"หนองคาย...เมืองนี้มิอาจคลายความทรงจำ"
คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการออกเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ๆ ที่ที่ไม่คุ้นตามักจะสร้างความทรงจำให้เราทุกครั้ง ทั้งเรื่องราวที่ดีและร้าย แต่เราจะมานั่งนึกถึงความทรงจำที่ไม่น่าพิศมัยอยู่ไยเล่า ในเมื่อเราก็ได้พบเจอกับสิ่งที่ดีมากพอที่ทำให้เราอยากเก็บความทรงจำนั้นไว้ตลอดกาล ครั้งนี้ก็เช่นเคย ฉันได้ออกเดินทางไปในจังหวัดที่ไม่คุ้นตาและไม่เคยคิดว่าครั้งหนึ่งฉันจะเลือกให้ที่นั่นเป็นจุดหมายปลายทางในการเดินทางของฉันได้ หนองคาย...จังหวัดที่อยู่สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เมืองเล็กๆ ที่หัวใจผู้คนไม่ได้เล็กตามไปด้วย และแล้วการเดินทางครั้งนี้ก็ได้ติดตรึงอยู่ในหัวใจของฉันไปโดยตั้งใจ
ฉันเลือกรถไฟเป็นพาหนะในการเดินทางครั้งนี้ ด้วยเหตุผลเดิมๆ นั่นก็คือ “ประหยัด” ถึงแม้ต้องแลกกับเวลากว่าสิบชั่วโมงในตู้สี่เหลี่ยมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 90 กม./ชั่วโมงก็ตาม ตามทำนองเสียงล้อที่ดังว่า “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” แต่เพราะฉันไม่ได้เร่งรีบ ฉันไม่ต้องการจะไปให้ทันเวลา ฉันแค่อยากไปให้ถึงก็พอแล้ว ฉันเลยยอมซื้อตั๋วด้วยราคาเพียงแค่ 250 บาทต่อเที่ยว นั่นก็จะทำให้ฉันมีเงินเหลือไปใช้กิน ใช้เที่ยวได้อย่างสบายใจ หลังจากเดินทางออกจากสถานีหลักสี่ตอนเวลาสองทุ่มครึ่ง ด้วยรถเร็วขบวน 133 กึ่งหลับกึ่งตื่นมาและต้องทนกับความหนาวสั่นในเดือนพฤศจิกายนที่เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้วตลอดทั้งคืน จนรุ่งเช้าที่รถไฟได้แล่นเข้าสถานีหนองคายในเวลาแปดโมงครึ่งพอดี แน่นอนว่ามันเลทไปครึ่งชั่วโมง แต่นี่แหละสีสันของการโดยสารรถไฟไทย
ต้องบอกเลยว่าฉันไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับหนองคาย เพราะตัดสินใจออกเดินทางหลังเลิกงานในเย็นวันศุกร์ จึงไม่มีเวลาได้หาข้อมูลหรือเตรียมตัวเลยก็ว่าได้ แต่รู้มาอย่างนึงว่าที่หนองคายไม่มีรถโดยสารสาธารณะอย่างอื่นนอกจาก “สามล้อเครื่อง” ที่มักจะเก็บค่าบริการหฤโหดถ้าเห็นเราเป็นนักท่องเที่ยว ด้วยความตระหนี่ พอลงจากรถไฟฉันจึงเลือกจะเดินทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ผ่านบรรดาสามล้อเครื่องที่จอดเรียงรายเรียกลูกค้าต่างถิ่นอยู่หน้าสถานีรถไฟกันอย่างขะมักเขม้น ฉันเดินมาตามถนนจนมาเจอร้านขายผลไม้ริมทางร้านหนึ่ง ก็รีบเข้าไปถามด้วยความหวังว่าจะมีรถอย่างอื่นที่จะเข้าเมืองได้อีกมั้ย คำตอบที่ได้มาทำให้ดีใจและคิดหนักในเวลาเดียวกัน เพราะพี่สาวบอกว่ามีรถสาย (น่าจะใช้เรียกแทนรถสองแถว) แต่จะมาอีกทีก็สิบโมง
แปลว่าฉันต้องรออีกชั่วโมงครึ่ง!!
