Little Women (2019)
กำกับโดย Greta Gerwig (Lady Bird)
9/10
เคยดูเวอชั่น 1994 ในห้องเรียนตอน ม.ต้น ซึ่งชอบประมาณหนึ่ง แต่ทำให้เห็นเลยว่าเวอชั่นนี้ไม่ใช่แค่การดัดแปลงธรรมดาอีกรอบเท่านั้น หากเปรียบเสมือนได้มองเรื่องราวอันคุ้นเคยนี้ผ่านสายตาสดใหม่และความเข้าใจที่ลึกซึ้งของเกรต้า เกอร์วิก จนยังได้เห็นอีกว่าเธอพัฒนาในฐานะผู้กำกับและคนเขียนบทไปอีกขั้นมากจริงๆ เรื่องนี้เหมือน
Lady Bird ตรงที่เปี่ยมความเข้าอกเข้าใจแก่ตัวละครทุกตัวได้เฉิดฉาย ไม่ว่าบทแต่ละคนจะเล็กใหญ่แค่ไหน (บทเม็กที่เอ็มม่า วัตสัน เล่น ไม่เคยถูกเปิดมุมมองต่อคนดูให้โลกของเธอรู้สึกรุ่มรวยเท่าเวอชั่นนี้, บทคุณลอเรนซ์ของคริส คูเปอร์ นั้นมีไม่มาก แต่ทุกฉากเปี่ยมไปด้วยประวัติเศร้าโศกที่ชวนให้นึกบทครูหลวงพ่อใน Lady Bird ที่โผล่มาสั้นๆแต่เจ็บปวด ด้วยปูมหลังเล่าน้อยต่อยหนักเช่นกัน, ฯลฯ)
แต่การขยับเขยื้อนเส้นเวลาให้เป็นสองแพร่งคู่ขนาน และใส่ความ meta ให้บางฉากว่าอาจเป็นเรื่องแต่งของตัวละครในเรื่องเอง ช่วยพาสไตล์ข้างต้นของเกอร์วิกให้ถึงจุดสูงสุดทางอารมณ์ขึ้นไปอีก เพราะเกอร์วิกสามารถพับเหตุการณ์ที่อยู่ห่างกันเป็นปีๆมาว่างคู่กันเพื่อเปรียบเทียบประเด็นและขับเน้นอารมณ์ จนสี่ดรุณีเวอชั่นนี้รู้สึกสดใหม่ชวนทึ่งมากจริงๆ โครงสร้างเวลาใหม่และการตัดต่อฉับไวเหมือนตอน Lady Bird พาสี่ดรุณีเวอชั่นนี้เสมือนบทสนทนาระหว่าง วันเวลาวัยเด็กอันอิสระไร้ภาระ กับ ภาระหน้าที่ความเป็นจริงและความยากลำบากในวัยผู้ใหญ่ จนเราอดเจ็บปวดไปกับการเปรียบเทียบของเกอร์วิกไม่ได้ว่าภาพวัยเด็กนั้นช่างแสนสั้นผ่านไปรวดเร็ว จนบางทีก็เป็นแค่เศษเสี้ยวให้ระลึกย้อนหลังในช่วงเวลาปัจจุบัน วิธีเล่านี้ยังทำให้ธีม “จงเป็นเจ้าของเรื่องของตน” ที่ถูกนำมาเป็น tagline โปสเตอร์หนัง มีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะมันขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละคน ในแต่ละช่วงวัยชีวิต ของสี่พี่น้อง
และอาจไม่มีฉากไหนในรอบปีที่ให้ความรู้สึกว่าหนังมีลายเซ็นผู้กำกับเบื้องหลังชัดแจ้ง (จนเข้ากับความ “จงเป็นเจ้าของเรื่องของตน”) ได้เท่ากับฉากที่ โจ (เซียร์ช่า โรนัน) เกิดไฟศิลปินลุกโชนขึ้นหลังผ่านโศกนาฏกรรมครอบครัว จนขังตัวเองในห้องใต้หลังคาและถ่ายเทเรื่องราวชีวิตตนลงเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง เวลาเราเห็นโจเรียงกระดาษเป็นสิบๆแผ่นบนพื้นแล้วพิจารณาแต่ละหน้าอย่างละเอียด