ซ้อมดนตรียังไงให้เวิร์ค!!!

สวัสดีค่าาาาาาาาาาาากะพริบตา

วันนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการซ้อมดนตรี การซ้อมดนตรีทุกชนิดว่าหลักการซ้อมควรซ้อมอย่างไรบ้าง หรือมีเทคนิคอะไรที่ช่วยให้การซ้อมของเรานั้นดีขึ้นมาบ้าง(ดนตรีที่ว่ามานั้น เราจะเน้นไปทางดนตรีสากลนะคะ)

ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมของผู้ที่กำลังศึกษาทางด้านดนตรีโดยตรงหรือผู้ที่มีเรียนเสริมทางด้านดนตรี(เรียนพิเศษ) สามารถเอาไปใช้ได้ เพราะสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ทุกคนได้ประโยชน์หมดเกี่ยวกับการซ้อมดนตรียังไงให้เวิร์ค

เเต่ก่อนอื่น!!! ก่อนที่เราจะไปพูดคุยกันเกี่ยวกับการซ้อมดนตรียังไงให้เวิร์คนั้น เราต้องเเยกคำว่า “ซ้อม” กับ “เล่น” ออกจากกันก่อน ซึ่งเราต้องบอกก่อนว่ามันเเตกต่างกันมากสำหรับเรา

...…เเล้วมันเเตกต่างกันตรงไหนล่ะ?

การเล่นดนตรีนั้น มันคือการเล่นเพื่อความบันเทิงใจไม่ใช่เล่นเพื่อสอบ หรือเเข่งดนตรี อารมณ์มันก็จะเหมือนกับเล่นๆ เล่นเเบบไม่ต้องคิดถึงหลักที่ถูกต้อง เล่นตามความรู้สึกโดยที่ไม่ต้องสนว่ามันจะถูกหรือผิด ไม่ต้องสนว่าจะเล่นถูกจังหวะไหม(ในกรณีที่เล่นคนเดียวนะคะ เพราะถ้าเล่นกับ band มันจะเป็นอีกเรื่องนึงไปเลย)
 
การเล่นเป็นวง(band)นั้นขึ้นอยู่กับว่าตัวผู้เล่นเองอยากจะซีเรียสมากน้อยขนาดไหน ถ้าถามว่ามันจะเป็นในโหมดเล่นได้ไหม ตอบเลยว่าได้ เเต่ถ้าอยู่ในโหมดการซ้อมได้ไหม?

คำตอบก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของตัวผู้เล่นเองว่าอยากจะเเค่เล่นกับเพื่อนๆหรือว่าตั้งวงเพื่อไปเเข่ง ไปออดิชั่นตามร้านอาหาร เเต่ถึงอย่างนั้น การตั้ง band ขึ้นมาก็จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวด้วย เช่น เช่าห้องซ้อมดนตรี ค่าเดินทาง เป็นต้น
 
สรุปคือ เราเล่นดนตรีเเบบไม่ต้องคิดมาก เอาสนุกเฉยๆ เเค่นั้นเองค่ะ
ส่วนโหมดการซ้อมนั้น เราจะเน้นไปที่ความถูกต้องของบทเพลงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งเเต่เรื่องของตัวโน๊ตจังหวะ เทคนิคการเล่น การจำเพลง หรือเเม้กระทั่งเรื่องของรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเราควรเก็บให้หมด

ในโหมดการซ้อมนี้สามารถใช้ได้ทั้งคนที่เรียนเสริมทางดนตรี เเละใช้ได้ดีกับคนที่เรียนเอกดนตรีโดยตรงเช่นกัน
โดยเฉพาะคนที่เรียนดนตรีโดยตรงนั้น เราทุกคนซ้อมไปเพื่อสอบเเละเเสดงคอนเสิร์ต มันจึงเป็นเรื่องปกติที่คนเรียนทางด้านนี้จะมีความเครียดในตัวมันเองอยู่เเล้ว บวกกับการซ้อมที่หนัก

ทำให้คนที่ซ้อมนั้นรู้สึกว่าได้ผลออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นหรือบางคนอาจจะรู้สึกเหมือนซ้อมไปเเล้วไม่ได้อะไรจากการซ้อมกลับมาเลย ทั้งที่ซ้อมไปตั้งหลายชั่วโมง

เพราะฉะนั้นเราเลยอยากจะเสนอเกี่ยวกับทริคการซ้อมดนตรีว่าซ้อมยังไงให้ได้ผล ซ้อมยังไงให้รู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับเวลาที่เราเสียไปโดยที่เราไม่รู้สึกเสียดายเวลา เเละเราได้ค่าประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากเดิม

เราจะเเบ่งเรื่องการซ้อมดนตรีทั้งหมดออกเป็น 4 เรื่องใหญ่ๆด้วยกัน ดังนี้

เรื่องที่หนึ่ง: โน๊ตเพลง — เวลาที่เราเจอโน๊ตเพลงครั้งเเรก เราอยากให้ทุกคนลองอ่านโน๊ตทั้งหมดดูก่อน อ่านไปเล่นไป เอาเเต่ตัวโน๊ตอย่างเดียว ไม่ต้องสนใจพวกจังหวะหรือเทคนิคต่างๆที่เราเห็นอยู่ในเพลง อ่านทั้งกุญเเจซอลเเละกุญเเจฟา จะอ่านเเล้วเล่นพร้อมกันทั้งสองมือเลยก็ได้ หรือจะเเยกทีละมือก่อนก็ได้

