เนบิวลาปู
เนบิวลาปู (Crab Nebula, Messier 1, M1) เป็นซากของการระเบิด Supernova หนึ่งเนบิวลาที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เนื่องจากลักษณะ ความสว่าง และความงดงามของมัน เนบิวลาปูอยู่ในกลุ่มดาววัว (Taurus) ห่างจากโลกประมาณ 6,300 ปีแสง
เนบิวลาปูถูกพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1054 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ขณะนั้นเขาเชื่อว่าเป็นดาวดวงใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น มีความสว่างมากจนสามารถสังเกตเห็นได้ในเวลากลางวันถึง 23 วัน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1758 Charles Messier นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศึกษาอยู่ในระยะเวลาหนึ่งจนสังเกตพบว่าวัตถุนี้ไม่ใช่ดาวหาง เพราะถ้าหากเป็นดาวหาง มันจะต้องเคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ
เขาจึงเป็นคนแรกที่นำเนบิวลาปูจัดใส่แคตตาล็อกที่มีชื่อว่า “Catalogue of Nebulae and Star Clusters” ที่รวบรวมวัตถุท้องฟ้าได้แก่ เนบิวลา กาแล็กซี และกระจุกดาวต่าง ๆ เอาไว้ และตั้งชื่อเนบิวปูว่า “M1” หรือ “Messier 1” ( Messier ออกเสียงว่า “เมซีเย”) ชื่อของเนบิวลาปู ได้มาจากภาพวาดที่บันทึกโดย William Parsons ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับปู
อ้างอิง :
https://www.space.com/16989-crab-nebula-m1.html
Cr.
https://www.facebook.com/NARITpage/posts/1765831060147167/
Tarantula Nebula
NGC 2070, Tarantula Nebula เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่อยู่ใน Large Magellanic Cloud ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก ตรงกลางของเนบิวลานี้มีกระจุกดาวเกิดใหม่ที่มีมวลรวม 5 แสนเท่าของมวลดวงอาทิตย์ และปล่อยพลังงานออกมามหาศาลจนทำให้เนบิวลานี้มีสีออกเขียวเพราะมีการแผ่รังสีของอะตอมออกซิเจนที่ความยาวคลื่น 5007 อังสตรอมที่สว่างมาก
ภาพ : มติพล ตั้งมติธรรม / TRT-CTO/CDK24/U42 / A-TRT-31
Cr.
https://es-la.facebook.com/TRTpics/photos/tarantula-nebulangc-2070-tarantula-nebula-เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่อยู่ใน-large-/1793291400980621/
เนบิวลาผีเสื้อ
เนบิวลาผีเสื้อ(The Butterfly Nebula) กระจุกดาวสว่างและเนบิวลาของท้องฟ้ายามค่ำคืนของโลกมักเป็นชื่อดอกไม้หรือแมลง แม้ว่าปีกของมันจะมีระยะเวลามากกว่า 3 ปีแสง NGC 6302 ก็ไม่มีข้อยกเว้น ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวโดยประมาณประมาณ 250,000 องศาเซลเซียสดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายของเนบิวลาดาวเคราะห์นี้กลายเป็นไอระเหยที่ร้อนจัดเป็นประกายสว่างไสวด้วยแสงอัลตราไวโอเลต แต่ถูกซ่อนไว้จากมุมมองโดยตรงด้วยฝุ่นละอองที่หนาแน่น
การขยายตัวของดาวเนปจ์ของดาวมรณะที่เต็มไปด้วยความคมชัดและมีสีสันได้รับการบันทึกในปีพ. ศ. 2552 โดยใช้กล้องถ่ายภาพระยะไกลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลซึ่งติดตั้งระหว่างภารกิจการให้บริการรถรับส่งสุดท้าย การตัดผ่านโพรงสว่างของก๊าซไอออนิก torus ฝุ่นล้อมรอบดาวฤกษ์กลางอยู่ใกล้กับจุดกึ่งกลางของมุมมองนี้เกือบจะติดกับสายตา ไฮโดรเจนโมเลกุลได้รับการตรวจพบในห่อหุ้มจักรวาลที่เต็มไปด้วยฝุ่นของดาวร้อน NGC 6302 อยู่ห่างจากดาวแมงป่อง (Scorpius) ประมาณสี่พันปีแสงไปในกลุ่มดาวแมงป่องที่ถูกต้อง
Cr.