ซึ่งสภาพฉันตอนนั้นคือไม่พร้อมจะรอนานขนาดนั้นได้ ฉันได้แต่ทำหน้าเจื่อนกลับไป พอดีกับที่มีพี่ชายคนนึงเดินเข้ามา พี่สาวเลยบอกให้เราติดรถพี่เค้าเข้าเมืองก็ได้ เค้ากำลังจะเข้าเมืองพอดี ฉันสองจิตสองใจเพราะการขึ้นรถไปกับผู้ชายแปลกหน้าในบ้านเมืองต่างถิ่นคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายดายนัก แต่ตอนนั้นในใจคิดว่าเอาน่า เค้าเป็นแฟนกัน พี่ผู้ชายก็มีแฟนแล้วคงจะไม่มีอะไรหรอก เลยขึ้นรถไปกับเค้า แล้วก็ไม่มีอะไรจริงๆด้วย พี่เค้ามาส่งที่หน้าห้างอัศวรรณ ที่ห้างที่ใหญ่ที่สุดในหนองคาย ฉันก็ขอบคุณพี่เค้าไปแล้วก็แยกกัน
ถนนในเมืองหนองคาย ที่มีรถสัญจรค่อนข้างน้อย
เดินวนอยู่แถวนั้นสักพักนึง พอเปิดดูแผนที่ก็เห็นว่า
"ตลาดท่าเสด็จ" (ก่อนมาเปิดอ่านรีวิวคร่าวๆ เห็นชื่อนี้อยู่ในทุกรีวิวเลย) อยู่ห่างไปสองกิโลกว่าๆ ก็เลยตัดสินใจเดินไปที่นั่นเพื่อไปสำรวจสถานที่ก่อน เพราะตอนนั้นยังสองจิตสองใจว่าจะกลับตอนเย็นดี หรือจะนอนพักสักคืน แต่ก่อนออกแรงก็ต้องหาอะไรใส่ท้องก่อนเนอะ เห็นร้านก๋วยจั๊บอยู่ใกล้ๆ จ้ำอ้าวเข้าไปเลยจ้า ให้มันรู้ไปสิ ไปตั้งไกลเพื่อจะไปกินก๋วยจั๊บ 555 แต่ก็อร่อยแหละ แล้วก็ออกเดิน บอกได้คำเดียวว่าเหนื่อยและร้อนมาก ระหว่างทางก็มีพี่ๆลุงๆสามล้อเครื่องถามไถ่สารทุกข์อยู่ตลอดเวลา “จะไปไหนหนู ให้ลุงไปส่งมั้ย” แต่ลุงแกคงลืมประโยคท้ายไปนิดนึงว่า “แต่ลุงคิดตังนะ แพงด้วย” ฉันจึงยิ้มให้แล้วบอกว่าไม่เป็นไรค่า
ในระหว่างทางที่ฉันเดินไปตลาดท่าเสด็จ ฉันก็แวะที่นู่นที่นี่ไปเรื่อย ได้เข้าไปไหว้พระที่
“วัดหายโศก” ด้วย ตลอดการเดินเท้าในตัวเมือง ฉันเห็นว่าถึงแม้จะเป็นวันเสาร์ แต่กลับไม่ค่อยมีผู้คนพลุกพล่านอย่างที่ควรจะเป็น รถที่วิ่งอยู่บนถนนก็เป็นสามล้อซะส่วนใหญ่ นานๆทีจะมีรถของชาวบ้านผ่านมา นั่นยิ่งทำให้ฉันคิดว่าฉันควรจะกลับเย็นวันนั้นเลยดีกว่าเพราะคงไม่มีอะไรจึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยว
เข้าไปนมัสการหลวงพ่อหายโศกเป็นศิริมงคลก่อนไปเที่ยวที่อื่น
ฉันเดินมาถึงร้านนมร้านหนึ่งอยู่ไม่ไกลจากตลาดท่าเสด็จ ตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งชั่วโมงที่ได้สนทนากับพี่เจ้าของร้าน ทำให้ฉันรู้เรื่องของหนองคายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่หนองคายที่ค่อนข้างอู้ฟู่กว่าจังหวัดอื่นเพราะอยู่ติดกับชายแดนประเทศลาวที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต หรือว่าการจับจ่ายเงินของพี่น้องชาวลาวบางคนที่มักจะถือเงินสดเป็นฟ่อนๆข้ามมาซื้อของที่ฝั่งไทยเพราะเค้าไม่มีเอทีเอ็ม แม้นกระทั่งว่าค่าโดยสารรถสามล้อที่มักจะผันผวนตามอารมณ์ของคนขับ และสิ่งหนึ่งที่สะดุดใจฉันมากก็คือ “ทุกวันเสาร์จะมีถนนคนเดินที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง” และมีแค่วันเดียวต่ออาทิตย์ พี่บอกว่าฉันมาถูกวันแล้วจะรีบกลับทำไม
นั่นสินะ อยู่ต่อสิรออะไร?
