วางแผนให้ลูกเรียนป.ตรี Harvard, Stanford, Ivy league ให้เรียนแนวไหนดี

ลูกเป็นเด็กขยัน และเรียนเก่งครับ สอบได้ที่ 1 มาตลอด เกรด 4.00 ตอนนี้เรียนม.1 โปรแกรม EP โรงเรียนชื่อดังกลางๆแห่งนึงในกทม. กำลังมองว่าทำอย่างไร ถึงจะมีโอกาสไปเข้าม. Top ของโลกใน USA ได้   เพราะเท่าที่ค้นคว้ามา ต่อให้ GPA 4.00 และสอบได้ SAT เต็ม ก็ยังมีโอกาสน้อยมากเพราะคนสมัครเข้า U พวกนี้เทพๆกันทั้งนั้น แต่จะให้เป็นเน้นกิจกรรม ก็กลัว GPA จะลงไปเหลือแถว 3.5 แล้วมีกิจกรรมจะดีกว่าหรือไม่ หรือจะส่งย้ายไปโรงเรียนอินเตอร์เกรดกลางๆ (งบไม่เกิน 4 แสน/ปี) จะได้เรียนพวกวิชา AP จะช่วยเพิ่มโอกาสได้มากกว่าหรือไม่ ศึกษามาหลายแนวแต่ไม่รู้ว่าแนวไหนจะมีโอกาสมากกว่ากัน

จึงอยากขอทราบข้อมูลว่า
1. เด็กไทย ที่เข้าป.ตรี (ย้ำครับว่า ป.ตรี) U ดังๆในอเมริกาอย่างที่กล่าวมา ส่วนใหญ่จะไปกันสายไหนครับ ระหว่างเด็กสายสามัญปกติ โรงเรียน TOP ระดับเตรียมอุดม  หรือสายเรียนอินเตอร์+ เน้นเก็บ AP (โรงเรียนอินเตอร์กลางๆ) จะมีโอกาสมากกว่ากัน
2. ระหว่างมุ่งวิชาการทำ GPA 4.00 SAT , SAT Subject เต็มๆ หรือเกือบเต็ม กับเน้นกิจกรรมด้วย แต่ GPA ตกไปเหลือซัก 3.5 SAT ได้ซัก 85-90% อะไรน่าจะมีภาษีกว่ากัน
3. เคยได้ยินว่าถ้าได้ทุนคิง มีโอกาสมากที่ U TOP จะรับ ไม่แน่ใจว่าหมายถึงได้ทุนคิง U เลยรับ หรือเพราะเป็นคนเก่งขนาดสอบได้ทุนคิง ต่อให้ไม่ได้สอบทุน U ก็รับอยู่แล้ว พูดง่ายๆคือเข้าได้เพราะเก่ง หรือเพราะชื่อเสียงของทุนน่ะครับ

หลักๆที่ตัดสินใจยากตอนนี้เพราะถ้าจะย้ายไปสายอินเตอร์ ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ ม.2 นี้แล้วครับ เพราะเด็กจะได้มีเวลาปรับตัวเข้ากับระบบอินเตอร์ 1 ปี เพราะม.3-ม.6 จะเป็น High School ของอินเตอร์ ต้องเริ่มเก็บ GPA และวิชา AP ตั้งแต่ม.3 เป็นต้นไป 

4. เท่าที่ศึกษามาเรียน inter จะมีข้อได้เปรียบเรื่องภาษา มีวิชา AP ให้เรียน และเรียนวิชาน้อยกว่ามีเวลาทำกิจกรรม และสร้าง port profile ได้มากกว่า เขียน essay ได้ดีกว่า แต่ไม่สามารถชิงทุน หรือเข้าค่ายโอลิมปิก หรือค่ายอื่นๆส่วนใหญ๋ได้
แต่ถ้าเรียนสายปกติ ก็จะทำ GPA 4.00 ได้ง่ายกว่า (inter ที่ดูทำเกรดยากครับ คือคนได้ที่ 1 บางวิชายังไม่ได้ 4 เลย เพราะจะตัด A ที่ 95% แต่โรงเรียนไทยตัดที่ 80 คะแนนก็ได้ 4 แล้ว)  แล้วก็มีสนามแข่งสร้างโปรไฟล์พวกแข่งโอลิมปิกวิชาการ และ camp ช่วงปิดภาคต่างๆมากกว่า แต่ภาษา และการเขียน essay ด้อยกว่าและไม่มีวิชา AP มาช่วย     ไม่รู้ว่าที่ผมมองนี้ถูกผิดอย่างไรช่วยแนะนำด้วยครับ

