ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย พร้อมดันกีฬาไทยให้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อจัดอีเวนต์ระดับโลก หวังดึงรายได้เข้าสู่ประเทศ วางแผนทำ National Sport Park และ Sport Medical Center ที่ทันสมัย และสร้างโอกาสการเล่นกีฬาให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของประชาชน
การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือชื่อย่อ กกท. ผู้ที่อยู่เบื้องหลังวงการกีฬาไทยมายาวนานมากกว่า 30 ปี การที่เราได้เห็นนักกีฬาไทยไปแข่งในสนามระดับสากลหลาย ๆ แห่ง หรืองานอีเวนต์ระดับโลกที่มาจัดในเมืองไทย ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการผลักดันของการกีฬาแห่งประเทศไทยนี่เอง โดยปีที่ผ่านมาก็ทำรายได้ให้กับประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว และเป็นโอกาสดีที่กระปุกดอทคอมได้มาร่วมพูดคุยกับ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ถึงแนวทางต่อไปของการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการที่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ
หน้าที่และบทบาทการกีฬาแห่งประเทศไทย
หน้าที่รับผิดชอบของการกีฬาแห่งประเทศไทย จะแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรกก็คือ การพัฒนาเพื่อการกีฬาเป็นเลิศ ส่วนนี้จะเป็นการสร้างนักกีฬาทีมชาติให้แข็งแกร่งไปสู้กับต่างประเทศได้ จะส่งนักกีฬาเข้าร่วมมหกรรมการแข่งขันต่าง ๆ เช่น ซีเกมส์, โอลิมปิกเกมส์ และเอเชียนเกมส์
ส่วนที่ 2 คือ การส่งเสริมกีฬาอาชีพ ตอนนี้กีฬาสามารถที่จะนำมาประกอบอาชีพได้ เช่น นักกอล์ฟ และนักฟุตบอล ที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นนักกีฬาอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการกีฬาอีกมากมาย เช่น โค้ช และผู้ประกอบการทำลีก (การแข่งขัน) ต่าง ๆ การกีฬาแห่งประเทศไทยก็ต้องส่งเสริม
และสุดท้าย คือ อุตสาหกรรมกีฬา ทำให้กีฬาเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจ เวลาที่มีมหกรรมกีฬาใหญ่ ๆ เช่น โมโตจีพี การกีฬาแห่งประเทศไทยก็เป็นแม่งานใหญ่ จัดมา 2 ครั้งแล้ว ลงทุนในหลักหลายร้อยล้าน แต่ได้กลับมาในทางธุรกิจและเศรษฐกิจประมาณ 3,200 ล้าน นอกจากนั้นเราก็จะได้ภาพลักษณ์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และภาพลักษณ์ของประเทศไทยไปสู่สายตาทั่วโลกด้วย
แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬา สู่การสร้างรายได้เข้าประเทศ
อุตสาหกรรมกีฬากว้างมาก จะมีทั้งเรื่องของสินค้าทางการกีฬา เสื้อผ้ากีฬา การจัดอีเวนต์กีฬา การจัดทัวร์ต่าง ๆ และที่สำคัญตอนนี้มีคำว่า Sport Tourism เชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเรากำลังพยายามกระจายอุตสาหกรรมกีฬาไปในภูมิภาคต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด มีการประกาศ Sport City เพิ่มเติมจากเดิม 6 เมือง ก็เพิ่มอีก 10 เมือง
