ดาวเคราะห์มฤตยูแห่งจักรวาล

HD 189733b


 
ในปี 2548 นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเท่าดาวพฤหัสมีชื่อว่า HD 189733b ที่มีสีฟ้าลักษณะคล้ายโลกอยู่ห่างออกไป 63 ปีแสง
ดาวเคราะห์ดวงนี้ ถูกเรียกว่าดาวเคราะห์ก๊าซร้อน (hot Jupiter) มีขนาดเกือบเท่าดาวพฤหัสบดีแต่มีอุณหภูมิสูงกว่ามาก ดาวดวงนี้มีวงโคจรใกล้ดาวฤกษ์หลักมาก กล่าวคือน้อยกว่า 30 เท่าของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ และใช้เวลาเพียง 2.2 วัน ในการโคจรครบ 1 รอบ
 
        HD 189733b เป็นดาวเคราะห์ก๊าซร้อนที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ทำให้ได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์ในการศึกษาชนิดของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะและชั้นบรรยากาศของมันด้วย ทั้งนี้ทีมวิจัยยังได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ศึกษาช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็น และใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการยืนยันว่าดาวดวงนี้มีสีน้ำเงิน ที่เป็นไปตามการสังเกตที่มีการกระเจิงแสงที่ดีที่สุดในช่วงแสงสีน้ำเงิน โดยอนุภาคซิลิเกตในชั้นบรรยากาศ
 
นักวิทยาศาสตร์เผยว่าดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีสภาพอากาศเลวร้ายที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา มีบรรยากาศที่ปั่นป่วนมาก ในชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงถึง 3,000 องศาเซลเซียส มีความเร็วลมสูงถึง 620 ไมล์ต่อชั่วโมง และแน่นอนว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู๋ได้
ที่มาของข่าว
http://phys.org/news/2013-07-chandra-eclipsing-planet-x-rays.html
Cr.http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/591-hd-189733-x-ray 

CoRoT-7b


ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 นักดาราศาสตร์ที่ใช้การหมุนของดาวเคราะห์ผ่านดาวเทียม (CoRoT) ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบดวงใหม่ในกลุ่มดาว Monoceros 480 ปีแสงจากโลก พวกเขาเรียกมันว่า CoRoT-7b

 ทั้งนี้ โคร็อต-7บี โคจรห่างจากดาวฤกษ์ที่ใกล้ที่สุดเพียงแค่ 2.5 ล้านกิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางที่ใกล้กว่าระยะห่างระหว่างดาวพุธกับดวงอาทิตย์ถึง 23 เท่า ซึ่งระยะทางการโคจรที่ใกล้ขนาดนี้ทำให้ระยะเวลา 1 ปี บนดาวโคร็อต-7บี จะนานเพียง 20 ชั่วโมง ขณะที่อุณหภูมิในด้านที่รับแสงอาทิตย์จะอยู่ระหว่าง 1,527 ถึง 2,327 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้พื้นผิวหลอมละลายได้ และอุณหภูมิในด้านตรงกันข้ามที่ไม่ได้รับแสงจะหนาวยะเยือกถึงติดลบ 200 องศาเซลเซียส
ชั้นบรรยากาศของมันเต็มไปด้วยแร่ธาตุที่ก่อตัวเป็นเมฆหิน เมฆเหล่านี้ปล่อยก้อนกรวดและหินก้อนเล็ก ๆ ลงมาจากท้องฟ้าราวกับฝน แม้ว่ามนุษย์จะสามารถเอาชีวิตรอดได้แต่ก็จะถูกทำลายด้วยอุณหภูมิพื้นผิวที่ร้อนอย่างมากของดาวเคราะห์นี้

