หนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย อีอีซี พร้อมลุยพัฒนาสถานีดาวเทียมศรีราชา
อุตสาหกรรมอวกาศ (Space Industry) ในไทยมีแนวโน้มขยายตัว โดยคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) รายงานผลการศึกษามูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในอุตสาหกรรมอวกาศของไทยปี 2562 มีมูลค่า 56,000 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมกิจการทางตรง เช่น ระบบรับสัญญาณภาคพื้นดิน การผลิตอากาศยาน รวมถึงกิจการต่อเนื่อง เช่น การกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ การแพทย์ทางไกล
อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ จิสด้า เปิดเผยว่า จิสด้ามีแผนพัฒนาสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา THEOS อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอวกาศด้วย โดยจะไม่ใช่แค่การสร้างสถานีควบคุมเท่านั้น แต่การที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์มาตรฐานและทดสอบดาวเทียมที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์
ทั้งนี้ เมื่อมีการพัฒนาสถานีดาวเทียมเสร็จสมบูรณ์แล้ว ภาคเอกชนที่มีการผลิตและพัฒนาอุปกรณ์ ส่วนประกอบที่เกี่ยวกับดาวเทียมจะมาใช้สถานที่นี้ในการทดสอบอุปกกรณ์และขอรับรองมาตรฐานเพื่อนำไปจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลที่มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศและการบินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
“ในอนาคตการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจะมีมาก อุตสาหกรรมด้านนี้ก็จะขยายตัว มีโรงงานผลิตและซัพพายเออร์จำนวนมาก การมีศูนย์ทดสอบและรับรองมาตรฐานดาวเทียมที่ศรีราชาเราวางแผนที่จะเปิดให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เอกชนที่มีการพัฒนาสินค้าและอปุกรณ์สามารถมาขอทดสอบมาตรฐานได้"
รวมทั้งการมีศูนย์นี้จะช่วยให้เราแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมนี้ทั้งด้านคุณภาพและราคา โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้หากเทียบในระดับอาเซียนไทยถือว่าอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และอินโดนีเซีย โดยปัจจุบันมีเวียดนามเป็นคู่แข่งในลำดับที่ 4 ที่เริ่มมีการพัฒนาในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับโครงการระบบดาวเทียม THEOS-2 ที่จิสด้ารับผิดชอบโครงการนี้ ขณะนี้ดาวเทียมอยู่ระหว่างการผลิตของบริษัทแอร์บัส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีกำหนดจะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในปี 2566 ขณะที่จิสด้ากำลังเตรียมความพร้อมด้านซอฟแวร์การควบคุมเพื่อใช้ประโยชน์จากดาวเทียม รวมทั้งเตรียมความพร้อมบุคลากรด้วยการส่งไปฝึกอบรมทั้งที่อังกฤษและฝรั่งเศส
สำหรับสถานนีควบคุมดาวเทียมจิสด้าได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 700 ล้านบาท ให้ตั้งสถานีควบคุมที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยงบประมาณส่วนนี้ได้รับการอนุมัติในครั้งเดียวกับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินโครงการดาวเทียม THEOS-2 วงเงิน 6,980 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นงบประมาณการสร้างสถานีควบคุม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมโครงการนี้
นอกจากนี้ การประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้หารือถึง ร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศ พ.ศ..... ซึ่งมีความคืบหน้าในการยกร่างกฎหมายไปมาก และได้มีการเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว เพื่อเตรียมที่จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของไทย โดยสาระสำคัญเขตครอบคลุมกับกิจการอวกาศที่ยังไม่มีอยู่ภายใต้กฎหมายใดหรือยังไม่มีหน่วยงานใดทํามาก่อน เช่น การจดทะเบียนวัตถุอวกาศ การจัดการอุบัติเหตุทางอวกาศ การสร้างดาวเทียมและวัตถุอวกาศ
ส่วนภารกิจที่มีการดําเนินงานอยู่แล้วยังเป็นของหน่วยงานเดิมในการกำกับดูแลต่อไป เช่น คลื่นความถี่, วงโคจร, การอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติเข้ามาให้บริการในประเทศ (Landing Right), อุปกรณ์ชิ้นส่วนที่มีลักษณะยุทธภัณฑ์
รวมทั้งได้มีการหารือถึงหน่วยงานกลางที่จะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการอวกาศทำหน้าที่เป็นคนออกกฎหมายและควบคุมในลักษณะเรกูเรเตอร์ โดยตามข้อบังคับที่กำหนดในกฎหมายจะให้มีการจัดตั้งสำนักงานกิจการนโยบายอวกาศ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยตรง
พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติรับทราบความคืบหน้าการผลักดันนโยบายยุทธศาสตร์ด้านกิจการอวกาศ ตามแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ 20 ปี (2560-2579)
ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันมีปริมาณดาวเทียม และวัตถุอวกาศรวมทั้ง ขยะอวกาศโคจรรอบโลกเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อการปฎิบัติการและการใช้งานดาวเทียมของหลายประเทศรวมทั้งไทย ซึ่งไทยมีดาวเทียมอยู่ในอวกาศทั้ง ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร และดาวเทียมพิเศษขนาดเล็กของภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ทำให้ไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบจากวัตถุอวกาศเหล่านี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำนโยบายและแผนดำเนินการเฝ้าระวัง และการจราจรทางอวกาศ โดยให้กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานหลักเพราะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคง รวมถึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนด้วย โดย พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เร่งรัดกำกับ ติดตาม และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเร็วที่สุด รวมทั้งได้ขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการทำงานเพื่อผลักดันเรื่องนี้