และยังหาอีเวนต์ระดับโลกเข้ามา พร้อมส่งเสริมให้คนไทยจัดการแข่งขันต่าง ๆ เพื่อขายสิทธิ์การจัดการแข่งขันในต่างประเทศด้วย เช่น เจ็ตสกี เวิลด์ ซีรี่ย์ หากประเทศใดต้องการจัดการแข่งขัน ก็จะต้องมาขอสิทธิ์จากประเทศไทย สิ่งที่เป็นสินค้าส่งออกที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ มวยไทย พยายามที่จะฟื้นฟูขึ้นมา อยากจะจัดอีเวนต์ กำหนดมาตรฐานมวยไทย ผลักดันไปสู่โอลิมปิก เพื่อให้คนทั้งโลกเห็นมวยไทยแท้ ๆ
นอกจากนี้ก็พยายามดึงสหพันธ์กีฬานานาชาติต่าง ๆ ให้ย้ายสำนักงานเข้ามาอยู่ในเมืองไทย พอสหพันธ์หรือสมาคมกีฬานานาชาติจัดอีเวนต์ ก็จะเป็นการดึงรายได้เข้าประเทศด้วย ปีที่แล้วเราทำมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมกีฬาได้ประมาณ 30,000 กว่าล้าน เราตั้งเป้าให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นทุกปี อยากจะทำให้ได้แบบประเทศจีน ที่จะสร้างสนามกีฬาทั่วประเทศ เพราะจีนจะใช้สนามกีฬาเป็นจุดศูนย์รวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมชอบมาก เพราะผมเชื่อว่ากีฬาเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนามนุษย์ มนุษย์เป็นต้นทุนในการทำสิ่งต่าง ๆ เราไม่สามารถทำอะไรได้ถ้าเราสุขภาพไม่ดี การออกกำลังกาย จึงเป็นการลงทุนที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุดที่จะทำให้มนุษย์สามารถไปต่อยอดในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้
Sport City ยุทธศาสตร์กระจายรายได้สู่ภูมิภาค
สปอร์ต ซิตี้ ตอนนี้มี 16 เมืองใหญ่ ๆ (ชลบุรี, สุพรรณบุรี, บุรีรัมย์, อุดรธานี, ศรีสะเกษ, กระบี่, กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, ยะลา, เชียงราย, พัทลุง, ภูเก็ต, นครราชสีมา, สงขลา, ตรัง และอุบลราชธานี) ซึ่งแต่ละเมืองเขาจะเสนอตัวขึ้นมา เป็นความต้องการของคนพื้นที่ ทางการกีฬาแห่งประเทศไทยถึงเข้าไปถามว่าผู้บริหารของเมืองนั้น ๆ คิดว่าเมืองตัวเองอยากเป็นสปอต ซิตี้ ทางด้านไหน เช่น ภูเก็ต อยากจะเป็น Sports Tourism and Sports Culture เราก็ไปวางแผนกัน ช่วยกันผลักดันกีฬาที่จะเข้ากับเมืองภูเก็ต เช่น การปีนหน้าผา, และการกระโดดน้ำจากหน้าผา เป็นต้น หลังจากนั้นก็มาประเมินว่าพอทำตามแผนแล้วเป็นอย่างไร
บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
ตอนนี้เราบูรณาการทำงานร่วมกันกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ TCEB (Thailand Convention & Exhibition Bureau : สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.) เช่น การทำปฏิทินกีฬา เราทำร่วมกับ ททท. เพื่อวางแผนการทำอีเวนต์ที่เป็น Sport Tourism ทั้งปี ส่วน TCEB เป็นองค์กรที่จัดการประชุมระดับนานาชาติ ก็อยากจะทำการประชุมนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เพื่อดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามา
การจัดอีเวนต์ที่จะดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ง่ายที่สุดตอนนี้ คือ งานวิ่ง เราจัดทำ Thailand Road Racing สร้างมาตรฐานแสตนดาร์ดขึ้นมา เพื่อจัดการวิ่งมาราธอนต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งตอนนี้จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดชลบุรีก็ได้ระดับบรอนซ์ เลเบิล แล้ว ซึ่งอีเวนต์ระดับโลกเหล่านี้ก็ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันกับ ททท. และ TCEB
