“ช่อ” เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ อ้างรัฐบาลไทยอาจเอี่ยวทุจริต 1MDB
https://www.thairath.co.th/news/politic/1778288
“ช่อ พรรณิการ์” เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ ร่ายยาวอ้างรัฐบาล “บิ๊กตู่” อาจเกี่ยวโยงทุจริต 1MDB อาชญากรรมฟอกเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อมั่น ส.ส.ที่เหลือยังคงอุดมการณ์เดียวกัน
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 ก.พ. 2563 น.ส.
พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งหลังถูกยุบพรรคปัจจุบันอยู่ในนาม คณะอนาคตใหม่ เปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษ ณ ศูนย์ประสานงานอนาคตใหม่ ฝั่งธนบุรี และการมีถ่ายทอดสดผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
ถือเป็นเรื่องดีได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อหน้าประชาชน เพราะเป็นเวลากว่า 6 ปี 4 เดือนที่ไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และมีบางเรื่องที่ถูกซุกไว้ใต้พรม ซึ่งฝ่ายค้านจะได้อภิปรายในสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 24-27 ก.พ.นี้
น.ส.
พรรณิการ์ ระบุอ้างว่ารัฐบาล พล.อ.
ประยุทธ์ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีอาชญากรรมการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง 1MDB (1 Malaysia Development Berhad) หรือ
กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของมาเลเซีย มีการก่อหนี้จำนวนมากในเวลา 6 ปี รวมถึงเกิดการทุจริตยักยอกเงินจากกองทุน 1MDB และเชื่อว่า จะเป็นวันเริ่มต้นที่ประชาชนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล พล.อ.
ประยุทธ์ ตอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ น.ส.
พรรณิการ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการย้ายพรรคของ ส.ส. ที่เหลือ โดยหวังว่า ส.ส. จะยังเดินไปในกลุ่มก้อนบนอุดมการณ์เดียวกัน แต่การตัดสินใจก็เป็นสิทธิของ ส.ส. จึงได้แต่เชื่อมั่นและหวังว่าจะเดินไปร่วมกัน ส่วนจะไปอยู่พรรคไหนอย่างไรคงต้องไปถามแต่ละคน ขณะที่คณะอนาคตใหม่ก็จะยังเดินหน้าต่อไป รณรงค์เพื่อให้นโยบายที่เคยหาเสียงให้เป็นจริง แต่เป็นการทำในฐานะประชาชนที่มีความคาดหวังทางการเมือง มีความคิดทางการเมืองเหมือนกันมารวมตัวกัน รณรงค์ทางความคิดกับคนทุกกลุ่มทุกวัย และคณะอนาคตใหม่ จะขอผลักดันการเลือกตั้งท้องถิ่นต่อไปด้วย รวมถึงอาจจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ อีก.
https://www.facebook.com/FWPthailand/videos/3344366032260029/
'เรืองไกร' เตรียมส่งข้อมูลปัญหากม. จัดตั้งศาลรธน. ถึงสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_1997110
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นาย
เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่า จากกรณีสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ตอนหนึ่งว่า อาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิผู้ลงคะแนนเสียงกว่า 6 ล้านคนที่เลือกพรรคอนค. ทำให้เกิดคำถามว่า พวกเขาจะยังคงมีสิทธิ์มีเสียงในระบบการเลือกตั้งของไทยหรือไม่นั้น ตนจึงทำหนังสือส่งทางจดหมายอีเอ็มเอส ถึงนาย
ไมเคิล จี ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์เพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับแถลงการณ์ของสถานทูต โดยให้ข้อมูลไปว่า ศาลรธน. ของไทยยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน อีกทั้งในหนังสือดังกล่าวตนได้ส่งสำเนาหนังสือสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่เคยเสนอให้คณะรัฐมนตรีในยุคคสช.ตราเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. … แต่ต่อมา ก็ขอถอนร่างพ.ร.บ. นั้นกลับไป จวบจนถึงบัดนี้ ก็ไม่มีพ.ร.บ.จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญบังคับใช้ ทำให้ มีปัญหาว่า เมื่อยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล แล้ว ศาลรธน. ใช้อำนาจใดมาสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งคำวินิจฉัยต่างๆ ที่กระทำกันมาตั้งแต่ในอดีต จะถือเป็นโมฆะหรือไม่
นายเรืองไกร กล่าวว่า ซึ่งกรณีดังกล่าว รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับคือ 2540 , 2550 และ 2560 ล้วนบัญญัติถ้อยคำไว้ เหมือนกันคือ “
บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ” โดย รธน.2540 อยู่ในมาตรา 234 ซึ่งเป็นครั้งแรกให้กำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ ต่อมารัฐธรรมนูญ 2550 ปรากฏในมาตรา 198 แล้วฉบับปัจจุบันคือ 2560 อยู่ในมาตรา 189 การบัญญัติไว้แค่นี้ก็เพื่อสร้างความชอบธรรมทางกฎหมายว่า องค์กรหรือสถาบันศาล ที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยต้องมีกฏหมายจัดตั้ง โดยหลักแล้ว การตรากฎหมายเป็นอำนาจ ของฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อย่างไรก็ตามศาลยุติธรรม ศาลทหารและศาลปกครองต่างก็เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นโดยมีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ ยกเว้น ศาลรธน.ที่ยังไม่มี เมื่อเป็นดังนี้ การใช้อำนาจใดๆของศาลรัฐธรรมนูญจึงอาจถือได้ว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
นาย
เรืองไกร กล่าวอีกว่า ข้อมูลหลักฐานที่ส่งให้สถานทูตสหรัฐมี 2 ชิ้นคือสำเนาหนังสือลงนามโดยนาย
นุรักษ์ มาประณีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่เสนอ ร่างพ.ร.บ. จัดตั้งศาลรธน.และวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ… ส่งถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 29 กันยายน 2557 หลังพลเอก
ประยุทธ์ หัวหน้าคสช.ยึดอำนาจ 4 เดือน เพื่อให้ ครม. ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตราเป็นกฎหมาย แต่อีก 1 ปี 5 เดือนถัดมา นาย
นุรักษ์ได้ส่งหนังสือไปถึงเลขาธิการ ครม. ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ขอถอนร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกาไปเพื่อยกร่างใหม่ แต่จวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด
“
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่แล้ว สำคัญชนิดคอขาดบาดตายหากไม่มีกฎหมายจัดตั้งศาล รธน. ดังนั้น การใช้อำนาจที่ผ่านมาอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อบุคคลและองค์กร มานานหลายปีแล้ว เช่นยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตัดสิทธิ์นักการเมืองตัดสิทธิ์การเป็นส.ส. ของนายธนาธร ล่าสุด ยุบพรรคอนาคตใหม่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ใครจะรับผิดชอบ บ้านเมืองปกครองแบบนิติรัฐจริงหรือ ใครจะต้องเป็นผู้ตอบคำถามนี้” นาย
เรืองไกรกล่าว
JJNY : ช่ออภิปรายนอกสภาฯ รบ.ไทยอาจเอี่ยว1MDB/เรืองไกรเตรียมส่งข้อมูลถึงสถานฑูตU.S./จ่อแจ้งความพี่ชายปารีณา/แล้งลาม23จว.
https://www.thairath.co.th/news/politic/1778288
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 ก.พ. 2563 น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งหลังถูกยุบพรรคปัจจุบันอยู่ในนาม คณะอนาคตใหม่ เปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษ ณ ศูนย์ประสานงานอนาคตใหม่ ฝั่งธนบุรี และการมีถ่ายทอดสดผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า
ถือเป็นเรื่องดีได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อหน้าประชาชน เพราะเป็นเวลากว่า 6 ปี 4 เดือนที่ไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และมีบางเรื่องที่ถูกซุกไว้ใต้พรม ซึ่งฝ่ายค้านจะได้อภิปรายในสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 24-27 ก.พ.นี้
น.ส.พรรณิการ์ ระบุอ้างว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีอาชญากรรมการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง 1MDB (1 Malaysia Development Berhad) หรือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของมาเลเซีย มีการก่อหนี้จำนวนมากในเวลา 6 ปี รวมถึงเกิดการทุจริตยักยอกเงินจากกองทุน 1MDB และเชื่อว่า จะเป็นวันเริ่มต้นที่ประชาชนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ตอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ น.ส.พรรณิการ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการย้ายพรรคของ ส.ส. ที่เหลือ โดยหวังว่า ส.ส. จะยังเดินไปในกลุ่มก้อนบนอุดมการณ์เดียวกัน แต่การตัดสินใจก็เป็นสิทธิของ ส.ส. จึงได้แต่เชื่อมั่นและหวังว่าจะเดินไปร่วมกัน ส่วนจะไปอยู่พรรคไหนอย่างไรคงต้องไปถามแต่ละคน ขณะที่คณะอนาคตใหม่ก็จะยังเดินหน้าต่อไป รณรงค์เพื่อให้นโยบายที่เคยหาเสียงให้เป็นจริง แต่เป็นการทำในฐานะประชาชนที่มีความคาดหวังทางการเมือง มีความคิดทางการเมืองเหมือนกันมารวมตัวกัน รณรงค์ทางความคิดกับคนทุกกลุ่มทุกวัย และคณะอนาคตใหม่ จะขอผลักดันการเลือกตั้งท้องถิ่นต่อไปด้วย รวมถึงอาจจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาฯ อีก.
