The Lonely Tree of Tenere
Ténéré เป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายซาฮาร่า อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไนเจอร์ The Tree of Ténéré พันธุ์ไม้ที่มีชื่อว่าต้นอคาเซีย เป็นต้นไม้ที่พบได้ทั่วไป สิ่งที่ทำให้ The Tree of Ténéré นั้นโดดเด่น และพิเศษกว่าต้นอคาเซียทั่วไปคือ ในบริเวณรอบมันกินระยะทางออกไปอีก 200 กิโลเมตร ไม่มีต้นไม้อื่นใดขึ้นอีกเลย
The Lonely Tree of Tenere เป็นต้นไม้เพียงต้นเดียวในระยะ 400 กิโลเมตร เคยเป็นต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุด จนถึงปี 1973 โดนคนขับรถบรรทุกที่เมาเหล้าชนตาย นักวิทยาศาสตร์ได้ขุดลึกลงไป 37 เมตร (210 feet) จนถึงปลายราก จึงพบความลับของต้นไม้ว่ามีชีวิตอยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันโดดเดี่ยวได้ด้วยแหล่งน้ำใต้ดิน
ครั้งหนึ่งของพื้นที่ที่ ต้นไม้ผู้โดดเดี่ยว อยู่แห่งนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน ต่อมากลายเป็นป่าเขตร้อน แล้วถึงจะกลายเป็นทะเลทราย ในยุคโบราณที่มีไดโนเสาร์อาศัยอยู่ และมีหลักฐานว่าบริเวณนี่ไดโนเสาร์เคยต่อสู้ กับจรเข้ยักษ์ SuperCroc
มนุษย์เริ่มเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อ 60,000 ปีก่อน พบหลักฐานการล่าสัตว์ด้วยเครื่องมือหินในยุคนั้น เมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมา นักล่ายุคโบราณได้ทิ้งหลักฐานเป็นเครื่องมือหินและภาพวาดที่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1973 ทางเจ้าหน้าที่ได้ย้าย Tree of Ténéré ไปยัง Niger National Museum ซึ่งตั้งอยู่ในนีอาเม เมืองหลวงของประเทศไนเจอร์
ส่วนจุดเดิมนั้นมีการสร้างประติมากรรมโลหะของต้นไม้ขึ้นแทนที่
ภาพ ต้นไม้ผู้โดดเคี่ยวกลางทะเลทรายซาฮารา?นี้ถ่ายเมื่อปี 1939 กว่า 30 ปีก่อนที่จะถูกคนขับรถบรรทุกที่เมาเหล้าชน
Cr.
https://teen.mthai.com/variety/56559.html / By koi_la_zy
Cr.
http://www.nextsteptv.com/เหงาแต่ไหน-the-lonely-tree-of-tenere-ต้นไม้ที่/
ต้นไม้โดดเดี่ยวแห่งทะเลสาบวานาก้า
ภาพต้นไม้ที่ลอยอยู่โดดเดี่ยวท่ามกลางทะเลสาบ เป็นจุดหมายปลายทางชื่อดังและเป็นแลนด์มาร์คของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งเทือกเขาแอลป์ใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ เพราะน้อยนักที่จะเป็นต้นไม้สามารถเติบโตขึ้นท่ามกลางทะเลสาบจนเกิดเป็นภาพสวยงามเหนือจินตนาการ นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจและมาชมต้นไม้ลอยน้ำด้วยตาตัวเอง
ต้นไม้แห่งนี้เป็นที่รู้จักในฉายา “ต้นไม้โดดเดี่ยวแห่งทะเลสาบวานาก้า” ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดในนิวซีแลนด์ ต้นไม้ต้นนี้ไม่ใช่สายพันธุ์หายากแต่อย่างใดแต่คือ “ต้นวิลโลว์” ที่สามารถเติบโตท่ามกลางทะเลสาบได้ โดยรากจะจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมดทำให้ต้นไม้ต้นนี้มีการเจริญเติบโตช้ากว่าที่อื่นจึงไม่ได้มีลำต้นสูงใหญ่นัก เมื่อถึงเลาน้ำลดก็จะเห็นเจ้าต้นวิลโลว์ต้นนี้ยืนต้นอยู่บนพื้นดิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาของอุทยานแห่งชาติ Mount Aspiring National Park ในทะเลสาบวานาก้า
ที่มา atlasobscura.com
Cr.