https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/nebiwla-nebula/nebiwla-phiseux-the-butterfly-nebula
เนบิวลานกนางนวล หรือ IC 2177
(Astrophotos from Thai Robotic Telescopes)
เนบิวลานกนางนวล หรือ IC 2177 เป็นเนบิวลาสะท้อนแสงที่อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis Majoris) และ กลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) มีขนาดรัศมี 3,750 ปีแสง (1,250 พาร์เซก) ค้นพบโดย ไอแซก โรเบิร์ตส์ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวเวลส์
ในภาพนี้ยังปรากฎ NGC 2327 ซึ่งมีลักษณะสว่างใหญ่ อยู่บริเวณใกล้ๆ กัน ทำให้ดูคล้ายกับส่วนหัวของนกนางนวล (Head Seagull) ด้วย
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่ / TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803 / A-TRT-94
Cr.
https://dmcpost.blogspot.com/2019/04/ic-2177.html
เนบิวลาเมดูซา
Medusa Nebula หรือ เนบิวลาเมดูซา เป็นเนบิวลาที่ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหมาเล็ก ได้รับการบันทึกโดย Very Large Telescope หอดูดาวขนาดใหญ่ในประเทศชิลี ชื่อของเนบิวลาแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นตาม เมดูซา สัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ที่มีผมงู โดยแสงที่ปรากฎในเนบิวลาแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับของผมของเมดูซา
ขอบคุณที่มา www.nextsteptv.com
Cr.
https://hi-in.facebook.com/myscitv/posts/10154388334986123/
เนบิวลาหัวม้า
เนบิวลาหัวม้า (The Horsehead Nebula, NGC 2024, IC434) เป็นเนบิวลามืด (Dark Nebula) อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน บริเวณเข็มขัดนายพรานและยังเป็นเนบิวลาที่รู้จักกันมากที่สุดแห่งหนึ่งในท้องฟ้า
โดยมองเห็นเป็นส่วนมืดมีรูปร่างคล้ายหัวม้า ดาวสว่างทางซ้ายเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งตรงเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน ส่วนที่เห็นคล้ายรูปหัวม้าเป็นกลุ่มฝุ่นมืดที่หนาทึบอยู่เบื้องหน้าเนบิวลา
โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่นหนาเช่นเดียวกับเนบิวลาสะท้อนแสง แต่เนบิวลามืดนี้ ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ภายในหรือโดยรอบ ทำให้ไม่มีแสงสว่าง เราจะสามารถสังเกตเห็นเนบิวลามืดได้เมื่อมีเนบิวลาสว่าง หรือดาวฤกษ์จำนวนมากเป็นฉากหลัง จะปรากฏเนบิวลามืดขึ้นเป็นเงามืดด้านหน้าดาวฤกษ์หรือเนบิวลาสว่างเหล่านั้น อยู่ห่างจากโลกเรา 1,500 ปีแสง ความกว้างบริเวณคอม้านั้นใหญ่โตกว่าระบบสุริยะของเรามาก
Cr.
http://www.narit.or.th/index.php/nso-astro-photo/nso-deep-sky-objects/819-the-horsehead-nebula-ngc-2024-ic434
เนบิวล่า งวงช้าง
The Elephant's Trunk in IC 1396 / งวงช้างใน IC 1396
Image Credit & Copyright: Juan Lozano de Haro
เป็นบริเวณที่สลับซับซ้อน ของดาวหนุ่มสาวแฝงตัวอยู่ในที่มืดดำ ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมา ส่วนแสงของดาว ช่วยให้เกิดเรืองแสงขึ้นด้วยองค์ประกอบทางเคมีจาก รังสีละอองก๊าซไฮโดรเจน กำมะถันและออกซิเจนอะตอม เห็นในช่องแคบๆตามแนวขอบ มีความยาว 20 ปีแสง คล้ายงวงช้าง จึงเป็นฉายาของ เนบิวล่า งวงช้าง (Elephant’s Trunk Nebula) ส่วนชื่อทางการ คือ IC 1396 จัดอยู่ในประเภท เนบิวล่าเรืองแสง (Emission nebula) ในบริเวณหมู่ดาวกลุ่มดาวเซเฟอุส (Cepheus) ห่างจากโลก 3,000 ปีแสง
เครดิต :
http://www.sunandstar.net/
Cr.
