรมอียิปต์ถูกมองว่าเป็นเทพโอไซริส เทพหลังความตาย ผู้เป็นมัมมี่ตนแรกในตำนาน โดยชายาของพระองค์เทวีแห่งมนตรา "ไอซิส" เป็นผู้คิดค้นวิธีการทำมัมมี่เพื่อชุบชีวิตพระองค์หลังจากที่พระองค์ทุกพระอนุชาเทพ Seth ฆ่า
ดังนั้นชาวอียิปต์โบราณจึงรู้วิธีการทำมัมมี่ และสร้างปิรามิด ให้ทำมุมสัมพันธ์กับกลุ่มดาวโอไรออน และ ดาวเหนือ (Ursa minor , Reference from Virginia Davis . 1985) ซึ่งก็คือเทพ "ฮอรัส"
พญาเหยี่ยว (นกส่งผีขวัญของอียิปต์) คือเทพแห่งท้องฟ้าผู้พาดวงวิญญาณของคนตายนั่งเรือของเทพเจ้ารา (เทพแห่งดวงอาทิตย์) ข้ามแม่น้ำแห่งความตายไปสู่ยมโลก ที่ ๆ เทพอานูบิส (กลุ่มดาวสุนัขใหญ่) จะพาวิญญาณของผู้ตายไปหาเทพโอไซริส (กลุ่มดาวนายพราน) เพื่อชั่งความดีและความชั่วกับขนนกแห่งความจริง ต่อหน้าเทพโอไซริส ก่อนส่งวิญญาณผู้ตายไปยังนรก (โลกมืด) หรือสวรรค์ (โลกสว่าง)
นอกจากนี้อียิปต์ก็ยังมีความเชื่อเรื่องการกำเนิดใหม่ หรือกลับชาติมาเกิด โดยวิญญาณบริสุทธิหรือแก่นแท้ Ka อาจจะได้รับอนุญาติให้มาเกิดใหม่โดยมีนก Bennu หรือนกกระสาอียิปต์ (God of reborn) หรือนกฟินิกซ์แห่งอียิปต์ และเทพฮอรัส เป็นผู้นำหรือส่งดวงวิญญาณเหล่านั้นมาเกิดใหม่ โดยอาศัยเรือของสุริยเทพ "รา" ข้ามแม่น้ำแห่งชีวิตที่ขวางกันระหว่างโลกหลังความตายและโลกมนุษย์
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องแม่น้ำแห่งความตาย (ทางช้างเผือก ) เรือหรือนกส่งผีขวัญไปสู่โลกหน้า และการเวียนว่ายตายเกิดของคนสมัยโบราณถูกเชื่อมโยงกับดวงดาวบนท้องฟ้า และดาราศาสตร์มาก่อนยุคประวัติศาสตร์ทุกอารยธรรม เพียงแต่การตีความและนิทานที่สร้างขึ้นรับรองนั้นมีรายละเอียดต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม
ยมโลกของอียิปต์ตามความเชื่อ
ในยมโลกของอียิปต์ ผู้ตายจะต้องประกาศความดีที่ตนเคยทำเอาไว้ครั้งที่ตนยังมีชีวิตอยู่ พร้อมทั้งประกาศว่าตนไม่เคยทำความผิดบาป 42 ประการ เช่น ไม่เคยชักชวนให้ผู้อื่นเสียคน ไม่เคยใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่เคยกล่าวคำเท็จ ไม่เคยเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เคยฉ้อฉล ไม่เคยสั่งฆ่าผู้ใด ไม่เคยฆ่าใคร ไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นพระเจ้า และไม่เคยทำในสิ่งที่พระองค์รังเกียจ เป็นต้น ผู้ตายจะต้องประกาศสิ่งเหล่านี้ต่อหน้าเทพโอซิริส (Osiris)
หากสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นความจริง ขนนกของเทพีมะอาทจะหนักกว่าหัวใจของผู้ตาย นั่นก็ถือว่าผู้ตายได้ผ่านการทดสอบ และได้เข้าไปอยู่ในโลกสว่างของเทพเจ้า "รา" ที่เต็มไปด้วยแสงสว่าง ความสวยงาม และความอุดมสมบูรณ์ไม่รู้จักจบจักสิ้น
แต่ถ้าสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นเท็จ หัวใจของผู้ตายจะหนักกว่าขนนกของเทพีมะอาทหรือขนนกแห่งความจริงที่เรียกว่า "Maat" นั่นก็ถือว่าผู้ตายเป็นวิญญาณบาปไม่ได้ผ่านการทดสอบ และผู้นั้นจะถูกเผาด้วยไฟของ เทพอสูร "อามมัต" (Ammut) แล้ววิญญานของผู้นั้นจะตกลงไปสู่โลกมืด ดินแดนแห่งนั้นจะเป็นที่ๆ ผู้ตายจะไม่ได้รับแสงสว่าง และยังเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยจระเข้ และสัตว์ร้ายขนาดยักษ์มากมาย วิญญาณคนบาปจะได้รับความทุกข์ยาก และความอดอยากหิวโหย
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
Cr.
