หลักการ ๓
๑. สัพพะปาปัสสสะ อะกะระณัง คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒. กุสะลัสสูปะสัมปะทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม
กุศล คือ สร้างเหตุให้สัปปายะพร้อมเกิดสิทธิที่จะได้รับโอกาส เพื่อให้ได้รับปัญญา เข้าใจรู้ถึงธรรมต่างๆ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
กุศลนี้ทำให้เราเกิดพบปะกัลยาณมิตร หรือผู้มีวาสนาบุญต่อกัน ผู้หวังดีต่อกัน ซึ่งมาเอื้อ-เกื้อ-กันและกัน
ปัญญาที่รู้ข้อที่ตนผิดพลาดและแก้ไขใหม่ให้ดีถูกต้องเจริญตามธรรม หมายถึง การที่เรารู้ข้อผิดพลาดของตน เช่น การกระทำ พีามฤติกรรมที่ไม่ดี นิสัยที่ไม่ดีของตน แล้วแก้ไขการกระทำ พฤติกรรม นิสัยของตนให้ดีถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชื่อได้ว่าเป็นกุศล หรือพูดง่ายๆว่า เราทำผิด ยอมรับผิด แล้วแก้ไข ไม่ทำผิดอีกต่อไป ชื่อว่ากุศล (กรรมที่ทำให้เราเจริญ)
อกุศล แปลว่า ไม่ฉลาด, บาป, ชั่ว, ไม่รู้ข้อผิดพลาดของตนและยังทำชั่วต่อไป ซึ่งตรงข้ามกับกุศล (กรรมที่ทำให้เราเสื่อมในธรรม)
ความสัมพันธ์ระหว่างบุญก่อเกิดกุศล กุศลทำให้เกิดบุญ คือ ความอิ่มเอิบใจว่าเราได้ทำดี ส่งผลให้เราประจักษ์ว่าสิ่งนี้ดียังไง มีอะไรดีต่อตัวเรา เราได้รับผลแห่งสิ่งนั้นดียังไง พอซึ้งประจักษ์แล้วส่งผลอะไร? มั่นใจทำมากขึ้น กลายเป็นกุศล กลายเป็นมีโอกาสที่จะทำบุญมากขึ้น
อานิสงส์กุศล
๑. กุศลมี ได้โอกาส
๒. มีปัญญา
๓. นำมาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจเหตุกับผล
๔. วิเคราะห์ถึงเหตุ ผล
๕. เจริญโยนิโสมนสิการให้ละเอียดขึ้น
๖. รู้ประจักษ์ กระจ่าง
๗. เอาสิ่งที่ประจักษ์ไปทำ
๘. สิ่งที่ทำมาวิเคราะห์เหตุและผล
๙. เจริญการแก้ไข ลด/เพิ่ม
๑๐. เข้าสุ่การปฏิบัติอย่างแน่วแน่ ชัดเจน จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด (จจด.)
๑๑. เสริมทางตบะ
๑๒. สรุปผลที่ได้ขณะนั้นเป็นอย่างไร
วนเป็นรอบๆ
๓. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง คือ การทำจิตให้ผ่องใส
ทำจิตใจให้ผ่องใส หมายถึง มีสติสัมปชัญญะทำจิตใจให้ระมัดระวังความชั่ว ความผิด เพราะว่า ถ้าเราไปย่ำกรายกับความทุกข์เราย่อมเกิดทุกข์ เหตุเพราะว่าการทำอกุศลจะทำให้เกิดทุกข์ ผลก็คือทุกข์ และคำว่า "บริสุทธิ์" บริสุทธิ์จากความชั่ว ความคิดที่ชั่ว การกระทำที่ไม่ดี อกุศล
หลักการ ๓ มาฆบูชา
๑. สัพพะปาปัสสสะ อะกะระณัง คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒. กุสะลัสสูปะสัมปะทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม
กุศล คือ สร้างเหตุให้สัปปายะพร้อมเกิดสิทธิที่จะได้รับโอกาส เพื่อให้ได้รับปัญญา เข้าใจรู้ถึงธรรมต่างๆ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
กุศลนี้ทำให้เราเกิดพบปะกัลยาณมิตร หรือผู้มีวาสนาบุญต่อกัน ผู้หวังดีต่อกัน ซึ่งมาเอื้อ-เกื้อ-กันและกัน
ปัญญาที่รู้ข้อที่ตนผิดพลาดและแก้ไขใหม่ให้ดีถูกต้องเจริญตามธรรม หมายถึง การที่เรารู้ข้อผิดพลาดของตน เช่น การกระทำ พีามฤติกรรมที่ไม่ดี นิสัยที่ไม่ดีของตน แล้วแก้ไขการกระทำ พฤติกรรม นิสัยของตนให้ดีถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชื่อได้ว่าเป็นกุศล หรือพูดง่ายๆว่า เราทำผิด ยอมรับผิด แล้วแก้ไข ไม่ทำผิดอีกต่อไป ชื่อว่ากุศล (กรรมที่ทำให้เราเจริญ)
อกุศล แปลว่า ไม่ฉลาด, บาป, ชั่ว, ไม่รู้ข้อผิดพลาดของตนและยังทำชั่วต่อไป ซึ่งตรงข้ามกับกุศล (กรรมที่ทำให้เราเสื่อมในธรรม)
ความสัมพันธ์ระหว่างบุญก่อเกิดกุศล กุศลทำให้เกิดบุญ คือ ความอิ่มเอิบใจว่าเราได้ทำดี ส่งผลให้เราประจักษ์ว่าสิ่งนี้ดียังไง มีอะไรดีต่อตัวเรา เราได้รับผลแห่งสิ่งนั้นดียังไง พอซึ้งประจักษ์แล้วส่งผลอะไร? มั่นใจทำมากขึ้น กลายเป็นกุศล กลายเป็นมีโอกาสที่จะทำบุญมากขึ้น
อานิสงส์กุศล
๑. กุศลมี ได้โอกาส
๒. มีปัญญา
๓. นำมาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจเหตุกับผล
๔. วิเคราะห์ถึงเหตุ ผล
๕. เจริญโยนิโสมนสิการให้ละเอียดขึ้น
๖. รู้ประจักษ์ กระจ่าง
๗. เอาสิ่งที่ประจักษ์ไปทำ
๘. สิ่งที่ทำมาวิเคราะห์เหตุและผล
๙. เจริญการแก้ไข ลด/เพิ่ม
๑๐. เข้าสุ่การปฏิบัติอย่างแน่วแน่ ชัดเจน จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด (จจด.)
๑๑. เสริมทางตบะ
๑๒. สรุปผลที่ได้ขณะนั้นเป็นอย่างไร
วนเป็นรอบๆ
๓. สะจิตตะปะริโยทะปะนัง คือ การทำจิตให้ผ่องใส
ทำจิตใจให้ผ่องใส หมายถึง มีสติสัมปชัญญะทำจิตใจให้ระมัดระวังความชั่ว ความผิด เพราะว่า ถ้าเราไปย่ำกรายกับความทุกข์เราย่อมเกิดทุกข์ เหตุเพราะว่าการทำอกุศลจะทำให้เกิดทุกข์ ผลก็คือทุกข์ และคำว่า "บริสุทธิ์" บริสุทธิ์จากความชั่ว ความคิดที่ชั่ว การกระทำที่ไม่ดี อกุศล