นำกาตาร์โมเดลเป็นแนวทางสร้าง Sport Medical Center
เรากำลังจะมีโรงพยาบาลกีฬาแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของการรักษาอาการบาดเจ็บเท่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เรื่องของการป้องกันการบาดเจ็บ ถ้านักกีฬาไม่บาดเจ็บ ก็จะสามารถใช้ศักยภาพของนักกีฬาได้เต็มที่ เราจะใช้โมเดลของกาต้า ที่มีการรักษาครบวงจร ซึ่งอาจจะไม่ได้เรียกว่าโรงพยาบาลกีฬา อาจจะเป็น Sport Medical Center เพราะไม่อยากให้เข้าใจว่าเป็นโรงพยาบาลใหญ่โต ตรงนี้ก็จะเป็นการสร้างเครือข่ายบุคลากรในวงการการรักษาพยาบาลด้านกีฬาด้วย จะมีหมอที่รักษาทางด้านนี้ มีนักเรียนแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวกับการแพทย์มาอยู่ที่ศูนย์ เน้นเรื่องของการทำวิทยาศาสตร์การกีฬาให้ครบวงจร ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานการกีฬา
หัวหมากโมเดล
เรามีราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) การกีฬาแห่งประเทศไทยอยากจะทำตรงนี้ให้เป็นเมืองกีฬา ให้เป็น National Sport Park ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาควบคุม สามารถเก็บสถิติทางตัวเลขต่าง ๆ ได้ อยากให้ที่นี่เป็นอีกทางเลือกของสถานที่พักผ่อนในวันหยุดของประชาชน ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ชีวิตได้ ไม่จำเป็นว่าต้องมาเล่นกีฬาอย่างเดียว เพราะจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ผสมผสานระหว่างเรื่องของสุขภาพ ความงาม ศิลปะ เป็นศูนย์รวมกีฬาศิลปวัฒนธรรม
เรากำลังให้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกแบบพื้นที่ ตรงนี้ต้องครบวงจร เราจะมีการจัดเป็นโซน แบ่งออกเป็นโซนให้นักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและนักกีฬาอาชีพ ซึ่งจะเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบครัน สามารถเก็บตัวนักกีฬาได้มากกว่า 20 ประเภท ต้องดูแลตั้งแต่การฝึกซ้อมที่ถูกต้อง ไปจนถึงเรื่องของอาหาร
ส่วนอีกโซนจะเป็นโซนให้ประชาชนทั่วไปมาออกกำลังกาย พร้อมกับการเรียนกีฬา ศิลปะ และอื่น ๆ แล้วก็ยังมีสปอตมอลล์ มีตลาดนัด มีที่พักของนักกีฬาและโรงแรม เพื่อให้ประชาชนสามารถมาทำกิจกรรม มาหาความสุขได้ที่นี่
ตอนนี้ราชมังคลากีฬาสถานปรับปรุงทาสีใหม่ครั้งแรกตั้งแต่ที่สร้างมา กำลังปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน AFC (Asian Football Confederation) จะมีพิพิธภัณฑ์และสเตเดียมทัวร์ พาเด็ก ๆ หรือประชาชนทั่วไปเข้าไปชม ได้เห็นฮีโร่ฝึกซ้อม ต่อไปบริเวณด้านหน้าสนามจะมีรถไฟฟ้าใต้ดินด้วย ตรงนี้จะเป็นศูนย์รวมการพักผ่อนของประชาชน ผมอยากจะใช้ตรงนี้เป็นต้นแบบ เพื่อกระจายไปภูมิภาคมากขึ้น เราจะต้องทำให้กีฬาไปหาประชาชน ไม่ใช่ให้ประชาชนมาหากีฬา
การเผยแพร่กิจกรรมกีฬาในยุคดิจิทัล
ตอนนี้เรามี T-sport เป็นช่องกีฬา มีไลน์ แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุง มีการเปิดเพจเฟซบุ๊กขึ้นมาใหม่ คือ Thailand Sport Nation เพื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงกีฬามากขึ้น ผมอยากสร้างสังคมกีฬาในโซเชียลเน็ตเวิร์กขึ้นมาให้ได้ ประชาชนจะได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกีฬาที่เขาชอบ อยากให้คนนึกถึงกีฬาแล้วเข้ามาเข้ามาในเพจเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังปรับปรุงเช่นกัน และกำลังคิดที่จะทำเรื่องทีวีออนไลน์ แล้วก็ทำแอปพลิเคชันต่าง ๆ ด้วย
