JJNY : ปิยบุตรวิเคราะห์แรงจูงใจ 3 ข้อ คนอยากยุบ อนค./นักวิชาการห่วงประสิทธิภาพ-ความคุ้มค่างบ63/แล้งสะเทือนครัว

'ปิยบุตร' วิเคราะห์แรงจูงใจ 3 ข้อ ของคนอยากยุบ 'อนาคตใหม่'
https://prachatai.com/journal/2020/01/85872
 
 
'ปิยบุตร' วิเคราะห์แรงจูงใจการยุบพรรคอนาคตใหม่ไว้ 3 ข้อ 1.หวังดึง ส.ส.จากอนาคตใหม่ ไปเติมให้รัฐบาลพ้นสภาวะเสียงปริ่มน้ำ 2.ต้องการกำจัดตนและ 'ธนาธร' ออกไปจากการเมืองไทย 3.ต้องการกำจัดความคิดแบบอนาคตใหม่ - ระบุจะไม่หยุดการเคลื่อนไหว พร้อมเดินสายทั่วประเทศ รณรงค์อย่างต่อเนื่อง
 
11 ม.ค. 2563 เว็บไซด์ข่าวสด รายงานว่าที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว กลุ่มคณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ จัดงานเสวนาในหัวข้อ “สังคมไทยหลังยุบพรรคอนาคตใหม่” โดยมีนักวิชาการเข้าร่วมเวที อาทิ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วีระ สมความคิด นักเคลื่อนไหวต่อต้านการทุจริต ณัฏฐา มหัธนา นักกิจกรรม
 
โดยช่วงหนึ่งของงาน นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ที่ติดประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวาระการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ได้วีดีโอคอลเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับวงในประเด็นดังกล่าวด้วย โดยระบุว่า ในส่วนตัวแล้ว ตนมีความมั่นใจว่าถ้าพิจารณาตามข้อกฎหมายจริง ๆ ทั้งสองคดีที่อยู่ในศาลตอนนี้ไม่มีทางนำไปสู่การยุบพรรคอนาคตใหม่ได้ แต่การวิเคราะห์ฟันธงของทุกคนที่ว่า ยุบแน่นอน ไม่ได้มาจากการประเมินทางกฎหมาย แต่เป็นเรื่องการประเมินในทางการเมืองล้วน ๆ
  
สถานการณ์ตอนนี้มีสองคดีที่อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ คือคดีอิลูมินาติ ที่จะมีการพิจารณาคดีในวันที่ 21 ม.ค. นี้ ซึ่งในกรณีนี้ไม่สามารถนำไปสู่การยุบพรรคได้ ได้เพียงสั่งให้บุคคลหยุดการกระทำเท่านั้น แต่สุดท้าย กกต.ก็เลือกที่จะทำผิดขั้นตอนดังกล่าว
 
อีกคดีหนึ่งคือ คดีเงินกู้ ซึ่งมีเอกสารหลุดออกมาชี้ให้เห็นแล้ว ว่ามีความจงใจทำผิดขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การยุบพรรคอนาคตใหม่ให้ได้
 
สิ่งที่ผมต้องการจะบอกคือ ต่อให้สุดท้ายแล้ว ถ้าเขาใช้ช่องทางนี้สำเร็จ ในการจัดการผมและคุณธนาธรได้ ก็ไม่มีทางทำให้ผมและคุณธนาธรหายไปจากการเมืองไทย ไม่ให้ผมและคุณธนาธรพูดในสภา ผมก็จะเดินสายพูดทั่วประเทศ รณรงค์เคลื่อนไหวต่อไป ไม่ทำให้พรรคอนาคตใหม่ และ ส.ส.อนาคตใหม่หายไป เพราะ ส.ส.ทั้งหมด จะไปอยู่ที่บ้านใหม่แทน
 
นายปิยบุตร กล่าวต่อว่า แต่ผลกระทบคือ คุณกำลังนำประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการกำจัดผู้เห็นต่าง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเช่นที่เกิดขึ้นมาในอดีต มีการตัดสิทธิทางการเมืองกลุ่มคนที่ก้าวหน้า ต้องการเปลี่ยนแปลง ไม่ต่างอะไรกับการมีเกสตาโปในสมัยนาซีเยอรมนี เป็นการกีดกันคนจำนวนหนึ่งออกไปจากระบบการเมืองไทย และที่สำคัญ คุณกำลังทำลายความหวังของคนรุ่นใหม่
 
