แผ่เมตตา ได้แก่ แผ่ความรักความปรารถนาดีเป็นมิตร ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกันและกัน แก่สรรพสัตว์ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ
อุทิศส่วนกุศล ได้แก่ การอุทิศบุญกุศลคุณงามความดีที่ทำไปแล้ว ให้แก่สรรพสัตว์ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ เช่น
(บทอุทิศส่วนกุศล โดย พระพุทธเจ้า ทรงประทานแด่พระราชาพระองค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล)
๑. อิทัง เม/โน/โว ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย. (เม -- ฉัน. โน -- ข้าพเจ้าทั้งหลาย. โว -- ท่านทั้งหลาย.)
(บทอุทิศส่วนกุศล โดย สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดเทพศิรินทราวาร)
๒. ขอเดชะ ตั้งจิต อุทิศผล บุญกุศล แผ่ไป ให้ไพศาล
ถึงบิดา มารดา ครูอาจารย์ ทั้งลูกหลาน ญาติมิตร สนิทกันฯ
คนเคยร่วม เคยรัก สมัครใคร่ มีส่วนได้ ในกุศล ผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรม นายเวร และเทวัญ ขอให้ท่าน ได้กุศล ผลนี้เทอญฯ
(บทแผ่เมตตา โดย ในหลวงรัชกาลที่ ๔)
๓. สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
(ติโลกะวิชะยะราชะปัตติทานะคาถา ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐิ์ สำหรับอุทิศส่วนกุศล)
๔. กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
ทางเลือกหนึ่งในทางปฏิบัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร) วัดโสมนัส ท่านสอนให้เจริญบท (๓) + (๔) ตามลำดับหลังจากสวดมนต์และเจริญสติภาวนาเสร็จในหมู่ศิษย์กรรมฐาน
ตัวอย่างบทสวดมนต์อย่างย่อ สำหรับแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล
อุทิศส่วนกุศล ได้แก่ การอุทิศบุญกุศลคุณงามความดีที่ทำไปแล้ว ให้แก่สรรพสัตว์ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ เช่น
(บทอุทิศส่วนกุศล โดย พระพุทธเจ้า ทรงประทานแด่พระราชาพระองค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล)
๑. อิทัง เม/โน/โว ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย. (เม -- ฉัน. โน -- ข้าพเจ้าทั้งหลาย. โว -- ท่านทั้งหลาย.)
(บทอุทิศส่วนกุศล โดย สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดเทพศิรินทราวาร)
๒. ขอเดชะ ตั้งจิต อุทิศผล บุญกุศล แผ่ไป ให้ไพศาล
ถึงบิดา มารดา ครูอาจารย์ ทั้งลูกหลาน ญาติมิตร สนิทกันฯ
คนเคยร่วม เคยรัก สมัครใคร่ มีส่วนได้ ในกุศล ผลของฉัน
ทั้งเจ้ากรรม นายเวร และเทวัญ ขอให้ท่าน ได้กุศล ผลนี้เทอญฯ
(บทแผ่เมตตา โดย ในหลวงรัชกาลที่ ๔)
๓. สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
(ติโลกะวิชะยะราชะปัตติทานะคาถา ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐิ์ สำหรับอุทิศส่วนกุศล)
๔. กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
ทางเลือกหนึ่งในทางปฏิบัติ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร) วัดโสมนัส ท่านสอนให้เจริญบท (๓) + (๔) ตามลำดับหลังจากสวดมนต์และเจริญสติภาวนาเสร็จในหมู่ศิษย์กรรมฐาน