พร้อมทั้งมอบหมายให้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไปเร่งกำหนดทิศทางและผลักดันนโยบายด้านกิจการอวกาศของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนากิจการด้านอวกาศของประเทศ
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
EEC - หนุนอุตสาหกรรมอวกาศ แข่งสิงคโปร์-อินโดนีเซีย
อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ จิสด้า เปิดเผยว่า จิสด้ามีแผนพัฒนาสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา THEOS อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอวกาศด้วย โดยจะไม่ใช่แค่การสร้างสถานีควบคุมเท่านั้น แต่การที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์มาตรฐานและทดสอบดาวเทียมที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์
ทั้งนี้ เมื่อมีการพัฒนาสถานีดาวเทียมเสร็จสมบูรณ์แล้ว ภาคเอกชนที่มีการผลิตและพัฒนาอุปกรณ์ ส่วนประกอบที่เกี่ยวกับดาวเทียมจะมาใช้สถานที่นี้ในการทดสอบอุปกกรณ์และขอรับรองมาตรฐานเพื่อนำไปจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลที่มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศและการบินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
“ในอนาคตการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจะมีมาก อุตสาหกรรมด้านนี้ก็จะขยายตัว มีโรงงานผลิตและซัพพายเออร์จำนวนมาก การมีศูนย์ทดสอบและรับรองมาตรฐานดาวเทียมที่ศรีราชาเราวางแผนที่จะเปิดให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เอกชนที่มีการพัฒนาสินค้าและอปุกรณ์สามารถมาขอทดสอบมาตรฐานได้"
รวมทั้งการมีศูนย์นี้จะช่วยให้เราแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมนี้ทั้งด้านคุณภาพและราคา โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้หากเทียบในระดับอาเซียนไทยถือว่าอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และอินโดนีเซีย โดยปัจจุบันมีเวียดนามเป็นคู่แข่งในลำดับที่ 4 ที่เริ่มมีการพัฒนาในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับโครงการระบบดาวเทียม THEOS-2 ที่จิสด้ารับผิดชอบโครงการนี้ ขณะนี้ดาวเทียมอยู่ระหว่างการผลิตของบริษัทแอร์บัส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีกำหนดจะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในปี 2566 ขณะที่จิสด้ากำลังเตรียมความพร้อมด้านซอฟแวร์การควบคุมเพื่อใช้ประโยชน์จากดาวเทียม รวมทั้งเตรียมความพร้อมบุคลากรด้วยการส่งไปฝึกอบรมทั้งที่อังกฤษและฝรั่งเศส
สำหรับสถานนีควบคุมดาวเทียมจิสด้าได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 700 ล้านบาท ให้ตั้งสถานีควบคุมที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยงบประมาณส่วนนี้ได้รับการอนุมัติในครั้งเดียวกับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินโครงการดาวเทียม THEOS-2 วงเงิน 6,980 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นงบประมาณการสร้างสถานีควบคุม การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมโครงการนี้
นอกจากนี้ การประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 3 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้หารือถึง ร่าง พ.ร.บ.กิจการอวกาศ พ.ศ..... ซึ่งมีความคืบหน้าในการยกร่างกฎหมายไปมาก และได้มีการเปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว เพื่อเตรียมที่จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศของไทย โดยสาระสำคัญเขตครอบคลุมกับกิจการอวกาศที่ยังไม่มีอยู่ภายใต้กฎหมายใดหรือยังไม่มีหน่วยงานใดทํามาก่อน เช่น การจดทะเบียนวัตถุอวกาศ การจัดการอุบัติเหตุทางอวกาศ การสร้างดาวเทียมและวัตถุอวกาศ
ส่วนภารกิจที่มีการดําเนินงานอยู่แล้วยังเป็นของหน่วยงานเดิมในการกำกับดูแลต่อไป เช่น คลื่นความถี่, วงโคจร, การอนุญาตให้ดาวเทียมต่างชาติเข้ามาให้บริการในประเทศ (Landing Right), อุปกรณ์ชิ้นส่วนที่มีลักษณะยุทธภัณฑ์
รวมทั้งได้มีการหารือถึงหน่วยงานกลางที่จะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการอวกาศทำหน้าที่เป็นคนออกกฎหมายและควบคุมในลักษณะเรกูเรเตอร์ โดยตามข้อบังคับที่กำหนดในกฎหมายจะให้มีการจัดตั้งสำนักงานกิจการนโยบายอวกาศ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยตรง
พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติรับทราบความคืบหน้าการผลักดันนโยบายยุทธศาสตร์ด้านกิจการอวกาศ ตามแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ 20 ปี (2560-2579)
ทั้งนี้ เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันมีปริมาณดาวเทียม และวัตถุอวกาศรวมทั้ง ขยะอวกาศโคจรรอบโลกเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อการปฎิบัติการและการใช้งานดาวเทียมของหลายประเทศรวมทั้งไทย ซึ่งไทยมีดาวเทียมอยู่ในอวกาศทั้ง ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร และดาวเทียมพิเศษขนาดเล็กของภาครัฐ และสถาบันการศึกษา ทำให้ไทยมีโอกาสได้รับผลกระทบจากวัตถุอวกาศเหล่านี้
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำนโยบายและแผนดำเนินการเฝ้าระวัง และการจราจรทางอวกาศ โดยให้กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานหลักเพราะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคง รวมถึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนด้วย โดย พล.อ.ประวิตร ได้กำชับให้คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เร่งรัดกำกับ ติดตาม และผลักดันการดำเนินงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเร็วที่สุด รวมทั้งได้ขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการทำงานเพื่อผลักดันเรื่องนี้
พร้อมทั้งมอบหมายให้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไปเร่งกำหนดทิศทางและผลักดันนโยบายด้านกิจการอวกาศของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนากิจการด้านอวกาศของประเทศ
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