จนสมควรแก่เวลาของการบอกลา ฉันขอบคุณพี่สาวและเดินต่อไปยังตลาดท่าเสด็จ (ใครไปแถวนั้นลองแวะไปดูที่
ร้านนมเหนียว หาไม่ยาก มีอยู่ร้านเดียว) ก่อนจะแวะเข้าไปในตลาดฯ ฉันเลือกที่จะเดินไปที่ริมแม่น้ำโขงก่อน เพราะนั่นคือครั้งแรกกับการยลโฉมแม่น้ำโขงของฉัน จำได้ว่าความรู้สึกแรกคือทึ่งกับความกว้างใหญ่ของแม่น้ำสายสำคัญที่กั้นระหว่างไทย-ลาวมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางน้ำที่ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งของพ่อค้าแม่ค้าได้มากโข มองข้ามไปมันคือประเทศลาว มันทำให้รู้สึกว่าโลกเราแคบมากเลย มองไปก็เห็นอีกประเทศนึงแล้ว มันคือความประทับใจแหละ จนต้องยืนมองอยู่นานสองนาน ก่อนจะเดินไปเรื่อยๆ และพบกับศาลาริมลำน้ำโขงที่เขียนป้ายบอกว่าให้บริการนวดไทยราคาไม่แพง ฉันจึงขอพักกายไว้ที่นั่นสัก 45 นาทีกับการนวดเท้าในราคาเพียง 99 บาท และก็เช่นเคย เกิดบทสนทนาขึ้นอีกครั้งระหว่างฉันกับพี่หมอนวด ตลอด 45 นาทีของการรับฟังเรื่องราวชีวิตพี่สาวคนนั้นตั้งแต่เด็กจนถึงได้มาทำงานเป็นหมอนวดที่นี่ มันทำให้ฉันรู้ว่าชีวิตคือการต่อสู้จริงๆ สู้เพื่อคนที่รัก สู้เพื่อปากท้อง หรือการสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ฉันขอบคุณพี่สาวหลังจากสิ้นสุดเวลาอันแสนผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการเดินทางมาทั้งคืนและครึ่งวัน
เธอเห็นแม่น้ำโขงนั่นไหม เห็นสายพานที่เอาไว้สไลด์สินค้าลงเรือสายนั้นหรือเปล่า?
