เหตุเกิดเพราะธนาคารใจร้าย หรือว่าเราเข้าใจผิด #ช่วยเราด้วย!!

เรื่องยาวหน่อยนะคะ เพราะอยากจะเล่าให้ระเอียดจะได้ไม่ งง ค่ะ
เพราะเรา งง มากเลยตอนนี้
ถ้าแท็กผิดห้องขอโทษด้วยนะคะ
เรามาเริ่มกันเลยจร้า

เราเปิดบริษัทเล็กๆ เงินทุนก็ไม่ค่อยจะมี แล้วตอนนั้นได้งาน job ใหญ่ต้องให้เงินทุนเยอะ เราได้รู้จักกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของแบงค์หนึ่ง เขาแนะนำสินเชื่อสำหรับ SME ซึ่งเรียกว่าสินเชื่อ SME รถคูณสาม ( ถ้าใครเคยใช้บริการน่าจะรู้ว่าแบงค์ไหน ) เราสนใจค่ะ และได้ติดต่อสอบถามไปค่ะ โดยรถที่เรามีที่จะใช้ค้ำประกันยังติดไฟแนชซ์ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่เป็นไร เอกสารผ่านทางแบงค์จะไปโป๊ะไฟแนชซ์ให้ เราตกลงยื่นเอกสาร และเอกสารเราก็ผ่านการอนุมัติค่ะ ยอดอนุมัติอยู่ที่ 1,525,000 บาท 

พอสินเชื่ออนุมัติทางแบงค์ให้เราออกบิลขาย เพื่อขายรถให้แบงค์ในราคา 495,000 บาท ( ราคานี้ยังไม่รวมVAT ค่ะ ) เราออกบิลขายให้เขาไป เขาไม่ได้จ่ายเงินให้เราจริงๆนะคะ เพราะยอดรวมกันที่ยอดอนุมัติแล้วที่ 1,525,000 บาท

หลังจากยอดอนุมัติมา 1,525,000 บาทได้แบ่งออกเป็น 3 ยอด 
1. หักเป็นค่าธรรมเนียมต่างๆของธนาคาร   จำนวน 51,348   บาท
2. ออกแคชเชียร์เช็ค ให้ธนาคารไฟแนชซ์ เพื่อให้โป๊ะรถ จำนวน 663,133 บาท
3. ยอดเงินที่จะโอนเข้าบริษัทเราจริงๆ จำนวน 810,519 บาท

แล้ววันเช็นสัญญา ทางแบงค์ให้เราเช็นสัญญา 2 ฉบับ ฉบับที่ 1. สัญญาเงินกู้ ยอด 1,525,000 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 33,100 บาท ฉบับที่ 2. สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ยอด 805,173.93 บาท ผ่อนชำระเดือนละ 11,183 บาท ตอนนั้นจำได้ว่าได้ถามเจ้าหน้าที่ไปค่ะว่า สัญญา 2 ฉบับนี้ถ้าเช็นแล้วเราจะกลาายเป็นว่าเป็นหนี้ 2 ล้ากว่าหรือเปล่า เพราะว่าฉบับ 1 ไม่หักวงเงินสัญญาเช่าซื้อรถออกไป เขาตอบว่าที่แยกสัญญาเพราะสัญญาเช่าซื้อรถ กับ สัญญาเงินกู้ดอกเบี้ยต่างกัน และเขาก็ยึดยอดกู้หลักอยู่แล้ว ผ่อนสัญญาเช่าซื้อรถเขาก็จะนำไปหักออกจากสัญญาเงินกู้ ( ตอนคุยกัน ไม่ได้เขียนเป็นเอกสารไว้ค่ะ ถามตอบกันเฉยๆ ) เราก็โอเคเซ็นไปค่ะ 

รวม 2 ยอด ผ่อนเดือนละ 44,283 บาทต่อเดือน เราผ่อนชำระกับทางแบงค์ไปประมาณ 1 ปี บริษัทเกิดปัญหาสาระพัด ลูกค้าโกงไม่จ่าย ฟ้องกันจนเหนื่อย ลูกน้องหนีงาน ปัญหาโลกแตกเยอะแยะมากมาย ฯลฯ ทำให้บริษัทไปไม่รอด ตอนนี้แทบเจ้งได้แค่ประคองกันไป เราไม่มีเงินจ่ายชำระหนี้ แบงค์ก็ยึดรถที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันไป และเราก็ยอมให้ขายทอดตลาด และแบงค์ได้แจ้งยอดที่ขายได้ 423,037 บาท( ยอดยังไม่รวมVAT ) และแจ้งว่าหักจากสัญญาเช่าซื้อแล้วไม่พอจ่าย ยังมียอดที่ต้องจ่ายอีก 79,841.71 บาท 

ต่อมามีหมายเรียก คดีแพ่งสามัญมาหาเรา ให้เราไปขึ้นศาล ในข้อหาผิดสัญญา ผิดสัญญาเช่าซื้อ ผิดสัญญาค้ำประกัน เรียกค่าเสียหาย 1,731,590.21 บาท แม่เจ้า!!!เราตกใจกับยอดเงินมาก เราจ่ายไปเป็นปี แถมเสียรถให้ไปอีกหนึ่งคัน ยอดเงินไม่ได้ลดลงเลย แถมเพิ่มจากเดิมขึ้นมาอีก แงงงงงงงง เรานั่งร้องให้เลย ก่อนหน้านั้นเราคิดแล้วว่าถ้าหมายศาลมาเราจะไปตามนัดเพื่อขอไกล่เกลีย แล้วจะทะยอยใช้หนี้ให้หมด แต่พอเห็นยอดเงินแล้วท้อแท้มากมายค่ะ สับสนมาก เข้าใจเลยว่าคนที่เขาต้องตัดสินใจลาจากโลกนี้ไปเพราะปัญหาหนี้สินที่เกิดจากแบงค์เป็นยังไง เขาคงหาทางออกไม่ได้ สู้ก็ไม่ได้ ต้องยอมจ่าย ยอมจำนนกับสิ่งที่เกิดขึ้น เราตั้งสติค่ะแล้วนั่งอ่าน และทำความเข้าใจโดยใช้สมองอันน้อยนิดของเรา

