เห็นบางกลุ่มบอกว่าสติปัฏฐาน4เป็นแค่ทางหนึ่งในการบรรลุมรรคผลนิพพานจากจำนวนกรรมฐานทั้งหมด บางท่านถึงกับบอกว่าแค่สมถะเท่านั้น คือหลายท่านจะว่าเอ้ยสติปัฏฐาน4เนี่ยทรงตรัสสอนแก่ชาวกุรุตามทึ่เห็นในมหาสติปัฏฐานสูตรเท่านั้น แต่ทำไมตามพระสูตรต่างถึงเน้นเป็นข้อบังคับมากว่าเป็นสิ่กภิกษุพึงเจริญ
เนึ่ยภิกขุสูตรครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓
[๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
[๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น
ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดย
ย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค.
[๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์
ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีล
ของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
[๖๘๘] ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายใน
กายทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสีย ๑ จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ... จง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.
[๖๘๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว
ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.
[๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด
เยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน
เองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3900&Z=3940 =นี่จะเห็นได้ว่าทรงตรัสว่าถึงธรรมทึ่ภิกขุพึงเจริญในการสร้างความเพียร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สติสูตร
ว่าด้วยสติ
[๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
[๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล.
[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการเหลียว การแล
กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร
และจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ
เธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๒
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3882&Z=3899 =นี่จะเห็นได้ชัดว่าทรงตรัสถึงคำสอนสำคัญของพระองค์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. สติปัฏฐานสังยุต
อัมพปาลีวรรคที่ ๑
อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๖๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาค
แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตว่า
[๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
[๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
[๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค.
จบ สูตรที่ ๑
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3859&Z=3881 =นี่อันนี้ทรงตรัสที่วัดของพระนางอัมพปาลีหรืออัมราปาลี ทรงย้ำว่าทางอันเอกทางหลัก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ภาวนาสูตร
[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงเกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร
เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่
มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้
ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัว
ออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือ
จะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้น
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะ
เจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่า
นั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะ
กระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้
เท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ
เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อมปรากฏแก่นาย
ช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้
เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป
เขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวาน
สิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้น
ก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว ฯ
เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปใน
น้ำตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลม
และแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไป
โดยไม่ยาก ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์
ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๗
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=2593&Z=2628 =นี่อันนี้ทรงตรัสถึงหลักภาวนาที่พึงกระทำของภิกษุเป็นชุดใหญ่เลย
เนี่ยใครว่าทรงสอนหลักสติปัฏฐาน4แก่แค่บางกลุ่ม แค่ชาวกุรุเป็นถึงองค์นึงในมรรคมีองค์8 มีเหรอจะต้องทำเฉพาะกลุ่มชาวแคว้นกุรุ ไหนใครว่าเป็นแค่1ในกรรมฐาน40ที่ถูกจริตก็ทำไม่ถูกจริตก็ไม่ต้องทำไง
คนที่บอกว่าพระพุทธองค์สอนสติปัฏฐาน4แค่ชาวกุรุนอกนั้นให้ใช้กรรมฐานอื่นแต่ทำไมพระสูตรอื่นถึงทรงตรัสบ่อยและเน้นย้ำมาก?
เนึ่ยภิกขุสูตรครับ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ภิกขุสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓
[๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า
[๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรด
แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมเชื้อเชิญเราอย่างนี้เหมือนกัน
และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น
ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมโดย
ย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้
ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค.
[๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์
ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง เมื่อใด ศีล
ของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
[๖๘๘] ดูกรภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายใน
กายทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสีย ๑ จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกอยู่ ...
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ... จง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ... จงพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่ มี
ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.
[๖๘๙] ดูกรภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว
ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.
[๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เธอเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด
เยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน
เองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลภิกษุนั้น ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวน
พระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๓
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3900&Z=3940 =นี่จะเห็นได้ว่าทรงตรัสว่าถึงธรรมทึ่ภิกขุพึงเจริญในการสร้างความเพียร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
สติสูตร
ว่าด้วยสติ
[๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
[๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล.
[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการเหลียว การแล
กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร
และจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ
เธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๒
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3882&Z=3899 =นี่จะเห็นได้ชัดว่าทรงตรัสถึงคำสอนสำคัญของพระองค์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. สติปัฏฐานสังยุต
อัมพปาลีวรรคที่ ๑
อัมพปาลิสูตร
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๖๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาค
แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตว่า
[๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
[๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
[๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุ
ญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฉะนี้แล.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค.
จบ สูตรที่ ๑
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=3859&Z=3881 =นี่อันนี้ทรงตรัสที่วัดของพระนางอัมพปาลีหรืออัมราปาลี ทรงย้ำว่าทางอันเอกทางหลัก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ภาวนาสูตร
[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงเกิด
ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ
ไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร
เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่
มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้
ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัว
ออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือ
จะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้น
ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะ
เจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่า
นั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนา
อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะ
กระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้
เท้าหรือจะงอยปากเจาะกระเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ
เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อมปรากฏแก่นาย
ช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้
เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป
เขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวาน
สิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้น
ก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว ฯ
เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปใน
น้ำตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลม
และแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไป
โดยไม่ยาก ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์
ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๗
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=2593&Z=2628 =นี่อันนี้ทรงตรัสถึงหลักภาวนาที่พึงกระทำของภิกษุเป็นชุดใหญ่เลย
เนี่ยใครว่าทรงสอนหลักสติปัฏฐาน4แก่แค่บางกลุ่ม แค่ชาวกุรุเป็นถึงองค์นึงในมรรคมีองค์8 มีเหรอจะต้องทำเฉพาะกลุ่มชาวแคว้นกุรุ ไหนใครว่าเป็นแค่1ในกรรมฐาน40ที่ถูกจริตก็ทำไม่ถูกจริตก็ไม่ต้องทำไง