จากการคุยกันอย่างออกรสครั้งนั้นทำให้ฉันได้เจอกับที่พักสไตล์เรือนไทยในราคาแสนถูกจากการแนะนำของพี่หมอนวดด้วย
“เรือนไทย เกสต์เฮ้าส์" คือชื่อที่พักแห่งนี้ ฉันจ่ายเงิน 300 บาทเพื่อแลกกับค่ำคืนที่แสนสงบและสะดวกต่อการเดินเท้าไปเที่ยวถนนคนเดิน หลังจากเข้าที่พักและอาบน้ำอาบท่า ฉันก็ออกเดินทางด้วยรถจักรยานฟรีของที่พัก ปั่นไปตามถนนริมฝั่งโขง ชมบ้านชมเมืองอันแสนแปลกตา
เสียดายที่มาคนเดียวเลยไม่มีคนช่วยหารค่าห้องเลย
ตลอดทางที่เต็มไปด้วยร้านชาบูและหมูกระทะ สงสัยเหมือนกันนะว่าคนที่นั่นต้องชอบกินหมูกระทะกันขนาดไหนกันถึงทำให้มีร้านเปิดกันเป็นดอกเห็ด ปั่นไปเรื่อยๆ แวะถ่ายรูปบ้าง จนไปถึง
“พระธาตุหล้าหนอง” ที่มีพระธาตุคว่ำอยู่ในแม่น้ำโขง จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อน้ำลด และวันนั้นก็เป็นวันที่น้ำลด ฉันโชคดีจริงๆ
จะเห็นฐานพระธาตุโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำแบบนี้ และจะมีเรือพานักท่องเที่ยวไปสักการะด้วยนะ
หลังจากทำบุญไหว้พระที่พระธาตฯ เสร็จ ก็ออกเดินทางต่อไปยัง
“ศาลาแก้วกู่” อุทยานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พระรูป และเทวาลัยตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นไว้มากมาย
ใช้เวลาอยู่ที่นั่นเกือบชั่วโมงก็ปั่นกลับ ระหว่างทางได้ลิ้มรส
“แกงเส้น” อาหารพื้นบ้านของหนองคายที่ใครมาหนองคายต้องลองกิน คุณอาจจะไม่ได้ว้าวนะ เพราะรสชาติก็คล้ายๆกับก๋วยเตี๋ยววุ้นเส้นน้ำใสทั่วไป แต่เชื่อเถอะไม่ได้หากินง่ายๆ ที่ภาคอื่นแน่นอน และฉันก็จ่ายเงินไปแค่ 30 บาทเท่านั้นสำหรับแกงเส้นชามเบ้อเริ่มที่ใส่เนื้อหมูเน้นๆ น้ำซุปกลมกล่อมอย่าบอกใคร
ครั้งแรกกับการทานอาหารที่ชื่อว่า “แกงเส้น”
เอาล่ะอิ่มแล้วก็เข้าที่พักและไปเดินถนนคนเดิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
“ตลาดแคมของ” ต่อ ตลาดที่มีพ่อค้าแม่ค้านำอาหารทั้งพื้นเมืองและอาหารทั่วไป, สินค้าชุมชน และงานฝีมือประจำจังหวัดออกมาตั้งขายเรียงรายไปตลอดริมแม่น้ำโขง เดินจนปวดเท้ากันเลยทีเดียว ถึงแม้ตอนแรกคิดว่าจะมาเดินเล่นชิลๆ ก็ตาม ฉันได้ของฝากติดไม้ติดมือ พร้อมของกินนิดหน่อย ก็เข้าที่พัก
อ๋อ! จำพี่ชายที่มาส่งฉันตอนเช้าได้มั้ย ก่อนลงจากรถพี่เค้าให้เบอร์ไว้ เผื่อว่ามีอะไรจะถามเรื่องที่กินที่เที่ยว ตอนแรกก็จะไม่เอาเพราะคิดว่าไม่ดีเพราะพี่เค้ามีแฟนแล้ว แต่ก็มารู้ว่าพี่สาวคนนั้นคือน้องสาวเค้าเอง คิดเป็นตุเป็นตะเลยฉัน ก็เลยเมมเบอร์พี่เค้าไว้ สุดท้ายก็นัดเจอกับพี่เค้าตอนเย็น กะว่าจะเลี้ยงขอบคุณเค้าด้วย แต่ก็กลายเป็นว่าเค้าเลี้ยงฉันซะงั้น ก่อนแยกจากกันก็ได้พูดคำว่าขอบคุณพี่เค้าอีกครั้ง มันเป็นครั้งที่สี่ของวันแล้วกับการพูดคำว่าขอบคุณ ซึ่งมันไม่ใช่การขอบคุณเพียงผิวเผินนะ มันคือการขอบคุณจากใจจริง มันออกมาจากใจของฉันจริงๆ พี่ทั้งสามคนคือความโชคดีและความทรงจำที่ดีของฉันในการมาเที่ยวหนองคายในครั้งนี้มาก นึกถึงหนองคายทีไรก็มีหน้าพี่ๆ เค้าลอยมาด้วยตลอด มันดีแหละ