https://www.facebook.com/FWPthailand/videos/3344366032260029/
'เรืองไกร' เตรียมส่งข้อมูลปัญหากม. จัดตั้งศาลรธน. ถึงสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_1997110
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่า จากกรณีสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยออกแถลงการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ตอนหนึ่งว่า อาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิผู้ลงคะแนนเสียงกว่า 6 ล้านคนที่เลือกพรรคอนค. ทำให้เกิดคำถามว่า พวกเขาจะยังคงมีสิทธิ์มีเสียงในระบบการเลือกตั้งของไทยหรือไม่นั้น ตนจึงทำหนังสือส่งทางจดหมายอีเอ็มเอส ถึงนายไมเคิล จี ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์เพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับแถลงการณ์ของสถานทูต โดยให้ข้อมูลไปว่า ศาลรธน. ของไทยยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน อีกทั้งในหนังสือดังกล่าวตนได้ส่งสำเนาหนังสือสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่เคยเสนอให้คณะรัฐมนตรีในยุคคสช.ตราเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. … แต่ต่อมา ก็ขอถอนร่างพ.ร.บ. นั้นกลับไป จวบจนถึงบัดนี้ ก็ไม่มีพ.ร.บ.จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญบังคับใช้ ทำให้ มีปัญหาว่า เมื่อยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล แล้ว ศาลรธน. ใช้อำนาจใดมาสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งคำวินิจฉัยต่างๆ ที่กระทำกันมาตั้งแต่ในอดีต จะถือเป็นโมฆะหรือไม่
นายเรืองไกร กล่าวว่า ซึ่งกรณีดังกล่าว รัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับคือ 2540 , 2550 และ 2560 ล้วนบัญญัติถ้อยคำไว้ เหมือนกันคือ “บรรดาศาลทั้งหลายจะตั้งขึ้นได้ ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ” โดย รธน.2540 อยู่ในมาตรา 234 ซึ่งเป็นครั้งแรกให้กำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ ต่อมารัฐธรรมนูญ 2550 ปรากฏในมาตรา 198 แล้วฉบับปัจจุบันคือ 2560 อยู่ในมาตรา 189 การบัญญัติไว้แค่นี้ก็เพื่อสร้างความชอบธรรมทางกฎหมายว่า องค์กรหรือสถาบันศาล ที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยต้องมีกฏหมายจัดตั้ง โดยหลักแล้ว การตรากฎหมายเป็นอำนาจ ของฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อย่างไรก็ตามศาลยุติธรรม ศาลทหารและศาลปกครองต่างก็เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นโดยมีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ ยกเว้น ศาลรธน.ที่ยังไม่มี เมื่อเป็นดังนี้ การใช้อำนาจใดๆของศาลรัฐธรรมนูญจึงอาจถือได้ว่า ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
นายเรืองไกร กล่าวอีกว่า ข้อมูลหลักฐานที่ส่งให้สถานทูตสหรัฐมี 2 ชิ้นคือสำเนาหนังสือลงนามโดยนายนุรักษ์ มาประณีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่เสนอ ร่างพ.ร.บ. จัดตั้งศาลรธน.และวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ… ส่งถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 29 กันยายน 2557 หลังพลเอกประยุทธ์ หัวหน้าคสช.ยึดอำนาจ 4 เดือน เพื่อให้ ครม. ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตราเป็นกฎหมาย แต่อีก 1 ปี 5 เดือนถัดมา นายนุรักษ์ได้ส่งหนังสือไปถึงเลขาธิการ ครม. ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ขอถอนร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกาไปเพื่อยกร่างใหม่ แต่จวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด
“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่แล้ว สำคัญชนิดคอขาดบาดตายหากไม่มีกฎหมายจัดตั้งศาล รธน. ดังนั้น การใช้อำนาจที่ผ่านมาอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อบุคคลและองค์กร มานานหลายปีแล้ว เช่นยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน ยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตัดสิทธิ์นักการเมืองตัดสิทธิ์การเป็นส.ส. ของนายธนาธร ล่าสุด ยุบพรรคอนาคตใหม่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ใครจะรับผิดชอบ บ้านเมืองปกครองแบบนิติรัฐจริงหรือ ใครจะต้องเป็นผู้ตอบคำถามนี้” นายเรืองไกรกล่าว