นี่คือชื่อของธารน้ำแข็งทเวตส์ในทวีปแอนตาร์กติกา ที่ได้ชื่อว่ากำลังละลายไปด้วยความเร็วมากที่สุด และก็แน่นอนว่าน้ำจากการละลายนี้ก็อาจจะส่งผล
กระทบยิ่งใหญ่กับโลก
การละลายของธารน้ำแข็งทเวตส์นั้น ที่ผ่านๆ มามีเหตุผลที่เป็นไปได้อยู่หลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่จะเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เช่นการที่อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์กลับพบกับเรื่องที่น่าสนใจเข้าเรื่องหนึ่ง นั่นคือ น้ำที่ใต้ธารแข็งทเวตส์นั้น แท้จริงแล้วกลับมีอุณหภูมิสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยอุณหภูมิที่สูงถึง 2 องศาเซลเซียสกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำตามปกติ
อ้างอิงจากรายงานของนักวิทยาศาสตร์กว่าที่เขาจะได้ตัวเลขที่เห็นออกมานั้น นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้วิธีการมากมายในการเก็บข้อมูลได้น้ำออกมา ไม่ว่าจะเป็นการเจาะหลุมลึกกว่า 700 เมตรบนธารน้ำแข็งเอง และการใช้หุ่นยนต์ดำน้ำลึกรูปร่างคล้ายตอร์ปิโด (ไอซ์ฟิน (Icefin) ยานใต้น้ำสีเหลืองสดไร้คนขับที่ควบคุมจากระยะไกล)
อย่างไรก็ตามผลการสำรวจที่ออกมานี้ก็นับว่าเป็นอะไรที่คุ้มค่าต่อการลงแรงของพวกเขามาก เพราะการทดลองในครั้งนี้ทำให้พวกเขาทราบว่าว่าเพราะเหตุใดกัน ธารน้ำแข็งอันนี้ถึงได้ละลายไปไวมากอย่างที่เห็น
“การพบน้ำอุ่นในพื้นที่ส่วนนี้ของโลก นับว่าเป็นคำเตือนสำหรับพวกเราทุกคนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับโลก จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” คุณ David Holland ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กกล่าว
“หากน้ำเหล่านี้ก่อให้เกิดเหตุธารน้ำแข็งละลายในทวีปแอนตาร์กติกาจริงๆ ผลกระทบของมันก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกได้ไม่ยากเลย”
ด้วยเหตุนี้เอง ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามเป็นอย่างมากที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ธารน้ำแข็งเหล่านี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด ถึงอย่างนั้นก็ตาม การจะหยุดเหตุการณ์การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกได้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ด้วยน้ำมือของคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นอยู่ดี
ดังนั้น นี้อาจถึงเวลาแล้วก็ได้ ที่เราจะต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างกับปัญหา น้ำแข็งละลายเหล่านี้ และหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุด ก็คงจะไม่พ้นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนั่นเอง
ธารน้ำแข็งแห่ง 'วันสิ้นโลก'
นักวิทยาธารน้ำแข็ง เรียกธารน้ำแข็งทเวตส์ว่า ธารน้ำแข็ง "ที่สำคัญที่สุด" ในโลก / ธารน้ำแข็งที่ "สุ่มเสี่ยงที่สุด" หรือแม้กระทั่งเรียกว่า ธารน้ำแข็งแห่ง "วันสิ้นโลก" มันมีขนาดมโหฬาร พื้นที่ประมาณสหราชอาณาจักร
น้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีมาจากธารน้ำแข็งแห่งนี้ราว 4% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับธารน้ำแข็งเพียงแห่งเดียว ข้อมูลจากดาวเทียมเผยให้เห็นว่า มันกำลังละลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งแห่งนี้ มีน้ำมากพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นได้กว่าครึ่งเมตร
ทเวตส์ตั้งอยู่ในจุดสำคัญ ตรงศูนย์กลางของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำแข็งอยู่ในจำนวนที่มากพอจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3 เมตรได้ แต่กระนั้นก็ไม่เคยมีความพยายามทำการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ธารน้ำแข็งแห่งนี้มาก่อน จนกระทั่งปี 2020 นี้