ด้วยความเหนื่อยล้าคืนนั้นฉันหลับสนิท หลับเป็นตายก็ว่าได้ และแล้วหนึ่งวันในหนองคายก็ผ่านพ้นไปถึงเช้าวันใหม่ ฉันรีบออกจากที่พักตั้งแต่หกโมงเพื่อไปสถานีรถไฟให้ทันเวลาที่รถด่วนขบวน 76 จะออกตอน 7:45 น. ระหว่างทางเห็นว่าพอมีเวลาก็แวะทานอาหารเช้าขึ้นชื่อของหนองคายซะก่อน นั่นก็คือ ไข่กระทะ-ขนมปังนึ่ง กินคู่กับโกโก้ร้อนๆ คือที่สุดแล้วจ้า ก่อนจะขึ้นรถสามล้อไปสถานีรถไฟ (ในที่สุดก็ต้องใช้บริการพี่สามล้อจนได้)
และตอนจบของการเดินทางก็มาถึงหลังจากที่ขบวนรถไฟวิ่งออกจากสถานีหนองคายเข้าสู่กรุงเทพฯ
อย่างที่บอกในตอนต้นว่าการเดินทางมักจะสร้างความทรงจำดีๆ ให้เราเสมอ แต่ครั้งนี้ดูเหมือนฉันจะมีความทรงจำอันแสนพิเศษที่มากกว่าการเดินทางครั้งก่อนๆ ทั้งสถานที่และผู้คน มันทำให้ฉันยกให้หนองคายเป็นเมืองที่มิอาจคลายความทรงจำได้จริงๆ จนกว่าจะพบกันใหม่ ฮักนะ...หนองคาย
สรุปค่าใช้จ่าย 2 วัน 1 คืน (23-24 พ.ย. 62)
- ค่าตั๋วรถไฟไป-กลับ 460 บาท
- ค่ารถโดยสารอื่นๆ 133 บาท
- ค่านวดเท้า 99 บาท
- ค่าที่พัก 300 บาท
- ค่าอาหาร 282 บาท
- ทำบุญ 60 บาท
รวมทั้งหมด
1,334 บ
เที่ยวหนองคายคนเดียว 2 วัน 1 คืน (รถไฟไทย)
ฉันเลือกรถไฟเป็นพาหนะในการเดินทางครั้งนี้ ด้วยเหตุผลเดิมๆ นั่นก็คือ “ประหยัด” ถึงแม้ต้องแลกกับเวลากว่าสิบชั่วโมงในตู้สี่เหลี่ยมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 90 กม./ชั่วโมงก็ตาม ตามทำนองเสียงล้อที่ดังว่า “ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง” แต่เพราะฉันไม่ได้เร่งรีบ ฉันไม่ต้องการจะไปให้ทันเวลา ฉันแค่อยากไปให้ถึงก็พอแล้ว ฉันเลยยอมซื้อตั๋วด้วยราคาเพียงแค่ 250 บาทต่อเที่ยว นั่นก็จะทำให้ฉันมีเงินเหลือไปใช้กิน ใช้เที่ยวได้อย่างสบายใจ หลังจากเดินทางออกจากสถานีหลักสี่ตอนเวลาสองทุ่มครึ่ง ด้วยรถเร็วขบวน 133 กึ่งหลับกึ่งตื่นมาและต้องทนกับความหนาวสั่นในเดือนพฤศจิกายนที่เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้วตลอดทั้งคืน จนรุ่งเช้าที่รถไฟได้แล่นเข้าสถานีหนองคายในเวลาแปดโมงครึ่งพอดี แน่นอนว่ามันเลทไปครึ่งชั่วโมง แต่นี่แหละสีสันของการโดยสารรถไฟไทย
ต้องบอกเลยว่าฉันไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับหนองคาย เพราะตัดสินใจออกเดินทางหลังเลิกงานในเย็นวันศุกร์ จึงไม่มีเวลาได้หาข้อมูลหรือเตรียมตัวเลยก็ว่าได้ แต่รู้มาอย่างนึงว่าที่หนองคายไม่มีรถโดยสารสาธารณะอย่างอื่นนอกจาก “สามล้อเครื่อง” ที่มักจะเก็บค่าบริการหฤโหดถ้าเห็นเราเป็นนักท่องเที่ยว ด้วยความตระหนี่ พอลงจากรถไฟฉันจึงเลือกจะเดินทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ผ่านบรรดาสามล้อเครื่องที่จอดเรียงรายเรียกลูกค้าต่างถิ่นอยู่หน้าสถานีรถไฟกันอย่างขะมักเขม้น ฉันเดินมาตามถนนจนมาเจอร้านขายผลไม้ริมทางร้านหนึ่ง ก็รีบเข้าไปถามด้วยความหวังว่าจะมีรถอย่างอื่นที่จะเข้าเมืองได้อีกมั้ย คำตอบที่ได้มาทำให้ดีใจและคิดหนักในเวลาเดียวกัน เพราะพี่สาวบอกว่ามีรถสาย (น่าจะใช้เรียกแทนรถสองแถว) แต่จะมาอีกทีก็สิบโมง
แปลว่าฉันต้องรออีกชั่วโมงครึ่ง!!