5. ตอนม.5 ไม่ว่าจะสายไหน มีแผนให้ไปแลกเปลี่ยนที่ USA 1 ปี อยู่แล้ว ไม่รู้ว่าจะทำให้ port ดูดีมีโอกาสมากขึ้นหรือเปล่าครับ

ยังไงฝากขอคำแนะนำจากทุกท่านด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
มีสองประเด็นหลักที่สำคัญคือ เงิน กับใจ คือ เงินต้องพอและต้องทำใจได้ว่าอาจไม่ได้ตามที่ต้องการที่ต้องเป็น U top นะคะ อันนี้คือ นอกเหนือจาก requirements เบื้องต้นที่ต้องผ่านแล้วไม่ว่าจะเป็น คะแนน SAT TOEFL Essay และกิจกรรมอื่นๆค่ะ ลองศึกษาแต่ละมหาลัยที่สนใจเขาจะมีข้อมูลเชิงสถิติในแต่ละปีที่เขารับได้และเด็กที่เขาต้องการเป็นอย่างไรนะคะ

ส่วนเรื่องสายสามัญหรือ สายอินเตอร์จะบอกว่ามีนักเรียนไทยทั้งสองแบบที่สามารถผ่านเข้าไปได้ค่ะ แต่ข้อได้เปรียบของอินเตอร์ก็อย่างที่คุณพ่อเก็บข้อมูลมานั่นแหละค่ะ คือ ภาษาและการเรียนเฉพาะวิชาไม่เยอะมากเหมือนสายสามัญที่มีถึง 8 กลุ่มสาระวิชา อีกอย่างคือ เทอมการเรียนที่สอดคล้องกับมหาลัยในอเมริกาด้วย คือ เขาเริ่มเดือนกันยา ในขณะที่สายสามัญจะเริ่มเรียนเดือนพฤษภา เพราะเวลาเป็นอย่างนี้มันเลยทำให้ลักลั่นนิดหน่อยในการสมัครสอบเข้า ซึ่งก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัดหากตั้งใจตามอย่างจริงจัง

ส่วนเรื่องทุนคิง ในปีหนึ่งมีให้ 9 ทุน แต่เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กสายสามัญและมักเป็นเด็กโอลิมปิกด้วย เพราะปีหนึ่งมีเด็กโอลิมปิกที่เป็นตัวแทนอย่างต่ำก็ 32 คนถ้าไม่ซ้ำคน แถมยังมีส่วนที่เป็นนักเรียนค่ายสุดท้ายที่ไม่เป็นผู้แทนอีกจำนวนหนึ่งที่ความรู้ไม่ต่างกันมากนักด้วย เด็กกลุ่มนี้ก็มักจะได้ U top เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้ ลองศึกษาอันนี้ดูนะ TSwiki

ในค่ายโอลิมปิกก็เคยมีเด็กอินเตอร์เข้ามาได้เหมือนกันแต่ไม่มาก ปีหนึ่งประมาณ 1-2 คนและไม่ใช่ทุกปีนานๆหน อาจด้วยความเข้มข้นหรือแนวการเรียนที่ต่างกันมากก็เป็นได้ ส่วนเด็กที่เป็นนักเรียนทุนด้วยความที่เขามีจุดอ่อนด้านภาษาเขาก็มักเรียนเสริมพิเศษด้านนี้ควบคู่มาตลอดนะ