สำหรับตน ได้วิเคราะห์แรงจูงใจทางการเมืองสำหรับการยุบพรรคอนาคตใหม่ไว้ 3 ข้อคือ 
1. หวังดึง ส.ส.จากอนาคตใหม่ ไปเติมให้ฝ่ายรัฐบาลพ้นสภาวะเสียงปริ่มน้ำ 
2. ต้องการกำจัดตน และนายธนาธร ออกไปจากการเมืองไทย 
และ 3. ต้องการกำจัดความคิดแบบอนาคตใหม่ที่เริ่มฟูมฟักตอนนี้ให้หายไป
 
ฉะนั้นเราต้องทำให้วัตถุประสงค์ทั้งหมดของเขาล้มเหลวถ้า ส.ส.ทุกคนย้ายไปบ้านใหม่ทั้งหมด สมาชิก 60,000 พากันไปต่อคิวสมัครสมาชิกใหม่ที่บ้านใหม่ทั้งหมด ถ้าตนและนายธนาธรไม่หยุดเคลื่อนไหว จะเดินสายไปพบกับประชาชนทั่วประเทศ รณรงค์อย่างต่อเนื่อง เราไม่ได้คิดแต่อยากเป็น ส.ส. เป็นรัฐมนตรี เป็นรัฐบาล แต่เพราะเราต้องการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
 
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3367536

 
นักวิชาการห่วง ‘ประสิทธิภาพ-ความคุ้มค่า’ งบ63 แนะเร่งลงทุนแก้ฝุ่นพิษ PM 2.5
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1883273
 
นายชัยธวัช เสาวพนธ์ อดีตผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในฐานะนักวิชาการอิสระ เปิดเผยถึงกรณีสภาผู้แทนราษฏรผ่านงบประมาณรายจ่ายปี 2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท ด้วยมติ 253 เสียง ต่อ 0 เสียง ว่า ภาพรวมการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลดีกว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ยอมหั่นงบกลางมาให้กระทรวง ทบวง กรมมากขึ้น แต่ยังไม่ถูกใจทั้งหมด เนื่องจากงบส่วนใหญ่ยังเป็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย ที่เป็นฝ่ายความมั่นคงจำนวนมาก โดยเฉพาะงบจัดซื้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีราคาแพง แต่เป็นห่วงเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
 
นอกจากนี้ทางเศรษฐกิจยังประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็ง มีเงินคงคลังเหลือมาก จึงอยากให้ลงทุนภูมิภาค และท้องถิ่นมากขึ้น โดยกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศกว่า 8,000 แห่ง โดยจัดสรรงบประมาณตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่กำหนดจัดสรรให้ 35 % โดยเฉพาะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชน สนามบิน แหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม พร้อมถ่ายโอนโรงเรียนไปสังกัดท้องถิ่นมากขึ้น จากช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลมุ่งลงทุนพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นหลัก มูลค่า 200,000-300,000 ล้านบาท/ปี อาทิ สนามบิน รถไฟฟ้า ทำให้การพัฒนากระจุกตัว
 
ที่สำคัญรัฐบาลต้องลงทุนด้านพลังงานสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงเพื่อลดมลพิษ อาทิ ฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งการวิจัยพบว่าเกิดจากการเผาไหม้เครื่องยนต์ดีเซลถึง 75 % พร้อมพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก อาทิ เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต ชลบุรี พร้อมควบคุมการไฟป่าที่เกิดหมอกควันและฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และท่องเที่ยวอย่างมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ ที่มีนักท่องเที่ยวลดลงกว่า 50 %ด้วย” นายชัยธวัช กล่าว
 
ด้านนายบุญทา ชัยเลิศ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ฝ่ายอาเซียนสัมพันธ์ ในฐานะนักวิชาการอิสระ กล่าวว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณน้อยที่สุด แต่เป็นกระทรวงที่หารายได้เข้าประเทศมากที่สุด หลายรัฐบาลไม่ค่อยให้ความสำคัญท่องเที่ยว หรือรัฐมนตรีที่มากำกับดูแลกระทรวง ไม่เข้าใจบริบท จึงไม่ได้ส่งเสริมและพัฒนาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง แถมยังดึงงบประมาณไปอยู่งบกลางรวมกว่า 200,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโยบายรัฐบาล อาทิ ชิมช็อปใช้ ซึ่งเงินดังกล่าวไหลอยู่กับบริษัทหรือห้างยักษ์ใหญ่กว่า 90 % ที่เป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลแทน ท้องถิ่นและชุมชนได้รับประโยชน์ 10 % เท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่