นักดาราศาสตร์ ใช้วิธีการคำนวณโดยใช้แบบจำลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์หาองค์ประกอบของมวล พบว่าโคร็อต-7บี นั้น ดูเหมือนว่าจะประกอบไปด้วยเหล็กและสารประกอบซิลิเกตเป็นส่วนใหญ่ และบางทีชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะเป็นสารประกอบซิลิเกตที่ ระเหิดกลายเป็นไอแล้ว ผลการค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารดาราศาสตร์และดาราศาสตร์ฟิสิกส์ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก huffingtonpost.com
Cr.https://hilight.kapook.com/view/41619
Cr.https://bestglitz.com/thailand/ดาวเคราะห์อันตรายถึงตา/

KELT-9b


ดาวเคราะห์นอกระบบ KELT-9b เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนแรงที่สุดเท่าที่เราเคยพบมา อุณหภูมิของดาวฤกษ์อยู่ที่ประมาณ 9,700 องศาเซลเซียสซึ่งเกือบสองเท่าของอุณหภูมิพื้นผิวของดวงอาทิตย์ของเราที่ 5,480 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวันบนดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ที่ประมาณ 4,300 องศาเซลเซียสซึ่งยังร้อนมาก ดาวส่วนใหญ่ในจักรวาลไม่สามารถเข้าใกล้ได้

ดาวเคราะห์ KELT-9b มีตำแหน่งอยู่บริเวณกลุ่มดาวหงส์ห่างจากโลกประมาณ 650 ปีแสงมีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี 2.8 เท่า แต่มีความหนาแน่นเพียงครึ่งหนึ่งของดาวพฤหัสบดี อุณหภูมิเฉพาะตอนกลางวันอยู่ที่ประมาณ 7,800 องศาฟาเรนไฮต์ ( หรือ 4,600 เคลวิน ) โคจรรอบดาวฤกษ์ชื่อ KELT-9 ที่มีอุณหภูมิประมาณ 2,000 องศาฟาเรนไฮต์ ( หรือ 1,200 เคลวิน ) รัสมีการโคจรของดาวเคราะห์ KELT-9b มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ลักษณะการโคจรแบบหันหน้าด้านหนึ่งเข้าหาดาวฤกษ์ตลอดเวลาทำให้เกิดด้านสว่างและด้านมืดแบบฐาวรคล้ายดวงจันทร์บริวารของโลก

ดาวเคราะห์ KELT-9b มีอายุอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านปีนับเป็นดาวเคราะห์ที่มีอายุน้อย ชั้นบรรยากาศของดาวมีลักษณะถูกพัดออกไปจากตัวดาวเคราะห์เนื่องจากมีการแผ่คลื่นรังสีอัลตราไวโอเลตจากตัวดาวเคราะห์ คาดว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่เอื้อต่อการอาศัยของสิ่งมีชีวิตเนื่องจากมีอุณภูมิสูงและไม่อยู่ในแถบวงโคจรที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต Habitable Zone

นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบ KELT-9b จะสูญเสียชั้นบรรยากาศทั้งหมดในเวลาเพียง 200 ปีเพื่อให้ KELT-9 เป็นดาวฤกษ์ ก่อนหน้านั้น KELT-9 จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถสัมผัสดาวเคราะห์นอกระบบได้ 
ที่มาของข้อมูลnasa.gov
Cr.https://www.nextwider.com/kelt-9b/  BY PEERAPAT CHUEJEEN

WASP-121b


(ภาพจำลองระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP-121 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์ WASP-121b)
[Image credit: Engine House VFX, At-Bristol Science Centre, University of Exeter]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเอกอย่าง Hubble ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่อีกหนึ่งดวงเป็นที่เรียบร้อยและดาวเคราะห์ดวงนี้มีรูปลักษณ์ที่มีความคล้ายคลึงกับลูกรักบี้โดยดาวคราะห์นี้จะมีชื่อว่า  WASP-121b

ขนาดของ WASP-121b นั้นจะใหญ่กว่าดาวเคราะห์ที่รู้จักก่อนหน้านี้ประมาณ 10 เท่าและรูปลักษณ์ที่คล้ายกับลูกรักบี้ก็ด้วยเหตุแรงดึงดูดของแรงโน้มถ่วงนั่นเอง  ซึ่งการพบดังกล่าวถือเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมของ Hubble อีกครั้ง