ส่วนความเห็นอาจารย์จุฬาที่ว่าเด็กไทยส่วนใหญ่ต้องเรียนเทียบม.6 ที่นั่นใหม่ทุกคน อันนี้มีส่วนบ้างเพราะทางอเมริกาเขาไม่ยอมรับมาตรฐานโรงเรียนไทยสายสามัญ อันนี้ไม่ทุกเคสนะ มีเหมือนกันที่เด็กสามารถ apply U ได้แล้วเข้าเรียนปี 1 เลย แต่ไม่ใช่ U top นะ เช่น Washington U อย่างนี้ค่ะ

เรื่องการตัดสินคงไม่สามารถตัดสินใจแทนได้เพราะแต่ละครอบครัวก็มีรายละเอียดข้อจำกัดต่างกันไป หวังว่าข้อมูลคงเป็นประโยชน์บ้างให้กับคุณพ่อพอเป็นแนวทางนะคะ

เพิ่มเติม : 1.เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เก่งทั้งวิชาการและกิจกรรมนะคะ เป็นถึงกรรมการนักเรียนด้วยและเรียนได้4ด้วย
              2. สำหรับข้อ 5 เรียนแค่ senior ปีสุดท้ายปีเดียวก็พอค่ะ ส่วนใหญ private school รับเข้าเรียนนะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
ตอบ กระทู้ที่ จขกท แตกไม่ได้ ตอบตรงนี้เลย

เรื่องเรียนดี  ที่จขกท พูด สำหรับเราไม่ได้คิดว่ายาก ตราบที่ พ่อแม่ มีการศึกษา คอยช่วยเหลือสนับสนุน มีทุนทรัพย์เพียงพอ ได้มีกิจกรรมนอกเวลา เมื่อวัยเบบี๋มีการกระตุ้นพัฒนาการตามเวลา มีอาหารตามโภชนาการ มีกีฬาที่พ่อแม่ให้หัดเล่น หรืออาจจะเรียนดนตรี เรียนศิลปะ  การเรียนดีถือเป็นเรื่องปกติเลยไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องมาตรฐาน

เราไม่ต้องการเอาสิ่งที่เราคิดว่า คือความสำเร็จในชีวิต มาตั้งเป็นบรรทัดฐานชีวิตลูก เรากับลูกคนละชีวิตกัน  เราเเค่ต้องการให้เขาค้นพบสิ่งที่เขา ต้องการจะเป็น หรืออย่างน้อย มีอาชีพที่ไม่ต้องบังคับตัวเองให้ลุกขึ้นไปทำงานทุกวัน ให้เขามีความสุขดับสิ่งที่ตัวเขาเป็น ภูมิใจในสิ่งที่บรรลุเป้าหมาย small goalS, big goals อะไรก็ได้ สำคัญที่สุดต้องมีความพอใจระหว่างทางชีวิต

จขกท มุ่งมั่นเรื่อง  เงิน ชื่อเสียง และความสำเร็จในชีวิตมาก นั่นคือสิ่งที่คุณหวังกับชีวิตคนอื่น เพียงเพราะคุณคิดว่า ตัวคุณมี potentials แต่ไม่มี โอกาสได้ไปเรียน ivy คุณมัวแต่คิดว่า ถ้าคุณมีโอกาสแบบที่ลูกคุณมี คุณคงจะเป็นแบบนั้น แบบนี้  แต่คุณอย่าลืมว่า ชีวิตที่คุณกำลังใช้อยู่ นั่นไม่ใช่ชีวิตที่ประสบความสำเร็จหรอกหรือ มีครอบครัวเล็กๆ เป็นของตัวเอง มีการศึกษาที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวเป็นอย่างดี เเละผลิตคนที่มีคุณภาพให้สังคม นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดใน core ของการเป็นมนุษย์

ลดความฝันที่มีในชีวิตของ ‘ คนอื่น ‘ ลง แบ่งพื้นที่ ให้เจ้าของชีวิตได้มีโอกาสสร้างวันของตัวเองบ้าง ไม่ใข่กรอกหูใส่ฝันของตัวเองไปจนหมด