http://mycitipati.blogspot.com/2017/11/blog-post.html / เขียนโดย cittipati
นกฮูก ในอียิปต์โบราณ
ชาวอียิปต์โบราณเองเชื่อว่านกฮูกเป็นสัญญาณของลางร้าย หรือพลังด้านมืดของยมโลก ดังนั้นมัมมี่นกฮูกที่ขุดค้นพบ ก็จะอยู่ในสภาพถูกตัดหัวออกทั้งหมด
ในบางส่วนของโลกนกฮูกเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นลางร้าย พวกมันเกี่ยวข้องกับความตายและความล้มเหลว ในส่วนอื่น ๆ ของโลกพวกเขาทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ในสมัยกรีกโบราณเทพธิดาอธีนามักแสดงภาพร่วมกับนกฮูกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญา
Cr.
http://oknation.nationtv.tv/blog/iyakoop/2013/10/28/entry-1 / Posted by Iyakoop_Society
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
นกศักดิ์สิทธิ์ของอียิปต์โบราณ
นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ มีความยาวลำตัวถึง 82 เซนติเมตร มีขายาวและมีปากโค้ง อาศัยอยู่ตามหนองบึง และทุ่งหญ้าใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยหากิน โดยอาหารหลัก ได้แก่ แมลง, กบ, หอย, ไส้เดือนดิน และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ทำรังวางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง เป็นกลุ่มบนต้นไม้ใหญ่ร่วมกับนกจำพวกอื่น ๆ เช่น นกกระยาง
นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ กระจายพันธุ์ทั่วทวีปแอฟริกา ตั้งแต่แอฟริกาใต้สะฮาราลงมา และบางส่วนในตอนใต้ของอิรัก เป็นนกที่ชาวอียิปต์โบราณนับถือเป็นนกศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่มาของชื่อ โดยปรากฏอยู่เป็นประติมากรรม และซากที่ฝังในโถข้างเสาโอเบลิสค์ ปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วไปตามอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์ต่าง ๆ ทั่วทั้งทวีปแอฟริกา
เดิมที นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ไม่มีในประเทศไทย แต่ต่อมาสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ได้นำเข้ามาเลี้ยงไว้แบบเปิดในบริเวณสวนสัตว์ ทำให้นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์บินออกมาหากินตามทุ่งนาใกล้เคียง จึงทำให้กลายเป็นนกประจำถิ่นชานเมืองกรุงเทพมหานครไปแล้ว
ชาวอัยคุปต์จะดักจับนกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ (Sacred ibis) จากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติมาเป็นเครื่องสังเวยในพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าธอธ (Thoth) ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในยุคนั้น
ในโบราณสถานทั่วอียิปต์ บรรดานกมัมมี่เหล่านี้จะเรียงซ้อนกันจากพื้นจดเพดานเรียกว่ามีการสละชีวิตนกป่าจำนวนหลายล้านตัว ทว่าที่ยังเป็นปริศนาก็คือวิธีที่ชาวอียิปต์โบราณจับนกได้จำนวนมาก บางตำราโบราณระบุว่าอาจมีการทำฟาร์มเลี้ยงนกในระยะยาว