https://koonnarin.wordpress.com/ดาวเคราะห์/อัศจรรย์-จักรวาล/เนบิวล่า-งวงช้าง/
เนบิวล่าพะยูน
สุดตระการตา จักรวาลเนรมิต"เนบิวล่า"คล้าย"ตัวพะยูน" อายุกว่า 10,000 ปี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2556 นักดาราศาสตร์ได้จับภาพเหตุการณ์สุดน่าทึ่ง หลังพบเนบิวล่านอกอวกาศที่มีลักษณะคล้าย"ตัวพะยูน" โดยปรากฎอยู่ห่างจากโลก 18,000 ปีแสง โดยเนบิวลาประหลาดดังกล่าว อยู่พบในกลุ่มดาวฤกษ์อควิล่า โดยก่อตัวขึ้นราว 10,000 ปีก่อน เมื่อชั้นห่อหุ้มของดาวเคราะห์ตายได้ปะทุออก กลายเป็นกลุ่มแก๊สสีน้ำเงินเขียว ล้อมรอบใกล้หลุมดำ โดยภาพดังกล่าวถูกจับภาพได้จากกลุ่มเสาวิทยุจำนวนหนึ่งในรัฐนิวเม็กซิโก ที่คอยตรวจจับคลื่นสูงในอวกาศ ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวถูกเปิดเผยในการฉลองเทศกาศพะยูน ที่จัดขึ้นในบริเวณแม่น้ำคริสตัล ในรัฐฟลอริด้าของสหรัฐ
โพสต์โดย : FREE ME
Cr.
https://www.clipmass.com/story/56814
เนบิวลาอุ้งตีนแมว
เนบิวลาอุ้งตีนแมว (Cat's Paw Nebula) หรือ NGC 6334 ได้รับการค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1837 โดย จอห์น เฮอร์สเชล (John Herschel) นักดาราศาสตร์อังกฤษ ระหว่างที่เขาพักอยู่ในอเมริกาใต้
ทั้งนี้องค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ได้เผยของเนบิวลาอุ้งตีนแมวที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2 เมตรจากหอดูดาวลา ซิลญา (La Silla Observatory) บนยอดเขาในชิลี โดยใช้อุปกรณ์พิเศษไวด์ฟิล์ดอิมเมเจอร์ (Wide Field Imager: WFI) ร่วมด้วย และได้ภาพที่เกิดจากการผสมระหว่างภาพที่บันทึกด้วยอุปกรณ์กรองแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน และอุปกรณ์ที่ปล่อยให้แสงของไฮโดรเจนเรืองแสงผ่านได้
ห่างออกไปจากโลก 5,500 ปีแสง ใกล้ๆ ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือก (Milky Way) คือตำแหน่งของเนบิวลาอุ้งตีนแมว หากมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเนบิวลานี้อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) ซึ่งไซน์เดลียังได้เปรียบเทียบด้วยว่าขนาดปรากฏบนท้องฟ้าของเนบิวลานี้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าขนาดปรากฏของดวงจันทร์เมื่อเต็มดวง เสียอีก และขอบของเนบิวลายังห่างกันถึง 55 ปีแสง
เหตุผลที่เนบิวลาอุ้งตีนแมวนี้ปรากฏเป็นสีแดง เนื่องจากแสงสีเขียวและน้ำเงินของเนิวลาถูกกระเจิงและดูดซับอย่างดีจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ระหว่างโลกและเนบิวลา ส่วนสีแดงของเนบิวลานั้นได้จากก๊าซไฮโดรเจนที่เรืองแสงอยู่ท่ามกลางดาวอายุน้อยร้อนจัดที่เปล่งแสงด้วยความเข้มสูง
เนบิวลาอุ้งตีนแมวจัดเป็นหนึ่งในสถานอนุบาลดาวยักษ์ ที่ยังคุกรุ่นอย่างมากในกาแลกซีของเรา และได้รับความสนใจศึกษาจากนักดาราศาสตร์จำนวนมาก และเป็นสถานที่เก็บซ่อนดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่สุกสว่าง ซึ่งแต่ละดวงมีมวลเกือบๆ 10 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา และเพิ่งเกิดใหม่ได้เพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น แต่ฝุ่นมากมายจากเนบิวลาได้บดบังดาวเกิดใหม่จำนวนมากไว้เบื้องหลัง ทำให้ยากต่อการศึกษา แต่โดยรวมแล้วคาดว่าเนบิวลาแห่งนี้น่าจะมีหลายหมื่นดวง.