สำหรับเรา ลูกเรียนเก่ง เราไม่ถือว่าเป็นความพิเศษ ด้วยเหตุผลที่ยกมา แต่เราให้ความสำคัญ กับความพยายาม ความมีวินัยในตัวเอง ด้วยการทำงานบ้าน มีหน้าที่ต่อครอบครัว ให้เขาโตมาเป็น well rounded person มีชีวิตที่ตัวเองเลือก ข่วยเหลือคนอื่น มีอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ เราถือว่านั่น การ ประสบความสำเร็จในชีวิต  money and fame aren’t
ความคิดเห็นที่ 10
ผมจบตรีและโทจาก U of Cambridge เพราะพ่อผมจบที่เดียวกัน แต่ผมไม่ได้คาดหวังให้ลูกต้องเป็นเหมือนผม อยากเห็นเขามีความสุขในการใช้ชีวิตเป็นวัยรุ่นมากกว่าครับ ผมไม่อยากให้ลูกกดดันเรื่องเรียนมากไปเพราะผมรักลูก ต่างความคิด ต่างครอบครัวในการเลี้ยงดู ลูกผมเป็นคนดีในสังคม ผมชื่นใจแล้ว ถ้าเขาอยากไปเรียนที่นั่น ผมก็สนับสนุนแต่ถ้าไม่ไป ก็เรียนที่นี่ก็ได้ ดีออกที่จะได้สนิทกับเราต่อ ก่อนที่จะแต่งงานออกจากอ้อมอกผมไป The best for me is not always be the best for you. ดีที่สุดของเราอาจจะไม่ได้ดีที่สุดสำหรับคนอื่น
ความคิดเห็นที่ 4
ขอตอบตามประสบการณ์ตรงในรุ่นผมนะครับ
อาจจะไม่ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันทั้งหมด แต่เผื่อจะเป็นแนวทางในกับเจ้าของกระทู้ได้บ้างนะครับ

