“ พรรณไม้ดึกดำบรรพ์ ” สมัยไดโนเสาร์

หญ้าทะเลเก่าแก่อายุกว่า 100,000 ปี


หญ้าทะเลโบราณที่มีความยาวถึง 15 กิโลเมตรและมีน้ำหนักมากกว่า 6, 000 เมตริกตัน อาจมีอายุมากกว่า 100, 000 ปีทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่นักวิจัยชาวออสเตรเลียพบ แต่Posidonia oceanica ซึ่งเกิดเฉพาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและน่านน้ำออสเตรเลียกำลังถูกคุกคามจากภาวะโลกร้อน

หญ้าทะเลจะแพร่พันธุ์โดยการสร้างโคลนนิ่งของมันเอง ดังนั้นทุ่งหญ้าที่ทอดพื้นที่กว้างใหญ่ของก้นทะเลนั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกันและนับเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกันทั้งหมด
โดยนักวิจัยจากสถาบันมหาสมุทรของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ทำการวิเคราะห์ DNA ของหญ้าทะเลที่พื้นที่ 40 แห่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระยะทาง 3, 500 กิโลเมตรจากสเปนถึงไซปรัส  จากการคำนวณอัตราการเติบโตประจำปีของพืชทีมพิจารณาว่าทุ่งหญ้ามีอายุระหว่าง 80, 000 ถึง 200, 000 ปี   การค้นพบของพวกเขาถูกรายงานลงในวารสาร PLoS One ซึ่งก่อนหน้านี้สิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันคือหญ้าทะเลแทสเมเนียชื่อโลมาเทียทาสมานิกาเชื่อกันว่ามีอายุ 43, 600 ปี

Winthrop ศาสตราจารย์ Carlos Duarte ผู้อำนวยการสถาบันมหาสมุทรกล่าวว่า“ สิ่งมีชีวิตกลุ่ม Clonal มีความสามารถพิเศษในการถ่ายทอดจีโนม 'ที่มีความสามารถสูง' ผ่านรุ่นมาโดยไม่มีสิ้นสุด
หญ้าทะเลเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบนิเวศชายฝั่ง แต่การทดสอบแสดงให้เห็นว่าพวกมันได้จางหายไปทั่วโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ทุ่งหญ้าPosidoniaในมหาสมุทร Posidonia ลดลงในอัตราประมาณ 5% ต่อปี

“ ความกังวลก็คือ  ในขณะที่การลดลงของทุ่งหญ้าในมหาสมุทรโพซิโดเนียที่เติบโตมานานนับพันปีในปัจจุบัน    ชี้ให้เห็นว่าพวกมันอาจไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้อีก เนื่องจากปัจจุบันบริเวณชายฝั่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ  การเกิดยูโทรฟิเคชันและปริมาณสารอาหาร กำลังคุกคามอนาคตของหญ้าทะเลเหล่านี้
( ยูโทรฟิเคชั่น (Eutrophication)   http://reo06.mnre.go.th/home/index.php?option=com_content&task=view&id=1723&Itemid=264)
Cr.https://th.lipsumtech.com/100-000-year-old-seagrass-could-be-worlds-oldest-organism-621936
Cr.http://www.nextsteptv.com/สิ่งมีชีวิตอายุกว่า-100000-ปี/ By Admin

ต้นเฟิร์น (Fern Tree) ในออสเตรเลียและทัสมาเนีย


ต้นเฟิร์น (Fern Tree) ในออสเตรเลีย เป็นพืชดึกดำบรรพ์ ที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบัน พบอยู่ในฟอสซิลย้อนสู่ยุคไดโนเสาร์ (Jurassic) ได้กว่า 208 ล้านปี

เฟิร์นดาบออสเตรเลีย Australian sword fern ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Nephrolepis obliterata วงศ์ : POLYPODIACEAE ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ ประเทศออสเตรเลีย เป็นเฟิร์นที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีก้านใบยาวบางครั้งอาจยาวถึง 1 เมตร ใบมีสีเขียวสด ก้านใบมีสีน้ำตาล ก้านใบแข็ง ใบจะขึ้นหนาทึบไม่มีดอก ชอบแสงรำไรกึ่งแดดแต่สามารถปลูกกลางแจ้งที่มีแสงแดดที่ไม่โดนแดดโดยตรง จึงสามารถนำมาเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร นิยมปลูกในกระถางแขวนหรือในกระถางตั้งพื้น เฟิร์นดาบออสเตรเลียเป็นไม้ประดับที่ช่วยทำความสะอาดให้แก่อากาศภายในอาคารได้ดีชนิดหนึ่ง 
Cr.https://www.ecarddesignanimation.com/home/tree_new_6.php
Cr.https://th-th.facebook.com/samrujlok/photos/ต้นเฟิร์น-fern-tree-ในออสเตรเลียและทัสมาเนีย-เป็นพืชดึกดำบรรพ์-ที่ยังมีให้เห็นใน/10151001252007226/

Dicksonia Antarctica หรือ Tasmanian dicksonia


Dicksonia มาจากนามของ James Dickson (1738-1822) เป็นนักฟิสิคชาวสก็อตแลนด์ (Hoshizaki & Moran 2002 p.282).

Dicksonia antarctica เป็นต้น tree fern ที่มีขนยาวแนบติดกันประกอบด้วยเซลมากมายจากด้านล่างจนถึงปลายลำต้น
ใบยาวระหว่าง 1-3 เมตร  สำหรับDicksoniaceae มีการบันทึกประวัติจากการพิสูจน์ฟอสซิลที่มีอายุตั้งแต่สมัยจูราซิคยุตต้น

Dicksonia มีประมาณ 20-25 species เป็นกลุ่มพืชโบราณทีมีการกระจายตัวจาก St.Helena ใน Atlantic ถึง America แถบหมู่เกาะ Pacific เช่น Australia, New Zealand เป็นต้น (Large & Braggins 2004 p.56) Dicksonia ส่วนใหญ่จะขึ้นในพื้นที่ป่าชุ่มชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าที่ปกคลุมด้วยหมอกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก (Hoshizaki &Moran 2002 p.282)
ถิ่นที่อยู่อาศัยของ Manfern ที่เกาะกลุ่มอยู่รวมกันอย่างแน่นหนาตามธรรมชาติ โดยมีต้นไม้ใหญ่น้อยสอดแทรกอยู่ทั่วไป
 
Tasmanian dicksonia อาจจะเป็นเฟินยอดนิยมที่สุดและเป็นเฟินที่มีการรอดชีวิตได้ดีที่สุดในตระกูลเฟินทั้งหลาย เนื่องจากเป็น tree fern ที่ปลูกง่าย มีความสามารถเอาตัวรอดได้ดี จนมีอายุมากกว่า 400 ปี จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้อย่างง่ายๆว่าทำใมถึงเป็นเฟินยอดนิยม ทั้งนี้เพราะว่า เฟินชนิดนี้ปลูกได้ทุกแห่งและเกือบทุกสภาพ ชาวจีนรู้จักการนำเปลือกของDicksonia ลอกออกเป็นแผ่นนำมาเป็นยาสำหรับหยุดการไหลของเลือด 
References:
Large & Braggins (2004) Tree Ferns Timber Press Inc.
Hoshizaki&Moran (2002) Fern Grower’s Manua,l  Revised and Expanded Edition, Timber Press
Cr.http://www.thaifern.com/Dicksonia400/400.htm / เรียบเรียงโดย ดร.นิวัตร ตันตยานุสรณ์ Ph.D

"ต้นสนดึกดำบรรพ์" ยุคไดโนเสาร์


สนวอลเลมี ซึ่งตามปกติจะพบเห็นในรูปแบบของฟอสซิล ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่ามันสูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว จนกระทั่งมีการสำรวจพบในป่า บนเทือกเขาบลู เมาเท่น ของออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2537

เป็นต้นไม้ป่ายุคก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ 200 ล้านปี ที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ทางภาคตะวันตกของเมืองซิดนีย์ เมืองเอกรัฐนิวเซาท์เวลส์
 



ต้นสนดึกดำบรรพ์ ยุคไดโนเสาร์ อายุประมาณ 250 ล้านปี สนชนิดนี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศจีน โดยพบอยู่ในซากฟอสซิล หลังจากนั้นนักพฤกษศาสตร์ได้นำมาศึกษาวิจัยต่อที่ประเทศออสเตรเลียจนพบว่าเป็นสนพันธุ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน และคาดว่าต้นสนชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะสูง 20-80 เมตร ซึ่งทางสวนพฤกษศาตร์ประเทศออสเตรเลียได้จัดส่งต้นสนชนิดนี้ไปให้สวนพฤกษศาตร์ทั่วโลกแล้วกว่า 20 ต้น และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจำนวนประเทศดังกล่าวนั้นด้วย (ข้อมูลเพิ่มเติม : http://book.baanlaesuan.com/category/plant-guide/pine/)
อ้างอิง: http://hilight.kapook.com/view/1798
Cr.https://www.newtv.co.th/news/47762
Cr.https://sites.google.com/site/is145456/keiyw-kab-dinosear/phuch-ni-yukh-dinosear / โดย is145456

Angel Oak ต้นไม้ดึกดำบรรพ์อายุ1,400ปี


ต้นโอ๊คถือว่าเป็นต้นไม้ที่สามารถมีอายุยืนยาวเป็นพันปี และมักมีการตั้งชื่อให้กับต้นโอ๊กตามชื่อของเจ้าของที่ดิน ต้น Oak ในอเมริกา แถบ Cape Cod หลายๆต้นมีอายุเกินพันปี มันอยู่บนแผ่นดินนี้ก่อนที่จะมีการตั้งบ้านเมือง 
และนี่ก็เป็นต้นโอ๊กเก่าแก่ที่สุด มีอายุ 1400 ปี …ชื่อว่า Angel Oak กิ่งก้านที่ยาวที่สุดมีความยาวถึง 89ฟุต กิ่งอื่นๆ ก็โน้มตัวลงสู่พื้นดิน แผ่กิ่งกินอาณาบริเวณกว้าง ดูยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม

ต้น Angel Oak อยู่รอด ผ่านมาทั้ง พายุเฮอร์ริเคน น้ำท่วม แผ่นดินไหว รวมถึงมนุษย์ ต้น Angel Oak อยู่ในAngel Oak Park ใกล้กับ Charleston, South Carolina เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวในระแวกนั้น
Cr.https://www.iurban.in.th/greenery/1400-year-oldest-angel-oak-tree/ By  Ning iUrban

ปรง ไม้ดึกดำบรรพ์ที่ยังหลงเหลืออยู่


ปรง หนึ่งในไม้พุ่มที่ถือว่าเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีอายุราว1,000 ปี มีลักษณะคล้ายปาล์ม มีใบประกอบแบบขนนกเรียงหนาแน่นเป็นเรือนยอด แยกเพศต่างต้น มีลำต้นเหนือพื้นดิน ปรงมีนับ 100 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่หลายประเทศในเอเชีย ออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยมีอยู่ 12 ชนิด ได้แก่ ปรงญี่ปุ่น ปรงป่า ปรงเขา ปรงเขาชะเมา ปรงตากฟ้า ปรงทะเล ปรงเท้าช้าง ปรงเหลี่ยม ปรงผา ปรงหิน ปรงปราณบุรี และปรงเดอบาวเอนซิส
Cr.https://www.baanlaesuan.com/44913/plant-scoop/ancient_plant / บ้านและสวน
 


พืชดึกดำบรรพ์เกิดใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์



นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คลีย์ ออกแบบวิธีที่จะทำให้พืชดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกลับมามีชีวิตได้อีกครั้งในแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ช่วยให้นักบรรพชีวินวิทยาสามารถระบุประเภทของฟอสซิลได้ง่ายขึ้นในอนาคต

Jeff Benga นักศึกษาจากภาควิชาชีววิทยาบูรณาการ และพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คลีย์ ได้เผยว่า ซากฟอสซิล Leclercqia scolopendra ในตระกูล Lycopodium เมื่อประมาณ 400 ล้านปีก่อนนั้น ถูกสร้างขึ้นโดยการใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์สามมิติให้มีสภาพมีชีวิตใกล้เคียงของจริง โดยลำต้นของพืชจำลองนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร

แบบจำลองของ Benga  เป็นภาพสีเต็ม แลดูเป็นภาพถ่ายทั่วไป แต่ในความเป็นจริงนั้นวาดขึ้นมาจากต้นพืชที่ถูกกดอันอยู่ในหินเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 375 ล้านปี

พืชชนิดนี้มีชื่อว่า Leclercqia scolopendra หรือ centipede club moss มีชีวิตอยู่ในช่วง Devonian Period หรือ ‘ยุคของปลา’  ในยุคนั้น พืชในตระกูล Lycopodium เคยเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มีใบเป็นรุ่นแรก ยอดของพืชชนิดนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ใน 4 นิ้ว มักจะเปลี่ยนเป็นหนามอ่อนเพื่อแผ่กระจายอาณาเขตปกคลุมทั่วพื้นดิน ยอดใบมีลักษณะคล้ายขอเกี่ยว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีประโยชน์เพื่ออะไร แต่ก็อาจจะนำไว้ปีนต้นไม้ต้นใหญ่ต้นอื่นๆ ทุกวันนี้พืชตระกูล Lycopodium เป็นตัวแทนของพืชในกลุ่มของ quillwort club moss และ spike moss

ในงานวิจัยครั้งนี้ Benga และทีมงานได้เขียนงานวิจัยอธิบายถึงเทคนิคใหม่ที่ช่วยให้นักบรรพพฤกษศาสตร์แปลความหมายจากฟอสซิลพืชได้อย่างดีขึ้น ทำให้มั่นใจในเรื่องของการจัดสายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น และเนื่องจากว่า club moss ในปัจจุบันสืบสายพันธุ์มาจากพืชตระกูล Lycopodium นักวิจัยก็เชื่อว่า น่าจะทดสอบวิธีการนี้กับพืชในตระกูลที่เกี่ยวข้องได้ วิธีการที่ใช้วิเคราะห์พืช Leclercqia ทำให้เป็นไปได้ที่เราได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นจากชิ้นส่วนของพืช ในเศษฟอสซิลที่เสียหายและจะทำให้เราเข้าใจความหลากหลายและวิวัฒนาการของพืชใน Devonian Period
ที่มาข้อมูล:
University of California – Berkeley. (2014, April 11). Computer rendering: Graduate student brings extinct plants ‘back to life’. ScienceDaily. Retrieved April 13, 2014 from www.sciencedaily.com/releases/2014/04/140411153848.htm
J. P. Benca, M. H. Carlisle, S. Bergen, C. A. E. Stromberg. Applying morphometrics to early land plant systematics: A new Leclercqia (Lycopsida) species from Washington State, USA. American Journal of Botany, 2014; 101 (3): 510 DOI: 10.3732/ajb.1300271
http://www.vcharkarn.com/vnews/448549
Cr.http://horizon.sti.or.th/node/23  COLUMN : NEWS REVIEW

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่