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9530000010760
เนบิวลาตาแมว
The Cat’s Eye Nebula from Hubble
เนบิวลาตาแมว (NGC 6543) หนึ่งในเนบิวลาที่ซับซ้อนและงดงามมากที่สุดที่รู้จักกัน ระยะห่าง 3,300 ปีแสงจากโลก เนบิวลานี้แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรของดาวฤกษ์ ใจกลางของเนบิวลานี้แสดงถึงการกระจายตัวของฝุ่นแบบทั่วไป แต่ในชั้นนอกพบโครงสร้างที่ซับซ้อนยากจะเข้าใจ ซึ่งสังเกตุได้ชัดเจนจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
แน่นอน หากจ้องเข้าไปในดวงตาแมวตัวนี้ นักดาราศาสตร์อาจจะเห็นชะตากรรมของดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์ของเราอาจจะเป็นเช่นเดียวกับเนบิวลานี้
Image Credit: NASA, ESA, HEIC, and The Hubble Heritage Team (STScI/AURA)
Cr.
http://www.xn--12cm3ba6fp2b5b9c2i.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
เนบิวลารูปสัตว์ที่สวยงามในแกแลกซี่
เนบิวลาปู (Crab Nebula, Messier 1, M1) เป็นซากของการระเบิด Supernova หนึ่งเนบิวลาที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เนื่องจากลักษณะ ความสว่าง และความงดงามของมัน เนบิวลาปูอยู่ในกลุ่มดาววัว (Taurus) ห่างจากโลกประมาณ 6,300 ปีแสง
เนบิวลาปูถูกพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1054 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ขณะนั้นเขาเชื่อว่าเป็นดาวดวงใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น มีความสว่างมากจนสามารถสังเกตเห็นได้ในเวลากลางวันถึง 23 วัน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1758 Charles Messier นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ศึกษาอยู่ในระยะเวลาหนึ่งจนสังเกตพบว่าวัตถุนี้ไม่ใช่ดาวหาง เพราะถ้าหากเป็นดาวหาง มันจะต้องเคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ
เขาจึงเป็นคนแรกที่นำเนบิวลาปูจัดใส่แคตตาล็อกที่มีชื่อว่า “Catalogue of Nebulae and Star Clusters” ที่รวบรวมวัตถุท้องฟ้าได้แก่ เนบิวลา กาแล็กซี และกระจุกดาวต่าง ๆ เอาไว้ และตั้งชื่อเนบิวปูว่า “M1” หรือ “Messier 1” ( Messier ออกเสียงว่า “เมซีเย”) ชื่อของเนบิวลาปู ได้มาจากภาพวาดที่บันทึกโดย William Parsons ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับปู
อ้างอิง :https://www.space.com/16989-crab-nebula-m1.html
Cr.https://www.facebook.com/NARITpage/posts/1765831060147167/
Tarantula Nebula
NGC 2070, Tarantula Nebula เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่อยู่ใน Large Magellanic Cloud ซึ่งเป็นกาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก ตรงกลางของเนบิวลานี้มีกระจุกดาวเกิดใหม่ที่มีมวลรวม 5 แสนเท่าของมวลดวงอาทิตย์ และปล่อยพลังงานออกมามหาศาลจนทำให้เนบิวลานี้มีสีออกเขียวเพราะมีการแผ่รังสีของอะตอมออกซิเจนที่ความยาวคลื่น 5007 อังสตรอมที่สว่างมาก
ภาพ : มติพล ตั้งมติธรรม / TRT-CTO/CDK24/U42 / A-TRT-31