รุ่นผมเป็นรุ่นเกือบท้ายแล้วที่ยังสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แล้วก็อยู่ในรร.รัฐที่จขกท.เอ่ยถึง
แล้วโดยปกติ ทั้ง9ทุนของทุนคิง คือมักจะเป็นเด็กโรงเรียนนี้
ถ้าจะบอกว่ายากแค่ไหน ต้องยากที่สุดอยู่แล้ว ถ้าต้องการได้ทุนคิง เพราะจะต้องเป็นที่สุดของประเทศ ไม่ใช่แค่เก่งร้อยคนแรกของประเทศ
ยกตัวอย่างรุ่นผม เราก็จะเข้าแพทย์จุฬาฯ ศิริราช หรือ วิศวะจุฬาฯยกห้อง (สำหรับคนที่สอบเทียบนะครับ เพราะคนที่ไม่สอบเทียบคือตัวเก่งที่รออยู่ม.๖และต้องการสิทธิ์สอบทุนคิง) ในรุ่น มีคนที่ “พลาด”ได้แพทย์รามาธิบดี 1คน อันนี้ผมรู้ เพราะตอนสมัคร สมัครกับผมเลยรู้ว่าเลือกจุฬาฯไว้อันดับ๑ แต่มีอีกคนตั้งใจเลือกรามาธิบดีอันดับที่๑เพราะคุณพ่อเป็นอาจารย์ที่นั่น
แต่คนที่อยู่ม.๖ที่สอบแล้วได้ทุนคิง คือคนที่เก่งกว่ามากๆ
(แต่!อาจจะมีส่วนน้อย เช่นเพื่อนที่เข้าศิริราชที่ได้ที่1ของศิริราชตอนเข้า และเป็นตัวแทนไปแข่งคณิตศาสตร์โอลิมปิคตั้งแต่ชั้นม.๕ คนนี้ผมว่าเก่งกว่าเพื่อนที่อยู่ม.๖และสอบได้ทุนคิงอีก แต่ ก็เลยพอจะตอบคำถามเจ้าของกระทู้ได้อีกหน่อยว่า ถ้าไปเรียนivy leagueแล้ว เรียนอะไรกัน ก็พอจะบอกได้ว่า เรียนหมอกันน้อยมากจนแทบจะไม่มี ถึงพอจะมีรุ่นน้องที่ได้ทุนคิง แล้วเข้าเรียนที่Johns Hopkinsได้ แต่ในสายตาจขกท.ก็คงไม่เรียกJohns Hopkinsว่าไอวี่อีกมั้งครับ )
เพราะฉะนั้นจะบอกว่า คนได้ทุนคิง ต้องเก่งสุด5คนแรกของประเทศ(สายวิทยาศาสตร์) เสมอไปมั้ย อันนี้ก็ไม่ถึง100%ครับ แต่เรียกว่าต้อง 1ใน10ของประเทศดีกว่า คนที่เข้าคณะแพทยศาสตร์ที่จุฬาฯ ศิริราช (หรือรวมวิศวะจุฬาฯ)แบบได้ที่1 ก็อาจเก่งกว่าได้ เพียงแต่ช่องทาง ถ้าต้องการเป็นแพทย์ สู้เรียนในจุฬาฯ ศิริราช หรือรามาธิบดีเอาก็ได้ครับ แล้วสอบUSMLEเพื่อmatchingเรียนเฉพาะทางและได้licenceทำงานในอเมริกาได้ คือถ้าเก่งขนาดตัวท้อปของคณะแพทย์ชั้นนำในประเทศไทยน่ะนะครับ โดยที่ไม่ต้องเหนื่อยเข้าจุด ที่จขกท.บอกคือ เข้าให้ได้ตั้งแต่ปริญญา”ตรี”น่ะครับ ก็ทำงานต่อที่USAกันได้เยอะแยะ ซึ่งวิธีนี้ ก็ไม่ใช่แค่คนระดับTopของคณะด้วยซ้ำก็matchingได้ จบเฉพาะทางก็ทำงานต่อได้
ยิ่งเก่งรองๆลงมาในคณะแพทย์ การจบเฉพาะทางที่ไทยแล้วไปต่อแบบทุนคณะหรืออะไรก็ว่าไปแบบresearch fellowshipอะไรลักษณะนี้ ก็สามารถสมัครเข้ากับรพ.ที่affiliatedกับคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยในกลุ่มIvyก็ได้ นอกจากได้ประกาศนียบัตร บางคนก็ได้M.Sc.จากที่นั้นๆมาอีก

ผมว่าถ้าจขกท.ไม่กดดันว่าจะต้องรีบเข้าระดับไอวี่ตั้งแต่ปริญญาตรี ใจเย็นๆก่อนครับ เด็กแต่ละคนmatureเร็วช้าไม่เท่ากันครับ
มีอีกหลายวิธีที่จะไปถึงจุดนั้น
ส่วนเพื่อนที่ได้ทุนคิง ก็ไม่ได้การันตีว่าจะต้องเข้าHarvard(ซึ่งที่นี่เหมือนให้โอกาสเด็กไทยเข้าระดับปริญญาตรีน้อย ยากมาก) หรือMITได้เสมอไป
เพื่อนห้องผม ก็มีที่ได้MIT แต่มีที่ได้Stanford(ค่อนข้างแน่ใจ ว่าfirst choiceของเพื่อนคนนี้คือMIT)

ส่วนอีกวิธีที่บอกว่าไปเข้ารร.อินเตอร์อันนั้นผมให้ความเห็นไม่ได้แฮะ
เพราะไม่ได้ผ่านทางนั้นมา
แต่จะบอกว่า ลูก หลาน ลูกเพื่อน ที่ประกอบอาชีพเดียวกันมา
รุ่นใหม่ๆนี้ เรียนอินเตอร์กันแทบทั้งนั้นเลยครับ
ยังบอกไม่ได้ ว่าถ้าขึ้นระดับมัธยมแล้วจะเปลี่ยนให้เรียนสามัญกันรึเปล่า
เพราะรุ่นลูกก็อายุกันขวบถึงอย่างมากก็แปดเก้าขวบกันเป็นส่วนใหญ่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่