สวัสดีค่า..วันนี้เจ้าของกระทู้จะมาแชร์วิธีบริหารเพื่อบรรเทาอาการขาเก บางทีเขาก็เรียกกันว่า
"ขาฉิ่ง " ทำไมถึงเรียกว่าขาฉิ่งก็ไม่รู้เหมือนกันนะคะ คือ เวลาที่เรายืนตรงเข่าชิดกัน แต่จะมีช่องว่างระหว่างข้อเท้าไม่สามารถเอาข้อเท้ามาชิดกันได้ เราเรียก ภาวะที่ เข่าติดกัน แต่ข้อเท้าห่างกันแบบนี้ว่า"ขาเก", "ขาฉิ่ง" หรือ ขารูปตัวX (เอ็กซ์) ภาษาอังกฤษ เรียก "Knock knees" ค่ะ
รูปจากinternet☝
บางคนอาจจะไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่า
มีภาวะ "ขาฉิ่ง" อยู่ ลองสังเกตตัวเองดูว่า
สามารถยืนโดยเอาข้อเท้าเข้ามาชิดติดกันได้
หรือไม่ แล้วก็คนที่มีภาวะนี้ เวลาที่ย่อเข่าลงจะนั่งเก้าอี้ หรือทำท่า "สควอท" เข่า 2 ข้างจะล้มเข้ามาหากัน
สาเหตุของภาวะเข่าชนกันหรือ Knock knees
นะคะ เจ้าของกระทู้ จะพูดถึงเฉพาะในกรณีของผู้ใหญ่เท่านั้น เพราะถ้าในเด็กจะมีช่วงที่เป็นพัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโตของกระดูกซึ่งอาจจะมีภาวะขาโก่งตอนอายุประมาณ 2 ขวบหลังจากนั้นอาจจะมีภาวะขาเกต่อได้แต่จะเป็นจนถึงอายุ 7 ขวบ ขาจะเริ่มกลับมาตรงตามปกติถ้าเกิน 7 ขวบแล้วยังไม่หายก็ควรจะพาไปปรึกษาคุณหมอค่ะ
ส่วนในกรณีของผู้ใหญ่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
1.ยีนส์หรือพันธุกรรม
2.โรคเกี่ยวกับกระดูก หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
3. อุ้งเท้าแบน คนที่มีอุ้งเท้าแบนจะมีโอกาสเกิดภาวะเขาชนกันได้มากกว่าปกติ
4. น้ำหนักเกิน
5. กล้ามเนื้อหน้าขาอ่อนแอ, กล้ามเนื้อสะโพกอ่อนแอ, และกล้ามเนื้อต้นขาด้านในที่มันตึงตัวมากๆ จนดึงเข่าของเราให้เข้ามาชิดกัน
วิธีแก้ไข
เราก็ต้องแก้ไขให้ตรงสาเหตุ
-ถ้าเกี่ยวกับการเจ็บป่วยก็ปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพ
-ถ้าน้ำหนักเกินก็ต้องลดน้ำหนัก
-ถ้ามีอุ้งเท้าแบนก็ต้องหารองเท้าโดยเฉพาะสำหรับคนเท้าแบน หรือใส่อุปกรณ์เสริมถุงเท้า
-และวิธีที่ช่วยได้มากที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะบริหารร่างกาย หรือฝึกโยคะก็ได้ประโยชน์ทั้งสิ้นค่ะ
เจ้าของกระทู้จะขอแนะนำ 6 ท่าบริหาร
ที่จะช่วยปรับคืนความสมดุล ให้กับกล้ามเนื้อ และจะช่วยให้ขากลับมาตรงมากขึ้น
โดยจะต้องหมั่นฝึกบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง จะใช้เวลานานแค่ไหนขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน บางคน 3 สัปดาห์ก็เริ่มเห็นความแตกต่าง บางคนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนจนถึงหลายๆเดือน ฝึกไปเรื่อยๆไม่มีผลเสียอะไร
อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ทำให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นค่ะ
1. Ardha Uttanasana
2. Uttanasan-Squat & Rise Pose
3. Side Lunge
4. Reclining Bound Angle
5. Clam shell excercise
6. Anantasan- Lord Vishnu Pose
ชมวิธีฝึกโดยละเอียดได้ตามคลิปค่ะ