https://travel.thaiza.com/foreign/434735/
Encephalartos Woodii ต้นสุดท้ายของสายพันธุ์
เรื่องราวของต้นไม้ที่เมื่อนานมาแล้วมันเคยครองโลกใบนี้ แต่ในปัจจุบันมันก็ได้กลายเป็นต้นไม้ต้นสุดท้ายที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลกไปแล้ว
ต้นไม้ต้นนั้นก็คือ Encephalartos Woodii หรือเรียกสั้นๆ ว่า E. woodii ซึ่งอยู่ภายใต้ความดูแลของ David Cooke ผู้ดูแลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับพืชประเภทปาล์ม มากว่า 20 ปีแล้ว
มันถูกตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษนามว่า John Medley Wood ผู้ที่ต้นพบเจ้าต้นไม้ต้นนี้ขึ้นอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายอยู่ตรงเนินเขาแห่งหนึ่งในแถบชายหาดประเทศแอฟริกาใต้ในปี 1895 เขาได้พยายามเคลื่อนย้ายมันอย่างระมัดระวังโดยนำขึ้นเรือกลับไปยังเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่สวน Kew Gardens และมันก็ได้อยู่ที่นั่นมากว่า 117 ปีแล้ว แต่ทว่าประวัติของมันไปไกลกว่านั้น
Encephalartos Woodii เป็นพืชที่อยู่ในสกุล Cycad หรือปรง ซึ่งปรงนั้นมีอยู่บนโลกมากว่า 300 ล้านปีแล้ว เวลาผ่านไป พืชสกุลปรงก็ได้เป็นร่มเงาให้กับพวก Triceratop เป็นรังให้กับ Pterodactyl และเป็นอาหารให้กับ Brontosaurus
ในช่วงยุคจูราสสิค พืชสกุลปรงได้แพร่พันธุ์จนมีจำนวนถึง 20% ของต้นไม้ทั่วทั้งโลก เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ยุคน้ำแข็งผ่านมาและผ่านไป มีพืชพันธุ์ใหม่ต่างๆ ก็ได้เข้ามาแทนที่จนทำให้ E. Woodii ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่มันต้นเดียวที่เหลืออยู่ ถูกค้นพบอย่างโดดเดี่ยวอยู่ข้างเนินเขา
ในช่วงเวลานั้น John Medley Wood ไม่ได้ทราบถึงความหายากของต้นไม้พันธุ์นี้ แต่การเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่าของเขาในการค้นหา E. Woodii ต้นอื่นๆ ทำให้เขาได้รู้ว่าเจ้า E. Woodii ที่เขาค้นพบนั้นเหลือเพียงต้นเดียวในโลก
E. Woodii เป็นพืชประเภท Dieocious หรือต้นไม่สมบูรณ์เพศ ที่ต้องการต้นเพศผู้กับต้นเพศเมียเพื่อทำให้เกิดต้นใหม่อีกต้นหนึ่ง และต้นที่ถูกค้นพบนั้นเป็นต้นเพศผู้ที่เหงาหงอยอย่างแท้จริง ถ้าหากไม่มีการค้นพบต้นเพศเมีย จะทำให้ E. Woodii ต้นนี้เป็นต้นสุดท้ายของโลก
ที่มา Greatbigstory/Youtube
Cr.
