จิตหลุดพ้นแล้วจิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) คือนิพพาน

ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียด เมื่อเห็นอนัตตา
ภิกษุ ท. ! รูป
เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา,
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่น
ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เป็นเรา  ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา:
เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้น
ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).
ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญา
โดยชอบตรงตามที่เป็นจริง อยู่อย่างนี้,
ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ; เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี,
อปรันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลายย่อมไม่มี ; เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี,
ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี ;
เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี,
จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ;
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.
เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต) ;
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี ;
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง ;
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.
เธอ(ความคิดเห็น หมายถึงคนที่มี จิต ที่มีขันธ์5อยู่)นั้น ย่อม รู้ชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่