ดาราจักรกัมมันตะ แกแลกซี่แหล่งกำเนิดพลังงาน



แอ็คทีฟกาแล็กซี (Active Galaxy) หรือ ดาราจักรกัมมันตะ หมายถึง กาแล็กซีที่มีนิวเคลียสเป็นแหล่งพลังงานสูงนับหมื่นเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกาแล็กซีทางช้างเผือก นิวเคลียสของกาแล็กซีจำพวกนี้ (Active Galaxy Nuclei เรียกย่อๆ ว่า AGN) มีขนาดใหญ่มาก เป็นที่ตั้งของมีหลุมดำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีประเภทต่างๆ และคลื่นวิทยุที่มีความเข้มสูง  แอ็คทีฟกาแล็กซีปรากฏให้เห็นโดยมีลักษณะรูปทรงสัณฐานแตกต่างกัน

บริเวณใจกลางของกาแล็กซีแบบ active นั้นมีหลุมดำมวลยิ่งยวดที่ดึงดูดแก๊สด้วยแรงโน้มถ่วงมหาศาลให้โคจรไปรอบๆ เกิดเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า จานรวมมวล (accretion disk) ซึ่งจะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาล โดยจานรวมมวลอาจไม่ได้วางตัวอยู่ในระนาบเดียวกับกาแล็กซี

สมัยก่อนนักดาราศาสตร์ไม่ทราบว่า เมื่อสังเกตจานรวมมวลของกาแล็กซีแบบแอ๊กทีฟที่มุมต่างๆ กัน มันจะปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันจนนักดาราศาสตร์ไม่รู้ว่ามันเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน แต่เมื่อมีการศึกษาและเก็บข้อมูลมากขึ้น ในที่สุดนักดาราศาสตร์จึงสามารถสร้างแบบจำลองที่เรียกว่า unified model of active galactic nuclei ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เควซาร์ บลาซาร์ และกาแล็กซีเซเฟิร์ต นั้นคือ กาแล็กซีแบบแอ๊กทีฟที่มองในมุมต่างๆ กัน


ควอซาร์ (Quasars)


ช่วงปี ค.ศ.1960 นักดาราศาสตร์ตรวจจับแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่มีขนาดเล็กกว่ากาแล็กซีอย่างมากได้ มันเล็กเสียจนปรากฏเป็นจุดเหมือนดาวฤกษ์ แต่สเปกตรัมของมันไม่เหมือนดาวฤกษ์เลย  นักดาราศาสตร์จึงเรียกวัตถุปริศนานี้ว่า quasi-stellar object หรือควอซาร์ (Quasars)

หลังจากมีการค้นพบควอซาร์ได้ไม่นานนัก ในปี ค.ศ.1963 Maaeten Schmidt นักดาราศาสตร์แห่งหอดูดาวปาโลมาร์ (Palomar Observatory) พยายามจับคู่สเปกตรัมของควอซาร์กับเส้นสเปกตรัมบาลเมอร์ของไฮโดรเจนปรากฏว่าตรงกัน แต่มีการเลื่อนออกไปทางสีแดงซึ่งบ่งชี้ว่าควอซาร์มีการเคลื่อนที่ในทิศห่างออกจากโลกด้วยอัตราเร็วสูงมาก จากกฎของฮับเบิลทำให้นักดาราศาสตร์รู้ว่ามันอยู่ไกลจากโลกของเรามาก มันเป็นหนึ่งในวัตถุที่ไกลที่สุดเท่าที่นักดาราศาสตร์สามารถตรวจจับได้ ควอซาร์บางดวงอย่าง ULAS J1120+0641 อยู่ห่างจากโลกมากเกือบ 29,000 ล้านปีแสง แสดงด้วยจุดสีแดงเล็กๆ ตรงกลางภาพ

ปัจจุบันนักดาราศาสตร์ทราบดีว่าเควซาร์คือกลุ่มก๊าซที่ไหลวนรอบๆ หลุมดำมวลยิ่งยวดถูกแรงโน้มถ่วงของหลุมดำบีบอัดจนปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาล พลังงานที่ควอเซาร์ปลดปล่อยออกมานั้นมากกว่าพลังงานที่กาแล็กซีทั่วๆ ไปปลดปล่อยออกมานับล้านเท่า