หลังจากที่อ่านหมายเรียกมาหลายรอบ พยายามทำความเข้าใจ โทรปรึกษาทนายบ้างไรบ้าง ก็ได้คำตอบมาไม่มาก ขอสรุปที่เราเข้าใจนะคะ ในความเข้าใจนี้ เราอาจจะเข้าใจผิด หรือสับสน ก็ได้ค่ะ

 ผิดสัญญาที่ 1. ได้กู้เงินจากแบงค์ไปจำนวน 1,525,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตตราปกติ ได้ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย 5 กุมพาพันธ์ 2562 ซึ่งเมื่อหักชำระหนี้แล้ว มีภาระเงินต้นที่ต้องค้างชำระอีกจำนวน 1,319,762.76 บาท และดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา 331,985.74 บาท รวมเงินต้นและดอกเบี้ยค้างชำระ 1,651,748.50 บาท 

ซึ่งการหักลบค่าใช้จ่ายนี้ ไม่ได้นำเอายอดที่ได้จากการนำหลักทรัพย์ค้ำประกันไปขายทอดตลาด และยอดที่ผ่อนแต่ละเดือนเป็นเวลา 1 ปีมาหักลบออกแต่อย่างได ซึ่งอันนี้แหละที่เรา งง ค่ะ เพราะเจ้าหน้าที่บอกว่าตั้งแต่แรกว่า ถ้าผ่อนจ่ายสัญญาเช่าซื้อรถไป ก็จะนำไปหักกับยอดเงินกู้หลักค่ะ ยังค่ะ! ยังไม่หมด! ยังมีผิดที่สัญญาที่ 2 อีก

ผิดสัญญาที่ 2.สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ค่ะ ในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ จำนวนเงิน 805,173.93 บาท ผ่อนชำระเป็นจำนวน 15 งวด รวมเป็นเงิน 158,999.79 บาท และนำรถยนต์ออกขายทอดตลาด เป็นจำนวนเงิน 428,037.38 บาท ( ราคายังไม่รวม VAT ) แล้วหนี้ส่วนที่ขาด อยู่ตามสัญญา จำนวน 507,879.09 บาท ซึ่งหักลบกันแล้ว ยังมีส่วนที่ขาดตามสัญญาอีกเป็นจำนวน 79,841.71 บาท ซึ่ง 2 สัญญารวมกัน เท่ากับว่าเราเป็นหนี้ 1,651,748.50 + 79,841.71 = 1,731,590.21 บาท อันนี้ งง หนักมากค่ะ เพราะสัญญานี้ เป็นสัญญาที่แยกออกมาจากสัญญากู้เงินข้างต้น และยอดที่ชำระไปจะต้องนำไปหักลบกับสัญญาแรก ตามที่เจ้าหน้าที่เคยได้แจ้งเราไว้ แต่ทำไมแบงค์ไม่นำไปหักค่ะ แถมหนี้ไม่ลด เรายังเป็นหนี้เพิ่มขึ้นมาอีก

ตามที่เราเข้าใจ มาตลอด ความน่าจะเป็นคือ

ยอดจากสัญญาที่ 1. ยอดจะต้องเป็น 1,030,000 (1,525,000-495,000) ที่ต้องนำไปคำนวนดอกเบี้ยเงินกู้ เพราะเราออกบิลขายรถให้ไป 495,000 บาท ต้องแยกสัญญาออกเพราะดอกเบี้ยต่างกัน 
สัญญาที่ 2 สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ยอดอยู่ที่ 495,000 +ดอกเบี้ย เป็นจำนวน 805,173.93 บาท

แต่แบงค์ยังคงจำนวนเงินกู้ยอดเต็มในสัญญาแรกคือจำนวน 1,525,000 บาท โดยคิดเป็นอัตตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหมดโดยไม่ได้หักยอด 495,000 ของสัญญาเช่าซื้อออกไป เท่ากับว่า ยอด 495,000 บาท เราจ่ายทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ และดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ เอาละซิ 

แล้วตอนนี้ที่แบงค์ฟ้องเราค่ะ เท่ากับว่าเราเป็นหนี้ 2 สัญญา ถ้ารวมยอด 2 สัญญาแล้วเป็นเงิน 2,330,173.93 บาท ตกใจค่ะ ทั้งๆที่เราได้ยอดเงินกู้ 1,525,000 บาท

แล้วยอดมูลหนี้คงเหลือค่ะ ยอดสัญญาแรก 1,525,000 บาท มูลหนี้คงเหลือ 1,651,748.50 บาท และสัญญาที่ 2 ยอด 805,173.93 บาท หมูลหนี้คงเหลือ 79,841.71 บาท รวมเป็น 1,731,590.21 บาท  ซึ่งเป็นยอดที่เยอะมากค่ะ แถมยังต้องจ่ายดอกเบี้ย สัญญาเช่าซื้อ 2 ต่ออีก หรือว่าเราเข้าใจผิดตรงไหน ช่วยแนะนำเราทีค่ะ 

ปล ใครก็ได้ช่วยให้คำแนะนำเราทีเราเครียดมากค่ะ 
ปล 2 เย็นๆมาอ่านคอมเม้นนะคะ นอมรับคำแนะนำทุกคอมเม้นค่ะ 

ขอบคุณมากค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่