ชะเง้อสถานีรถไฟตามรายทาง ... สถานีรถไฟท่าช้าง

เป็นคนที่เดินทางด้วยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่
แต่เมื่อผ่านสถานีรถไฟที่ทำให้รู้สึกว่าน่าไปดูหน่อยนะ
จึงเป็นที่มาของการเก็บสะสมภาพสถานีรถไฟต่าง ๆ ไว้

ตำบลท่าช้าง เดิมชื่อ ตำบลมะดันขึ้นกับอำเภอกลาง (โนนสูง) 
ปี 2509 แบ่งการปกครองออกเป็นตำบลท่าช้าง อำเภอจักราช 
ปี 2539 ตั้งเป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 

สัญญลักษณ์ของอำเภอเป็นรูปช้างและต้นไทร หมายถึง
ซากช้างดึกดำบรรพ์ประมาณ 16 ล้านปี หลายร้อยตัวถูกฝังอยู่ ... จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ
ไทรงามที่ท่าช้าง ... ที่ท่าช้างก็มีไทรงาม เหมือนพิมาย ... ภาพเมื่อปี 2553


เดิมมีการขนส่งสินค้าบรรทุกเกวียนจากนครราชสีมา มาลงเรือฉลอมที่ท่าช้าง ใช้เรือกลไฟลากจูงล่องไปตามน้ำมูล
ไป พิมาย คงเค็ง พุทไธสง ชุมพวง สตึก ท่าตูม รัตนบุรี กันทรารมย์ ราศีไศล และวารินชำราบ 
ขาล่องใช้เวลา 10 - 15 วัน ขาขึ้น ประมาณเดือนเศษ ถ้าน้ำแห้งก็เดินเรือไม่ได้

สถานีรถไฟท่าช้างเป็นสถานที่เก่าแก่สร้างสมัยรัชกาลที่ 6
โดยท่านพระยารำไพ พงศ์บริพัตร หรือ นายจิตร บุญนาค ผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟ สายใต้ และสายอีสาน สร้างจากนครราชสีมา – ลำชี (จังหวัดสุรินทร์) 
มีกองบัญชาการเพื่อติดต่อ และรวบรวมทุกจุด ที่บ้านท่าช้าง เรียกกันว่า “ออฟฟิต” 

วันที่ 4 ธันวาคม 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาตรวจงานที่ท่าช้าง และประทับที่ออฟฟิต เสวยเวลากลางวัน 
ได้มีชาวบ้านท่าช้างได้นำไม้กลายเป็นหินจากลำน้ำมูลไปถวาย
พระองค์ทรงแนะนำให้ราษฎรเก็บรักษาไว้ในท้องถิ่น ทางกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม
จึงนำไม้กลายเป็นหินประดับไว้บนอนุสรณ์สถาน ณ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล หรือ “สะพานดำ” (ห่างจากสถานีรถไฟท่าช้าง 500 เมตร)

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2465 มีการเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา - ท่าช้าง ได้ใช้รถไฟต่างของแทนเกวียน
วันที่ 1 เมษายน 2473 เปิดการเดินรถไฟสายนครราชสีมา - อุบลราชธานี กิจการขนส่งทางน้ำโดยเรือกลไฟของท่าช้างค่อย ๆ เลิกกิจการไป 



บันทึกไว้เมื่อ 26 มกราคม 2557

สารบัญ ชะเง้อสะถานีรถไฟ https://ppantip.com/topic/39503069


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่