ควอซาร์ เป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก มันเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่อยู่ไกลจากโลกหลายล้านปีแสง แต่ก็ยังสามารถจับสัญญาณได้ แสดงว่า ควอซาร์มีกำลังส่องสว่างมากกว่ากาแล็กซีแบบธรรมดานับพันเท่า นอกจากนี้ควอซาร์ยังแผ่รังสีซิงโครตรอน (Synchrotron Radiation) ซึ่งเกิดจากอนุภาคความเร็วสูง เคลื่อนที่หมุนวนเป็นเกลียวในสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง ตัวอย่างเช่น ควอซาร์ 3C 273 

ต่อมาภายหลังได้มีการค้นพบควอซาร์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ส่วนมากจะอยู่ไกลจากเรามากกว่าหลายพันล้านปีแสง ควอซาร์บางดวงนั้นเคลื่อนที่ห่างจากเราไปด้วยความเร็วสูงสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วแสง หรือไกลจากเรามากกว่า 10,000 ล้านปีแสง และดวงที่มีกำลังส่องสว่างมากที่สุด มีค่าสูง หลายพันเท่าของกาแลกซีปกติที่สว่างที่สุด ด้วยลักษณะประหลาดของควอซาร์ที่ถูกพบในระยะแรก ถูกพบในรูปของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่รุนแรง แต่ปรากฏตัวคล้ายกับดาวฤกษ์ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น นักดาราศาสตร์ จึงตั้งชื่อว่า แหล่งกำเนิดวิทยุกึ่งดาว (Quasi-Stellar Radio Sources) หรือ ควอซาร์ (Quasars) 
(Cr.http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/278/cosmos/37.htm)

บลาซาร์ (Blasars)


ในปีค.ศ. 1929 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุท้องฟ้าดวงหนึ่ง ในกลุ่มดาว (Lacertae) มีลักษณะเป็นจุดแสงคล้ายดาวฤกษ์ และมีการแปรแสงด้วยคาบเวลาที่สั้นมาก ในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักกาแล็กซีแอคทีฟ จึงได้เข้าใจว่าเป็นดาวแปรแสงดวงหนึ่ง และมีการตั้งชื่อวัตถุท้องฟ้านี้ตามระบบการตั้งชื่อแบบดาวแปรแสงว่า บีแอล แลเซอร์ต้า (BL Lacertae) หรือเรียกสั้นๆว่า บีแอล แลค (BL Lac) 
 
แต่นักดาราศาสตร์ในสมัยนั้นก็ไม่สามารถแยกชนิดเหมือนดาวฤกษ์ทั่วไปได้ จนกระทั่งถึงปีค.ศ. 1968 ได้มีการตรวจพบพลังงานที่ส่งออกมาจาก บีแอล แลค ในช่วงคลื่นวิทยุรุนแรงมาก ประกอบกับทฤษฎีว่าด้วยเรื่องกาแล็กซีแอคทีฟเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และได้มีการศึกษาลึกลงไป พบว่า บีแอล แลค นั้นมีการแผ่พลังงานในช่วงคลื่นพลังงานสูงรุนแรงด้วย จึงลงความเห็นว่า แท้จริงแล้ว บีแอล แลค ดวงนี้ไม่ใช่ดาวฤกษ์ แต่เป็นแกนกลางของกาแล็กซีแอคทีฟชนิดหนึ่ง 
โดยมีทิศทางหันส่วนของเจ็ทส์พุ่งเข้ามาทางโลกของเรา ด้วยความเร็วสูงใกล้ความเร็วแสง  ทำให้มีการแปรแสงรวดเร็วมาก จนเราสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงความสว่างนี้ได้ภายในไม่กีชั่วโมง ในขณะที่มีกำลังส่องสว่างสูงมาก คิดเป็นหลายพันเท่าของกาแล็กซีทางช้างเผือก นับว่าใกล้เคียงกับกำลังส่องสว่างของควอซาร์เลยทีเดียว ภายหลังได้มีการค้นพบวัตถุท้องฟ้าในลักษณะคล้ายกันนี้มากขึ้น จึงได้มีการเรียก วัตถุท้องฟ้าเหล่านี้ว่า บลาซาร์ (Blazars) 