Cr.https://es-la.facebook.com/TRTpics/photos/tarantula-nebulangc-2070-tarantula-nebula-เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ที่อยู่ใน-large-/1793291400980621/
เนบิวลาผีเสื้อ
เนบิวลาผีเสื้อ(The Butterfly Nebula) กระจุกดาวสว่างและเนบิวลาของท้องฟ้ายามค่ำคืนของโลกมักเป็นชื่อดอกไม้หรือแมลง แม้ว่าปีกของมันจะมีระยะเวลามากกว่า 3 ปีแสง NGC 6302 ก็ไม่มีข้อยกเว้น ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวโดยประมาณประมาณ 250,000 องศาเซลเซียสดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายของเนบิวลาดาวเคราะห์นี้กลายเป็นไอระเหยที่ร้อนจัดเป็นประกายสว่างไสวด้วยแสงอัลตราไวโอเลต แต่ถูกซ่อนไว้จากมุมมองโดยตรงด้วยฝุ่นละอองที่หนาแน่น
การขยายตัวของดาวเนปจ์ของดาวมรณะที่เต็มไปด้วยความคมชัดและมีสีสันได้รับการบันทึกในปีพ. ศ. 2552 โดยใช้กล้องถ่ายภาพระยะไกลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลซึ่งติดตั้งระหว่างภารกิจการให้บริการรถรับส่งสุดท้าย การตัดผ่านโพรงสว่างของก๊าซไอออนิก torus ฝุ่นล้อมรอบดาวฤกษ์กลางอยู่ใกล้กับจุดกึ่งกลางของมุมมองนี้เกือบจะติดกับสายตา ไฮโดรเจนโมเลกุลได้รับการตรวจพบในห่อหุ้มจักรวาลที่เต็มไปด้วยฝุ่นของดาวร้อน NGC 6302 อยู่ห่างจากดาวแมงป่อง (Scorpius) ประมาณสี่พันปีแสงไปในกลุ่มดาวแมงป่องที่ถูกต้อง
Cr.https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/nebiwla-nebula/nebiwla-phiseux-the-butterfly-nebula
เนบิวลานกนางนวล หรือ IC 2177
(Astrophotos from Thai Robotic Telescopes)
เนบิวลานกนางนวล หรือ IC 2177 เป็นเนบิวลาสะท้อนแสงที่อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis Majoris) และ กลุ่มดาวยูนิคอร์น (Monoceros) มีขนาดรัศมี 3,750 ปีแสง (1,250 พาร์เซก) ค้นพบโดย ไอแซก โรเบิร์ตส์ นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวเวลส์
ในภาพนี้ยังปรากฎ NGC 2327 ซึ่งมีลักษณะสว่างใหญ่ อยู่บริเวณใกล้ๆ กัน ทำให้ดูคล้ายกับส่วนหัวของนกนางนวล (Head Seagull) ด้วย
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่ / TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803 / A-TRT-94
Cr.https://dmcpost.blogspot.com/2019/04/ic-2177.html
เนบิวลาเมดูซา
Medusa Nebula หรือ เนบิวลาเมดูซา เป็นเนบิวลาที่ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหมาเล็ก ได้รับการบันทึกโดย Very Large Telescope หอดูดาวขนาดใหญ่ในประเทศชิลี ชื่อของเนบิวลาแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นตาม เมดูซา สัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ที่มีผมงู โดยแสงที่ปรากฎในเนบิวลาแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับของผมของเมดูซา
ขอบคุณที่มา www.nextsteptv.com
Cr.https://hi-in.facebook.com/myscitv/posts/10154388334986123/
เนบิวลาหัวม้า