ล่าสุด แซลลี่ วาเซฟ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธ ในออสเตรเลีย และเพื่อนร่วมงาน เผยว่าได้รวบรวมดีเอ็นเอของมัมมี่นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ 40 ตัวจากสุสานอียิปต์ 6 แห่งมีอายุราว 2,500 ปี และอีก 26 ตัวอย่างของนกยุคใหม่ทั่วทวีปแอฟริกา มาลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมระหว่างประชากรนกป่ากับนกที่ถูกนำไปสังเวย
(Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1710996)
จากผลการศึกษาที่พบว่า ชาวอียิปต์โบราณจับ “นกช้อนหอย” (Ibis) มาจากธรรมชาติเพื่อทำการบูชายัญและทำมัมมี่โดยเฉพาะ ถูกเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ PLOS ONE เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2019 โดย แซลลี่ วาเซฟ จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิน ประเทศออสเตรเลีย
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล
(Cr.https://www.flagfrog.com/mummy-egypt-long-time-record-animal/ โดย MagicNut)
๑. Ren, (ชื่อ)
๒ Ba, (อัตลักษณ์และบุคลิกภาพ - วิญญาณที่ออกจากร่างในรูปของนก)
๓ Ka, (แก่นแท้ของตัวตน - วิญญาณที่เวียนว่ายตายเกิด)
๔ Sheut, (เงา)
๕ Ib หรือ Jb (หัวใจ)
และนอกจากนี้ยังมีวิญญาณอื่นอีก เช่น Ash (ผี หรือวิญญาณที่มีอำนาจในรูปของนก) , Khat (จิตที่อยู่กับร่างกาย) ,
โดยที่วิญญาณแก่นแท้ของผู้ตาย Ka ออกจากศพ จะปรากฏตัวในรูปของ Ba กลายเป็นนก หรือตัวอรหัน (นกที่มีหัวเป็นคน) บินไปสู่โลกหลังความตาย เหมือนดังความฝัน
ระหว่างวิญญาณผู้ตายท่องเที่ยวไปทั่วในรูปของ Ba ญาติพี่น้องก็จะนำศพมาทำพิธีทางศาสนา และทำมัมมี่ จากนั้นจะนำร่างศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตายไปเก็บไว้ในสุสานหรือปีรามิด ซึ่งสร้างไว้เพื่อชี้ให้ดวงวิญญาณของผู้ตาย เดินทางไปสู่โลกหลังความตาย โดยชาวอียิปต์เชื่อว่าวันหนึ่งวิญญาณของผู้ตายในรูปนกหรือ Ba จะกลับมาเยี่ยมร่างกายเดิมของตน (โดยบินอยู่เหนือปิรามิด)
การสร้างปิรามิดของอียิปต์จึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากระบบจักรราศี และดาราศาสตร์ในสมัยนั้นที่ กลุ่มดาวโอไรออน ในอารยธรรมอียิปต์ถูกมองว่าเป็นเทพโอไซริส เทพหลังความตาย ผู้เป็นมัมมี่ตนแรกในตำนาน โดยชายาของพระองค์เทวีแห่งมนตรา "ไอซิส" เป็นผู้คิดค้นวิธีการทำมัมมี่เพื่อชุบชีวิตพระองค์หลังจากที่พระองค์ทุกพระอนุชาเทพ Seth ฆ่า
ดังนั้นชาวอียิปต์โบราณจึงรู้วิธีการทำมัมมี่ และสร้างปิรามิด ให้ทำมุมสัมพันธ์กับกลุ่มดาวโอไรออน และ ดาวเหนือ (Ursa minor , Reference from Virginia Davis . 1985) ซึ่งก็คือเทพ "ฮอรัส"