ดาวเคราะห์ WASP-121b เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ WASP-121 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 900 ปีแสง ถือเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ถูกเรียกว่าดาวเคราะห์ “hot Jupiter” เนื่องจาก WASP-121b มีมวลและรัศมีใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี (มวล 1.2 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี และรัศมี 1.9 เท่าของรัศมีดาวพฤหัสบดี)
แต่  WASP-121b มีคาบการโคจรรอบดาวฤกษ์ของมันที่สั้นเพียง 1.3 วัน (ดาวพฤหัสบดีใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 12 ปี) ทำให้มีการคาดการว่าชั้นบรรยากาศชั้นบนของดาวเคราะห์ WASP-121b จะมีอุณหภูมิถึง 2,500 องศาเซลเซียล มีบรรยากาศโลหะที่เต็มไปด้วยเหล็กและก๊าซแมกนีเซียม ดาวเคราะห์นี้จะสูญเสียบรรยากาศเพื่อเข้าไปสู่ดาวฤกษ์ของมันเช่นเดียวกับ KELT-9b
CREDITS: CNET // SPACE
Cr.https://65blogs.com/science/hubble-telescope-discovered-exoplanet-with-football-shape/
Cr.https://www.nextwider.com/kelt-9b/  BY PEERAPAT CHUEJEEN

Upsilon Andromedae b


Upsilon Andromedae b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบแปลกที่หมุนรอบดาวฤกษ์ Upsilon Andromedae A.  ดาวเคราะห์นอกระบบนี้อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากเกินไปและสร้างวงโคจรในเวลาเพียง 4.6 วัน โดยที่ด้านหนึ่งมีความร้อนอย่างมากเนื่องจากหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา

ที่น่าสนใจบริเวณที่ร้อนที่สุดกลับเป็นด้านที่ไม่ได้หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ แต่มันอยู่อีกด้านที่ไม่เคยได้รับแสงแดด การค้นพบครั้งนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ตกตะลึงว่าทำไมด้านที่ไม่ได้หันเข้าหาดวงอาทิตย์จึงร้อนกว่า นักดาราศาสตร์เชื่อว่าที่มีความแตกต่างกันในระดับความร้อนเล็กน้อยนี้เนื่องจากลมจะพัดพาอากาศอุ่นไปยังอีกฟากหนึ่งของดาว ในเวลาเดียวกันลมก็จะพัดอากาศเย็นที่อยู่ตรงข้ามไปยังด้านที่หันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ จากนั้นกระบวนการพัดพาความร้อนก็จะดำเนินแบบนี้ต่อไป
Cr.https://www.nextwider.com/kelt-9b/  BY PEERAPAT CHUEJEEN

OGLE-2005-BLG-390Lb


OGLE-2005- BLG-390Lb เป็นดาวเคราะห์นอกระบบหินที่มีชั้นบาง ๆ อยู่ในใจกลางกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรา นักดาราศาสตร์สงสัยว่ามันอาจมีสิ่งชีวิตเมื่อมันถูกค้นพบ 
ด้วยอุณหภูมิที่อยู่เหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์แค่ 50 องศา หรือมีอุณหภูมิที่ -233 °C ดาวเคราะห์  OGLE-2005-BLG-390Lb จึงเป็นดาวเคราะห์ที่เย็นที่สุด ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลมากกว่าโลก 5.5 เท่า และดูเหมือนจะเป็นดาวเคราะห์หินอีกด้วย

อุณหภูมิพื้นผิวของ OGLE-2005-BLG-390Lb ต่ำเกินไปสำหรับการมีชีวิต จากการเปรียบเทียบอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึกบนโลกคือ -97.8 องศาเซลเซียส ซึ่งถูกบันทึกไว้ในพื้นที่น้ำแข็งแอนตาร์กติกที่ไม่เคยเห็นแสงแดด ดังนั้นความพยายามในการหายใจในบริเวณดาวเคราะห์นี้จะทำลายปอดของเราและนำไปสู่ความตายทันที