ทีมงานไอซ์ฟิน พร้อมกับนักวิทยาศาสตร์อีกราว 40 คน เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานระหว่างประเทศที่สำรวจธารน้ำแข็งทเวตส์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ระยะเวลา 5 ปี มูลค่าโครงการ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1,500 ล้านบาท เพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมธารน้ำแข็งแห่งนี้จึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โครงการนี้นับเป็นโครงการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนที่สุดและใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แอนตาร์กติก
ทำไมธารน้ำแข็งทเวตส์จึงมีความสำคัญ
แอนตาร์กติกาตะวันตกเป็นพื้นที่ที่มีพายุเกิดขึ้นมากที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นทวีปที่มีพายุเกิดขึ้นมากที่สุดในโลก
ธารน้ำแข็งทเวตส์ตั้งอยู่ห่างไกลมาก อยู่ห่างจากสถานีวิจัยที่ใกล้ที่สุดมากกว่า 1,600 กม. มีเพียง 4 คนที่เคยไปถึงบริเวณขอบด้านหน้าสุดของธารน้ำแข็ง พวกเขาก็คือคนที่เดินทางมาสำรวจล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวสำหรับโครงการปีนี้
แต่การทำความเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นที่นี่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ในการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
น้ำแข็งในแอนตาร์กติกากักเก็บน้ำจืดของทั้งโลกอยู่ราว 90% และ 80% ของน้ำแข็งนั้นอยู่ทางตะวันออกของทวีป
น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันออกหนามาก โดยเฉลี่ยหนากว่า 1.6 กิโลเมตร แต่มันตั้งอยู่บนที่สูง และค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงทะเล น้ำแข็งบางส่วนมีอายุเก่าแก่หลายล้านปี ต่างจากแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ว่าก็ยังคงมีขนาดใหญ่ และมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามาก น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกไม่ได้ตั้งอยู่บนที่สูง แต่จริง ๆ แล้ว อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ถ้าพื้นที่แถวนั้นไม่เป็นน้ำแข็ง มันก็คงเป็นมหาสมุทรลึกที่มีเกาะอยู่จำนวนหนึ่ง
ในบริเวณที่เรียกกันว่า เขตน้ำแข็งหลุดจากการยึดเกาะกับพื้นดิน (grounding zone) ทีมงานตั้งค่ายอยู่บนน้ำแข็งเหนือจุดที่ธารน้ำแข็งเจอกับน้ำในมหาสมุทร และต้องทำงานที่ท้าทายที่สุด
จากนั้นได้ทำการเจาะน้ำแข็งลึกลงไปประมาณครึ่งไมล์ (ราว 800 เมตร) ไปถึงจุดที่ธารน้ำแข็งลอยอยู่ ไม่มีใครเคยทำเช่นนี้บนธารน้ำแข็งที่ใหญ่และซับซ้อนขนาดนี้มาก่อน พวกเขาจะใช้รูนี้ในการลงไปให้ถึงจุดที่น้ำทะเลทำให้ธารน้ำแข็งละลายเพื่อหาคำตอบว่า มันมาจากไหน และทำไมจึงทำให้น้ำแข็งละลายได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้
ดร.คียา ริเวอร์แมน นักวิทยาธารน้ำแข็ง ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน ใช้สว่านน้ำแข็งในการขุดเจาะลงไป สว่านนี้ทำจากเหล็กสแตนเลสเกลียวขนาดใหญ่ และมีการจุดระเบิดขนาดเล็ก
คนที่เหลือช่วยกันขุดรูในน้ำแข็งเพื่อติด "จีโอร็อดส์" (georods) และ "จีโอโฟนส์" (geophones) หูฟังไฟฟ้าที่ใช้ฟังเสียงสะท้อนของรอยแยกที่สะท้อนจากชั้นหินด้านล่างสุดขึ้นมาผ่านชั้นของน้ำและน้ำแข็ง
เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์กังวลเกี่ยวกับธารน้ำแข็งทเวตส์คือ การที่ก้นทะเลมีความลาดลง นั่นหมายความว่า ธารน้ำแข็งจะมีความหนามากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง ที่จุดที่ลึกที่สุด ฐานของธารน้ำแข็งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) และมีน้ำแข็งหนาอีก 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) เหนือจุดนั้น
สิ่งที่เหมือนกำลังเกิดขึ้นในตอนนี้คือ กระแสน้ำอุ่นที่อยู่ในระดับลึกกำลังไหลไปทางชายฝั่ง และลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งที่อยู่แนวหน้า ทำให้ธารน้ำแข็งละลาย
เมื่อธารน้ำแข็งถอยร่นลง ก็จะเผยพื้นผิวน้ำแข็งให้สัมผัสกับกระแสน้ำอุ่นมากขึ้น
คล้ายกับการค่อย ๆ เฉือนก้อนชีสจากด้านที่เป็นลิ่มแหลมออกไปเรื่อย ๆ เมื่อพื้นผิวของน้ำแข็งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ น้ำแข็งก็ละลายมากขึ้น แต่นั่นไม่ใช่ผลกระทบเพียงอย่างเดียว เมื่อบริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็งละลาย น้ำหนักของธารน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังจะผลักดันมันไปข้างหน้าตามแรงดึงดูดของโลก
