ญาณ (บาลี: ñāṇa; สันสกฤต: jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง
ญาณ เป็น"ไวพจน์" คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง
วิจารณญาณ หมายถึง ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี
วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของ"โยนิโสมนสิการ" มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็นให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด
วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา
โยนิโมนสิการ (บาลี: yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒ฟ
การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
คิดจากเหตุไปหาผล
คิดจากผลไปหาเหตุ
คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้
ปัญญาญาณ หยั่งรู้กำหนดรู้ มาจากไหน
ญาณ เป็น"ไวพจน์" คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง
วิจารณญาณ หมายถึง ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผน สืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า วิจารณปัญญา ก็มี
วิจารณญาณ เป็นเครื่องมือในการสังเกตคิดค้น และตัดสินวินิจฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องมือของ"โยนิโสมนสิการ" มีลักษณะเฟ้นหาไตร่ตรองข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลรอบคอบและรอบด้าน ทำให้ฉุกคิดไม่ตัดสินใจโดยรีบด่วนจนเกิดความผิดพลาด เป็นให้การสรุปผลหรือตัดสินเรื่องนั้นๆ ถูกต้องถ่องแท้ หรือผิดพลาดน้อยที่สุด
วิจารณญาณ เป็นเรื่องของปัญญา เหตุผลและข้อเท็จจริง มิใช่เป็นเรื่องของทัศนะและการคาดเดา
โยนิโมนสิการ (บาลี: yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง ดังปรากฏในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ นอกจากนั้น ยังจัดเป็นธรรมะข้อหนึ่งในกลุ่มธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา และเป็นธรรมะมีอุปการะมากแก่มนุษย์ดังพรรณาในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒ฟ
การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
คิดจากเหตุไปหาผล
คิดจากผลไปหาเหตุ
คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้