ดาวเคราะห์ดวงนี้มักถูกกล่าวอ้างว่าเป็นดาว HOTH ในหนังเรื่องสตาร์วอร์ แต่ในความเป็นจริงมันไม่สามารถจะมีบรรยากาศได้เนื่องจากแก๊สของมันเย็นจนแข็งตัวไปหมด บนพื้นผิวจึงปกคลุมด้วยหิมะ
ที่มาข้อมูลและภาพจาก  theconversation, nasa
Cr.https://www.takieng.com/stories/4901

TrES-2b


ดาวเคราะห์อันตรายที่อยู่ไม่ไกลนดวงหนึ่งมีชื่อว่า TrES-2b  ซึ่งอยู่ห่างจากระบบสุริยะของเรา 750 ปีแสง เท่าที่ทราบข้อมูลอย่างเป็นทางการ คือดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นดาวที่มืดที่สุดในจักรวาล  โดยมันมีแสงสะท้อนน้อยกว่า 1% ของแสงทั้งหมดที่ตกกระทบมัน จึงทำให้มีสีเข้มกว่าดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่ที่รู้จัก  
พื้นผิวสีเข้มนี้อาจอธิบายได้ว่า กลุ่มดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะมีกลุ่มของแก๊สที่สามารถดูดซับแสงไว้ได้ แต่ถึงอย่างไรนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดว่าทำไมดาวเคราะห์ดวงนี้ถึงมีสีดำ 
 
ทั้งนี้มันยังเคลื่อนที่ช้า  และไม่เพียงแต่ในเรื่องของความน่ากลัวของกลุ่มแก็สที่ทำให้ไม่เกิดแสงสะท้อนของดาวเคราะห์ดวงนี้แล้ว ดาวดวงนี้ยังเรืองแสงสีแดงราวกับมันเป็นก้อนถ่านหินบนกองไฟร้อนระอุ พื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนี้มีอุณหภูมิสูงถึง 1,100 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนมากๆ เลยทีเดียว
ที่มาของข้อมูล
https://curiosity.com/memes/strange-exoplanets-in-space/?utm_source=facebookDisc&utm_medium=social&utm_campaign=2015q2fbStrangeExoplanetsDiscSC#10-strangest-planets-in-space-thoughty2
Cr.http://www.amcr.ac.th/tres-2b-ดาวเคราะห์ที่มืดมนที่/

OGLE-TR-56b


ดาว OGLE-TR-56 เป็นดาวเคราะห์ที่มีมวล 0.9 เท่าของดาวพฤหัสบดี โคจรอยู่ห่างจากดาวฤกษ์เพียง 0.02 หน่วยดาราศาสตร์  ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้มีชื่อว่า OGLE-TR-56b อยู่ห่างจากโลก 5,000 ปีแสงในกลุ่มดาวคนยิงธนู นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบ และเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดาวแม่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่เคยพบมาทั้งหมด 

เนื่องจากดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้ดาวแม่มาก จึงโคจรรอบอย่างรวดเร็วด้วยคาบเพียง 29 วัน การที่พบดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดาวแม่มาก ๆ เช่นนี้เป็นเรื่องแปลก เพราะตามทฤษฎีดาวเคราะห์น่าจะถูกดาวฤกษ์กลืนไปนานแล้ว 

มันเป็นหนึ่งใน "ดาวพฤหัสบดีร้อน" นั่นคือ ดาวพฤหัสร้อนมักก่อตัวขึ้นในระบบดาวฤกษ์ของพวกมันและต่อมาก็เข้าใกล้ดาวฤกษ์ของพวกมันมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นอุณหภูมิพื้นผิวของ OGLE-TR-56 จึงสูงถึง 2,000 เคลวิน โดยรอบๆบริเวณนั้นจะมีเมฆที่เกิดจากเหล็กที่ระเหยกลายเป็นไอตกลงสู่พื้นเหมือนเหล็กเหลวร้อน
ที่มา:astronomy.com -
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/2711/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่