6ท่าบริหาร แก้ไขภาวะขาฉิ่ง/ ขารูปตัวX /เข่าชนกันแต่ข้อเท้าห่างกัน
สวัสดีค่า..วันนี้เจ้าของกระทู้จะมาแชร์วิธีบริหารเพื่อบรรเทาอาการขาเก บางทีเขาก็เรียกกันว่า
"ขาฉิ่ง " ทำไมถึงเรียกว่าขาฉิ่งก็ไม่รู้เหมือนกันนะคะ คือ เวลาที่เรายืนตรงเข่าชิดกัน แต่จะมีช่องว่างระหว่างข้อเท้าไม่สามารถเอาข้อเท้ามาชิดกันได้ เราเรียก ภาวะที่ เข่าติดกัน แต่ข้อเท้าห่างกันแบบนี้ว่า"ขาเก", "ขาฉิ่ง" หรือ ขารูปตัวX (เอ็กซ์) ภาษาอังกฤษ เรียก "Knock knees" ค่ะ
รูปจากinternet☝
บางคนอาจจะไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่า
มีภาวะ "ขาฉิ่ง" อยู่ ลองสังเกตตัวเองดูว่า
สามารถยืนโดยเอาข้อเท้าเข้ามาชิดติดกันได้
หรือไม่ แล้วก็คนที่มีภาวะนี้ เวลาที่ย่อเข่าลงจะนั่งเก้าอี้ หรือทำท่า "สควอท" เข่า 2 ข้างจะล้มเข้ามาหากัน
สาเหตุของภาวะเข่าชนกันหรือ Knock knees
นะคะ เจ้าของกระทู้ จะพูดถึงเฉพาะในกรณีของผู้ใหญ่เท่านั้น เพราะถ้าในเด็กจะมีช่วงที่เป็นพัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโตของกระดูกซึ่งอาจจะมีภาวะขาโก่งตอนอายุประมาณ 2 ขวบหลังจากนั้นอาจจะมีภาวะขาเกต่อได้แต่จะเป็นจนถึงอายุ 7 ขวบ ขาจะเริ่มกลับมาตรงตามปกติถ้าเกิน 7 ขวบแล้วยังไม่หายก็ควรจะพาไปปรึกษาคุณหมอค่ะ
ส่วนในกรณีของผู้ใหญ่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
1.ยีนส์หรือพันธุกรรม
2.โรคเกี่ยวกับกระดูก หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง
3. อุ้งเท้าแบน คนที่มีอุ้งเท้าแบนจะมีโอกาสเกิดภาวะเขาชนกันได้มากกว่าปกติ
4. น้ำหนักเกิน
5. กล้ามเนื้อหน้าขาอ่อนแอ, กล้ามเนื้อสะโพกอ่อนแอ, และกล้ามเนื้อต้นขาด้านในที่มันตึงตัวมากๆ จนดึงเข่าของเราให้เข้ามาชิดกัน
วิธีแก้ไข
เราก็ต้องแก้ไขให้ตรงสาเหตุ
-ถ้าเกี่ยวกับการเจ็บป่วยก็ปรึกษาคุณหมอหรือนักกายภาพ
-ถ้าน้ำหนักเกินก็ต้องลดน้ำหนัก
-ถ้ามีอุ้งเท้าแบนก็ต้องหารองเท้าโดยเฉพาะสำหรับคนเท้าแบน หรือใส่อุปกรณ์เสริมถุงเท้า
-และวิธีที่ช่วยได้มากที่สุดอีกวิธีหนึ่งก็คือการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะบริหารร่างกาย หรือฝึกโยคะก็ได้ประโยชน์ทั้งสิ้นค่ะ
เจ้าของกระทู้จะขอแนะนำ 6 ท่าบริหาร
ที่จะช่วยปรับคืนความสมดุล ให้กับกล้ามเนื้อ และจะช่วยให้ขากลับมาตรงมากขึ้น
โดยจะต้องหมั่นฝึกบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง จะใช้เวลานานแค่ไหนขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน บางคน 3 สัปดาห์ก็เริ่มเห็นความแตกต่าง บางคนอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเดือนจนถึงหลายๆเดือน ฝึกไปเรื่อยๆไม่มีผลเสียอะไร
อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ทำให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นค่ะ
1. Ardha Uttanasana
2. Uttanasan-Squat & Rise Pose
3. Side Lunge
4. Reclining Bound Angle
5. Clam shell excercise
6. Anantasan- Lord Vishnu Pose
ชมวิธีฝึกโดยละเอียดได้ตามคลิปค่ะ