ดร. ริเวอร์แมน อธิบายว่า มันอยากจะ "ไถลออกมา" เธอบอกว่า หน้าผาน้ำแข็งยิ่งสูง ก็จะยิ่งทำให้ธารน้ำแข็ง "ไถล" ออกมาได้มากขึ้น ดังนั้น เมื่อธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้น้ำแข็งในธารน้ำแข็งมีโอกาสลอยมากขึ้น
"ความน่ากลัวก็คือ กระบวนการเหล่านี้จะเร่งตัวขึ้น" เธอกล่าว "มันเป็นวงรอบที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของมัน เป็นวงจรเลวร้าย"
การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ขนาดนี้ ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่นนี้ ไม่ใช่แค่การส่งนักวิทยาศาสตร์ 2-3 คน ไปยังพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลนั้น
แต่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางจำนวนมาก และเชื้อเพลิงอีกหลายหมื่นลิตร รวมถึง เต็นท์ และอุปกรณ์ในการพักค้างแรมอื่น ๆ รวมถึงอาหารการกิน
นักวิทยาศาสตร์บางคนอยู่นานกว่านั้นอีก อาจจะ 2 เดือนหรือนานกว่านั้น
เครื่องบินขนส่งสินค้า C-130 ที่ติดตั้งสกีขนาดใหญ่ ของโครงการแอนตาร์กติกาสหรัฐฯ ต้องขนส่งนักวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปยังสถานีหลักที่ตั้งอยู่กลางแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก โดยใช้เที่ยวบินทั้งหมดมากกว่า 12 เที่ยวบิน
จากนั้น เครื่องบินที่ขนาดเล็กลงมา คือ เครื่องบินดาโกตา และเครื่องบินทวินอ็อตเทอร์ จะขนส่งคนและสิ่งของไปยังค่ายพักค้างแรม ที่อยู่ห่างไกลหลายร้อยไมล์บนธารน้ำแข็งในทางที่มุ่งหน้าสู่ทะเล
และทีมงานยืนยันว่า ครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการสำรวจเป็นอย่างมาก กระแสน้ำอุ่นรอบขั้วโลกใต้ที่ระดับลึกได้ไหลเข้ามาใต้ธารน้ำแข็งและพวกเขาเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาล
ไอซ์ฟิน ยานใต้น้ำไร้คนขับ สามารถปฏิบัติภารกิจได้ถึง 5 ครั้ง ทำการวัดจำนวนมากในน้ำบริเวณใต้ธารน้ำแข็ง และบันทึกภาพน่าพิศวงได้จำนวนหนึ่ง คงต้องใช้เวลาหลายปีในการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดที่ทีมงานเก็บมาได้ และรวบรวมการค้นพบให้เป็นแบบจำลองที่ใช้ในการทำนายการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้ในอนาคต
ธารน้ำแข็งทเวตส์จะไม่หายไปในชั่วข้ามคืน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าจะต้องใช้เวลานานหลายสิบปี หรืออาจจะนานกว่า 100 ปี แต่นั่นก็ไม่ควรทำให้เรานิ่งนอนใจ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 1 เมตร อาจจะดูไม่มาก เมื่อพิจารณาจากปัจจุบันก็มีน้ำขึ้นน้ำลง 3-4 เมตรอยู่แล้วในแต่ละวันในบางพื้น แต่ ศ.เดวิด วอห์น ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของโครงการสำรวจแอนตาร์กติกาของอังกฤษ กล่าวว่า ระดับน้ำทะเลส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge)
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 50 ซม. ทำให้คลื่นพายุซัดฝั่งที่ปกติเกิดขึ้นทุก ๆ 1 พันปี จะเกิดถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 100 ปี ถ้าคุณเพิ่มระดับน้ำทะเลเป็น 1 เมตร คลื่นพายุซัดฝั่งอาจจะเกิดขึ้นทุก ๆ 10 ปีก็ได้ และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังทำให้เกิดความร้อนในชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรมากขึ้น ความร้อนคือพลังงาน และพลังงานก็ส่งผลต่อสภาพอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทร
เขากล่าวว่า ปริมาณพลังงานที่เพิ่มขึ้นในระบบ ทำให้การเปลี่ยนแปลงในระดับโลกก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ค้นคว้าและทำกราฟิก โดย อลิสัน ทราวส์เดล, เบ็กกี เดล, ลิลลี ฮวีนห์, ไอริน เด ลา ตอร์เร ถ่ายภาพโดย เจ็มมา ค็อกส์ และ เดวิด วอห์น
ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศาสตราจารย์แอนดรูว์ เชปเพิร์ด มหาวิทยาลัยลีดส์
Cr.