บลาซาร์  เป็นลำแสงขนาดเล็กแต่แผ่รังสีมากกว่าควอซาร์นับพันเท่า  เป็นวัตถุที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาคล้ายกับควอซาร์ แต่มีความเปลี่ยนแปลงความเข้มของพลังงานในระยะเวลาที่สั้นกว่าควอซาร์ นอกจากนี้ คลื่นแสงและคลื่นวิทยุที่ปลดปล่อยออกมายังเป็นคลื่นแบบโพลาไรซ์มากกว่าควอซาร์ด้วย

บลาซาร์  เป็นกาแล็กซีวิทยุที่หันทิศทางของเจ็ทส์พุ่งตรงมายังโลกของเรา ซึ่งส่งผลให้เราสังเกตเห็นปรากฏการณ์ต่างๆ แตกต่างไปจากกาแล็กซีแอคทีฟชนิดอื่นเป็นอย่างมาก และเปิดโอกาสให้เราได้ศึกษาค้นคว้าคุณสมบัติของกาแล็กซีแอคทีฟในอีกแง่มุมหนึ่งที่สำคัญ
Cr.http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/278/cosmos/2.htm
Cr.http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/science4_1/cai/darasart_ipst/public/teacher/encyclodetail_ans_inc.php@id=140.htm
ขอบคุณภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Blazar
 

กาแล็กซีเซย์เฟิร์ต (Seyfert Galaxy)


(ภาพ: Messier 77 ซึ่งเป็นกาแล็กซีเวย์เฟิร์ตแรกๆที่ถูกค้นพบ)

ในปี ค.ศ. 1943 คาร์ล เค เซย์เฟิร์ต (Carl K. Seyfert)นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันตีพิมพ์เผยแพร่การศึกษากาแล็กซีแบบก้นหอยในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น เขาพบว่ากาแล็กซีก้นหอยบางกาแล็กซีมีนิวเคลียสขนาดเล็ก แต่ปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาลและมีสเปกตรัมที่แปลกไปจากกาแล็กซีก้นหอยอื่นๆ
ต่อมานักดาราศาสตร์พบว่ากาแล็กซีเซย์เฟิร์ตประกอบด้วยแก๊สที่อุณหภูมิสูงและอยู่ในสถานะกระตุ้น นอกจากนี้สเปกตรัมที่สังเกตได้ยังกระจายตัวอยู่ในช่วงกว้างซึ่งบ่งชี้ว่าเกิดจากปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ ของแก๊สที่โคจรรอบศูนย์กลางกาแล็กซีด้วยอัตราเร็วสูงมาก ในระดับ 10,000กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งนับว่าเร็วกว่าอัตราเร็วของแก๊สที่อยู่ใจกลางกาแล็กซีทั่วไปนับสิบเท่า

นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังพบว่ารังสีเอกซ์ที่ออกมาจากนิวเคลียสของกาแล็กซีเซย์เฟิร์ตนั้นมีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในระดับนาที ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้นักดาราศาสตร์วิเคราะห์ได้ว่าใจกลางของมันต้องมีขนาดเล็กมาก กาแล็กซีเซย์เฟิร์ตบางกาแล็กซีมีใจกลางไม่ใหญ่ไปกว่าวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์มากนัก แต่กลับปลดปล่อยพลังงานออกมามากมาย

ทุกวันนี้นักดาราศาสตร์เรียกกาแล็กซีเหล่านั้นว่า กาแล็กซีเซย์เฟิร์ต (Seyfert Galaxy) ราวๆ 2%ของกาแล็กซีแบบก้นหอยจะเป็นกาแล็กซีเซย์เฟิร์ต ส่วนสิ่งที่อยู่ใจกลางกาแล็กซีเซย์เฟิร์ตคือ หลุมดำมวลยิ่งยวดที่มีมวลนับล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์นั่นเอง
Cr.https://th-th.facebook.com/ardwarong/posts/1257672117687297/ โดย อาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ

กาแล็กซีวิทยุ (Radio Galaxy)


เป็นกาแล็กซีแอคทีฟที่มีเจ็ทส์พุ่งออกมาทั้งสองข้างจากใจกลางกาแล็กซี เนื่องจากมีทิศทางหันด้านข้างตรงมายังโลก ทำให้แลเห็นใจกลางของกาแล็กซีได้ไม่เด่นชัดนัก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากใจกลางกาแล็กซีจึงถูกดูดกลืน และบดบังโดยสารระหว่างดาวและหมู่ดาวภายในกาแล็กซีเอง ส่วนเจ็ทส์ทั้งสองนั้นเมื่อพุ่งออกสู่อวกาศด้านบนและด้านล่างของระนาบกาแล็กซี แล้วกระแทกเข้ากับสารระหว่างดาวที่เบาบางระหว่างทางที่พุ่งออกไป ปลายสุดจะเกิดเป็นจุดร้อน (Hot Spot) ล้อมรอบด้วยกลุ่มก๊าซร้อนขนาดมหึมา แลดูลูกตุ้มสองข้าง และมีการแผ่คลื่นวิทยุรุนแรงมาก จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แหล่งกำเนิดวิทยุลูกตุ้มคู่

กาแล็กซีต่างๆ มีการปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาด้วยอัตราไม่เท่ากัน นักดาราศาสตร์สามารถแบ่งประเภทของกาแล็กซีตามความเข้มของคลื่นวิทยุที่ปลดปล่อยออกมาได้เป็น
-กาแล็กซีปกติ (Normal) ที่ปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาไม่รุนแรงนัก ได้แก่ กาแล็กซีแอนโดรเมดาซึ่งเป็นกาแล็กซีที่มีขนาดใหญ่มากแต่ปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเพียง 10^32 วัตต์
-radio galaxy เป็นกาแล็กซีที่มีการปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาอย่างรุนแรง เช่น ซิกนัส เอ (Cygnus A) ซึ่งปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาถึง 10^38 วัตต์ ซึ่งมากกว่ากาแล็กซีแอนโดรเมดาถึงล้านเท่า
radio galaxy เป็นกาแล็กซีแบบ active ซึ่งมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างรุนแรง แต่กาแล็กซีแบบ active บางกาแล็กซีที่มีการปลดปล่อยคลื่นวิทยุออกมาอย่างรุนแรง 
ดังนั้น การศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติของกาแล็กซีแบบ active ย่อมทำให้เราเห็นภาพกว้างๆ ที่ครอบคลุมถึง radio galaxy ด้วย
Cr.http://www.atom.rmutphysics.com/CHARUD/oldnews/0/278/cosmos/2.htm
Cr.https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_492640
ขอบคุณภาพจาก  https://www.eso.org/public/finland/images/eso0005b/?lang
 
 


นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า ควอซาร์ กาแล็กซีเซย์เฟิร์ต กาแล็กซีวิทยุ และบลาซาร์ อาจเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน เพียงแต่สังเกตจากมุมที่แตกต่างจึงมีสัณฐานปรากฏที่ต่างกัน   หากผู้สังเกตการณ์อยู่ในแนวกระแสเจ็ตที่พุ่งออกมาก็จะมองเห็นเป็นบลาซาร์  ถ้ามองเห็นในแนวเฉียงเล็กน้อยก็จะเห็นเป็นควอซาร์หรือกาแล็กซีวิทยุ  แต่ถ้าสังเกตุการณ์จากด้านข้างก็จะเห็นเป็นเพียงแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุ (Radio source) อย่างไรก็ตามเราสามารถเปรียบกำลังส่องสว่างของแอคทีฟกาแล็กซีแต่ละประเภทได้ตามภาพ 
 
ที่มา อาทิตย์สุขสรรค์ มติชนรายวัน
ผู้เขียน อาจวรงค์ จันทมาศ www.facebook.com/ardwarong
Cr.https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_492640
Cr.http://www.pw.ac.th/emedia/media/science/lesa/4/galaxies/galaxies.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่