ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการในอินโดนีเซีย ถือเป็นภาษามาตรฐานของภาษามลายูแบบหนึ่ง
ภาษาอินโดนีเซีย เป็นชื่อที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อพูดถึงภาษามลายูแบบมาตรฐานของทางอินโดนีเซีย
แต่ในประเทศมาเลเซีย จะใช้ชื่อว่าภาษามาเลเซีย และใช้ชื่อว่าภาษามลายู ในสิงคโปร์และบรูไน
ทั้ง 4 ประเทศ ทำความตกลงร่วมกันว่าใช้ภาษามลายูแบบราชสำนัก หรือ สำเนียงมะละกา-ริเยา เป็นสำเนียงกลาง
เป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ที่ใช้สื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าใด หรือคนในพื้นที่ใด
ความแตกต่างระหว่างภาษาอินโดนีเซียและภาษามาเลเซียหรือภาษามลายูก็คือ ภาษาอินโดนีเซีย จะรับคำสันสกฤตและดัตช์มากกว่า
ขณะที่ภาษามาเลเซียหรือภาษามลายู ที่ใช้ในกลุ่มอาณานิคมอังกฤษเก่า จะรับคำภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับไว้มากกว่า
แต่เนื่องจากคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่ปัญหา ที่จะสื่อสารกันแต่อย่างใด
ในประเทศมาเลเซียเอง ยังมีผู้พูดภาษามลายูถิ่น ที่สำเนียงและการใช้ยังแตกต่างกันออกไปจากภาษากลาง
แต่ทั่วประเทศมาเลเซีย จะเข้าใจภาษามลายูกลางได้ดี ขณะที่ภาษาถิ่น ไม่ค่อยเข้าใจกันหรือไม่รู้เลย
ส่วนในอินโดนีเซีย สัดส่วนผู้ใช้ภาษาอินโดนีเซีย หากนับที่ใช้กันโดยทั่วไป ก็ถือว่าใช้กันเกือบทั่วประเทศ
แต่หากไม่นับภาษาอินโดนีเซีย ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ภาษาชวา ที่ใช้กันโดยชาวชวา ซึ่งเป็นพลเมืองหลักของประเทศ
ชาวชวา มีจำนวนมากถึง 95 ล้านคน เป็นญาติที่ใกล้ชิดกับชาวซุนดาและชาวมาดูรา ซึ่งมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันและอยู่ในเกาะชวา
ภาษามลายู ชาวชวาเข้าใจได้ แต่ชาวมลายู ไม่เข้าใจภาษาชวา ดังนั้น ชาวชวา ต้องใช้ภาษามลายูในการติดต่อกันในโลกมลายู
การติดต่อกัน เป็นไปในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การค้าขาย ส่งข่าวสารกัน จนถึงการทำสงคราม และการใช้ชีวิตที่คล้ายกัน
ส่วนชาวมลายูในอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะสุมาตรา เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวมลายูในมาเลเซียก่อนอพยพมาอยู่แหลมมลายู
ชาวมลายู มีสัมพันธ์อันดีกับชาวอาเจะห์ มินังกาเบา รวมไปถึงกลุ่มบะตาวี ที่เป็นชนพื้นเมืองในกรุงจาร์กาตาร์ปัจจุบัน
ชาวมลายูในอินโดนีเซีย เกาะสุมาตรา จะมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองมากกว่าชาวมลายูในแหลมลายู เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในอดีต
แต่ตลกร้ายปัจจุบันที่เกิดขึ้นในโลกมลายู (ออนไลน์) ก็คือ ชาวมาเลเซีย มักจะถกเถียงวัฒนธรรมกับอินโดนีเซีย ว่าใครมาก่อน
แม้ไม่สามารถบอกได้ว่าวัฒนธรรมลายูหรือชวานั้น ใครคือผู้มาก่อน แต่ที่เด่นชัดแน่นอนคือ มันเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย เกือบทุกอย่าง
ในสมัยยุคประกาศอิสรภาพ ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาสำคัญในการติดต่อกัน แต่การเขียนจะแตกต่างกับปัจจุบัน และเพิ่งเลิกใช้ไม่กี่สิบปีนี้เอง
เช่น คำว่า Jakarta หากใช้ในยุคก่อน จะเขียนว่า Djakarta หรือ Surabaya จะเขียนว่า Soerabaja แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปแบบมาตรฐานในเวลาต่อมา
การสังเกตผู้ใช้ภาษา ว่าเป็นคนมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย วิธีที่ง่ายอย่างหนึ่ง คือการใช้คำยิมที่แตกต่างกัน
เช่น เบลเยียม ภาษามลายู จะใช้คำว่า Belgium (บัลกียุม) ตามอังกฤษ แต่ภาษาอินโดนีเซีย จะใช้คำว่า Belgia (บัลกียา) ตามภาษาดัตช์
ภาษามลายู จะตามภาษาอังกฤษตลอด ขณะที่อินโดนีเซีย จะตามภาษาดัตช์ครับ
ภาษาอินโดนีเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่แค่ 17% ในอินโดนีเซีย
ภาษาอินโดนีเซีย เป็นชื่อที่ใช้ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อพูดถึงภาษามลายูแบบมาตรฐานของทางอินโดนีเซีย
แต่ในประเทศมาเลเซีย จะใช้ชื่อว่าภาษามาเลเซีย และใช้ชื่อว่าภาษามลายู ในสิงคโปร์และบรูไน
ทั้ง 4 ประเทศ ทำความตกลงร่วมกันว่าใช้ภาษามลายูแบบราชสำนัก หรือ สำเนียงมะละกา-ริเยา เป็นสำเนียงกลาง
เป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ที่ใช้สื่อสารกัน ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่าใด หรือคนในพื้นที่ใด
ความแตกต่างระหว่างภาษาอินโดนีเซียและภาษามาเลเซียหรือภาษามลายูก็คือ ภาษาอินโดนีเซีย จะรับคำสันสกฤตและดัตช์มากกว่า
ขณะที่ภาษามาเลเซียหรือภาษามลายู ที่ใช้ในกลุ่มอาณานิคมอังกฤษเก่า จะรับคำภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับไว้มากกว่า
แต่เนื่องจากคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่ปัญหา ที่จะสื่อสารกันแต่อย่างใด
ในประเทศมาเลเซียเอง ยังมีผู้พูดภาษามลายูถิ่น ที่สำเนียงและการใช้ยังแตกต่างกันออกไปจากภาษากลาง
แต่ทั่วประเทศมาเลเซีย จะเข้าใจภาษามลายูกลางได้ดี ขณะที่ภาษาถิ่น ไม่ค่อยเข้าใจกันหรือไม่รู้เลย
ส่วนในอินโดนีเซีย สัดส่วนผู้ใช้ภาษาอินโดนีเซีย หากนับที่ใช้กันโดยทั่วไป ก็ถือว่าใช้กันเกือบทั่วประเทศ
แต่หากไม่นับภาษาอินโดนีเซีย ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ภาษาชวา ที่ใช้กันโดยชาวชวา ซึ่งเป็นพลเมืองหลักของประเทศ
ชาวชวา มีจำนวนมากถึง 95 ล้านคน เป็นญาติที่ใกล้ชิดกับชาวซุนดาและชาวมาดูรา ซึ่งมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันและอยู่ในเกาะชวา
ภาษามลายู ชาวชวาเข้าใจได้ แต่ชาวมลายู ไม่เข้าใจภาษาชวา ดังนั้น ชาวชวา ต้องใช้ภาษามลายูในการติดต่อกันในโลกมลายู
การติดต่อกัน เป็นไปในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การค้าขาย ส่งข่าวสารกัน จนถึงการทำสงคราม และการใช้ชีวิตที่คล้ายกัน
ส่วนชาวมลายูในอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะสุมาตรา เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวมลายูในมาเลเซียก่อนอพยพมาอยู่แหลมมลายู
ชาวมลายู มีสัมพันธ์อันดีกับชาวอาเจะห์ มินังกาเบา รวมไปถึงกลุ่มบะตาวี ที่เป็นชนพื้นเมืองในกรุงจาร์กาตาร์ปัจจุบัน
ชาวมลายูในอินโดนีเซีย เกาะสุมาตรา จะมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองมากกว่าชาวมลายูในแหลมลายู เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในอดีต
แต่ตลกร้ายปัจจุบันที่เกิดขึ้นในโลกมลายู (ออนไลน์) ก็คือ ชาวมาเลเซีย มักจะถกเถียงวัฒนธรรมกับอินโดนีเซีย ว่าใครมาก่อน
แม้ไม่สามารถบอกได้ว่าวัฒนธรรมลายูหรือชวานั้น ใครคือผู้มาก่อน แต่ที่เด่นชัดแน่นอนคือ มันเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย เกือบทุกอย่าง
ในสมัยยุคประกาศอิสรภาพ ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาสำคัญในการติดต่อกัน แต่การเขียนจะแตกต่างกับปัจจุบัน และเพิ่งเลิกใช้ไม่กี่สิบปีนี้เอง
เช่น คำว่า Jakarta หากใช้ในยุคก่อน จะเขียนว่า Djakarta หรือ Surabaya จะเขียนว่า Soerabaja แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปแบบมาตรฐานในเวลาต่อมา
การสังเกตผู้ใช้ภาษา ว่าเป็นคนมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย วิธีที่ง่ายอย่างหนึ่ง คือการใช้คำยิมที่แตกต่างกัน
เช่น เบลเยียม ภาษามลายู จะใช้คำว่า Belgium (บัลกียุม) ตามอังกฤษ แต่ภาษาอินโดนีเซีย จะใช้คำว่า Belgia (บัลกียา) ตามภาษาดัตช์
ภาษามลายู จะตามภาษาอังกฤษตลอด ขณะที่อินโดนีเซีย จะตามภาษาดัตช์ครับ