https://www.catdumb.com/loneliest-plant-on-earth/ By เหมียวฝึกหัดหมายเลข22
"ต้นสนที่เหงาสุดในโลก"
มีผู้ปลูกต้นสน Sitka spruce บนเกาะแคมป์เบลล์เมื่อปี 1905 ทำให้มันกลายเป็นสนต้นเดียวของเกาะมานับแต่นั้น
นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ร่วมกันเสนอให้ต้นสนสปรูซพันธุ์ซิตกา (Sitka spruce )ต้นหนึ่ง ที่มีอยู่เพียงต้นเดียวบนเกาะแคมป์เบลล์ของนิวซีแลนด์ ได้เป็น "หมุดทอง" (Golden spike) หรือเครื่องหมายบ่งบอกจุดเริ่มต้นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เรียกว่าสมัยแอนโทรโพซีน (Anthropocene epoch)
ศาสตราจารย์คริส เทอร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย และดร.มาร์ก มาสลิน จากยูนิเวอร์ซีตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ของสหราชอาณาจักร เผยผลการศึกษาต้นสนสปรูซดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports โดยชี้ว่าต้นสนนี้มีร่องรอยของกัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณูในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ที่ชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ฝังลึกลงไปในระบบนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วโลก
จากการวิเคราะห์วงปีของต้นสนดังกล่าว พบการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของระดับคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต้นไม้รับเข้าไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะสังเคราะห์แสง โดยช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของคาร์บอน-14 อย่างฉับพลันนี้คือปี 1965 หลังการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศโลกได้ไม่นาน
ต้นสนต้นนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงจุดเปลี่ยนผ่านจากสมัยโฮโลซีน เข้าสู่สมัยแอนโทรโพซีนได้อย่างชัดเจนที่สุด เท่าที่เคยมีการเสนอกันมา เพราะได้บันทึกข้อมูลที่แสดงถึงการเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลัน หรือ Great Acceleration ของกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งกว้างขวางครอบคลุมไปทั่วโลก" ศาสตราจารย์เทอร์นีย์กล่าว
ด้านดร.มาสลินบอกว่า การที่ต้นสนนี้อยู่ในจุดที่ห่างไกลที่สุดของซีกโลกใต้ ทำให้มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่ากิจกรรมของมนุษย์ในยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เช่นอุตสาหกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโลกทั้งใบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ชี้ว่า เราได้เข้าสู่ยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์คือปัจจัยหลักในการกำหนดสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกแล้ว
ต้นสนสปรูซต้นดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็น "ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของเกาะในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก แต่มีผู้นำมาปลูกไว้ในปี 1905 ทำให้มันเป็นต้นสนเพียงต้นเดียวบนเกาะ ส่วนไม้ยืนต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้น อยู่ที่หมู่เกาะโอคแลนด์ซึ่งห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร
Cr.
https://www.bbc.com/thai/features-43126368
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดพและขออนุญาตนำมา)
ต้นไม้ที่โดดเดี่ยวและสุดเหงา
Ténéré เป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายซาฮาร่า อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไนเจอร์ The Tree of Ténéré พันธุ์ไม้ที่มีชื่อว่าต้นอคาเซีย เป็นต้นไม้ที่พบได้ทั่วไป สิ่งที่ทำให้ The Tree of Ténéré นั้นโดดเด่น และพิเศษกว่าต้นอคาเซียทั่วไปคือ ในบริเวณรอบมันกินระยะทางออกไปอีก 200 กิโลเมตร ไม่มีต้นไม้อื่นใดขึ้นอีกเลย