ส่งเสริมและสร้างโอกาสการเล่นกีฬาให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของประชาชน
เพิ่มเติมจากนโยบายหลักของกกท. เราก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้กีฬาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประชาชนให้ได้ อยากให้คนนึกถึงกีฬา เล่นกีฬา ออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตปกติ จะต้องเป็นผู้ที่สร้างโอกาสในการออกกำลังกายให้ประชาชนมากที่สุด ในอนาคตการกีฬาแห่งประเทศไทยก็อยากจะให้ประเทศไทยเป็น Sport Nation อยากให้เมืองทุกเมืองเป็นเมืองกีฬา เรามีกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติเข้าไปพัฒนากีฬาในภูมิภาคด้วย เพื่อให้คนมีโอกาสในการเล่นกีฬามากที่สุด ปัจจุบันมีศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยทั้งหมด 28 แห่ง กำลังพัฒนาอีก 11 แห่ง เพื่อที่จะให้ศูนย์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นที่รวมของประชาชน
Credit : kapook.com
-------------------
อ่านแล้วเหมือนจะดูดี แต่ถ้าวัดผลงานกกท.ปัจจุบัน จัดว่าแย่ กีฬาที่เคยกวาดเหรียญในระดับอาเซียนและเอเชียผลงานถดถอยลงไปมาก
สวนทางนโยบายกีฬาสู่ความเป็นเลิศมาก ท่านผู้ว่าควรทบทวนการทำงานของหน่วยงานที่ดูแล
กกท. มุ่งพัฒนากีฬาไทย สร้างนักกีฬา ผลักดันอุตสาหกรรมกีฬาและนำพากีฬาสู่ชีวิตประชาชน [ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่ากกท.]
การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือชื่อย่อ กกท. ผู้ที่อยู่เบื้องหลังวงการกีฬาไทยมายาวนานมากกว่า 30 ปี การที่เราได้เห็นนักกีฬาไทยไปแข่งในสนามระดับสากลหลาย ๆ แห่ง หรืองานอีเวนต์ระดับโลกที่มาจัดในเมืองไทย ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการผลักดันของการกีฬาแห่งประเทศไทยนี่เอง โดยปีที่ผ่านมาก็ทำรายได้ให้กับประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว และเป็นโอกาสดีที่กระปุกดอทคอมได้มาร่วมพูดคุยกับ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ถึงแนวทางต่อไปของการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการที่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ
หน้าที่และบทบาทการกีฬาแห่งประเทศไทย
หน้าที่รับผิดชอบของการกีฬาแห่งประเทศไทย จะแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรกก็คือ การพัฒนาเพื่อการกีฬาเป็นเลิศ ส่วนนี้จะเป็นการสร้างนักกีฬาทีมชาติให้แข็งแกร่งไปสู้กับต่างประเทศได้ จะส่งนักกีฬาเข้าร่วมมหกรรมการแข่งขันต่าง ๆ เช่น ซีเกมส์, โอลิมปิกเกมส์ และเอเชียนเกมส์
ส่วนที่ 2 คือ การส่งเสริมกีฬาอาชีพ ตอนนี้กีฬาสามารถที่จะนำมาประกอบอาชีพได้ เช่น นักกอล์ฟ และนักฟุตบอล ที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นนักกีฬาอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการกีฬาอีกมากมาย เช่น โค้ช และผู้ประกอบการทำลีก (การแข่งขัน) ต่าง ๆ การกีฬาแห่งประเทศไทยก็ต้องส่งเสริม