ซึ่งสภาพฉันตอนนั้นคือไม่พร้อมจะรอนานขนาดนั้นได้ ฉันได้แต่ทำหน้าเจื่อนกลับไป พอดีกับที่มีพี่ชายคนนึงเดินเข้ามา พี่สาวเลยบอกให้เราติดรถพี่เค้าเข้าเมืองก็ได้ เค้ากำลังจะเข้าเมืองพอดี ฉันสองจิตสองใจเพราะการขึ้นรถไปกับผู้ชายแปลกหน้าในบ้านเมืองต่างถิ่นคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายดายนัก แต่ตอนนั้นในใจคิดว่าเอาน่า เค้าเป็นแฟนกัน พี่ผู้ชายก็มีแฟนแล้วคงจะไม่มีอะไรหรอก เลยขึ้นรถไปกับเค้า แล้วก็ไม่มีอะไรจริงๆด้วย พี่เค้ามาส่งที่หน้าห้างอัศวรรณ ที่ห้างที่ใหญ่ที่สุดในหนองคาย ฉันก็ขอบคุณพี่เค้าไปแล้วก็แยกกัน
ในระหว่างทางที่ฉันเดินไปตลาดท่าเสด็จ ฉันก็แวะที่นู่นที่นี่ไปเรื่อย ได้เข้าไปไหว้พระที่ “วัดหายโศก” ด้วย ตลอดการเดินเท้าในตัวเมือง ฉันเห็นว่าถึงแม้จะเป็นวันเสาร์ แต่กลับไม่ค่อยมีผู้คนพลุกพล่านอย่างที่ควรจะเป็น รถที่วิ่งอยู่บนถนนก็เป็นสามล้อซะส่วนใหญ่ นานๆทีจะมีรถของชาวบ้านผ่านมา นั่นยิ่งทำให้ฉันคิดว่าฉันควรจะกลับเย็นวันนั้นเลยดีกว่าเพราะคงไม่มีอะไรจึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยว
นั่นสินะ อยู่ต่อสิรออะไร?
จนสมควรแก่เวลาของการบอกลา ฉันขอบคุณพี่สาวและเดินต่อไปยังตลาดท่าเสด็จ (ใครไปแถวนั้นลองแวะไปดูที่ร้านนมเหนียว หาไม่ยาก มีอยู่ร้านเดียว) ก่อนจะแวะเข้าไปในตลาดฯ ฉันเลือกที่จะเดินไปที่ริมแม่น้ำโขงก่อน เพราะนั่นคือครั้งแรกกับการยลโฉมแม่น้ำโขงของฉัน จำได้ว่าความรู้สึกแรกคือทึ่งกับความกว้างใหญ่ของแม่น้ำสายสำคัญที่กั้นระหว่างไทย-ลาวมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าทางน้ำที่ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งของพ่อค้าแม่ค้าได้มากโข มองข้ามไปมันคือประเทศลาว มันทำให้รู้สึกว่าโลกเราแคบมากเลย มองไปก็เห็นอีกประเทศนึงแล้ว มันคือความประทับใจแหละ จนต้องยืนมองอยู่นานสองนาน ก่อนจะเดินไปเรื่อยๆ และพบกับศาลาริมลำน้ำโขงที่เขียนป้ายบอกว่าให้บริการนวดไทยราคาไม่แพง ฉันจึงขอพักกายไว้ที่นั่นสัก 45 นาทีกับการนวดเท้าในราคาเพียง 99 บาท และก็เช่นเคย เกิดบทสนทนาขึ้นอีกครั้งระหว่างฉันกับพี่หมอนวด ตลอด 45 นาทีของการรับฟังเรื่องราวชีวิตพี่สาวคนนั้นตั้งแต่เด็กจนถึงได้มาทำงานเป็นหมอนวดที่นี่ มันทำให้ฉันรู้ว่าชีวิตคือการต่อสู้จริงๆ สู้เพื่อคนที่รัก สู้เพื่อปากท้อง หรือการสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ฉันขอบคุณพี่สาวหลังจากสิ้นสุดเวลาอันแสนผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการเดินทางมาทั้งคืนและครึ่งวัน