พญาเหยี่ยว (นกส่งผีขวัญของอียิปต์) คือเทพแห่งท้องฟ้าผู้พาดวงวิญญาณของคนตายนั่งเรือของเทพเจ้ารา (เทพแห่งดวงอาทิตย์) ข้ามแม่น้ำแห่งความตายไปสู่ยมโลก ที่ ๆ เทพอานูบิส (กลุ่มดาวสุนัขใหญ่) จะพาวิญญาณของผู้ตายไปหาเทพโอไซริส (กลุ่มดาวนายพราน) เพื่อชั่งความดีและความชั่วกับขนนกแห่งความจริง ต่อหน้าเทพโอไซริส ก่อนส่งวิญญาณผู้ตายไปยังนรก (โลกมืด) หรือสวรรค์ (โลกสว่าง)
นอกจากนี้อียิปต์ก็ยังมีความเชื่อเรื่องการกำเนิดใหม่ หรือกลับชาติมาเกิด โดยวิญญาณบริสุทธิหรือแก่นแท้ Ka อาจจะได้รับอนุญาติให้มาเกิดใหม่โดยมีนก Bennu หรือนกกระสาอียิปต์ (God of reborn) หรือนกฟินิกซ์แห่งอียิปต์ และเทพฮอรัส เป็นผู้นำหรือส่งดวงวิญญาณเหล่านั้นมาเกิดใหม่ โดยอาศัยเรือของสุริยเทพ "รา" ข้ามแม่น้ำแห่งชีวิตที่ขวางกันระหว่างโลกหลังความตายและโลกมนุษย์
เป็นไปได้ว่าความเชื่อเรื่องแม่น้ำแห่งความตาย (ทางช้างเผือก ) เรือหรือนกส่งผีขวัญไปสู่โลกหน้า และการเวียนว่ายตายเกิดของคนสมัยโบราณถูกเชื่อมโยงกับดวงดาวบนท้องฟ้า และดาราศาสตร์มาก่อนยุคประวัติศาสตร์ทุกอารยธรรม เพียงแต่การตีความและนิทานที่สร้างขึ้นรับรองนั้นมีรายละเอียดต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม
หากสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นความจริง ขนนกของเทพีมะอาทจะหนักกว่าหัวใจของผู้ตาย นั่นก็ถือว่าผู้ตายได้ผ่านการทดสอบ และได้เข้าไปอยู่ในโลกสว่างของเทพเจ้า "รา" ที่เต็มไปด้วยแสงสว่าง ความสวยงาม และความอุดมสมบูรณ์ไม่รู้จักจบจักสิ้น
แต่ถ้าสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นเท็จ หัวใจของผู้ตายจะหนักกว่าขนนกของเทพีมะอาทหรือขนนกแห่งความจริงที่เรียกว่า "Maat" นั่นก็ถือว่าผู้ตายเป็นวิญญาณบาปไม่ได้ผ่านการทดสอบ และผู้นั้นจะถูกเผาด้วยไฟของ เทพอสูร "อามมัต" (Ammut) แล้ววิญญานของผู้นั้นจะตกลงไปสู่โลกมืด ดินแดนแห่งนั้นจะเป็นที่ๆ ผู้ตายจะไม่ได้รับแสงสว่าง และยังเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยจระเข้ และสัตว์ร้ายขนาดยักษ์มากมาย วิญญาณคนบาปจะได้รับความทุกข์ยาก และความอดอยากหิวโหย
ขอบคุณที่มาของข้อมูล
Cr.http://mycitipati.blogspot.com/2017/11/blog-post.html / เขียนโดย cittipati
ในบางส่วนของโลกนกฮูกเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นลางร้าย พวกมันเกี่ยวข้องกับความตายและความล้มเหลว ในส่วนอื่น ๆ ของโลกพวกเขาทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ในสมัยกรีกโบราณเทพธิดาอธีนามักแสดงภาพร่วมกับนกฮูกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญา
Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/iyakoop/2013/10/28/entry-1 / Posted by Iyakoop_Society
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)