และสุดท้าย คือ อุตสาหกรรมกีฬา ทำให้กีฬาเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจ เวลาที่มีมหกรรมกีฬาใหญ่ ๆ เช่น โมโตจีพี การกีฬาแห่งประเทศไทยก็เป็นแม่งานใหญ่ จัดมา 2 ครั้งแล้ว ลงทุนในหลักหลายร้อยล้าน แต่ได้กลับมาในทางธุรกิจและเศรษฐกิจประมาณ 3,200 ล้าน นอกจากนั้นเราก็จะได้ภาพลักษณ์ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และภาพลักษณ์ของประเทศไทยไปสู่สายตาทั่วโลกด้วย
แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมการกีฬา สู่การสร้างรายได้เข้าประเทศ
อุตสาหกรรมกีฬากว้างมาก จะมีทั้งเรื่องของสินค้าทางการกีฬา เสื้อผ้ากีฬา การจัดอีเวนต์กีฬา การจัดทัวร์ต่าง ๆ และที่สำคัญตอนนี้มีคำว่า Sport Tourism เชื่อมโยงระหว่างการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเรากำลังพยายามกระจายอุตสาหกรรมกีฬาไปในภูมิภาคต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด มีการประกาศ Sport City เพิ่มเติมจากเดิม 6 เมือง ก็เพิ่มอีก 10 เมือง
และยังหาอีเวนต์ระดับโลกเข้ามา พร้อมส่งเสริมให้คนไทยจัดการแข่งขันต่าง ๆ เพื่อขายสิทธิ์การจัดการแข่งขันในต่างประเทศด้วย เช่น เจ็ตสกี เวิลด์ ซีรี่ย์ หากประเทศใดต้องการจัดการแข่งขัน ก็จะต้องมาขอสิทธิ์จากประเทศไทย สิ่งที่เป็นสินค้าส่งออกที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ มวยไทย พยายามที่จะฟื้นฟูขึ้นมา อยากจะจัดอีเวนต์ กำหนดมาตรฐานมวยไทย ผลักดันไปสู่โอลิมปิก เพื่อให้คนทั้งโลกเห็นมวยไทยแท้ ๆ
นอกจากนี้ก็พยายามดึงสหพันธ์กีฬานานาชาติต่าง ๆ ให้ย้ายสำนักงานเข้ามาอยู่ในเมืองไทย พอสหพันธ์หรือสมาคมกีฬานานาชาติจัดอีเวนต์ ก็จะเป็นการดึงรายได้เข้าประเทศด้วย ปีที่แล้วเราทำมูลค่าทางเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมกีฬาได้ประมาณ 30,000 กว่าล้าน เราตั้งเป้าให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นทุกปี อยากจะทำให้ได้แบบประเทศจีน ที่จะสร้างสนามกีฬาทั่วประเทศ เพราะจีนจะใช้สนามกีฬาเป็นจุดศูนย์รวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมชอบมาก เพราะผมเชื่อว่ากีฬาเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนามนุษย์ มนุษย์เป็นต้นทุนในการทำสิ่งต่าง ๆ เราไม่สามารถทำอะไรได้ถ้าเราสุขภาพไม่ดี การออกกำลังกาย จึงเป็นการลงทุนที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุดที่จะทำให้มนุษย์สามารถไปต่อยอดในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้
Sport City ยุทธศาสตร์กระจายรายได้สู่ภูมิภาค
สปอร์ต ซิตี้ ตอนนี้มี 16 เมืองใหญ่ ๆ (ชลบุรี, สุพรรณบุรี, บุรีรัมย์, อุดรธานี, ศรีสะเกษ, กระบี่, กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, ยะลา, เชียงราย, พัทลุง, ภูเก็ต, นครราชสีมา, สงขลา, ตรัง และอุบลราชธานี) ซึ่งแต่ละเมืองเขาจะเสนอตัวขึ้นมา เป็นความต้องการของคนพื้นที่ ทางการกีฬาแห่งประเทศไทยถึงเข้าไปถามว่าผู้บริหารของเมืองนั้น ๆ คิดว่าเมืองตัวเองอยากเป็นสปอต ซิตี้ ทางด้านไหน เช่น ภูเก็ต อยากจะเป็น Sports Tourism and Sports Culture เราก็ไปวางแผนกัน ช่วยกันผลักดันกีฬาที่จะเข้ากับเมืองภูเก็ต เช่น การปีนหน้าผา, และการกระโดดน้ำจากหน้าผา เป็นต้น หลังจากนั้นก็มาประเมินว่าพอทำตามแผนแล้วเป็นอย่างไร
บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ
ตอนนี้เราบูรณาการทำงานร่วมกันกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ TCEB (Thailand Convention & Exhibition Bureau : สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.) เช่น การทำปฏิทินกีฬา เราทำร่วมกับ ททท. เพื่อวางแผนการทำอีเวนต์ที่เป็น Sport Tourism ทั้งปี ส่วน TCEB เป็นองค์กรที่จัดการประชุมระดับนานาชาติ ก็อยากจะทำการประชุมนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เพื่อดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามา
การจัดอีเวนต์ที่จะดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาได้ง่ายที่สุดตอนนี้ คือ งานวิ่ง เราจัดทำ Thailand Road Racing สร้างมาตรฐานแสตนดาร์ดขึ้นมา เพื่อจัดการวิ่งมาราธอนต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งตอนนี้จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดชลบุรีก็ได้ระดับบรอนซ์ เลเบิล แล้ว ซึ่งอีเวนต์ระดับโลกเหล่านี้ก็ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันกับ ททท. และ TCEB
นำกาตาร์โมเดลเป็นแนวทางสร้าง Sport Medical Center
เรากำลังจะมีโรงพยาบาลกีฬาแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของการรักษาอาการบาดเจ็บเท่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เรื่องของการป้องกันการบาดเจ็บ ถ้านักกีฬาไม่บาดเจ็บ ก็จะสามารถใช้ศักยภาพของนักกีฬาได้เต็มที่ เราจะใช้โมเดลของกาต้า ที่มีการรักษาครบวงจร ซึ่งอาจจะไม่ได้เรียกว่าโรงพยาบาลกีฬา อาจจะเป็น Sport Medical Center เพราะไม่อยากให้เข้าใจว่าเป็นโรงพยาบาลใหญ่โต ตรงนี้ก็จะเป็นการสร้างเครือข่ายบุคลากรในวงการการรักษาพยาบาลด้านกีฬาด้วย จะมีหมอที่รักษาทางด้านนี้ มีนักเรียนแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวกับการแพทย์มาอยู่ที่ศูนย์ เน้นเรื่องของการทำวิทยาศาสตร์การกีฬาให้ครบวงจร ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานการกีฬา
หัวหมากโมเดล
เรามีราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) การกีฬาแห่งประเทศไทยอยากจะทำตรงนี้ให้เป็นเมืองกีฬา ให้เป็น National Sport Park ที่ทันสมัย ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาควบคุม สามารถเก็บสถิติทางตัวเลขต่าง ๆ ได้ อยากให้ที่นี่เป็นอีกทางเลือกของสถานที่พักผ่อนในวันหยุดของประชาชน ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ชีวิตได้ ไม่จำเป็นว่าต้องมาเล่นกีฬาอย่างเดียว เพราะจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ผสมผสานระหว่างเรื่องของสุขภาพ ความงาม ศิลปะ เป็นศูนย์รวมกีฬาศิลปวัฒนธรรม
