อาณาจักรมะตะรัม ปกครองชวามานาน 168 ปี จนกระทั่งภายหลังถูกดัตช์รุกรานและต่อมาถูกแบ่งแยกดินแดนออก โดยมี 2 ส่วนใหญ่ที่สำคัญ
ดินแดนแรก เป็นอาณาจักรสุรการ์ต้า ปกครองโดย สุสุฮูนัน ปากุโบโวโนที่ 2 (Pakubuwono II) ตามสายเลือดถือว่าเป็นผู้สืบทอดมะตะรัมที่ถูกต้อง
อีกดินแดน เป็นอาณาจักรโยกยาการ์ต้า ปกครองโดย ศรีสุลต่าน ฮามังกุบูโวโนที่ 1 (Hamengkubuwono I) พระอนุชาต่างพระมารดา
หลังจากที่ได้ประกาศเอกราช อินโดนีเซียให้การรับรองสถานะพิเศษเดิมของ 2 อาณาจักร โดยยกให้เป็นเขตปกครองพิเศษของสาธารณรัฐอินโดฯ
อย่างไรก็ตาม ความไม่วุ่นวายที่เกิดขึ้น ทำให้สุรการ์ต้า ถูกยุบสถานะเขตปกครองพิเศษลงในปี 1946 ส่วนโยกยาการ์ต้า ยังมีอำนาจปกครองอยู่
ผู้ปกครองเขตพิเศษพระองค์แรก คือ ศรีสุลต่าน ฮามังกุบูโวโนที่ 9 (Hamengkubuwono IX) เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมในการปฏิวัติอินโดนีเซีย
ศรีสุลต่าน ฮามังกุบูโวโนที่ 9 ทรงประสูติในวันที่ 12 เมษายน 1912 เมื่อพระชนมายุได้ 4 พรรษา ก็ได้ไปอยู่กับครอบครัวชาวดัตช์
ทรงเข้ารับการศึกษาแบบดัตช์ ศึกษาที่เมืองสะมารัง บันดุง ก่อนทรงศึกษาที่ Rijkuniversiteit หรือปัจจุบันคือมหาวิทยาลัย Leiden
ระหว่างศึกษา ทรงมีพระนามลำลองว่า Sultan Henkie โดยได้กลับมาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 28 พรรษา หลังพระราชบิดาสวรรคต
ศรีสุลต่านฯ ที่ 9 มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ยุคอาณานิคม ยุคซูการ์โน ไปจนถึงยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต มีบทบาทพอสมควรในช่วงต้น
แม้ว่าอินโดนีเซีย จะเป็นสาธารณรัฐ และศรีสุลต่านฯ จะอยู่ในฐานะผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษโดยนิตินัย แต่อิทธิพลของศรีสุลต่านฯ ก็ทรงอำนาจมาก
เมื่อซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดี เขาได้แต่งตั้งให้ศรีสุลต่านฯ ทรงดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เพื่อเป็นการเสริมความนิยมไปในตัวเขาเองด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 1978 ด้วยอำนาจของซูฮาร์โตที่มากขึ้น และมีปัญหาการทุจริตมากขึ้น รวมถึงการต่อต้านจากกลุ่มนักศึกษาในเมืองบันดุงนั้น
ศรีสุลต่านฯ ได้ตัดสินใจ ทรงลาออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดี และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในระดับประเทศ มาตั้งแต่นั้นจนเสด็จสวรรคต
นอกจากนี้ ศรีสุลต่านฯ ยังทรงเป็นผู้นำลูกเสือของประเทศอินโดนีเซีย และได้รับเหรียญหมาป่าทองแดงจากองค์การลูกเสือโลกด้วย
ศรีสุลต่านฯ ที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1988 ณ สหรัฐอเมริกา พระราชโอรสทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาเป็นศรีสุลต่านฯ องค์ที่ 10
แม้ว่าศรีสุลต่านฯ ที่ 10 จะได้ทรงดำรงตำแหน่งสุลต่านตามประเพณี แต่ตำแหน่งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษ เป็นของเจ้าชายปากูอาลัมที่ 8
10 ปีต่อมา เมื่อเจ้าชายปากูอาลัมสิ้นพระชนม์ในปี 1988 ศรีสุลต่านฯ ที่ 10 จึงได้รับดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษเป็นองค์ที่ 3
อย่างไรก็ตาม ศรีสุลต่านฯ ที่ 10 ทรงเปลี่ยนแปลงราชประเพณีหลายอย่างของโยกยาการ์ต้า รวมถึงการแต่งตั้งพระราชธิดาสืบทอดตำแหน่งสุลต่าน
แม้ว่าจะได้รับเสียงชื่นชมจากกลุ่มนักสิทธิสตรี แต่มันก็ทำให้พระราชวงศ์หลายพระองค์ไม่พอพระทัย บ้างว่าเป็นการฉีกหน้าพระอนุชาของพระองค์เอง
ปัจจุบัน โยกยาการ์ต้า เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่สำคัญของอินโดนีเซีย แถมยังเป็นเมืองพี่น้องกับจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยด้วย
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม คือพระราชวังของศรีสุลต่านที่อินโดนีเซีย เปิดตั้งแต่เวลา 08.30 น. จนถึง 12.30 น. (ศุกร์-เสาร์ ปิด 11.30 น.)