เนบิวลาหัวม้า (The Horsehead Nebula, NGC 2024, IC434) เป็นเนบิวลามืด (Dark Nebula) อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน บริเวณเข็มขัดนายพรานและยังเป็นเนบิวลาที่รู้จักกันมากที่สุดแห่งหนึ่งในท้องฟ้า
โดยมองเห็นเป็นส่วนมืดมีรูปร่างคล้ายหัวม้า ดาวสว่างทางซ้ายเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งตรงเข็มขัดของกลุ่มดาวนายพราน ส่วนที่เห็นคล้ายรูปหัวม้าเป็นกลุ่มฝุ่นมืดที่หนาทึบอยู่เบื้องหน้าเนบิวลา
โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่นหนาเช่นเดียวกับเนบิวลาสะท้อนแสง แต่เนบิวลามืดนี้ ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ภายในหรือโดยรอบ ทำให้ไม่มีแสงสว่าง เราจะสามารถสังเกตเห็นเนบิวลามืดได้เมื่อมีเนบิวลาสว่าง หรือดาวฤกษ์จำนวนมากเป็นฉากหลัง จะปรากฏเนบิวลามืดขึ้นเป็นเงามืดด้านหน้าดาวฤกษ์หรือเนบิวลาสว่างเหล่านั้น อยู่ห่างจากโลกเรา 1,500 ปีแสง ความกว้างบริเวณคอม้านั้นใหญ่โตกว่าระบบสุริยะของเรามาก
Cr.http://www.narit.or.th/index.php/nso-astro-photo/nso-deep-sky-objects/819-the-horsehead-nebula-ngc-2024-ic434
เนบิวล่า งวงช้าง
The Elephant's Trunk in IC 1396 / งวงช้างใน IC 1396
Image Credit & Copyright: Juan Lozano de Haro
เป็นบริเวณที่สลับซับซ้อน ของดาวหนุ่มสาวแฝงตัวอยู่ในที่มืดดำ ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมา ส่วนแสงของดาว ช่วยให้เกิดเรืองแสงขึ้นด้วยองค์ประกอบทางเคมีจาก รังสีละอองก๊าซไฮโดรเจน กำมะถันและออกซิเจนอะตอม เห็นในช่องแคบๆตามแนวขอบ มีความยาว 20 ปีแสง คล้ายงวงช้าง จึงเป็นฉายาของ เนบิวล่า งวงช้าง (Elephant’s Trunk Nebula) ส่วนชื่อทางการ คือ IC 1396 จัดอยู่ในประเภท เนบิวล่าเรืองแสง (Emission nebula) ในบริเวณหมู่ดาวกลุ่มดาวเซเฟอุส (Cepheus) ห่างจากโลก 3,000 ปีแสง
เครดิต : http://www.sunandstar.net/
Cr.https://koonnarin.wordpress.com/ดาวเคราะห์/อัศจรรย์-จักรวาล/เนบิวล่า-งวงช้าง/
เนบิวล่าพะยูน
สุดตระการตา จักรวาลเนรมิต"เนบิวล่า"คล้าย"ตัวพะยูน" อายุกว่า 10,000 ปี
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2556 นักดาราศาสตร์ได้จับภาพเหตุการณ์สุดน่าทึ่ง หลังพบเนบิวล่านอกอวกาศที่มีลักษณะคล้าย"ตัวพะยูน" โดยปรากฎอยู่ห่างจากโลก 18,000 ปีแสง โดยเนบิวลาประหลาดดังกล่าว อยู่พบในกลุ่มดาวฤกษ์อควิล่า โดยก่อตัวขึ้นราว 10,000 ปีก่อน เมื่อชั้นห่อหุ้มของดาวเคราะห์ตายได้ปะทุออก กลายเป็นกลุ่มแก๊สสีน้ำเงินเขียว ล้อมรอบใกล้หลุมดำ โดยภาพดังกล่าวถูกจับภาพได้จากกลุ่มเสาวิทยุจำนวนหนึ่งในรัฐนิวเม็กซิโก ที่คอยตรวจจับคลื่นสูงในอวกาศ ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวถูกเปิดเผยในการฉลองเทศกาศพะยูน ที่จัดขึ้นในบริเวณแม่น้ำคริสตัล ในรัฐฟลอริด้าของสหรัฐ
โพสต์โดย : FREE ME
Cr.https://www.clipmass.com/story/56814
เนบิวลาอุ้งตีนแมว
เนบิวลาอุ้งตีนแมว (Cat's Paw Nebula) หรือ NGC 6334 ได้รับการค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 1837 โดย จอห์น เฮอร์สเชล (John Herschel) นักดาราศาสตร์อังกฤษ ระหว่างที่เขาพักอยู่ในอเมริกาใต้