The Lonely Tree of Tenere เป็นต้นไม้เพียงต้นเดียวในระยะ 400 กิโลเมตร เคยเป็นต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุด จนถึงปี 1973 โดนคนขับรถบรรทุกที่เมาเหล้าชนตาย นักวิทยาศาสตร์ได้ขุดลึกลงไป 37 เมตร (210 feet) จนถึงปลายราก จึงพบความลับของต้นไม้ว่ามีชีวิตอยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันโดดเดี่ยวได้ด้วยแหล่งน้ำใต้ดิน
ครั้งหนึ่งของพื้นที่ที่ ต้นไม้ผู้โดดเดี่ยว อยู่แห่งนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน ต่อมากลายเป็นป่าเขตร้อน แล้วถึงจะกลายเป็นทะเลทราย ในยุคโบราณที่มีไดโนเสาร์อาศัยอยู่ และมีหลักฐานว่าบริเวณนี่ไดโนเสาร์เคยต่อสู้ กับจรเข้ยักษ์ SuperCroc
มนุษย์เริ่มเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อ 60,000 ปีก่อน พบหลักฐานการล่าสัตว์ด้วยเครื่องมือหินในยุคนั้น เมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมา นักล่ายุคโบราณได้ทิ้งหลักฐานเป็นเครื่องมือหินและภาพวาดที่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1973 ทางเจ้าหน้าที่ได้ย้าย Tree of Ténéré ไปยัง Niger National Museum ซึ่งตั้งอยู่ในนีอาเม เมืองหลวงของประเทศไนเจอร์
ส่วนจุดเดิมนั้นมีการสร้างประติมากรรมโลหะของต้นไม้ขึ้นแทนที่
ภาพ ต้นไม้ผู้โดดเคี่ยวกลางทะเลทรายซาฮารา?นี้ถ่ายเมื่อปี 1939 กว่า 30 ปีก่อนที่จะถูกคนขับรถบรรทุกที่เมาเหล้าชน
Cr.https://teen.mthai.com/variety/56559.html / By koi_la_zy
Cr.http://www.nextsteptv.com/เหงาแต่ไหน-the-lonely-tree-of-tenere-ต้นไม้ที่/
ต้นไม้โดดเดี่ยวแห่งทะเลสาบวานาก้า
ภาพต้นไม้ที่ลอยอยู่โดดเดี่ยวท่ามกลางทะเลสาบ เป็นจุดหมายปลายทางชื่อดังและเป็นแลนด์มาร์คของสถานที่ท่องเที่ยวแห่งเทือกเขาแอลป์ใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ เพราะน้อยนักที่จะเป็นต้นไม้สามารถเติบโตขึ้นท่ามกลางทะเลสาบจนเกิดเป็นภาพสวยงามเหนือจินตนาการ นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจและมาชมต้นไม้ลอยน้ำด้วยตาตัวเอง
ต้นไม้แห่งนี้เป็นที่รู้จักในฉายา “ต้นไม้โดดเดี่ยวแห่งทะเลสาบวานาก้า” ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดในนิวซีแลนด์ ต้นไม้ต้นนี้ไม่ใช่สายพันธุ์หายากแต่อย่างใดแต่คือ “ต้นวิลโลว์” ที่สามารถเติบโตท่ามกลางทะเลสาบได้ โดยรากจะจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมดทำให้ต้นไม้ต้นนี้มีการเจริญเติบโตช้ากว่าที่อื่นจึงไม่ได้มีลำต้นสูงใหญ่นัก เมื่อถึงเลาน้ำลดก็จะเห็นเจ้าต้นวิลโลว์ต้นนี้ยืนต้นอยู่บนพื้นดิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาของอุทยานแห่งชาติ Mount Aspiring National Park ในทะเลสาบวานาก้า
ที่มา atlasobscura.com
Cr. https://travel.thaiza.com/foreign/434735/
Encephalartos Woodii ต้นสุดท้ายของสายพันธุ์
เรื่องราวของต้นไม้ที่เมื่อนานมาแล้วมันเคยครองโลกใบนี้ แต่ในปัจจุบันมันก็ได้กลายเป็นต้นไม้ต้นสุดท้ายที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลกไปแล้ว
ต้นไม้ต้นนั้นก็คือ Encephalartos Woodii หรือเรียกสั้นๆ ว่า E. woodii ซึ่งอยู่ภายใต้ความดูแลของ David Cooke ผู้ดูแลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับพืชประเภทปาล์ม มากว่า 20 ปีแล้ว
มันถูกตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษนามว่า John Medley Wood ผู้ที่ต้นพบเจ้าต้นไม้ต้นนี้ขึ้นอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายอยู่ตรงเนินเขาแห่งหนึ่งในแถบชายหาดประเทศแอฟริกาใต้ในปี 1895 เขาได้พยายามเคลื่อนย้ายมันอย่างระมัดระวังโดยนำขึ้นเรือกลับไปยังเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่สวน Kew Gardens และมันก็ได้อยู่ที่นั่นมากว่า 117 ปีแล้ว แต่ทว่าประวัติของมันไปไกลกว่านั้น
Encephalartos Woodii เป็นพืชที่อยู่ในสกุล Cycad หรือปรง ซึ่งปรงนั้นมีอยู่บนโลกมากว่า 300 ล้านปีแล้ว เวลาผ่านไป พืชสกุลปรงก็ได้เป็นร่มเงาให้กับพวก Triceratop เป็นรังให้กับ Pterodactyl และเป็นอาหารให้กับ Brontosaurus
ในช่วงยุคจูราสสิค พืชสกุลปรงได้แพร่พันธุ์จนมีจำนวนถึง 20% ของต้นไม้ทั่วทั้งโลก เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ยุคน้ำแข็งผ่านมาและผ่านไป มีพืชพันธุ์ใหม่ต่างๆ ก็ได้เข้ามาแทนที่จนทำให้ E. Woodii ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนเหลือแค่มันต้นเดียวที่เหลืออยู่ ถูกค้นพบอย่างโดดเดี่ยวอยู่ข้างเนินเขา