ก็ชวนอดไม่ได้ที่จะมองเห็นเกอร์วิกอยู่ในฉากนั้นเช่นกัน ว่าเธอกำลังครุ่นคิดถึงทุกเศษเสี้ยวส่วนประกอบของหนังอย่างถี่ถ้วน เพื่อหาวิธีจัดเรียงที่ดีที่สุดที่จะถ่ายทอดความรู้สึกร่วมอันลึกซึ้งและส่วนตัวต่อเรื่องสี่ดรุณี ส่งเป็นภาพชัดเจนถึงคนดูหนังเป็นพันๆคน เฉกเช่นเดียวกับหนังสือสี่ดรุณีของโจ และหนังสือสี่ดรุณีในโลกของเรา (ที่ผู้แต่ง หลุยซ่า เมย์ อัลค็อตต์ ถูกยุคสมัยนั้นบังคับให้เขียนจบด้วยการแต่งงาน ทั้งๆที่อัลค็อตต์ไม่ต้องการ เกอร์วิกหาทางลงได้ชาญฉลาดในการคารวะ โดยจบหนังแบบให้คนดูสามารถเลือกได้ระหว่าง เวอชั่นหนังสือที่ถูกตีพิมพ์จนเป็นวรรณกรรมคลาสสิค หรือ เวอชั่นในความตั้งใจดั้งเดิมของอัลค็อตต์)
ซึ่งหากมองผลลัพธ์อันละเมียดละไมเปี่ยมความรู้สึก อาจไม่เป็นการเกินเลยที่จะกล่าวว่าเกอร์วิกทำออกมาได้ประสบความสำเร็จสูงมาก จนหนังที่อาจเป็นแค่การดัดแปลงวรรณกรรมคลาสสิคอีกครั้ง กลายเป็นหนึ่งในฝีมือกำกับและเล่าเรื่องแบบ auteur ที่ล้ำลึกและส่วนตัวที่สุดของปีเลยทีเดียว
ติดตามรีวิวหนังและข่าวน่าสนใจในโลกภาพยนตร์อื่นๆของผมได้ที่
www.facebook.com/themoviemood ครับ
[CR] [รีวิว] Little Women (9/10) ...ไม่ใช่แค่ดัดแปลงวรรณกรรมคลาสสิคอีกรอบ แต่เป็นการจัดเรียงใหม่เพื่อเข้าถึงแก่นหัวใจสี่ดรุณี
กำกับโดย Greta Gerwig (Lady Bird)
9/10
เคยดูเวอชั่น 1994 ในห้องเรียนตอน ม.ต้น ซึ่งชอบประมาณหนึ่ง แต่ทำให้เห็นเลยว่าเวอชั่นนี้ไม่ใช่แค่การดัดแปลงธรรมดาอีกรอบเท่านั้น หากเปรียบเสมือนได้มองเรื่องราวอันคุ้นเคยนี้ผ่านสายตาสดใหม่และความเข้าใจที่ลึกซึ้งของเกรต้า เกอร์วิก จนยังได้เห็นอีกว่าเธอพัฒนาในฐานะผู้กำกับและคนเขียนบทไปอีกขั้นมากจริงๆ เรื่องนี้เหมือน Lady Bird ตรงที่เปี่ยมความเข้าอกเข้าใจแก่ตัวละครทุกตัวได้เฉิดฉาย ไม่ว่าบทแต่ละคนจะเล็กใหญ่แค่ไหน (บทเม็กที่เอ็มม่า วัตสัน เล่น ไม่เคยถูกเปิดมุมมองต่อคนดูให้โลกของเธอรู้สึกรุ่มรวยเท่าเวอชั่นนี้, บทคุณลอเรนซ์ของคริส คูเปอร์ นั้นมีไม่มาก แต่ทุกฉากเปี่ยมไปด้วยประวัติเศร้าโศกที่ชวนให้นึกบทครูหลวงพ่อใน Lady Bird ที่โผล่มาสั้นๆแต่เจ็บปวด ด้วยปูมหลังเล่าน้อยต่อยหนักเช่นกัน, ฯลฯ)