โปรดอย่าลืมทำตามประเพณีที่เคร่งครัดเมื่อคุณเข้าไปในพระราชวัง และคุณจะได้พบกับดนตรีกามะลันที่สุดแสนไพเราะที่ฝึกฝนกันอย่างจริงจัง
เมืองโยกยาการ์ต้า ห่างจากกรุงจาการ์ต้าประมาณ 562 กม. หากมาจากจาการ์ต้า แนะนำให้ขึ้นรถไฟเพื่อชมวิวสวยๆ ระหว่างทางในเกาะชวา
หรือหากมาจากสุราบายา ก็สามารถเดินทางด้วยรถไฟได้เช่นกัน (รถไฟของอินโดนีเซีย อาจจะเก่าหน่อยแต่ก็อาจจะใหม่กว่าบ้านเราด้วยเหมือนกัน)
เจาะลึก ศรีสุลต่านแห่งโยกยาร์การ์ต้า
ดินแดนแรก เป็นอาณาจักรสุรการ์ต้า ปกครองโดย สุสุฮูนัน ปากุโบโวโนที่ 2 (Pakubuwono II) ตามสายเลือดถือว่าเป็นผู้สืบทอดมะตะรัมที่ถูกต้อง
อีกดินแดน เป็นอาณาจักรโยกยาการ์ต้า ปกครองโดย ศรีสุลต่าน ฮามังกุบูโวโนที่ 1 (Hamengkubuwono I) พระอนุชาต่างพระมารดา
หลังจากที่ได้ประกาศเอกราช อินโดนีเซียให้การรับรองสถานะพิเศษเดิมของ 2 อาณาจักร โดยยกให้เป็นเขตปกครองพิเศษของสาธารณรัฐอินโดฯ
อย่างไรก็ตาม ความไม่วุ่นวายที่เกิดขึ้น ทำให้สุรการ์ต้า ถูกยุบสถานะเขตปกครองพิเศษลงในปี 1946 ส่วนโยกยาการ์ต้า ยังมีอำนาจปกครองอยู่
ผู้ปกครองเขตพิเศษพระองค์แรก คือ ศรีสุลต่าน ฮามังกุบูโวโนที่ 9 (Hamengkubuwono IX) เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมในการปฏิวัติอินโดนีเซีย
ศรีสุลต่าน ฮามังกุบูโวโนที่ 9 ทรงประสูติในวันที่ 12 เมษายน 1912 เมื่อพระชนมายุได้ 4 พรรษา ก็ได้ไปอยู่กับครอบครัวชาวดัตช์
ทรงเข้ารับการศึกษาแบบดัตช์ ศึกษาที่เมืองสะมารัง บันดุง ก่อนทรงศึกษาที่ Rijkuniversiteit หรือปัจจุบันคือมหาวิทยาลัย Leiden
ระหว่างศึกษา ทรงมีพระนามลำลองว่า Sultan Henkie โดยได้กลับมาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 28 พรรษา หลังพระราชบิดาสวรรคต
ศรีสุลต่านฯ ที่ 9 มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ยุคอาณานิคม ยุคซูการ์โน ไปจนถึงยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต มีบทบาทพอสมควรในช่วงต้น
แม้ว่าอินโดนีเซีย จะเป็นสาธารณรัฐ และศรีสุลต่านฯ จะอยู่ในฐานะผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษโดยนิตินัย แต่อิทธิพลของศรีสุลต่านฯ ก็ทรงอำนาจมาก