อ๋อ! จำพี่ชายที่มาส่งฉันตอนเช้าได้มั้ย ก่อนลงจากรถพี่เค้าให้เบอร์ไว้ เผื่อว่ามีอะไรจะถามเรื่องที่กินที่เที่ยว ตอนแรกก็จะไม่เอาเพราะคิดว่าไม่ดีเพราะพี่เค้ามีแฟนแล้ว แต่ก็มารู้ว่าพี่สาวคนนั้นคือน้องสาวเค้าเอง คิดเป็นตุเป็นตะเลยฉัน ก็เลยเมมเบอร์พี่เค้าไว้ สุดท้ายก็นัดเจอกับพี่เค้าตอนเย็น กะว่าจะเลี้ยงขอบคุณเค้าด้วย แต่ก็กลายเป็นว่าเค้าเลี้ยงฉันซะงั้น ก่อนแยกจากกันก็ได้พูดคำว่าขอบคุณพี่เค้าอีกครั้ง มันเป็นครั้งที่สี่ของวันแล้วกับการพูดคำว่าขอบคุณ ซึ่งมันไม่ใช่การขอบคุณเพียงผิวเผินนะ มันคือการขอบคุณจากใจจริง มันออกมาจากใจของฉันจริงๆ พี่ทั้งสามคนคือความโชคดีและความทรงจำที่ดีของฉันในการมาเที่ยวหนองคายในครั้งนี้มาก นึกถึงหนองคายทีไรก็มีหน้าพี่ๆ เค้าลอยมาด้วยตลอด มันดีแหละ
ด้วยความเหนื่อยล้าคืนนั้นฉันหลับสนิท หลับเป็นตายก็ว่าได้ และแล้วหนึ่งวันในหนองคายก็ผ่านพ้นไปถึงเช้าวันใหม่ ฉันรีบออกจากที่พักตั้งแต่หกโมงเพื่อไปสถานีรถไฟให้ทันเวลาที่รถด่วนขบวน 76 จะออกตอน 7:45 น. ระหว่างทางเห็นว่าพอมีเวลาก็แวะทานอาหารเช้าขึ้นชื่อของหนองคายซะก่อน นั่นก็คือ ไข่กระทะ-ขนมปังนึ่ง กินคู่กับโกโก้ร้อนๆ คือที่สุดแล้วจ้า ก่อนจะขึ้นรถสามล้อไปสถานีรถไฟ (ในที่สุดก็ต้องใช้บริการพี่สามล้อจนได้)
และตอนจบของการเดินทางก็มาถึงหลังจากที่ขบวนรถไฟวิ่งออกจากสถานีหนองคายเข้าสู่กรุงเทพฯ
อย่างที่บอกในตอนต้นว่าการเดินทางมักจะสร้างความทรงจำดีๆ ให้เราเสมอ แต่ครั้งนี้ดูเหมือนฉันจะมีความทรงจำอันแสนพิเศษที่มากกว่าการเดินทางครั้งก่อนๆ ทั้งสถานที่และผู้คน มันทำให้ฉันยกให้หนองคายเป็นเมืองที่มิอาจคลายความทรงจำได้จริงๆ จนกว่าจะพบกันใหม่ ฮักนะ...หนองคาย
สรุปค่าใช้จ่าย 2 วัน 1 คืน (23-24 พ.ย. 62)
- ค่าตั๋วรถไฟไป-กลับ 460 บาท
- ค่ารถโดยสารอื่นๆ 133 บาท
- ค่านวดเท้า 99 บาท
- ค่าที่พัก 300 บาท
- ค่าอาหาร 282 บาท
- ทำบุญ 60 บาท
รวมทั้งหมด 1,334 บ