แต่การขยับเขยื้อนเส้นเวลาให้เป็นสองแพร่งคู่ขนาน และใส่ความ meta ให้บางฉากว่าอาจเป็นเรื่องแต่งของตัวละครในเรื่องเอง ช่วยพาสไตล์ข้างต้นของเกอร์วิกให้ถึงจุดสูงสุดทางอารมณ์ขึ้นไปอีก เพราะเกอร์วิกสามารถพับเหตุการณ์ที่อยู่ห่างกันเป็นปีๆมาว่างคู่กันเพื่อเปรียบเทียบประเด็นและขับเน้นอารมณ์ จนสี่ดรุณีเวอชั่นนี้รู้สึกสดใหม่ชวนทึ่งมากจริงๆ โครงสร้างเวลาใหม่และการตัดต่อฉับไวเหมือนตอน Lady Bird พาสี่ดรุณีเวอชั่นนี้เสมือนบทสนทนาระหว่าง วันเวลาวัยเด็กอันอิสระไร้ภาระ กับ ภาระหน้าที่ความเป็นจริงและความยากลำบากในวัยผู้ใหญ่ จนเราอดเจ็บปวดไปกับการเปรียบเทียบของเกอร์วิกไม่ได้ว่าภาพวัยเด็กนั้นช่างแสนสั้นผ่านไปรวดเร็ว จนบางทีก็เป็นแค่เศษเสี้ยวให้ระลึกย้อนหลังในช่วงเวลาปัจจุบัน วิธีเล่านี้ยังทำให้ธีม “จงเป็นเจ้าของเรื่องของตน” ที่ถูกนำมาเป็น tagline โปสเตอร์หนัง มีความสลับซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพราะมันขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละคน ในแต่ละช่วงวัยชีวิต ของสี่พี่น้อง
และอาจไม่มีฉากไหนในรอบปีที่ให้ความรู้สึกว่าหนังมีลายเซ็นผู้กำกับเบื้องหลังชัดแจ้ง (จนเข้ากับความ “จงเป็นเจ้าของเรื่องของตน”) ได้เท่ากับฉากที่ โจ (เซียร์ช่า โรนัน) เกิดไฟศิลปินลุกโชนขึ้นหลังผ่านโศกนาฏกรรมครอบครัว จนขังตัวเองในห้องใต้หลังคาและถ่ายเทเรื่องราวชีวิตตนลงเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง เวลาเราเห็นโจเรียงกระดาษเป็นสิบๆแผ่นบนพื้นแล้วพิจารณาแต่ละหน้าอย่างละเอียด ก็ชวนอดไม่ได้ที่จะมองเห็นเกอร์วิกอยู่ในฉากนั้นเช่นกัน ว่าเธอกำลังครุ่นคิดถึงทุกเศษเสี้ยวส่วนประกอบของหนังอย่างถี่ถ้วน เพื่อหาวิธีจัดเรียงที่ดีที่สุดที่จะถ่ายทอดความรู้สึกร่วมอันลึกซึ้งและส่วนตัวต่อเรื่องสี่ดรุณี ส่งเป็นภาพชัดเจนถึงคนดูหนังเป็นพันๆคน เฉกเช่นเดียวกับหนังสือสี่ดรุณีของโจ และหนังสือสี่ดรุณีในโลกของเรา (ที่ผู้แต่ง หลุยซ่า เมย์ อัลค็อตต์ ถูกยุคสมัยนั้นบังคับให้เขียนจบด้วยการแต่งงาน ทั้งๆที่อัลค็อตต์ไม่ต้องการ เกอร์วิกหาทางลงได้ชาญฉลาดในการคารวะ โดยจบหนังแบบให้คนดูสามารถเลือกได้ระหว่าง เวอชั่นหนังสือที่ถูกตีพิมพ์จนเป็นวรรณกรรมคลาสสิค หรือ เวอชั่นในความตั้งใจดั้งเดิมของอัลค็อตต์)
ซึ่งหากมองผลลัพธ์อันละเมียดละไมเปี่ยมความรู้สึก อาจไม่เป็นการเกินเลยที่จะกล่าวว่าเกอร์วิกทำออกมาได้ประสบความสำเร็จสูงมาก จนหนังที่อาจเป็นแค่การดัดแปลงวรรณกรรมคลาสสิคอีกครั้ง กลายเป็นหนึ่งในฝีมือกำกับและเล่าเรื่องแบบ auteur ที่ล้ำลึกและส่วนตัวที่สุดของปีเลยทีเดียว
ติดตามรีวิวหนังและข่าวน่าสนใจในโลกภาพยนตร์อื่นๆของผมได้ที่ www.facebook.com/themoviemood ครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้