ทั้งนี้องค์การอวกาศยุโรป (อีซา) ได้เผยของเนบิวลาอุ้งตีนแมวที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.2 เมตรจากหอดูดาวลา ซิลญา (La Silla Observatory) บนยอดเขาในชิลี โดยใช้อุปกรณ์พิเศษไวด์ฟิล์ดอิมเมเจอร์ (Wide Field Imager: WFI) ร่วมด้วย และได้ภาพที่เกิดจากการผสมระหว่างภาพที่บันทึกด้วยอุปกรณ์กรองแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน และอุปกรณ์ที่ปล่อยให้แสงของไฮโดรเจนเรืองแสงผ่านได้
ห่างออกไปจากโลก 5,500 ปีแสง ใกล้ๆ ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือก (Milky Way) คือตำแหน่งของเนบิวลาอุ้งตีนแมว หากมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเนบิวลานี้อยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) ซึ่งไซน์เดลียังได้เปรียบเทียบด้วยว่าขนาดปรากฏบนท้องฟ้าของเนบิวลานี้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าขนาดปรากฏของดวงจันทร์เมื่อเต็มดวง เสียอีก และขอบของเนบิวลายังห่างกันถึง 55 ปีแสง
เหตุผลที่เนบิวลาอุ้งตีนแมวนี้ปรากฏเป็นสีแดง เนื่องจากแสงสีเขียวและน้ำเงินของเนิวลาถูกกระเจิงและดูดซับอย่างดีจากวัตถุต่างๆ ที่อยู่ระหว่างโลกและเนบิวลา ส่วนสีแดงของเนบิวลานั้นได้จากก๊าซไฮโดรเจนที่เรืองแสงอยู่ท่ามกลางดาวอายุน้อยร้อนจัดที่เปล่งแสงด้วยความเข้มสูง
เนบิวลาอุ้งตีนแมวจัดเป็นหนึ่งในสถานอนุบาลดาวยักษ์ ที่ยังคุกรุ่นอย่างมากในกาแลกซีของเรา และได้รับความสนใจศึกษาจากนักดาราศาสตร์จำนวนมาก และเป็นสถานที่เก็บซ่อนดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่สุกสว่าง ซึ่งแต่ละดวงมีมวลเกือบๆ 10 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา และเพิ่งเกิดใหม่ได้เพียงไม่กี่ล้านปีเท่านั้น แต่ฝุ่นมากมายจากเนบิวลาได้บดบังดาวเกิดใหม่จำนวนมากไว้เบื้องหลัง ทำให้ยากต่อการศึกษา แต่โดยรวมแล้วคาดว่าเนบิวลาแห่งนี้น่าจะมีหลายหมื่นดวง.
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9530000010760
เนบิวลาตาแมว
The Cat’s Eye Nebula from Hubble
เนบิวลาตาแมว (NGC 6543) หนึ่งในเนบิวลาที่ซับซ้อนและงดงามมากที่สุดที่รู้จักกัน ระยะห่าง 3,300 ปีแสงจากโลก เนบิวลานี้แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรของดาวฤกษ์ ใจกลางของเนบิวลานี้แสดงถึงการกระจายตัวของฝุ่นแบบทั่วไป แต่ในชั้นนอกพบโครงสร้างที่ซับซ้อนยากจะเข้าใจ ซึ่งสังเกตุได้ชัดเจนจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
แน่นอน หากจ้องเข้าไปในดวงตาแมวตัวนี้ นักดาราศาสตร์อาจจะเห็นชะตากรรมของดวงอาทิตย์ของเรา ซึ่งในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์ของเราอาจจะเป็นเช่นเดียวกับเนบิวลานี้
Image Credit: NASA, ESA, HEIC, and The Hubble Heritage Team (STScI/AURA)
Cr.http://www.xn--12cm3ba6fp2b5b9c2i.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด