รู้สึกแปลกใจกับข้อกำหนดในการยื่นข้อร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. ข้อ 4.
คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคลทำหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มีภารกิจ ดังนี้
ฯลฯ
3. คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย
พอลองส่งเรื่องร้องเรียนไป จะมีฃอกำหนดในการยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. ขึ้นมา ดังนี้
ข้อกำหนดในการยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ.
ฯลฯ
4. ภายหลังการร้องเรียน 15 วัน หากข้าพเจ้ายังไม่ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ข้าพเจ้าจะดำเนินการติดตามเรื่องที่ร้องเรียนและจะติดตามเรื่องร้องเรียนเป็นระยะๆ ทุกเดือน
ฯลฯ
การกำหนดข้อ 4. กำหนดแบบนี้เป็นการผลักภาระในการให้บริการประชาชนของหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยอย่างที่สุด ซึ่งหากเป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการให้บริการ จะกำหนดกรอบระยะเวลาในการให้บริการเป็น KPI ในการจัดการการให้บริการต่างๆ ด้วยตัวเอง
คปภ. กำหนดแบบนี้ก็คงไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อมา ปล่อยให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนอยู่แล้วที่อุตส่าห์ดั้นด้นกระ
กระสนมาหาหน่วยงานที่จะรับเรื่องร้องเรียนหวังเป็นที่พึ่ง ทำงานแบบเชิงรับ ให้จำต้องดำเนินการติดตามเรื่องที่ร้องเรียนเอง และแถมทิ้งท้ายว่าจะติดตามเป็นระยะๆ ทุกเดือนด้วย (แสดงให้เห็นว่าครั้งแรกก็ไม่อยากจะบริการแล้ว และครั้งต่อๆ ไป ก็ให้มาติดตามทวงถามเองทุกเดือนนะ ข้าฯ อยู่เฉยๆ)
ไม่แน่ใจว่าเป็นการจงใจหรือตั้งใจจะทำแบบนี้หรือไม่ แต่การปล่อยให้มีถ้อยคำข้อความแบบนี้ปรากฎลงมาในเอกสารรับเรื่องร้องเรียน อยากให้ท่าน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ได้เห็นว่านี่คือวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์อันสวยหรู E.F.FE.C.T. ข้อ C. ที่ว่า Ensure the Proper Market Conduct to Enhance the Industry’s Credibility and Stability จริงหรือไม่
ข้อกำหนดในการยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. ข้อ 4.
คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ มีฐานะเป็นนิติบุคคลทำหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มีภารกิจ ดังนี้
ฯลฯ
3. คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย
พอลองส่งเรื่องร้องเรียนไป จะมีฃอกำหนดในการยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ. ขึ้นมา ดังนี้
ข้อกำหนดในการยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน คปภ.
ฯลฯ
4. ภายหลังการร้องเรียน 15 วัน หากข้าพเจ้ายังไม่ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ข้าพเจ้าจะดำเนินการติดตามเรื่องที่ร้องเรียนและจะติดตามเรื่องร้องเรียนเป็นระยะๆ ทุกเดือน
ฯลฯ
การกำหนดข้อ 4. กำหนดแบบนี้เป็นการผลักภาระในการให้บริการประชาชนของหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัยอย่างที่สุด ซึ่งหากเป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการให้บริการ จะกำหนดกรอบระยะเวลาในการให้บริการเป็น KPI ในการจัดการการให้บริการต่างๆ ด้วยตัวเอง
คปภ. กำหนดแบบนี้ก็คงไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อมา ปล่อยให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนอยู่แล้วที่อุตส่าห์ดั้นด้นกระกระสนมาหาหน่วยงานที่จะรับเรื่องร้องเรียนหวังเป็นที่พึ่ง ทำงานแบบเชิงรับ ให้จำต้องดำเนินการติดตามเรื่องที่ร้องเรียนเอง และแถมทิ้งท้ายว่าจะติดตามเป็นระยะๆ ทุกเดือนด้วย (แสดงให้เห็นว่าครั้งแรกก็ไม่อยากจะบริการแล้ว และครั้งต่อๆ ไป ก็ให้มาติดตามทวงถามเองทุกเดือนนะ ข้าฯ อยู่เฉยๆ)
ไม่แน่ใจว่าเป็นการจงใจหรือตั้งใจจะทำแบบนี้หรือไม่ แต่การปล่อยให้มีถ้อยคำข้อความแบบนี้ปรากฎลงมาในเอกสารรับเรื่องร้องเรียน อยากให้ท่าน ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ได้เห็นว่านี่คือวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์อันสวยหรู E.F.FE.C.T. ข้อ C. ที่ว่า Ensure the Proper Market Conduct to Enhance the Industry’s Credibility and Stability จริงหรือไม่