ในช่วงเวลานั้น John Medley Wood ไม่ได้ทราบถึงความหายากของต้นไม้พันธุ์นี้ แต่การเดินทางครั้งแล้วครั้งเล่าของเขาในการค้นหา E. Woodii ต้นอื่นๆ ทำให้เขาได้รู้ว่าเจ้า E. Woodii ที่เขาค้นพบนั้นเหลือเพียงต้นเดียวในโลก
E. Woodii เป็นพืชประเภท Dieocious หรือต้นไม่สมบูรณ์เพศ ที่ต้องการต้นเพศผู้กับต้นเพศเมียเพื่อทำให้เกิดต้นใหม่อีกต้นหนึ่ง และต้นที่ถูกค้นพบนั้นเป็นต้นเพศผู้ที่เหงาหงอยอย่างแท้จริง ถ้าหากไม่มีการค้นพบต้นเพศเมีย จะทำให้ E. Woodii ต้นนี้เป็นต้นสุดท้ายของโลก
ที่มา Greatbigstory/Youtube
Cr.https://www.catdumb.com/loneliest-plant-on-earth/ By เหมียวฝึกหัดหมายเลข22
"ต้นสนที่เหงาสุดในโลก"
มีผู้ปลูกต้นสน Sitka spruce บนเกาะแคมป์เบลล์เมื่อปี 1905 ทำให้มันกลายเป็นสนต้นเดียวของเกาะมานับแต่นั้น
นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ร่วมกันเสนอให้ต้นสนสปรูซพันธุ์ซิตกา (Sitka spruce )ต้นหนึ่ง ที่มีอยู่เพียงต้นเดียวบนเกาะแคมป์เบลล์ของนิวซีแลนด์ ได้เป็น "หมุดทอง" (Golden spike) หรือเครื่องหมายบ่งบอกจุดเริ่มต้นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เรียกว่าสมัยแอนโทรโพซีน (Anthropocene epoch)
ศาสตราจารย์คริส เทอร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย และดร.มาร์ก มาสลิน จากยูนิเวอร์ซีตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ของสหราชอาณาจักร เผยผลการศึกษาต้นสนสปรูซดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports โดยชี้ว่าต้นสนนี้มีร่องรอยของกัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณูในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ที่ชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ฝังลึกลงไปในระบบนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วโลก
จากการวิเคราะห์วงปีของต้นสนดังกล่าว พบการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของระดับคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต้นไม้รับเข้าไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะสังเคราะห์แสง โดยช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของคาร์บอน-14 อย่างฉับพลันนี้คือปี 1965 หลังการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศโลกได้ไม่นาน
ต้นสนต้นนี้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงจุดเปลี่ยนผ่านจากสมัยโฮโลซีน เข้าสู่สมัยแอนโทรโพซีนได้อย่างชัดเจนที่สุด เท่าที่เคยมีการเสนอกันมา เพราะได้บันทึกข้อมูลที่แสดงถึงการเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วฉับพลัน หรือ Great Acceleration ของกิจกรรมมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งกว้างขวางครอบคลุมไปทั่วโลก" ศาสตราจารย์เทอร์นีย์กล่าว
ด้านดร.มาสลินบอกว่า การที่ต้นสนนี้อยู่ในจุดที่ห่างไกลที่สุดของซีกโลกใต้ ทำให้มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่ากิจกรรมของมนุษย์ในยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เช่นอุตสาหกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโลกทั้งใบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ชี้ว่า เราได้เข้าสู่ยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์คือปัจจัยหลักในการกำหนดสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกแล้ว
ต้นสนสปรูซต้นดังกล่าว ได้ชื่อว่าเป็น "ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของเกาะในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก แต่มีผู้นำมาปลูกไว้ในปี 1905 ทำให้มันเป็นต้นสนเพียงต้นเดียวบนเกาะ ส่วนไม้ยืนต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้น อยู่ที่หมู่เกาะโอคแลนด์ซึ่งห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-43126368
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดพและขออนุญาตนำมา)