เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นในยุโรปกองทัพเยอรมัน (แวร์มัคท์) สามารถบุกตะลุยและพิชิตดินแดนยุโรปได้เกือบทั้งหมดเหลือแต่เพียงเกาะอังกฤษที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพเยอรมันต่อไป มีเพียงทะเลที่ขวางกั้นไม่ให้หน่วยรถถังแพนเซอร์ที่เกรียงไกรเข้ามาบดขยี้เกาะอังกฤษสงครามยังคงลุกลามต่อไปถึงแอฟริกาเหนือและท้ายที่สุดเมื่อประสบความล้มเหลวในการถล่มเกาะอังกฤษด้วยกองทัพอากาศฮิตเลอร์ก็เปิดปฏิบัติการบาร์บารอสซาเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตก่อนที่จุดเปลี่ยนของสงครามจะเกิดขึ้นเมื่อกองทัพเยอรมันพ่ายแพ้ที่สตาลินกราดกลายเป็นจุดพลิกผันของสงครามรวมกับการที่อเมริกาเข้าร่วมสงครามจากการถูกโจมตีโดยญี่ปุ่นที่ Pearl Harbor ทำให้สถานการณ์ของเยอรมันจากที่เคยได้เปรียบกลายเป็นเสียเปรียบจนพ่ายแพ้ในที่สุด
ยุโรปที่จุดสูงสุดของการยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1942
ในระหว่างที่กองทัพเยอรมันยังคงยึดครองประเทศทางยุโรปตะวันตกและบางส่วนของทางตะวันออกพวกเขาสามารถยึดอาวุธจากข้าศึกที่ยอมแพ้หรือถูกสังหารได้จำนวนมากและหนึ่งในอาวุธที่มีประโยชน์มากก็คือปืนพกโดยในบทนี้จะนำเสนอปืนพกจากชาติต่างๆที่ถูกกองทัพเยอรมันยึดครอง ปืนเหล่านี้อยู่ภายใต้กันทดสอบเเละขึ้นทะเบียนโดย Heereswaffenamt (Army Weapons Department) โดยมีการลงเลขประจำการ Fremdgeräte (Foreign Equipment) ไว้ในระบบอาวุธของกองทัพเยอรมัน ถึงแม้ว่าเยอรมันจะมีปืนพกที่ผลิตให้กับกองทัพอยู่แล้วก็คือรุ่นพาราเบลลั่ม P08 หรือ Walther P38 แต่ความต้องการจะใช้ปืนพกนั้นก็มีมากสำหรับ พลปืนกล พลประจำยานยนต์และยานเกราะแบบต่างๆ นักบินของกองทัพอากาศรวมไปถึงนายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตรต่างๆอีกความต้องการปืนพกนั้นมีมากไม่แพ้กับปืนยาวชนิดต่างๆนั่นทำให้ปืนพกทุกรุ่นที่ยึดได้นั้นมีประโยชน์ จึงต้องนำมาขึ้นทะเบียนและนำมาใช้อย่างเป็นระบบโดยเกือบจะทั้งหมดของปืนพกเหล่านี้ถูกแจกจ่ายไปตามความต้องการของแต่ละเหล่าทัพของแวร์มัคท์ ซึ่งผมขอแนะนำให้รู้จักองค์ประกอบของกองทัพเยอรมัน (แวร์มัคท์) ก่อนนั่นคือประกอบด้วยแฮร์ (กองทัพบก) ครีกซมารีเนอ (กองทัพเรือ) ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) นอกจากนี้ยังมีองค์กรกึ่งทหาร วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นหน่วยกองกำลังทหารติดอาวุธของพรรคนาซีในหน่วยองค์กรชุทซ์ชตัฟเฟิลหรือหน่วยเอ็สเอ็ส ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของคนในนาซีเยอรมนีพร้อมกับอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนคือดินแดนที่ถูกยึดครองและดินแดนที่ไม่ถูกยึดครองซึ่งโดยพฤตินัย วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นเหล่าทัพที่สี่ของแวร์มัคท์ โดยมีกำลังพลถึง 900,000 นายใน 38 กองพลปฏิบัติการในหลายบทบาทคือ กองพลยานเกราะ (Panzerkorps) พันท์เซอร์เกรนาเดียร์ (Panzergrenadier-ทหารราบยานเกราะ) ทหารม้า (Kavallerie) ทหารราบ (Infanterie) ทหารภูเขา (Gebirgsjäger) เเละ ตำรวจ (Polizei)
ปืนพกจากต่างชาติที่มีประจำการในแวร์มัคท์จะแบ่งตามประเทศที่ผลิต-ซื้อมาใช้งานโดยเริ่มจาก...
สาธารณรัฐออสเตรีย (Republik Österreich) ออสเตรียผนวกเข้าสู่เยอรมนีในปี 1938-1945
(ปืนพกจากออสเตรียมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (ö) เเต่บางรุ่นก็ไม่มี)
1. Steyr-Pistole 34 (Steyr M1908/34) 7.65 mm. (.32acp)
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 7+1 นัด
2. Pistole 12 (ö) (ex Austrian M1912)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Steyr เเละ 9×19 mm. Parabellum ( Pistole 12 (ö) umg ใช้กระสุน 9มม.พาราเบลลั่ม ) บรรจุกระสุน 8 นัด
ราชอาณาจักรเบลเยียม (Königreich Belgien) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1940-1944
( ปืนพกจากเบลเยียมมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (b) )
1. Pistole 620 (b) FN 1900
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 7+1 นัด
2. Pistole 621(b) - Belgian FN 1910
ขนาดกระสุน 9×17 mm. Browning (.380 ACP) บรรจุกระสุน 6+1 นัด
หมายเหตุ: ในเยอรมันมีการเรียกกระสุน .380 ACP ว่า 9 mm. Kurz
3. Pistole 622 (b) Colt Model 1903 Pocket Hammerless ที่สั่งซื้อมาประจำการในกองทัพเบลเยียม
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
4. Pistole 622(b) FN 1903
ขนาดกระสุน 9×20 mm. Browning Long บรรจุกระสุน 7+1 นัด (มีเเม็กกาซีนที่เพิ่มความจุกระสุนเป็น 10 นัดด้วย)
5. Pistole 640 (b) FN Browning Hi-Power (กว่า 300,000 กระบอกที่ผลิตให้แวร์มัคท์โดยมีตราอินทรีย์ของเยอรมันด้วย)
ขนาดกระสุน 9×19mm Parabellum บรรจุกระสุน 13+1 นัด
6. Pistole 626 (b) FN 1910/22 ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) - Pistole 641 (b) FN 1910/22 ขนาดกระสุน 9×17 mm. Browning (.380 ACP)
รุ่นที่ใช้กระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุ 9+1 นัด-รุ่นที่ใช้กระสุน 9×17mm Browning (.380 ACP) บรรจุ 8+1 นัด
สาธารณรัฐเชคโกสโลวาเกีย (Tschechoslowakische Republik) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1939-1945
( ปืนพกจากเชคโกสโลวาเกียมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (t) )
1. Pistole 24 (t) vz. 24 เเละ vz. 22
Vz.22
Vz.24
ทั้งสองรุ่นใช้กระสุนขนาด 9×17 mm. Browning (.380 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
2. Pistole 27 (t) vz. 27
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
3. Czech vz36 ไม่มีการระบุหมายเลข Fremdgeräte เเต่ที่ตัวปืนมีการตอกรหัส WaA76 เอาไว้
ขนาดกระสุน 6.35×16 mm. (.25 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
4. Pistole 39 (t) vz. 38
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 9+1 นัด
ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Königreich Dänemark) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1940-1945
( ปืนพกจากเดนมาร์กมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (d) )
1. Pistole 626 (d) Browning M1922 (เหมือนกับ FN 1910/22) ที่สั่งซื้อมาประจำการในกองทัพและตำรวจเดนมาร์ก
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 9+1 นัด
2. Pistole 644 (d) (ex M10/21 Bergmann)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Largo บรรจุกระสุน 6 นัด (มีซองกระสุนที่เพิ่มความจุกระสุนเป็น 10 นัดด้วย)
สาธารณรัฐฝรั่งเศส (Französische Republik) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1940-1944
( ปืนพกจากฝรั่งเศสมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (f) )
1. Pistole 623 (f) (ex French pistolet Star)
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 7+1 นัด
2. Pistole 624 (f) (ex French pistolet Ruby)
(ผลิตจาก Llama-Gabilondo y Cia SA ประเทศสเปน)
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 9+1 นัด
3. Pistole 625 (f) (ex French Mle. 35 A)
ขนาดกระสุน 7.65×20 mm. Longue บรรจุกระสุน 7+1 นัด
4. Revolver 634 (f) (ex "Revolver Eibar) ปืนลูกโม่เลียนแบบ Smith & Wesson M&P
ขนาดกระสุน 8 mm. French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด
หมายเหตุ: Revolver 635 (f) ปืนลูกโม่เลียนแบบ Smith & Wesson ไม่ทราบรุ่น ขนาดกระสุน 8 mm. French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด (ไม่มีภาพของตัวปืน)
Revolver 636 (f) ปืนลูกโม่เลียนแบบ Colt revolver ขนาดกระสุน 8mm French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด (ไม่มีภาพของตัวปืน)
5. Revolver 637 (f) French 1892 Ordnance revolver
ขนาดกระสุน 8 mm. French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด
6. Pistole 642 (f) Astra 400 (ผลิตจาก Astra-Unceta y Cia SA ประเทศสเปน)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Largo บรรจุกระสุน 8+1 นัด
7. Pistole 647 (f) Ex Pistolet Automatic Type "Colt" (Star Model A ของเลียนเเบบ M1911 ผลิตจาก Star Bonifacio Echeverria, S.A ประเทศสเปน)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Largo และ .38 ACP บรรจุกระสุน 8+1 นัด
8. Revolver 654 (f) French Chamelot-Delvigne 1873 และ 1874 revolvers 11mm
Chamelot-Delvigne 1873
Chamelot-Delvigne 1874
ขนาดกระสุน 11x17.8 mm. บรรจุกระสุน 6 นัด
หมายเหตุ: ปืนพกต่อไปนี้ไม่ได้บรรจุว่าเป็น Fremdgeräte เเต่มีการใช้งานโดยแวร์มัคท์
9. MAB model D
รุ่นที่ใช้กระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุ 9+1 นัด-รุ่นที่ใช้กระสุน 9×17 mm. Browning (.380 ACP) บรรจุ 7+1 นัด
สหราชอาณาจักร (Vereinigtes Königreich) ไม่ได้ถูกกองทัพเยอรมันยึดครองแต่ก็สามารถยึดปืนพกจากทหารของกองทัพอังกฤษที่ถูกสังหารหรือยอมจำนนได้เกือบตลอดช่วงสงคราม
( ปืนพกจากสหราชอาณาจักรมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (e) )
1. Revolver 646 (e) (ex British No. 2 Mk. I)
ขนาดกระสุน .38 S&W (.38/200) บรรจุ 6 นัด
2. Revolver 655 (e) (ex British Webley No. 1 Mk. VI)
ขนาดกระสุน .455 Webley บรรจุ 6 นัด
กรีซ,สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Griechische Republik) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1941-1944
( ปืนพกจากกรีซ,สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (g) )
สารานุกรมปืนตอนที่ 337 ปืนพกจากต่างชาติในกองทัพเยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ยุโรปที่จุดสูงสุดของการยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1942
ในระหว่างที่กองทัพเยอรมันยังคงยึดครองประเทศทางยุโรปตะวันตกและบางส่วนของทางตะวันออกพวกเขาสามารถยึดอาวุธจากข้าศึกที่ยอมแพ้หรือถูกสังหารได้จำนวนมากและหนึ่งในอาวุธที่มีประโยชน์มากก็คือปืนพกโดยในบทนี้จะนำเสนอปืนพกจากชาติต่างๆที่ถูกกองทัพเยอรมันยึดครอง ปืนเหล่านี้อยู่ภายใต้กันทดสอบเเละขึ้นทะเบียนโดย Heereswaffenamt (Army Weapons Department) โดยมีการลงเลขประจำการ Fremdgeräte (Foreign Equipment) ไว้ในระบบอาวุธของกองทัพเยอรมัน ถึงแม้ว่าเยอรมันจะมีปืนพกที่ผลิตให้กับกองทัพอยู่แล้วก็คือรุ่นพาราเบลลั่ม P08 หรือ Walther P38 แต่ความต้องการจะใช้ปืนพกนั้นก็มีมากสำหรับ พลปืนกล พลประจำยานยนต์และยานเกราะแบบต่างๆ นักบินของกองทัพอากาศรวมไปถึงนายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตรต่างๆอีกความต้องการปืนพกนั้นมีมากไม่แพ้กับปืนยาวชนิดต่างๆนั่นทำให้ปืนพกทุกรุ่นที่ยึดได้นั้นมีประโยชน์ จึงต้องนำมาขึ้นทะเบียนและนำมาใช้อย่างเป็นระบบโดยเกือบจะทั้งหมดของปืนพกเหล่านี้ถูกแจกจ่ายไปตามความต้องการของแต่ละเหล่าทัพของแวร์มัคท์ ซึ่งผมขอแนะนำให้รู้จักองค์ประกอบของกองทัพเยอรมัน (แวร์มัคท์) ก่อนนั่นคือประกอบด้วยแฮร์ (กองทัพบก) ครีกซมารีเนอ (กองทัพเรือ) ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) นอกจากนี้ยังมีองค์กรกึ่งทหาร วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นหน่วยกองกำลังทหารติดอาวุธของพรรคนาซีในหน่วยองค์กรชุทซ์ชตัฟเฟิลหรือหน่วยเอ็สเอ็ส ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของคนในนาซีเยอรมนีพร้อมกับอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนคือดินแดนที่ถูกยึดครองและดินแดนที่ไม่ถูกยึดครองซึ่งโดยพฤตินัย วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นเหล่าทัพที่สี่ของแวร์มัคท์ โดยมีกำลังพลถึง 900,000 นายใน 38 กองพลปฏิบัติการในหลายบทบาทคือ กองพลยานเกราะ (Panzerkorps) พันท์เซอร์เกรนาเดียร์ (Panzergrenadier-ทหารราบยานเกราะ) ทหารม้า (Kavallerie) ทหารราบ (Infanterie) ทหารภูเขา (Gebirgsjäger) เเละ ตำรวจ (Polizei)
ปืนพกจากต่างชาติที่มีประจำการในแวร์มัคท์จะแบ่งตามประเทศที่ผลิต-ซื้อมาใช้งานโดยเริ่มจาก...
สาธารณรัฐออสเตรีย (Republik Österreich) ออสเตรียผนวกเข้าสู่เยอรมนีในปี 1938-1945
(ปืนพกจากออสเตรียมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (ö) เเต่บางรุ่นก็ไม่มี)
1. Steyr-Pistole 34 (Steyr M1908/34) 7.65 mm. (.32acp)
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 7+1 นัด
2. Pistole 12 (ö) (ex Austrian M1912)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Steyr เเละ 9×19 mm. Parabellum ( Pistole 12 (ö) umg ใช้กระสุน 9มม.พาราเบลลั่ม ) บรรจุกระสุน 8 นัด
ราชอาณาจักรเบลเยียม (Königreich Belgien) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1940-1944
( ปืนพกจากเบลเยียมมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (b) )
1. Pistole 620 (b) FN 1900
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 7+1 นัด
2. Pistole 621(b) - Belgian FN 1910
ขนาดกระสุน 9×17 mm. Browning (.380 ACP) บรรจุกระสุน 6+1 นัด
หมายเหตุ: ในเยอรมันมีการเรียกกระสุน .380 ACP ว่า 9 mm. Kurz
3. Pistole 622 (b) Colt Model 1903 Pocket Hammerless ที่สั่งซื้อมาประจำการในกองทัพเบลเยียม
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
4. Pistole 622(b) FN 1903
ขนาดกระสุน 9×20 mm. Browning Long บรรจุกระสุน 7+1 นัด (มีเเม็กกาซีนที่เพิ่มความจุกระสุนเป็น 10 นัดด้วย)
5. Pistole 640 (b) FN Browning Hi-Power (กว่า 300,000 กระบอกที่ผลิตให้แวร์มัคท์โดยมีตราอินทรีย์ของเยอรมันด้วย)
ขนาดกระสุน 9×19mm Parabellum บรรจุกระสุน 13+1 นัด
6. Pistole 626 (b) FN 1910/22 ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) - Pistole 641 (b) FN 1910/22 ขนาดกระสุน 9×17 mm. Browning (.380 ACP)
รุ่นที่ใช้กระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุ 9+1 นัด-รุ่นที่ใช้กระสุน 9×17mm Browning (.380 ACP) บรรจุ 8+1 นัด
สาธารณรัฐเชคโกสโลวาเกีย (Tschechoslowakische Republik) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1939-1945
( ปืนพกจากเชคโกสโลวาเกียมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (t) )
1. Pistole 24 (t) vz. 24 เเละ vz. 22
Vz.22
Vz.24
ทั้งสองรุ่นใช้กระสุนขนาด 9×17 mm. Browning (.380 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
2. Pistole 27 (t) vz. 27
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
3. Czech vz36 ไม่มีการระบุหมายเลข Fremdgeräte เเต่ที่ตัวปืนมีการตอกรหัส WaA76 เอาไว้
ขนาดกระสุน 6.35×16 mm. (.25 ACP) บรรจุกระสุน 8+1 นัด
4. Pistole 39 (t) vz. 38
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 9+1 นัด
ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Königreich Dänemark) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1940-1945
( ปืนพกจากเดนมาร์กมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (d) )
1. Pistole 626 (d) Browning M1922 (เหมือนกับ FN 1910/22) ที่สั่งซื้อมาประจำการในกองทัพและตำรวจเดนมาร์ก
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 9+1 นัด
2. Pistole 644 (d) (ex M10/21 Bergmann)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Largo บรรจุกระสุน 6 นัด (มีซองกระสุนที่เพิ่มความจุกระสุนเป็น 10 นัดด้วย)
สาธารณรัฐฝรั่งเศส (Französische Republik) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1940-1944
( ปืนพกจากฝรั่งเศสมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (f) )
1. Pistole 623 (f) (ex French pistolet Star)
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 7+1 นัด
2. Pistole 624 (f) (ex French pistolet Ruby)
(ผลิตจาก Llama-Gabilondo y Cia SA ประเทศสเปน)
ขนาดกระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุกระสุน 9+1 นัด
3. Pistole 625 (f) (ex French Mle. 35 A)
ขนาดกระสุน 7.65×20 mm. Longue บรรจุกระสุน 7+1 นัด
4. Revolver 634 (f) (ex "Revolver Eibar) ปืนลูกโม่เลียนแบบ Smith & Wesson M&P
ขนาดกระสุน 8 mm. French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด
หมายเหตุ: Revolver 635 (f) ปืนลูกโม่เลียนแบบ Smith & Wesson ไม่ทราบรุ่น ขนาดกระสุน 8 mm. French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด (ไม่มีภาพของตัวปืน)
Revolver 636 (f) ปืนลูกโม่เลียนแบบ Colt revolver ขนาดกระสุน 8mm French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด (ไม่มีภาพของตัวปืน)
5. Revolver 637 (f) French 1892 Ordnance revolver
ขนาดกระสุน 8 mm. French Ordnance บรรจุกระสุน 6 นัด
6. Pistole 642 (f) Astra 400 (ผลิตจาก Astra-Unceta y Cia SA ประเทศสเปน)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Largo บรรจุกระสุน 8+1 นัด
7. Pistole 647 (f) Ex Pistolet Automatic Type "Colt" (Star Model A ของเลียนเเบบ M1911 ผลิตจาก Star Bonifacio Echeverria, S.A ประเทศสเปน)
ขนาดกระสุน 9×23 mm. Largo และ .38 ACP บรรจุกระสุน 8+1 นัด
8. Revolver 654 (f) French Chamelot-Delvigne 1873 และ 1874 revolvers 11mm
Chamelot-Delvigne 1873
Chamelot-Delvigne 1874
ขนาดกระสุน 11x17.8 mm. บรรจุกระสุน 6 นัด
หมายเหตุ: ปืนพกต่อไปนี้ไม่ได้บรรจุว่าเป็น Fremdgeräte เเต่มีการใช้งานโดยแวร์มัคท์
9. MAB model D
รุ่นที่ใช้กระสุน 7.65 mm. (.32 ACP) บรรจุ 9+1 นัด-รุ่นที่ใช้กระสุน 9×17 mm. Browning (.380 ACP) บรรจุ 7+1 นัด
สหราชอาณาจักร (Vereinigtes Königreich) ไม่ได้ถูกกองทัพเยอรมันยึดครองแต่ก็สามารถยึดปืนพกจากทหารของกองทัพอังกฤษที่ถูกสังหารหรือยอมจำนนได้เกือบตลอดช่วงสงคราม
( ปืนพกจากสหราชอาณาจักรมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (e) )
1. Revolver 646 (e) (ex British No. 2 Mk. I)
ขนาดกระสุน .38 S&W (.38/200) บรรจุ 6 นัด
2. Revolver 655 (e) (ex British Webley No. 1 Mk. VI)
ขนาดกระสุน .455 Webley บรรจุ 6 นัด
กรีซ,สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Griechische Republik) ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันในปี 1941-1944
( ปืนพกจากกรีซ,สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีอักษรประกอบหมายเลข Fremdgeräte ว่า (g) )