ถ้าถามว่าทำไมต้องทำเเบบนี้ นั่นก็เพราะว่าเราจะได้เห็นภาพรวมของเพลงที่เราจะซ้อมก่อน การที่เราได้อ่านโน๊ตทั้งหมดก่อน จะทำให้เราได้เห็นโครงสร้างเพลงทั้งหมด

เราจะได้รู้ว่ารูปเเบบของเพลงเป็นยังไง ท่อนไหนที่ซ้ำกันบ้างหรือไม่ซ้ำกัน เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการอ่านโน๊ตมากขึ้น การที่ทำเเบบนี้จะทำให้เราเเบ่งท่อนเพลง ซ้อมเพลงง่ายขึ้นเเละเร็วขึ้นมาก

เรื่องที่สอง: จังหวะของเพลง — หลังจากที่เราได้อ่านโน๊ตทั้งหมดของเพลงเเล้ว เราควรใส่ใจกับจังหวะด้วยเช่นกัน ที่จริงถ้าเป็นไปได้ควรทำไปพร้อมกันกับการอ่านโน๊ตไปด้วยเลย (สำหรับคนที่ฝึกดนตรีมาได้ในระดับนึงเเล้วจะสามารถทำได้ เเต่ถ้าสำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นฝึกใหม่ๆ ค่อยๆทำไปก็ได้ค่ะ ไม่ต้องรีบร้อน)
เเต่ถ้ายังไม่สามารถอ่านเเละทำจังหวะไปพร้อมกันได้ เราควรเริ่มจากการหัดปรบมือหรือเคาะจังหวะในเพลงนั้นทั้งหมดก่อน(ทำเหมือนกับการอ่านโน๊ต) เพื่อให้หูของเราได้คุ้นเคยกับจังหวะของเพลงที่เรากำลังจะซ้อม

เพราะฉะนั้นเราจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของจังหวะเพลงมากๆ สำคัญเท่ากับการอ่านโน๊ตเลยก็ว่าได้ เพราะการเเก้จังหวะนั้น “ยาก” กว่าการเเก้โน๊ตผิดอีก เพราะว่าอะไร? เพราะว่าประสาทการรับรู้เสียงของเรามันจะซึมเข้าไปในสมองเราโดยอัตโนมัติ ตั้งเเต่ครั้งเเรกที่เราได้ยิน เเล้วยิ่งถ้าเราเจอเพลงที่มีทำนองฟังเเล้วติดหู มันจะยิ่งง่ายต่อการจำเข้าไปอีก

มันจึงไม่เหมือนกับการอ่านโน๊ตผิดเเล้วเเก้ไข เพราะการอ่านนั้นเราใช้ลูกตาในการอ่านโน๊ต เเล้วใช้สมองวิคราะห์ออกมาว่ามันคือตัวโน๊ตตัวอะไรต่อให้เราจะเล่นโน๊ตผิดเยอะเเค่ไหน(พยายามอย่าผิดเยอะเลยก็จะดี จะได้ไม่เหนื่อยเเก้กัน555) มันก็ยังกลับไปอ่านเเล้วเเก้ไขได้ใหม่ เพราะว่ากว่าเราจะจำโน๊ตได้ก็ใช้เวลาเหมือนกัน ไม่เหมือนกับการฟังเสียงที่ฟังเเล้วก็ติดหูไปเลย ซึ่งจะเเก้ได้ยากกว่า

จำไว้ว่าการอ่านจังหวะโน๊ตครั้งเเรก“สำคัญ”ที่สุด

เรื่องที่สาม: เทคนิคของเพลง — เราอยากจะเเนะเพื่อนๆว่า ควรฝึกซ้อมเพลงให้คล่องก่อนในระดับนึง เพราะเรื่องของเทคนิคเพลงนั้น ต้องซ้อมเพลงให้คล่องก่อนถึงจะฝึกเทคนิคได้ดีขึ้น พูดง่ายๆก็คือ โน๊ตคล่อง จังหวะคล่อง เทคนิคจะตามมาทีหลังอยู่เเล้ว

ทริคของเรื่องนี้ก็คือ ให้เพื่อนๆฝึกซ้อมเฉพาะจุดที่เป็นเทคนิคของเพลง เเล้วค่อยไปเล่นให้เป็นภาพรวมของเพลง คือลองเล่นเพลงตั้งเเต่ต้นจนถึงห้องของเเต่ละเทคนิคที่เราฝึกซ้อมเฉพาะจุดไป

ถ้าเราสามารถเล่นตั้งเเต่เเรกได้ เเล้วผ่านเทคนิคในห้องนั้นได้เเล้ว เราก็ไปเริ่มทำใหม่กับห้องที่มีเทคนิคอันต่อไปเเล้วลองเริ่มเล่นเพลงใหม่ตั้งเเต่เเรก หรือก่อนหน้านั้นสักประโยคสองประโยค ถ้าผ่านได้ เราก็ทำเเบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะฝึกเทคนิคเเต่ละอันจบ(ไม่จำเป็นต้องย้อนตั้งเเต่ต้นเพลงก็ได้)

ส่วนเรื่องของเทคนิคเพลง บางคนอาจจะใช้เวลาตรงนี้นานหน่อย หรือบางคนอาจจะไม่ต้องใช้เวลานานเลย เเทบจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเลยว่ามีพื้นฐานมาดีขนาดไหน เพราะว่าบางคนอาจจะเหมาะกับเทคนิคเเบบนี้ หรือบางคนอาจจะไม่เหมาะเลยก็ได้ เเต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำไม่ได้

เพียงเเต่ว่าต้องอาศัยการฝึกฝน ฝึกซ้อมอยู่บ่อยๆ ทำซ้ำๆ ที่สำคัญเราต้องมีความพยายามเเละความอดทนในการฝึกซ้อมนะคะ

เรื่องที่สี่: การจำโน๊ตเพลง — หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ทำไมต้องจำด้วยล่ะ?” เพราะว่า การที่เราสามารถจำโน๊ตเพลงที่เราจะเล่นได้ทั้งหมดนั้น จะทำให้เราไม่ต้องสนใจเรื่องโน๊ตที่วางอยู่ตรงหน้าเราตอนเราเล่นเพลง

ซึ่งจะทำให้เราสามารถโฟกัสในเรื่องของการถ่ายทอดอารมณ์เพลงออกมาได้อย่างเต็มที่ในขณะที่เรากำลังบรรเลง เเละอีกเหตุผลนึง มันเป็นเรื่องของ Performance ด้วย

หลักง่ายๆในการจำโน๊ตเพลงนั้น เราต้องฝึกซ้อมให้ร่างกายทุกส่วนของเราจำการเล่นให้ได้ไม่ว่าจะเป็นนิ้ว มือ เเขน ขา ไหล่ เท้า เเทบจะทั้งตัวเราเลยก็ว่าได้
พูดอีกอย่างคือ เป็นการซ้อมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง เเละอีกอย่างที่จะช่วยเสริมในการจำเพลงของเรานั้นได้ดีขึ้น
นั่นคือการฟังเพลงบ่อยๆ

การฟังเพลงนั้นจะช่วยให้หูของเราได้คุ้นชินกับเสียงเพลง ทำนองเพลงมากขึ้นไปอีก พอร่างกายจำได้ ส่วนหูก็เคยฟังเพลงผ่านมาบ้าง ทั้งสองอย่างนี้จะช่วยทำให้การจำของเรานั้นทำงานได้ดีขึ้น จนในที่สุด เราจะสามารถเล่นเพลงได้โดยที่ไม่ต้องดูโน๊ต
 
จากที่เราเคยบอกไปข้างต้นเเล้วว่า สำหรับเรา เรื่องของการเล่นเเละซ้อมนั้นเเตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการซ้อมไม่ใช่เเค่ซ้อมเพื่อให้เล่นเพลงให้ได้
เเต่ยังมีวัตถุประสงค์ต่างๆอีก ว่าเราซ้อมไปเพื่ออะไร เเล้วเราอยากได้อะไรกลับมาจากการซ้อม
 
หลักๆของการซ้อมมีไม่กี่อย่าง ซ้อมเพื่อสอบ ซ้อมเพื่อเเสดงคอนเสิร์ต หรือเเม้เต่ซ้อมเพื่อไปเเข่ง ยิ่งการซ้อมเพื่อไปเเข่งเเบบนี้เเล้ว บอกเลยว่าต้องเป๊ะมากจริงๆ เพราะคนที่จะมาตัดสินเราในการเเข่งขันนั้น

ค่อนข้างสติ๊กเรื่องถูกผิดมากๆ ไม่ใช่เเค่ได้เเต่ performance อย่างเดียว เเต่ต้องเล่นให้ถูกต้องด้วย เเล้วไหนจะเทคนิคต่างๆที่เราสามารถโชว์ให้กรรมการดูได้อีกด้วย กฎค่อนข้างเยอะทีเดียวสำหรับการเเข่งขันดนตรี

สุดท้ายเเล้ว ถ้าเราเรียนรู้เทคนิคต่างๆ เเต่เราไม่ขยันฝึกซ้อมเป็นประจำ มันก็จะไม่มีค่าอะไรเลยสำหรับการซ้อมของเรา เพราะฉะนั้น ความขยัน ความอดทน เเละพยายามเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการฝึกซ้อม เเล้วหลังจากนั้นเทคนิคต่างๆเราจะทำมันได้


จบไปเเล้วนะคะสำหรับเทคนิคการซ้อมยังไงให้เวิร์ค เพี้ยนกินกล้วย
ถ้าเพื่อนๆสนใจลองไปทำตามดูได้นะคะ หรือใครมีทริคดีๆเเนะนำ ก็มาเเชร์ให้เราฟังได้นะคะ🙏😊
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่