https://www.bbc.com/thai/international-51285703 / จัสติน ราวแลตต์ หัวหน้าผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม 16 กุมภาพันธ์ 2020
ที่มา foxnews, livescience
(ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
“Doomsday Glacier” ธารน้ำแข็งวันสิ้นโลก
อ้างอิงจากรายงานของนักวิทยาศาสตร์กว่าที่เขาจะได้ตัวเลขที่เห็นออกมานั้น นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้วิธีการมากมายในการเก็บข้อมูลได้น้ำออกมา ไม่ว่าจะเป็นการเจาะหลุมลึกกว่า 700 เมตรบนธารน้ำแข็งเอง และการใช้หุ่นยนต์ดำน้ำลึกรูปร่างคล้ายตอร์ปิโด (ไอซ์ฟิน (Icefin) ยานใต้น้ำสีเหลืองสดไร้คนขับที่ควบคุมจากระยะไกล)
อย่างไรก็ตามผลการสำรวจที่ออกมานี้ก็นับว่าเป็นอะไรที่คุ้มค่าต่อการลงแรงของพวกเขามาก เพราะการทดลองในครั้งนี้ทำให้พวกเขาทราบว่าว่าเพราะเหตุใดกัน ธารน้ำแข็งอันนี้ถึงได้ละลายไปไวมากอย่างที่เห็น
“หากน้ำเหล่านี้ก่อให้เกิดเหตุธารน้ำแข็งละลายในทวีปแอนตาร์กติกาจริงๆ ผลกระทบของมันก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกได้ไม่ยากเลย”
ด้วยเหตุนี้เอง ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามเป็นอย่างมากที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ธารน้ำแข็งเหล่านี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด ถึงอย่างนั้นก็ตาม การจะหยุดเหตุการณ์การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกได้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ด้วยน้ำมือของคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นอยู่ดี
ดังนั้น นี้อาจถึงเวลาแล้วก็ได้ ที่เราจะต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างกับปัญหา น้ำแข็งละลายเหล่านี้ และหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุด ก็คงจะไม่พ้นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนั่นเอง
น้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีมาจากธารน้ำแข็งแห่งนี้ราว 4% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับธารน้ำแข็งเพียงแห่งเดียว ข้อมูลจากดาวเทียมเผยให้เห็นว่า มันกำลังละลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งแห่งนี้ มีน้ำมากพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นได้กว่าครึ่งเมตร
ทเวตส์ตั้งอยู่ในจุดสำคัญ ตรงศูนย์กลางของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำแข็งอยู่ในจำนวนที่มากพอจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3 เมตรได้ แต่กระนั้นก็ไม่เคยมีความพยายามทำการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ธารน้ำแข็งแห่งนี้มาก่อน จนกระทั่งปี 2020 นี้
ทีมงานไอซ์ฟิน พร้อมกับนักวิทยาศาสตร์อีกราว 40 คน เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานระหว่างประเทศที่สำรวจธารน้ำแข็งทเวตส์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ระยะเวลา 5 ปี มูลค่าโครงการ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1,500 ล้านบาท เพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมธารน้ำแข็งแห่งนี้จึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โครงการนี้นับเป็นโครงการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนที่สุดและใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แอนตาร์กติก
แต่การทำความเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นที่นี่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ในการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
น้ำแข็งในแอนตาร์กติกากักเก็บน้ำจืดของทั้งโลกอยู่ราว 90% และ 80% ของน้ำแข็งนั้นอยู่ทางตะวันออกของทวีป
น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันออกหนามาก โดยเฉลี่ยหนากว่า 1.6 กิโลเมตร แต่มันตั้งอยู่บนที่สูง และค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงทะเล น้ำแข็งบางส่วนมีอายุเก่าแก่หลายล้านปี ต่างจากแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ว่าก็ยังคงมีขนาดใหญ่ และมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามาก น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกไม่ได้ตั้งอยู่บนที่สูง แต่จริง ๆ แล้ว อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ถ้าพื้นที่แถวนั้นไม่เป็นน้ำแข็ง มันก็คงเป็นมหาสมุทรลึกที่มีเกาะอยู่จำนวนหนึ่ง
ในบริเวณที่เรียกกันว่า เขตน้ำแข็งหลุดจากการยึดเกาะกับพื้นดิน (grounding zone) ทีมงานตั้งค่ายอยู่บนน้ำแข็งเหนือจุดที่ธารน้ำแข็งเจอกับน้ำในมหาสมุทร และต้องทำงานที่ท้าทายที่สุด
จากนั้นได้ทำการเจาะน้ำแข็งลึกลงไปประมาณครึ่งไมล์ (ราว 800 เมตร) ไปถึงจุดที่ธารน้ำแข็งลอยอยู่ ไม่มีใครเคยทำเช่นนี้บนธารน้ำแข็งที่ใหญ่และซับซ้อนขนาดนี้มาก่อน พวกเขาจะใช้รูนี้ในการลงไปให้ถึงจุดที่น้ำทะเลทำให้ธารน้ำแข็งละลายเพื่อหาคำตอบว่า มันมาจากไหน และทำไมจึงทำให้น้ำแข็งละลายได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้
ดร.คียา ริเวอร์แมน นักวิทยาธารน้ำแข็ง ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน ใช้สว่านน้ำแข็งในการขุดเจาะลงไป สว่านนี้ทำจากเหล็กสแตนเลสเกลียวขนาดใหญ่ และมีการจุดระเบิดขนาดเล็ก
คนที่เหลือช่วยกันขุดรูในน้ำแข็งเพื่อติด "จีโอร็อดส์" (georods) และ "จีโอโฟนส์" (geophones) หูฟังไฟฟ้าที่ใช้ฟังเสียงสะท้อนของรอยแยกที่สะท้อนจากชั้นหินด้านล่างสุดขึ้นมาผ่านชั้นของน้ำและน้ำแข็ง
เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์กังวลเกี่ยวกับธารน้ำแข็งทเวตส์คือ การที่ก้นทะเลมีความลาดลง นั่นหมายความว่า ธารน้ำแข็งจะมีความหนามากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง ที่จุดที่ลึกที่สุด ฐานของธารน้ำแข็งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) และมีน้ำแข็งหนาอีก 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) เหนือจุดนั้น
สิ่งที่เหมือนกำลังเกิดขึ้นในตอนนี้คือ กระแสน้ำอุ่นที่อยู่ในระดับลึกกำลังไหลไปทางชายฝั่ง และลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งที่อยู่แนวหน้า ทำให้ธารน้ำแข็งละลาย
เมื่อธารน้ำแข็งถอยร่นลง ก็จะเผยพื้นผิวน้ำแข็งให้สัมผัสกับกระแสน้ำอุ่นมากขึ้น
คล้ายกับการค่อย ๆ เฉือนก้อนชีสจากด้านที่เป็นลิ่มแหลมออกไปเรื่อย ๆ เมื่อพื้นผิวของน้ำแข็งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ น้ำแข็งก็ละลายมากขึ้น แต่นั่นไม่ใช่ผลกระทบเพียงอย่างเดียว เมื่อบริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็งละลาย น้ำหนักของธารน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังจะผลักดันมันไปข้างหน้าตามแรงดึงดูดของโลก
ดร. ริเวอร์แมน อธิบายว่า มันอยากจะ "ไถลออกมา" เธอบอกว่า หน้าผาน้ำแข็งยิ่งสูง ก็จะยิ่งทำให้ธารน้ำแข็ง "ไถล" ออกมาได้มากขึ้น ดังนั้น เมื่อธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้น้ำแข็งในธารน้ำแข็งมีโอกาสลอยมากขึ้น
"ความน่ากลัวก็คือ กระบวนการเหล่านี้จะเร่งตัวขึ้น" เธอกล่าว "มันเป็นวงรอบที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของมัน เป็นวงจรเลวร้าย"
การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ขนาดนี้ ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่นนี้ ไม่ใช่แค่การส่งนักวิทยาศาสตร์ 2-3 คน ไปยังพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลนั้น
แต่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางจำนวนมาก และเชื้อเพลิงอีกหลายหมื่นลิตร รวมถึง เต็นท์ และอุปกรณ์ในการพักค้างแรมอื่น ๆ รวมถึงอาหารการกิน
นักวิทยาศาสตร์บางคนอยู่นานกว่านั้นอีก อาจจะ 2 เดือนหรือนานกว่านั้น
เครื่องบินขนส่งสินค้า C-130 ที่ติดตั้งสกีขนาดใหญ่ ของโครงการแอนตาร์กติกาสหรัฐฯ ต้องขนส่งนักวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปยังสถานีหลักที่ตั้งอยู่กลางแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก โดยใช้เที่ยวบินทั้งหมดมากกว่า 12 เที่ยวบิน
จากนั้น เครื่องบินที่ขนาดเล็กลงมา คือ เครื่องบินดาโกตา และเครื่องบินทวินอ็อตเทอร์ จะขนส่งคนและสิ่งของไปยังค่ายพักค้างแรม ที่อยู่ห่างไกลหลายร้อยไมล์บนธารน้ำแข็งในทางที่มุ่งหน้าสู่ทะเล
และทีมงานยืนยันว่า ครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการสำรวจเป็นอย่างมาก กระแสน้ำอุ่นรอบขั้วโลกใต้ที่ระดับลึกได้ไหลเข้ามาใต้ธารน้ำแข็งและพวกเขาเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาล
ไอซ์ฟิน ยานใต้น้ำไร้คนขับ สามารถปฏิบัติภารกิจได้ถึง 5 ครั้ง ทำการวัดจำนวนมากในน้ำบริเวณใต้ธารน้ำแข็ง และบันทึกภาพน่าพิศวงได้จำนวนหนึ่ง คงต้องใช้เวลาหลายปีในการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดที่ทีมงานเก็บมาได้ และรวบรวมการค้นพบให้เป็นแบบจำลองที่ใช้ในการทำนายการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้ในอนาคต
ธารน้ำแข็งทเวตส์จะไม่หายไปในชั่วข้ามคืน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าจะต้องใช้เวลานานหลายสิบปี หรืออาจจะนานกว่า 100 ปี แต่นั่นก็ไม่ควรทำให้เรานิ่งนอนใจ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 1 เมตร อาจจะดูไม่มาก เมื่อพิจารณาจากปัจจุบันก็มีน้ำขึ้นน้ำลง 3-4 เมตรอยู่แล้วในแต่ละวันในบางพื้น แต่ ศ.เดวิด วอห์น ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของโครงการสำรวจแอนตาร์กติกาของอังกฤษ กล่าวว่า ระดับน้ำทะเลส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge)
การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 50 ซม. ทำให้คลื่นพายุซัดฝั่งที่ปกติเกิดขึ้นทุก ๆ 1 พันปี จะเกิดถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 100 ปี ถ้าคุณเพิ่มระดับน้ำทะเลเป็น 1 เมตร คลื่นพายุซัดฝั่งอาจจะเกิดขึ้นทุก ๆ 10 ปีก็ได้ และระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังทำให้เกิดความร้อนในชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรมากขึ้น ความร้อนคือพลังงาน และพลังงานก็ส่งผลต่อสภาพอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทร
เขากล่าวว่า ปริมาณพลังงานที่เพิ่มขึ้นในระบบ ทำให้การเปลี่ยนแปลงในระดับโลกก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ค้นคว้าและทำกราฟิก โดย อลิสัน ทราวส์เดล, เบ็กกี เดล, ลิลลี ฮวีนห์, ไอริน เด ลา ตอร์เร ถ่ายภาพโดย เจ็มมา ค็อกส์ และ เดวิด วอห์น
ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศาสตราจารย์แอนดรูว์ เชปเพิร์ด มหาวิทยาลัยลีดส์
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-51285703 / จัสติน ราวแลตต์ หัวหน้าผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม 16 กุมภาพันธ์ 2020
ที่มา foxnews, livescience