เมื่อซูฮาร์โต ได้เป็นประธานาธิบดี เขาได้แต่งตั้งให้ศรีสุลต่านฯ ทรงดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เพื่อเป็นการเสริมความนิยมไปในตัวเขาเองด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 1978 ด้วยอำนาจของซูฮาร์โตที่มากขึ้น และมีปัญหาการทุจริตมากขึ้น รวมถึงการต่อต้านจากกลุ่มนักศึกษาในเมืองบันดุงนั้น
ศรีสุลต่านฯ ได้ตัดสินใจ ทรงลาออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดี และไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในระดับประเทศ มาตั้งแต่นั้นจนเสด็จสวรรคต
นอกจากนี้ ศรีสุลต่านฯ ยังทรงเป็นผู้นำลูกเสือของประเทศอินโดนีเซีย และได้รับเหรียญหมาป่าทองแดงจากองค์การลูกเสือโลกด้วย
ศรีสุลต่านฯ ที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1988 ณ สหรัฐอเมริกา พระราชโอรสทรงขึ้นครองราชย์สืบต่อมาเป็นศรีสุลต่านฯ องค์ที่ 10
แม้ว่าศรีสุลต่านฯ ที่ 10 จะได้ทรงดำรงตำแหน่งสุลต่านตามประเพณี แต่ตำแหน่งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษ เป็นของเจ้าชายปากูอาลัมที่ 8
10 ปีต่อมา เมื่อเจ้าชายปากูอาลัมสิ้นพระชนม์ในปี 1988 ศรีสุลต่านฯ ที่ 10 จึงได้รับดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษเป็นองค์ที่ 3
อย่างไรก็ตาม ศรีสุลต่านฯ ที่ 10 ทรงเปลี่ยนแปลงราชประเพณีหลายอย่างของโยกยาการ์ต้า รวมถึงการแต่งตั้งพระราชธิดาสืบทอดตำแหน่งสุลต่าน
แม้ว่าจะได้รับเสียงชื่นชมจากกลุ่มนักสิทธิสตรี แต่มันก็ทำให้พระราชวงศ์หลายพระองค์ไม่พอพระทัย บ้างว่าเป็นการฉีกหน้าพระอนุชาของพระองค์เอง
ปัจจุบัน โยกยาการ์ต้า เป็นหนึ่งในจุดท่องเที่ยวที่สำคัญของอินโดนีเซีย แถมยังเป็นเมืองพี่น้องกับจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยด้วย
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม คือพระราชวังของศรีสุลต่านที่อินโดนีเซีย เปิดตั้งแต่เวลา 08.30 น. จนถึง 12.30 น. (ศุกร์-เสาร์ ปิด 11.30 น.)
โปรดอย่าลืมทำตามประเพณีที่เคร่งครัดเมื่อคุณเข้าไปในพระราชวัง และคุณจะได้พบกับดนตรีกามะลันที่สุดแสนไพเราะที่ฝึกฝนกันอย่างจริงจัง
เมืองโยกยาการ์ต้า ห่างจากกรุงจาการ์ต้าประมาณ 562 กม. หากมาจากจาการ์ต้า แนะนำให้ขึ้นรถไฟเพื่อชมวิวสวยๆ ระหว่างทางในเกาะชวา
หรือหากมาจากสุราบายา ก็สามารถเดินทางด้วยรถไฟได้เช่นกัน (รถไฟของอินโดนีเซีย อาจจะเก่าหน่อยแต่ก็อาจจะใหม่กว่าบ้านเราด้วยเหมือนกัน)