เรากำลังให้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยออกแบบพื้นที่ ตรงนี้ต้องครบวงจร เราจะมีการจัดเป็นโซน แบ่งออกเป็นโซนให้นักกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและนักกีฬาอาชีพ ซึ่งจะเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ครบครัน สามารถเก็บตัวนักกีฬาได้มากกว่า 20 ประเภท ต้องดูแลตั้งแต่การฝึกซ้อมที่ถูกต้อง ไปจนถึงเรื่องของอาหาร
ส่วนอีกโซนจะเป็นโซนให้ประชาชนทั่วไปมาออกกำลังกาย พร้อมกับการเรียนกีฬา ศิลปะ และอื่น ๆ แล้วก็ยังมีสปอตมอลล์ มีตลาดนัด มีที่พักของนักกีฬาและโรงแรม เพื่อให้ประชาชนสามารถมาทำกิจกรรม มาหาความสุขได้ที่นี่
ตอนนี้ราชมังคลากีฬาสถานปรับปรุงทาสีใหม่ครั้งแรกตั้งแต่ที่สร้างมา กำลังปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน AFC (Asian Football Confederation) จะมีพิพิธภัณฑ์และสเตเดียมทัวร์ พาเด็ก ๆ หรือประชาชนทั่วไปเข้าไปชม ได้เห็นฮีโร่ฝึกซ้อม ต่อไปบริเวณด้านหน้าสนามจะมีรถไฟฟ้าใต้ดินด้วย ตรงนี้จะเป็นศูนย์รวมการพักผ่อนของประชาชน ผมอยากจะใช้ตรงนี้เป็นต้นแบบ เพื่อกระจายไปภูมิภาคมากขึ้น เราจะต้องทำให้กีฬาไปหาประชาชน ไม่ใช่ให้ประชาชนมาหากีฬา
การเผยแพร่กิจกรรมกีฬาในยุคดิจิทัล
ตอนนี้เรามี T-sport เป็นช่องกีฬา มีไลน์ แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุง มีการเปิดเพจเฟซบุ๊กขึ้นมาใหม่ คือ Thailand Sport Nation เพื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กและประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงกีฬามากขึ้น ผมอยากสร้างสังคมกีฬาในโซเชียลเน็ตเวิร์กขึ้นมาให้ได้ ประชาชนจะได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกีฬาที่เขาชอบ อยากให้คนนึกถึงกีฬาแล้วเข้ามาเข้ามาในเพจเฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์การกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังปรับปรุงเช่นกัน และกำลังคิดที่จะทำเรื่องทีวีออนไลน์ แล้วก็ทำแอปพลิเคชันต่าง ๆ ด้วย
ส่งเสริมและสร้างโอกาสการเล่นกีฬาให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของประชาชน
เพิ่มเติมจากนโยบายหลักของกกท. เราก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้กีฬาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประชาชนให้ได้ อยากให้คนนึกถึงกีฬา เล่นกีฬา ออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตปกติ จะต้องเป็นผู้ที่สร้างโอกาสในการออกกำลังกายให้ประชาชนมากที่สุด ในอนาคตการกีฬาแห่งประเทศไทยก็อยากจะให้ประเทศไทยเป็น Sport Nation อยากให้เมืองทุกเมืองเป็นเมืองกีฬา เรามีกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติเข้าไปพัฒนากีฬาในภูมิภาคด้วย เพื่อให้คนมีโอกาสในการเล่นกีฬามากที่สุด ปัจจุบันมีศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยทั้งหมด 28 แห่ง กำลังพัฒนาอีก 11 แห่ง เพื่อที่จะให้ศูนย์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นที่รวมของประชาชน
Credit : kapook.com
-------------------
อ่านแล้วเหมือนจะดูดี แต่ถ้าวัดผลงานกกท.ปัจจุบัน จัดว่าแย่ กีฬาที่เคยกวาดเหรียญในระดับอาเซียนและเอเชียผลงานถดถอยลงไปมาก
สวนทางนโยบายกีฬาสู่ความเป็นเลิศมาก ท่านผู้ว่าควรทบทวนการทำงานของหน่วยงานที่ดูแล